นราพัฒน์ แก้วทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นราพัฒน์ แก้วทอง
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ตามภารกิจ)
เริ่มดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 309 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 (54 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2544 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสอุมาพร แก้วทอง

นราพัฒน์ แก้วทอง รองหัวหน้าตามภารกิจพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร

ประวัติ[แก้]

นราพัฒน์ แก้วทอง เกิดเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 เป็นบุตรชายของ ไพฑูรย์ แก้วทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และอดีต ส.ส.พิจิตร หลายสมัย กับ อัจฉราภรณ์ แก้วทอง โดย นราพัฒน์ แก้วทอง เป็นบุตรคนโต มีน้องสาวคือ พัชราภรณ์ แก้วทอง และน้องชาย คือ พูนทรัพย์ แก้วทอง[1]

นราพัฒน์ แก้วทอง เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาบัญชี จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (M.B.A) จาก National University ประเทศสหรัฐอเมริกา

นราพัฒน์ มีชื่อเล่นว่า "ตุ้ม" ชีวิตครอบครัวสมรสกับ อุมาพร แก้วทอง (สกุลเดิม บุญนาน) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ตฤณพัฒน์ แก้วทอง และ ด.ญ พรนภัส แก้วทอง มีกิจกรรมที่เป็นความชอบส่วนตัว คือ การติดตามชมฟุตบอลต่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์วิจารณ์การแข่งขัน[2] [3] โดยมีแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นสโมสรที่ชื่นชอบ[4] และตกปลา[5]

การทำงาน[แก้]

  • 2535 - 2537 สมุห์บัญชี บริษัทเพชรพล จำกัด
  • 2540 - 2543 กรรมการผู้จัดการ บริษัทสระหลวงก่อสร้าง จำกัด
  • กรรมการผู้จัดดการ บริษัท ก นราพัฒน์ จำกัด

งานการเมือง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2544 ไพฑูรย์ แก้วทอง ผู้เป็นบิดา ได้รับการวางตัวจากพรรคประชาธิปัตย์ ให้ลงสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรค นราพัฒน์ แก้วทอง จึงลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ประจำเขตเลือกตั้งที่ 2 ของจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของบิดา และชนะการเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. ครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2544

ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นราพัฒน์ แก้วทอง ลงสมัครรับเลือกตั้ง เขต 1 จังหวัดพิจิตร ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดพิจิตร และเป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เพียงคนเดียวของจังหวัดพิจิตร

ต่อมาในการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นราพัฒน์ แก้วทอง ลงสมัครรับเลือกตั้ง เขต 2 จังหวัดพิจิตร และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เพียงคนเดียวของจังหวัดพิจิตรเช่นเดียวกับการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า หลังการเลือกตั้งในครั้งนั้น ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยนราพัฒน์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับ นายนิพนธ์ บุญญามณี และ นายศุภชัย ศรีหล้า[6] [7] [8][9]

ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[10] ดูแลพื้นที่ภาคเหนือ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 27 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[11] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเป็นอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนเมื่อ พ.ศ. 2565 เมื่ออภิชัย เตชะอุบล ได้ขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ทำให้นราพัฒน์ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน อภิชัย[12]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นราพัฒน์ได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 7 [13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เปิดใจครอบครัว"แก้วทอง"ผู้รับใช้สังคมและชาวพิจิตร เหตุผลที่ต้องส่งลูกสะใภ้ลงสมัครนายกอบต.คลองคะเชนทร์". พิจิตรทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.[ลิงก์เสีย]
  2. "ยูโร 2016 ใครชนะ ใครแชมป์ 11 06 59 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 11 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  3. "หลังบ้าน" ไพฑูรย์ แก้วทอง โอนหุ้น 3 ตลบให้ "ลูกจ้าง" ?. "แกะขุมทรัพย์รัฐมนตรี", ประชาชาติธุรกิจ: วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4091
  4. "ยูโร 2016 ใครชนะ ใครแชมป์ 13 06 59 เบรก2". ฟ้าวันใหม่. 13 June 2016. สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
  5. "สายล่อฟ้า 02 08 59". ฟ้าวันใหม่. August 2, 2016. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
  6. "สภาผู้แทนราษฎร >> สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดปัจจุบัน (ชุดที่ 23)". รัฐสภา. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  7. "นราพัฒน์ แก้วทอง". พรรคประชาธิปัตย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-24. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  8. "สรุปรายชื่อ 19 กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่". วอยซ์ทีวี. 6 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-23. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  10. ทีมงาน "จุรินทร์"กินรวบทุกตำแหน่ง คุมรองหน.4 ภาคสยายปีก "เฉลิมชัย"นั่งเลขา
  11. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  12. ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เลื่อนรายชื่อ ส.ส.ประชาธิปัตย์ แทนตำแหน่งที่ว่าง
  13. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]