ทาโกะ

พิกัด: 35°44′N 140°28′E / 35.733°N 140.467°E / 35.733; 140.467
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทาโกะ

多古町
หมู่บ้านชิมะในเมืองทาโกะ
หมู่บ้านชิมะในเมืองทาโกะ
ธงของทาโกะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของทาโกะ
ตรา
ที่ตั้งของทาโกะในจังหวัดชิบะ (เน้นสีเหลือง)
ที่ตั้งของทาโกะในจังหวัดชิบะ (เน้นสีเหลือง)
ทาโกะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ทาโกะ
ทาโกะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°44′N 140°28′E / 35.733°N 140.467°E / 35.733; 140.467
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดชิบะ
อำเภอคาโตริ
พื้นที่
 • ทั้งหมด72.68 ตร.กม. (28.06 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 ธันวาคม 2020)
 • ทั้งหมด14,387 คน
 • ความหนาแน่น200 คน/ตร.กม. (510 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
- ต้นไม้Camellia sasanqua
- ดอกไม้ไฮเดรนเจีย
โทรศัพท์0479-76-2611
ที่อยู่584 Tako, Tako-chō, Katori-gun, Chiba-ken 289-2292
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ทาโกะ (ญี่ปุ่น: 多古町โรมาจิTako-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2020 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 14,387 คน 6068 ครัวเรือน ความหนาแน่นประชากร 200 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] และมีพื้นที่ทั้งหมด 72.68 ตารางกิโลเมตร (28.06 ตารางไมล์)

ศาลาว่าการเมืองทาโกะ

ภูมิศาสตร์[แก้]

ทาโกะตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดชิบะ ห่างจากนครชิบะ เมืองเอกของจังหวัด ประมาณ 35 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางโตเกียวประมาณ 60 ถึง 70 กิโลเมตร ทิศตะวันตกติดกับท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ตั้งอยู่บนที่ราบคันโต คั่นกลางระหว่างที่ราบสูงชิโมซะและที่ราบคูจูกกูริ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีแม่น้ำคูริยามะไหลผ่านใจกลางเมือง

เทศบาลข้างเคียง[แก้]

จังหวัดชิบะ

ภูมิอากาศ[แก้]

ทาโกะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Köppen Cfa) โดยมีฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบายและมีหิมะตกเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในทาโกะคือ 14.6 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1500 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.8 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 4.5 °C[2]

สถิติประชากร[แก้]

จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] จำนวนประชากรของทาโกะลดลงอย่างช้า ๆ ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 16,260—    
1930 17,599+8.2%
1940 18,660+6.0%
1950 21,969+17.7%
1960 20,042−8.8%
1970 17,367−13.3%
1980 17,133−1.3%
1990 17,683+3.2%
2000 17,603−0.5%
2010 16,006−9.1%

ประวัติศาสตร์[แก้]

ทาโกะมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีได้พบเรือขุดจากไม้และหลุมฝังศพตั้งแต่ยุคโจมง และนาข้าวตั้งแต่ยุคยาโยอิ อีกทั้งบริเวณนี้ยังมีเนินฝังศพจำนวนมากจากยุคโคฟุง และมีการพบเครื่องปั้นดินเผาฮานิวะ ต่อมาในยุคเฮอัง ได้มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นโชเอ็ง ซึ่งควบคุมโดยตระกูลฟูจิวาระ และอยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูลชิบะในยุคคามากูระ ในยุคเอโดะ พื้นที่นี้เป็นดินแดนเท็นเรียวภายในแคว้นชิโมซะ ซึ่งอยู่ภายใต้ปกครองโดยตรงของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะโดยใช้อำนาจผ่านผู้ที่เป็นฮาตาโมโตะ

หลังจากการฟื้นฟูเมจิ หมู่บ้านทาโกะก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1889 อยู่ภายในอำเภอคาโตริ จังหวัดชิบะ โดยบัญญัติจัดตั้งใหม่ในระบบเทศบาล หมู่บ้านทาโกะได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 1890 ในวันที่ 1 เมษายน 1951 เมืองทาโกะได้ผนวกเอาหมู่บ้านโทโจที่อยู่ใกล้เคียงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง และขยายพื้นที่เพิ่มในวันที่ 31 มีนาคม 1954 โดยผนวกเอาหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ หมู่บ้านนากะ คูงะ และโทกิวะ

การปกครอง[แก้]

ทาโกะมีการปกครองรูปแบบสภา–นายกเทศมนตรี โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาประเภทสภาเดี่ยวที่มีสมาชิกจำนวน 14 คน เมืองทาโกะ พร้อมทั้งนครคาโตริและเมืองโคซากิ ประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดชิบะจำนวน 2 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 10 ของจังหวัดชิบะในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ[แก้]

ทาโกะเป็นศูนย์กลางการค้าและศูนย์กลางเกษตรกรรมในภูมิภาค นอกจากข้าวแล้ว ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือการเลี้ยงสัตว์ ที่เด่นชัดที่สุดการเลี้ยงสุกร จากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2010 มีแรงงานประมาณร้อยละ 20 เดินทางไปทำงานในนครนาริตะ

การศึกษา[แก้]

ทาโกะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 3 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 1 แห่ง เมืองนี้มีโรงเรียนมัธยมปลายสังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดชิบะ 1 แห่ง และโรงเรียนมัธยมปลายเอกชน 1 แห่ง

การขนส่ง[แก้]

รถไฟ[แก้]

เมืองทาโกะเคยมีทางรถไฟนาริตะ สายทาโกะ ซึ่งเปิดให้บริการไปเมื่อปี 1911 ถึง 1944 ปัจจุบันเลิกกิจการแล้วและไม่มีรถไฟให้บริการ โดยสถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุดคือ สถานีรถไฟชิบายามะ-ชิโยดะ บนทางรถไฟชิบายามะ อย่างไรก็ตาม มีการใช้บริการจากสถานีรถไฟนาริตะบ่อยกว่า

ทางหลวง[แก้]

เมืองพี่น้อง[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Tako town official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
  2. Tako climate data
  3. Tako population statistics
  4. El Perro

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]