สัตวบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัตวบาล (Animal Husbandry) หรือ สัตวศาสตร์ (Animal Science) คือวิชาว่าด้วยการอภิบาลปศุสัตว์ จัดเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่รวบรวมองค์ความรู้ในด้านการจัดการฟาร์ม, การโภชนาศาสตร์สัตว์ (animal Nutrotion), การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (animal Breeding), การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ (animal Technology), การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ (Food processing) และการอนุรักษ์ดำรงไว้ของสายพันธุ์สัตว์ นับว่าเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่งในการผลิตสัตว์และเลี้ยงดูสัตว์ให้เจริญเติบโต แข็งแรง ปราศจากโรค และทำให้สัตว์สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้มากพอกับความต้องการบริโภค[1]

สัตวบาลเป็นวิชาชีพที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2486 โดย หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ[2] [3]ซึ่งการทำงานของ สัตวบาล จะยึดหลักวิชาการ ในสายวิชาชีพ 5 ประการคือ การจัดการฟาร์มดี, พันธุ์สัตว์ดี, อาหารดี, การสุขาภิบาลดี, การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ดี

สัตวบาลของช้างจะเรียกว่า "คชบาล", ของม้าและลาจะเรียกว่า "อัศวบาล", ของแกะจะเรียกว่า "เมษบาล", ของเก้งและกวางจะเรียกว่า "มฤคบาล"

  1. สัตวบาลคือใครมีบทบาทหน้าที่อย่างไร, สืบค้นเมื่อ 2024-02-24
  2. "ภาควิชาสัตวบาล". www.agr.ku.ac.th.
  3. "ประวัติความเป็นมา" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).