ทองแดง (สุนัข)
ประติมากรรมทองแดง ผลงานการปั้นของชิน ประสงค์ ข้าราชการบำนาญกรมศิลปากร | |
สปีชีส์ | สุนัข |
---|---|
สายพันธุ์ | สุนัขพันทาง |
เพศ | เมีย |
เกิด | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ตาย | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (17 ปี) วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย |
ที่ไว้ซาก | อนุสาวรีย์คุณทองแดง, ศูนย์รักสุนัขหัวหิน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2541–2558 |
เป็นที่รู้จักสำหรับ | สุนัขทรงเลี้ยงในรัชกาลที่ 9[1][2] |
เจ้าของ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ตั้งแต่ พ.ศ. 2541) |
ทายาท | ทองชมพูนุท ทองเอก ทองม้วน ทองทัต ทองพลุ ทองหยิบ ทองหยอด ทองอัฐ ทองนพคุณ |
คุณทองแดง (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558) เป็นสุนัขทรงเลี้ยงตัวที่ 17[3]: 200 ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9)
ประวัติ
[แก้]ทองแดงเป็นลูกของแดง[4]: 17 สุนัขจรจัดบริเวณซอยศูนย์แพทย์พัฒนา ถนนพระราม 9 เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541[3]: 200 รัชกาลที่ 9 ทรงนำมาเลี้ยงหลังจากเสด็จฯ ไปเปิดศูนย์แพทย์พัฒนา และนายแพทย์คนหนึ่งนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย[3]: 200 [4]: 13 ทองแดงเกิดก่อนลูก ๆ ของมะลิ 1 วัน ลูก ๆ ของมะลิเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541[3]: 200 และทรงยกทองแดงให้มะลิเลี้ยงดู[5]: 158 ทองแดงมีพี่น้องรวม 7 ตัว ชาวบ้านตั้งชื่อให้ว่า ทองแดง เพศเมีย, คาลัว เพศเมีย, หนุน เพศเมีย, ทองเหลือง เพศผู้ ได้ไปอยู่บ้านของข้าราชบริพารคนหนึ่ง, ละมุน เพศเมีย, โกโร เพศเมีย, โกโส เพศเมีย[4]: 14
ทองแดงมีลักษณะพิเศษต่างจากลูกสุนัขตัวอื่น คือ มีสายสร้อยรอบคอครึ่งเส้น มีถุงเท้าขาวทั้ง 4 ขา มีหางม้วนขดเป็นวง ปลายหางดอกสีขาว และมีจมูกแด่น[3]: 200 ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายตัวเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ขณะมีอายุได้ 5 สัปดาห์ ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน[3]: 200
รัชกาลที่ 9 ทรงค้นในหนังสือพบว่า ทองแดงมีลักษณะคล้ายคลึงกับสุนัขพันธุ์บาเซนจี สุนัขพันธุ์โบราณ มีถิ่นกำเนิดทางแอฟริกาใต้ นิยมใช้งานในการล่าสัตว์ แต่ทองแดงตัวใหญ่กว่าบาเซนจีทั่วไป จึงทรงเรียกทองแดงว่าเป็นสุนัขพันธุ์ไทยซูเปอร์บาเซนจี[3]: 200 ก่อนหน้านี้ทรงเรียกว่า เป็นสุนัขพันธุ์เทศ (ย่อมาจาก เทศบาล)[3]: 200
วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 23.10 น. ทองแดงเสียชีวิตด้วยโรคชรา[6]: 472 ที่วังไกลกังวล ร่างอยู่ที่โรงพยาบาลสัตว์เกษตรศาสตร์ หัวหิน รวมอายุได้ 17 ปี 1 เดือน 19 วัน[7]
ลูก
[แก้]ทองแดงมีลูก 9 ตัวกับทองแท้ สุนัขพันธุ์บาเซนจี ทุกตัวเกิดเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543[8]: 80 รัชกาลที่ 9 ทรงตั้งชื่อให้ด้วยชื่อขนมที่มีคำว่า ทอง และพระราชทานนามสกุลว่า สุวรรณชาด[9]: 410 และยังเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในพระปรมาภิไธย[9]: 410 โปรดเกล้าฯ ให้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ ขนมลูก ๆ ทองแดง ออกเผยแพร่[10]
- ทองชมพูนุท เพศเมีย น้ำหนัก 360 กรัม คลอดเอง
- ทองเอก เพศผู้ น้ำหนัก 310 กรัม คลอดเอง
- ทองม้วน เพศผู้ น้ำหนัก 330 กรัม คลอดเอง
- ทองทัต เพศผู้ น้ำหนัก 350 กรัม คลอดเอง
- ทองพลุ เพศผู้ น้ำหนัก 300 กรัม ต้องฉีดยาช่วย มีลูกกับหิรัญวารี
- นิลเอก
- นิลพานร
- นิลพัท
- นิลขัน
- นิลนนท์
- นิยา
- ทองหยิบ เพศผู้ น้ำหนัก 350 กรัม คลอดเอง
- ทองหยอด เพศเมีย น้ำหนัก 320 กรัม คลอดเอง มีลูกกับน้ำชา
- ข้าวโพดเทียน
- ข้าวตอกดอกไม้
- ข้าวหลามตัด
- ข้าวคลุกกะปิ มีลูกกับบิ๊กฟลาวเวอร์
- วัง
- น่าน
- ข้าวเหนียวมะม่วง
- ข้าวแดงแกงร้อน มีลูกกับปะโตเลมีย์
- แกงมัสมั่น
- แกงเหลือง
- แกงนพเก้า
- ข้าวตังทรงเครื่อง
- ข้าวเกรียบว่าว
- ทองอัฐ เพศเมีย น้ำหนัก 290 กรัม คลอดเอง
- ทองนพคุณ เพศผู้ น้ำหนัก 360 กรัม คลอดเอง
การป้องกันตามกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์
[แก้]ฐนกร ศิริไพบูลย์ คนงานโรงงานอายุ 27 ปี[11] ถูกจับตามความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยใน พ.ศ. 2558 ด้วยข้อหาโจมตีพระมหากษัตริย์ผ่านโพสต์"เสียดสี" เกี่ยวกับทองแดงในเฟสบุ๊ก[12] อานนท์ นำภา ทนายของเขากล่าวให้ International New York Times ว่า ข้อหานี้ "ไม่ได้ให้รายละเอียดการดูถูกสัตว์อย่างเจาะจง"[13] International New York Times ในกรุงเทพลบเรื่องนี้ออกจากหนังสือพิมพ์ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เพียง 12 วันก่อนที่ทองแดงเสียชีวิต[13] หลังถูกจับกุม 90 วัน เขาถูกปล่อยตัวด้วยวงเงินประกัน ถ้าถูกตัดสินว่าผิด ฐนกรมีโอกาสถูกจำคุกสูงสุด 37 ปี[14] ไม่มีใครทราบที่ตั้งและสถานะคดีของเขานับตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561
รายงานจากบีบีซี ฝ่ายอัยการกล่าวว่าฐนกรได้โพสต์ภาพสุนัขหลายภาพในเฟสบุ๊กเพื่อล้อเลียนกษัตริย์ และถูกตั้งข้อหาเพิ่มจากการกด "ไลก์" ภาพตัดต่อของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งโพสต์โดยผู้ใช้คนอื่น[11]
การดัดแปลงเป็นสื่อ
[แก้]รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง ทองแดง (The Story of Tongdaeng) ซึ่งมี 84 หน้า ออกเผยแพร่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยฉบับแรกขายหมดอย่างรวดเร็วทั้ง 100,000 เล่มในประเทศไทย[15] เนื่องจากมีความต้องการสูงมาก หนังสือนี้จึงกลายเป็นของขวัญล้ำค่า[16] และตีพิมพ์ใหม่หลายครั้ง[16]
ต่อมามีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง คุณทองแดง ดิ อินสไปเรชั่นส์ ซึ่งเผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558[17]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง ประจำรัชกาลที่ 9
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 นนทพร อยู่มั่งมี และคณะ. (2560). "พระเมรุมาศบุษบกประธาน (ชั้นชาลาชั้น 4): ประติมากรรมประดับพระจิตกาธาน", ใน สู่ฟ้าเสวยสวรรค์. กรุงเทพฯ: มติชน. 316 หน้า. ISBN 978-974-02-1577-6
- ↑ 4.0 4.1 4.2 ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2545). เรื่องของทองแดง พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง. 83 หน้า. ISBN 978-974-2726-26-3
- ↑ ธีรนุช โชคสุวณิช และคณะ. (2549). พระบรมธรรมิกราชกับอักษรศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์. 336 หน้า. ISBN 978-974-9990-29-2
- ↑ ชวกิจ หันประดิษฐ, ศูนย์ข้อมูลมติชน. (2559). "ธันวาคม", ใน บันทึกประเทศไทย: ลำดับข่าวเด็ด เหตุการณ์สำคัญประจำปี ๒๕๕๘. เล่มที่ 8. กรุงเทพฯ: มติชน. 498 หน้า. ISBN 978-974-0214-67-0
- ↑ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรฯ แถลง สุนัขหลวง 'คุณทองแดง' เสียชีวิตแล้ว
- ↑ นิตยสารพลอยแกมเพชร, 18(405): (2552, มกราคม 15).
- ↑ 9.0 9.1 คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. (2551). สารานุกรมพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรอบ ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 487 หน้า. ISBN 978-974-4179-14-2
- ↑ เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ และดรุณี จักรพันธุ์, หม่อมหลวง. (2545). ขนมลูกๆ ทองแดง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยในวังหญิง. 23 หน้า. ISBN 974-272-451-2
- ↑ 11.0 11.1 Head, Jonathan (December 16, 2015). "Defaming a dog: The ways to get arrested for lese-majeste in Thailand". BBC. สืบค้นเมื่อ December 29, 2015.
- ↑ Bhutia, Jigmey. "Thai man faces 37 years jail for 'insulting' King Bhumibol Adulyadej through his dog". ibtimes.co.uk. International Business Times. สืบค้นเมื่อ 16 December 2015.
- ↑ 13.0 13.1 Holmes, Oliver. "Thai man faces jail for insulting king's dog with 'sarcastic' internet post". theguardian.com. The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
- ↑ "Dissing the king's dog is a crime in Thailand". The Economist. 19 December 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2015.
- ↑ * Seth Mydans, For Dogged Devotion to Etiquette, a Kingly Tribute เก็บถาวร 2016-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, International Herald Tribune, 26 December 2002. Accessed 30 December 2015.
- ↑ 16.0 16.1 Campbell, Charlie (November 4, 2015). "See Portraits of Thailand's King Bhumibol Adulyadej Displayed All Over Bangkok". Time. สืบค้นเมื่อ December 30, 2015.
- ↑ Panya, Duangkamol. "Who let the dogs out?". bangkokpost.com. Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. เรื่อง ทองแดง: ฉบับการ์ตูน. อมรินทร์, กรุงเทพ. พ.ศ. 2547. ISBN 974-272-917-4
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. เรื่อง ทองแดง. อมรินทร์. ISBN 974-272-626-4
- วิลาศ มณีวัต. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับ "คุณ ๆ" สี่ขา. ดอกหญ้า. ISBN 974-689-122-7