ทฤษฎีบทของสจวร์ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทฤษฎีบทของสจวร์ต (Stewart's theorem) เป็นทฤษฎีบททางเรขาคณิตที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านข้างกับความยาวของ "ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมจุดยอดกับจุดที่อยู่บนด้านตรงข้าม (Cevian)"[1] ในรูปสามเหลี่ยม ชื่อของทฤษฎีบทนี้เป็นการให้เกียรติแก่นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อต แมทธิว สจวร์ต (Matthew Stewart) ผู้เผยแพร่ทฤษฎีบทนี้ในปี ค.ศ. 1746[2]

รายละเอียด[แก้]

กำหนดให้ a, b และ c เป็นความยาวของด้านข้างของรูปสามเหลี่ยม ให้ d เป็นความยาวของ cevian ไปทางด้านความยาว a หาก cevian แบ่งด้านความยาว a ออกเป็นสองส่วนของความยาว คือ m และ n โดยมี m ติดกับ c และ n ติดกับ b แล้วทฤษฎีบทของสจ๊วต ระบุว่า

ทฤษฎีบทนี้อาจเขียนขึ้นแบบสมมาตรโดยใช้ความยาวของส่วนที่แบ่งแล้ว นั่นคือใช้ความยาว AB ให้เป็นบวกหรือลบ ตามแต่ว่า A อยู่ทางซ้ายหรือขวาของ B ในการวางแนวที่แน่นอนของเส้น ในสูตรนี้ทฤษฎีบทกล่าวว่าถ้า A, B และ C เป็นจุดร่วมเส้นตรง (collinear points) และ P เป็นจุดใด ๆ แล้ว

[3]

ในกรณีพิเศษที่ cevian เป็นเส้นมัธยฐาน (Cevian แบ่งด้านตรงข้ามออกเป็นสองส่วนที่มีความยาวเท่ากัน) สามารถหาผลลัพธ์ได้จากทฤษฎีบทของอะพอลโลเนียส

พิสูจน์[แก้]

แผนผังของทฤษฎีบทของสจ๊วต

ทฤษฎีบทนี้สามารถพิสูจน์ได้โดยการประยุกต์ใช้กฎของโคไซน์ (cos)[4]

ให้ θ เป็นมุมระหว่าง m และ d และ θ′ คือมุมระหว่าง n และ d โดย θ′ + θ = 180 องศา และดังนั้น cos θ′ = − cos θ โดยใช้กฎของโคไซน์ในสามเหลี่ยมเล็กสองรูปที่มีมุม θ และ θ′ ประกอบอยู่

คูณสมการแรกด้วย n และสมการที่สามด้วย m และนำมารวมกันเพื่อกำจัด cos θ จะได้

อีกวิธีหนึ่งทฤษฎีบทสามารถพิสูจน์ได้คือการวาดเส้นตั้งฉากจากจุดยอดของรูปสามเหลี่ยมไปยังฐานและใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสเพื่อหาความยาว b, c และ d ในแง่ของระดับความสูง ด้านซ้ายและขวาของสมการนั้นจะเป็นนิพจน์เดียวกัน

ประวัติ[แก้]

จากตำราคณิตศาสตร์ของฮุตตันและเกรกอรี (Hutton & Gregory, 1843, หน้า 220) สจวร์ตเผยแพร่ผลเฉลยในปี ค.ศ. 1746 เมื่อเขาเป็นหนึ่งในผู้ที่มีสิทธิ์จะเข้ารับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระแทนที่คอลิน แม็กคลอริน (Colin Maclaurin) และตำราคณิตศาสตร์ของ ค็อกเซเตอร์และไกรต์เซอร์ (Coxeter & Greitzer, 1967, หน้า 6) ระบุว่าผลลัพธ์อาจเป็นที่ทราบโดยอาร์คิมีดีส เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ฮุตตันและเกรกอรี (1843) กล่าวว่าผลเฉลยถูกใช้โดยโรเบิร์ต ซิมสัน (Robert Simson) ในปี ค.ศ. 1748 และโดยโทมัส ซิมป์สัน (Thomas Simpson) ในปี ค.ศ. 1752 และการปรากฏครั้งแรกในยุโรปเกิดขึ้นในงานของลาซาร์ การ์โน (Lazare Carnot) ในปี ค.ศ. 1803

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เถาว์ทิพย์, วัฒนา, เอกสารประกอบการบรรยาย โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการฯ ศูนย์ สอวน. (ค่ายที่ 2) เรขาคณิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.หน้า. 32
  2. Stewart, Matthew (1746), Some General Theorems of Considerable Use in the Higher Parts of Mathematics, Edinburgh: Sands, Murray and Cochran "Proposition II"
  3. Russell 1905, p. 3
  4. Proof of Stewart's Theorem at PlanetMath.org.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Coxeter, H.S.M.; Greitzer, S.L. (1967), Geometry Revisited, New Mathematical Library #19, The Mathematical Association of America, ISBN 0-88385-619-0
  • Hutton, C.; Gregory, O. (1843), A Course of Mathematics, vol. II, Longman, Orme & Co.
  • Russell, John Wellesley (1905), "Chapter 1 §3: Stewart's Theorem", Pure Geometry, Clarendon Press, OCLC 5259132

ดูเพิ่ม[แก้]

  • I.S Amarasinghe, Solutions to the Problem 43.3: Stewart's Theorem (A New Proof for the Stewart's Theorem using Ptolemy's Theorem), Mathematical Spectrum, Vol 43(03), pp. 138 – 139, 2011.
  • Ostermann, Alexander; Wanner, Gerhard (2012), Geometry by Its History, Springer, p. 112, ISBN 978-3-642-29162-3

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]