ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ พ.ศ. 2547
ภาพดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เช้าวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์[1] (Transit of Venus) เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวศุกร์เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ การผ่านหน้าคล้ายกับสุริยุปราคาที่เกิดจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ ต่างกันตรงที่ดาวศุกร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ (แม้ว่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า) เราจึงมองเห็นดาวศุกร์มีขนาดเล็กมาก ในอดีตนักดาราศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์นี้ในการวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์โดยอาศัยการเกิดแพรัลแลกซ์

เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่ได้คำนวณและสังเกตเห็นการเคลื่อนตัวในวงโคจรของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ดังกล่าวเมื่อเวลาตั้งแต่ 15.15 น. จนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2182[2]

ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5–6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และเป็นครั้งสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 21[3] โดยครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 10–11 ธันวาคม พ.ศ. 2660 และวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2668[4]

=10ส.ค2546

อ้างอิง =[แก้]

  1. นิพนธ์ ทรายเพชร. "ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus)". จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 14 ฉบับที่ 157, มิถุนายน 2547. ราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Paul Marston (2004). Jeremiah Horrocks - young genius and first Venus transit observer. University of Central Lancashire, 14–37.
  3. Sample, Ian (5 June 2012). "Transit of Venus – Q&A". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  4. "This Month in Astronomical History: 2004 Venus Transit". American Astronomical Society. 16 June 2017. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.

Horrocks2019

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]