ซีโมเน มาร์ตีนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าแรกของ “Virgil” โดย เพทราค (Petrach) หนังสือวิจิตร วาดโดยซิโมเน มาร์ตินิราว ค.ศ. 1336 ปัจจุบันอยู่ที่มิลาน
รายละเอียดจิตรกรรมฝาผนังที่ “ทีว่าการเมืองเซึยนนา”

ซิโมเน มาร์ตินิ (Simone Martini, ราว ค.ศ. 1284 - ราว ค.ศ. 1344) เป็นจิตรกรสมัยยุคกลางคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และบานพับภาพ

ซิโมเน มาร์ตินิเป็นจิตรกรคนสำคัญในการวิวัฒนาการการเขียนภาพในอิตาลีสมัยต้น มาร์ตินิได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากการวิวัฒนาการของศิลปะกอธิคนานาชาติ (International Gothic) เชื่อกันว่ามาร์ตินิเป็นลูกศิษย์ของดุชโช ผู้เป็นจิตรกรชาวเซียนนาที่มีความสำคัญในขณะนั้น พี่เขยของมาร์ตินิคือลิบโป เม็มมิ (Lippo Memmi) ผู้เป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงเช่นกัน หลักฐานเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของ มาร์ตินิมีไม่มากนักและที่มีอยู่ก็ยังเป็นการถกเถียงกัน มาร์ตินิเสียชีวิตที่อาวินยองเมื่อไปเป็นจิตรกรประจำราชสำนักพระสันตะปาปาที่นั่นเมื่อราวปี ค.ศ. 1344

ชีวิต[แก้]

ซิโมเน มาร์ตินิฝึกงานการเขียนภาพตั้งแต่อายุยังน้อยซึ่งเป็นธรรมเนียมของการฝึกศิลปินหรือช่างในสมัยนั้น งานที่มีหลักฐานว่าเขียนโดยมาร์ตินิงานแรกคือ “จิตรกรรมมาเอสตา” เมื่อปี ค.ศ. 1315 ที่ “ศาลาว่าการเมืองเซียนา” และหลังจากนั้นลิปโป เม็มมีเขียนภาพเดียวกันจากงานชิ้นนี้ที่ ซานจิมานยาโนทำให้ทราบถึงอิทธิพลของมาร์ตินิที่มีผลงานดีพอที่จะทำให้ศิลปินในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ใช้เป็นแบบอย่างทั่วไป ทำให้การเขียนภาพของตระกูลการเขียนแบบเซียนนาเป็นที่แพร่หลายตามไปด้วย ลักษณะการเขียนภาพของมาร์ตินิจะตรงกันข้ามกับงานเขียนของตระกูลการเขียนแบบฟลอเรนซ์ ที่จะออกไปทางความสงบเรียบ (sobriety) ของงานแบบมหึมา งานของมาร์ตินิจะนุ่มนวลกว่า, stylized, มีเครื่องตกแต่ง, มีเส้นที่อ่อนหวาน, และสง่าหรูหราแบบหลวง (courtly elegance) ซึ่งมีอิทธิพลมาจากการเขียนรูปในหนังสือวิจิตรแบบฝรั่งเศส หรืองานแกะงาช้าง งานประเภทนี้นำเข้ามาที่เซียนนาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ตามเส้นฟรังชิเจนา[1] (Via Francigena)[1] ที่เป็นถนนที่นักแสวงบุญและพ่อค้าใช้เดินทางจากทางเหนือของยุโรปไปยังโรม

งานเขียน[แก้]

งานชิ้นเอกของซิโมเน มาร์ตินิก็ได้แก่

  • “Maestà”[2] ที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1315
  • “นักบุญหลุยส์แห่งทูลูสสวมมงกุฏเป็นพระเจ้าแผ่นดิน” (St Louis of Toulouse Crowning the King) ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์คาโปดิมอนเตที่เนเปิลส์ เขียนปี ค.ศ. 1317

เมื่ออยู่ที่อาวินยองมาร์ตินิก็เป็นเพื่อนของฟรานซิส เพททราค (Francis Petrarch) ผู้เป็นปราชญ์และกวี ซึ่งเพททราคกล่าวไว้ในโคลงถึงภาพเหมือนของลอรา เดอ โนฟส์ซึ่งสันนิษฐานกันว่ามาร์ตินิเขียนให้เพททราค

อ้างอิง[แก้]

  1. ถนนฟรังชิเจนาคือเส้นทางจากแคนเตอบรีในอังกฤษผ่านฝรั่งเศสและไปสุดที่โรมและท่าเรือสำหรับเดินทางไปเยรุซาเล็มที่อาพูเลีย (Apulia)
  2. “Maestà” มาจากภาษาอิตาลี “Majesty” เป็นงานจิตรกรรมแบบไอคอนซึ่งมักจะเป็นรูปพระแม่มารีและพระบุตรนั่งบนบัลลังก์และมักจะมีนักบุญและเทวดาล้อมรอบ

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ซิโมเน มาร์ตินิ

สมุดภาพ[แก้]