ซะกาต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เหรียญเงินหรือทองเป็นหนึ่งในวิธีให้ซะกาต

ซะกาต (อาหรับ: زكاة, [zaˈkaːt], "ที่ชำระให้บริสุทธิ์"[1] หรือ ซะกาตุลมาล (زكاة المال, [zaˈkaːt alˈmaːl]), "ซะกาตบนความมั่งคั่ง")[2] เป็นรูปแบบทักษิณาทานที่มักจัดเก็บโดยอุมมะฮ์มุสลิม[1] ถือเป็นข้อผูกพันทางศาสนาในศาสนาอิสลาม[3][4] และในอัลกุรอานจัดให้มันมีความสำคัญรองจากการละหมาด[5]

เนื่องจากเป็นหนึ่งใน 5 หลักการอิสลาม ทำให้ซะกาตเป็นหน้าที่ทางศาสนาของมุสลิมทั้งหมดที่มีทรัพย์สินตรงตามเงื่อนไขในการช่วยเหลือผู้ที่ต้องการ[6][7] เป็นการบริจาคเพื่อการกุศลที่จำเป็น ซึ่งมักถือเป็นภาษี[8][9] การชำระเงินและข้อพิพาทเกี่ยวกับซะกาตมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะในช่วงสงครามริดดะฮ์[10][11][ต้องการเลขหน้า]

ซะกาตด้านทรัพย์สินขึ้นอยู่กับมูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ถือครอง[12][13] มุสลิมต้องบริจาคขั้นต่ำที่ 2.5% (หรือ 1/40)[14] ของเงินออมและทรัพย์สินทั้งหมดทุกปีจันทรคติ โดยจำนวนขั้นต่ำนี้มีชื่อเรียกว่า นิศอบ[15]

ปัจจุบันในประเทศที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนมากส่วนใหญ่ถือว่าซะกาตเป็นความสมัครใจ ในขณะที่ลิเบีย, มาเลเซีย, ปากีสถาน, ซาอุดีอาระเบีย, ซูดาน และเยเมน ซะกาตถือเป็นข้อบังคับและรัฐจะเป็นผู้จัดเก็บ (ณ ค.ศ. 2015)[16][17]

ชีอะฮ์ถือว่าซะกาตเป็นการกระทำส่วนตัวและโดยสมัครใจ โดยมีความต่างจากซุนนีที่พวกเขาจะให้ซะกาตแก่คนเก็บซะกาตที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหม่ามมากกว่าคนเก็บซะกาตที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ[18][19][20]

ศัพทมูล[แก้]

ศัพท์นี้มีที่มาจากรากภาษาอาหรับว่า ز ك و หมายถึง ทำให้บริสุทธิ์[21][1] ซะกาตถือเป็นวิธีทำให้รายได้และความมั่งคั่งของตนบริสุทธิ์จากวิธีการได้มาซึ่งทางโลกที่บางครั้งไม่บริสุทธิ์[1][22][23][24] ซาจิโกะ มูราตะกับวิลเลียม ชิตติกรายงานว่า "เช่นเดียวกับการชะล้างทำให้ร่างกายบริสุทธิ์ และการละหมาดทำให้วิญญาณ (ในศาสนาอิสลาม) บริสุทธิ์ ดังนั้น ซะกาตทำให้ทรัพย์สินบริสุทธิ์และทำให้พระเจ้าพึงพอใจ"[25][26]

หลักคำสอน[แก้]

อัลกุรอาน[แก้]

อัลกุรอานได้ระบุถึงการทำทานในหลายโองการ บางส่วนมีความเกี่ยวข้องกับซะกาต ตัวอย่างโองการที่พบคำว่าซะกาต ได้แก่ ซูเราะฮ์: 7:156, 9:60, 19:31, 19:55, 21:73, 23:4, 27:3, 30:39, 31:4 และ 41:7[27][28] คำว่าซะกาตยังพบในซูเราะฮ์มะดีนะฮ์ยุคแรกและระบุเป็นข้อบังคับของมุสลิม[26] มุสลิมเชื่อว่าผู้ที่ให้ซะกาตจะได้รับรางวัลจากพระเจ้าในโลกหน้า ส่วนผู้ที่ไม่จ่ายซะกาตจะได้รับบทลงโทษ ซะกาตถือเป็นพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับมุสลิม[26]

โองการที่ 2.177 สรุปมุมมองการทำทานและทักษิณาทานในอัลกุรอานไว้ดังนี้:

หาใช่คุณธรรมไม่ การที่พวกเจ้าผินหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกแต่ทว่าคุณธรรมนั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลก และศรัทธาต่อมลาอิกะฮ์ ต่อบรรดาคัมภีร์และนะบีทั้งหลาย และบริจาคทรัพย์ ทั้งๆ ที่มีความรักในทรัพย์นั้น แก่บรรดาญาติที่สนิทและบรรดาเด็กกำพร้า และแก่บรรดาผู้ยากจนและผู้ที่อยู่ในการเดินทาง และบรรดาผู้ที่มาขอและบริจาคในการไถ่ทาส และเขาได้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต และ(คุณธรรมนั้น) คือบรรดาผู้ที่รักษาสัญญาของพวกเขาโดยครบถ้วน เมื่อพวกเขาได้สัญญาไว้ และบรรดาผู้ที่อดทนไนความทุกข์ยาก และในความเดือดร้อน และขณะต่อสู่ในสมรภูมิ ชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่พูดจริง และชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่มีความยำเกรง - 2:177

รายงานจากยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี โองการที่ 9.5 ของอัลกุรอาน[29]ทำให้ซะกาตเป็นหนึ่งในสามข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับพวกนอกศาสนาที่จะเป็นมุสลิม: "แต่ถ้าพวกเขาสำนึกผิดกลับตัว ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต พวกเขาเป็นพี่น้องในความเชื่อของท่าน"[6]

อัลกุรอานยังระบุรายชื่อผู้ที่ควรได้รับซากาต โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมข้างล่างนี้[30]

ฮะดีษ[แก้]

แต่ละฮะดีษที่น่าเชื่อถือที่สุดระบุถึงเรื่องซะกาต เช่น เศาะฮีฮ์อัลบุคอรี เล่มที่ 24,[31][32] เศาะฮีฮ์มุสลิม เล่มที่ 12,[33][34] และซุนันอะบูดาวูด เล่มที่ 9[35][36] ซึ่งกล่าวถึงด้านต่าง ๆ ของซะกาต เช่น ใครต้องจ่าย จำนวนเท่าใด เมื่อใด และอะไร ฮะดีษเหล่านี้ระบุถึงจำนวนอัตรา 2.5% ด้วย[37]

ฮะดีษเหล่านี้ตักเตือนผู้ที่ไม่จ่ายซะกาต ตามรายงานจากฮะดีษ การไม่จ่ายซะกาตหรือล้อเลียนผู้ที่จ่ายซะกาตเป็นสัญลักษณ์ของพวกหน้าไหว้หลังหลอก และพระเจ้าจะไม่ยอมรับการละหมาดของคนพวกนี้[38][39] ยังมีซุนนะฮ์ที่กล่าวถึงการลงโทษผู้ที่ปฏิเสธหรือไม่จ่ายซะกาตจากพระเจ้า[40] ในวันพิพากษา ผู้ที่ไม่จ่ายซะกาตจะต้องรับผิดชอบและถูกลงโทษ[30]

จำนวน[แก้]

จำนวนซะกาตที่จ่ายตามบุคคลนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนเงินและประเภทของทรัพย์สินที่บุคคลนั้นมีอยู่ อัลกุรอานไม่ได้ระบุแนวทางเฉพาะเกี่ยวกับประเภทของความมั่งคั่งที่ต้องเสียภาษีภายใต้ซะกาต หรือไม่ระบุจำนวนร้อยละที่จะให้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชี้ชัดว่าเป็นการบริจาค "ส่วนเกิน" ของรายได้ แต่ธรรมเนียมปฏิบัติในโลกอิสลามคือจำนวนเงินที่จ่ายซะกาตในทรัพย์สินทุน (เช่น เงิน) ที่ 2.5% (1/40)[41] ซะกาตยังสามารถจ่ายด้วยสินค้าทางการเกษตร, โลหะมีค่า, แร่ และปศุสัตว์ ในอัตราที่หลากหลาย ระหว่าง 2.5% ถึง 20% (1/5) ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า[42][43]

การไม่จ่าย[แก้]

ช่องใส่เงินซะกาตในซาวิยะฮ์ของมูลัยอิดรีสที่ 2 ที่แฟ็ส ประเทศโมร็อกโก[44]

ผลที่ตามมาของการไม่จ่ายซะกาตยังเป็นเรื่องอภิปรายโต้แย้งทางกฎหมายอย่างกว้างขวางในหลักนิติศาสตร์อิสลามแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวมุสลิมเต็มใจที่จะจ่ายซะกาตแต่ปฏิเสธที่จะจ่ายให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือรัฐ[45][46]

นักกฎหมายสมัยคลาสสิกบางคนมีมุมมองว่ามุสลิมคนใดที่ตั้งใจปฏิเสธที่จะจ่ายซะกาตเป็นผู้ที่ละทิ้งศาสนา เนื่องจากการไม่เชื่อว่าสิ่งนี้เป็นกิจบังคับทางศาสนา (ฟัรฎ์) เป็นรูปแบบหนึ่งของการปฏิเสธ (กุฟร์) และควรถูกฆ่า[47][48][49] อย่างไรก็ตาม ในหมู่นักกฎหมายสมัยคลาสสิกมีความคิดเห็นในการกำหนดบทลงโทษที่หลากหลาย เช่น จ่ายค่าปรับ จำคุก หรือลงโทษทางกาย[45] นักวิชาการสมัยคลาสสิกและสมัยใหม่บางส่วนอย่างอิสฮาก อิบน์ รอฮ์วัยฮ์กับยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี ระบุว่า ผู้ที่ไม่จ่ายซะกาตควรริบเงินพร้อมกับทรัพย์สมบัติของเขาครึ่งหนึ่ง[50] นอกจากนี้ บรรดาผู้ที่ไม่จ่ายซะกาตจะต้องเผชิญหน้ากับการลงโทษของพระเจ้าในวันพิพากษาในโลกหน้า[30]

การกระจาย[แก้]

รายงานจากซูเราะฮ์อัตเตาะบะฮ์ กลุ่มคนที่มีสิทธิ์ได้รับทุนซะกาตแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม[51]

"แท้จริงทานทั้งหลายนั้น สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนม และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ"

— อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 9 (อัตเตาะบะฮ์), อายะฮ์ที่ 60[52]

นักวิชาการอิสลามได้ตีความโองการนี้เป็นเหตุของมุสลิมทั้ง 8 จำพวก ให้เป็นผู้รับซะกาตตามจำนวนที่สมควรแบ่ง:[53][54]

  1. ผู้ที่ไม่มีทรัพย์สินและไม่มีรายได้[53] คนยากจน[54]
  2. ผู้ที่รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย[53] คนขัดสน[54]
  3. เจ้าหน้าที่ดูแลและจัดเก็บซะกาต[53][54]
  4. ผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนมหรือคาดว่าจะเข้ารับอิสลาม[53] ผู้ที่เข้ารับอิสลามใหม่[51][54][55] และพันธมิตรในเหตุของศาสนาอิสลาม[54][56]
  5. เพื่อไถ่ทาสหรือเชลยศึก[53]
  6. ผู้ที่เป็นหนี้สินล้นตัว ในขณะที่พยายามสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของตน[53] ลูกหนี้ที่ก่อหนี้จากการแสวงหาเป้าหมายอันสมควร[54]
  7. ผู้ที่ต่อสู้ในทางศาสนาหรืออุทิศตนเพื่อพระเจ้า (ฟีซะบีลิลลาฮ์)[53] หรือญิฮาดในแนวทางของอัลลอฮ์ ด้วยปากกา คำพูด หรือดาบ[57] หรือสำหรับนักรบอิสลามที่ต่อสู้กับผู้ปฏิเสธแต่ไม่ใช่ทหารรับจ้าง[54][56][58]: h8.17 
  8. นักเดินทาง ผู้หลงทาง[53] นักเดินทางที่เดินทางโดยมีเป้าหมายที่คุ้มค่าแต่ไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้โดยปราศจากความช่วยเหลือทางการเงิน[54][56]

ไม่ควรให้ซะกาตแก่พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หลาน คู่สมรสของตนเอง หรือลูกหลานศาสดามุฮัมมัด[59]

ทั้งอัลกุรอานและฮะดีษไม่ได้ระบุการแบ่งซะกาตที่สัมพันธ์กันเป็น 8 กลุ่มข้างต้น[60] รายงานจากอุมดะตุสซาลิก มัซฮับชาฟิอีระบุว่าจะต้องแบ่งซะกาตให้เท่า ๆ กัน ในบรรดาผู้รับทั้ง 8 จำพวก ส่วนมัซฮับฮะนะฟีอนุญาตให้แจกจ่ายซะกาตให้แก่ทุกกลุ่ม บางกลุ่ม หรือเพียงกลุ่มเดียว[58]: h8.7 

นักวิชาการมุสลิมยังสรุปไม่ได้ว่าผู้รับซะกาตสามารถรวมผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมได้หรือไม่ ในอดีต สถาบันอิสลามมักสอนว่าเฉพาะมุสลิมเท่านั้นที่จะได้รับซะกาต[61] ในช่วงปัจจุบัน มีบางส่วนระบุว่าอาจให้ซะกาตแก่ผู้ที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมหลังฝ่ายมุสลิมได้รับไปตามที่ต้องการแล้ว โดยระบุว่าไม่พบส่วนใดในอัลกุรอานหรือซุนนะฮ์ที่ระบุว่าควรจ่ายซะกาตให้กับชาวมุสลิมเท่านั้น[59]

บทบาทในสังคม[แก้]

มุสลิมถือว่าซะกาตเป็นการแสดงความกตัญญู โดยแสดงความห่วงใยต่อความเป็นอยู่ของมุสลิมด้วยกัน[55] เช่นเดียวกันกับการรักษาความปรองดองทางสังคมระหว่างคนรวยกับคนจน[62] ซะกาตส่งเสริมการกระจายความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมและส่งเสริมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของอุมมะฮ์[63]

การใช้งานในอดีต[แก้]

ซะกาต แนวปฏิบัติของศาสนาอิสลามที่ริเริ่มขึ้นโดยนบีมุฮัมมัด เริ่มเก็บครั้งแรกในวันแรกของเดือนมุฮัรร็อม[64] สิ่งนี้มีบทบาทสำคัญตลอดประวัติศาสตร์ของมัน[65] Schact กล่าวแนะว่าแนวคิดซะกาตอาจมาจากศาสนายูดาห์ โดยมีรากศัพท์ภาษาฮีบรูและแอราเมอิกว่า zakut[26][66] อย่างไรก็ตาม นักวิชาการอิสลามบางส่วน[66] ปฏิเสธว่าโองการเกี่ยวกับซะกาตในอัลกุรอาน มีรากศัพท์จากศาสนายูดาห์[67]

เคาะลีฟะฮ์ อะบูบักร์ ซึ่งมุสลิมนิกายซุนนีเชื่อว่าเป็นผู้สืบทอดของมุฮัมมัด เป็นบุคคลแรกที่จัดตั้งระบบซะกาตตามกฎหมาย[68] อะบูบักร์ได้กำหนดหลักการที่ว่า จะต้องจ่ายซะกาตให้กับตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายในสิทธิอำนาจของมุฮัมมัด (เช่น ตนเอง)[65] มุสลิมบางกลุ่มปฏิเสธและไม่ยอมจ่ายซะกาตให้แก่อะบูบักร์ ทำให้เกิดข้อกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกศาสนา และชักนำไปสู่สงครามริดดะฮ์[10][65][69]

อุมัร อิบน์ อัลค็อฏฏอบกับอุษมาน อิบน์ อัฟฟาน เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 2 กับ 3 ยังคงดำเนินตามการประมวลซะกาตของอะบูบักร์[65] โดยอุษมานได้แก้ไขระเบียบการเก็บรวบรวมซะกาตโดยกำหนดให้เฉพาะผู้ที่ทรัพย์สินที่ "ชัดเจน" เท่านั้นที่ต้องเสียภาษี ซึ่งมีผลบังคับจำกัดการจ่ายซะกาตเฉพาะที่ดินและผลิตผลทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่[70] ในสมัยอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เรื่องของซะกาตผูกติดอยู่กับความชอบธรรมของรัฐบาล หลังจากอะลี ผู้สนับสนุนของท่านไม่ยอมจ่ายซะกาตแก่มุอาวิยะฮ์ที่ 1 เนื่องจากพวกเขาไม่ยอมรับพระองค์ว่ามีความชอบธรรม[65]

การเก็บซะกาตในมะดีนะฮ์ที่รัฐอิสลามเป็นผู้ดำเนินการนั้นดำรงอยู่ได้ไม่นาน โดยในรัชสมัยอุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ (ค.ศ. 717–720) มีรายงานว่าไม่มีใครในมะดีนะฮ์ต้องการซะกาต ทำให้ลังรัชสมัยนี้ ซะกาตจึงกลายเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคลมากขึ้น[65] สิ่งนี้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์อิสลาม เช่น ผู้นำและมุสลิมนิกายซุนนีถือว่าการรวบรวมและการแจกจ่ายซะกาตเป็นหนึ่งในหน้าที่ของรัฐอิสลาม ซึ่งมุมมองนี้ยังคงอยู่ในประเทศอิสลามสมัยใหม่[71]

ซะกาตเป็นหนึ่งใน 5 หลักการอิสลาม นอกจากนี้ มุสลิมยังส่งเสริมให้ทำการบริจาคโดยสมัครใจ (เศาะดะเกาะฮ์)[72] ซะกาตจะไม่เก็บจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ถึงแม้ว่าพวกเขาจะต้องจ่ายในรูปแบบภาษีญิซยะฮ์ก็ตาม[73][74]

นิศอบ เกณฑ์และมาตรฐานของซะกาต[แก้]

ซะกาตจะเป็นภาคบังคับก็ต่อเมื่อจำนวนผลผลิต ผลเก็บเกี่ยว หรือทรัพย์สินนั้นมีเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยแยกออกตามประเภทของรายได้

นิศอบของผลผลิตทางการเกษตร[แก้]

หากผลเก็บเกี่ยวมีจำนวนมากกว่า 5 วะสัก หรือประมาณ 653 กก.

  • ต้องจ่าย 10% ของผลเก็บเกี่ยวถ้าเพาะปลูกโดยการพึ่งพาฝน
  • หรือจ่าย 5% ของผลเก็บเกี่ยวถ้าวิดน้ำด้วยกังหันจากแม่น้ำลำธาร ตักน้ำจากบ่อ หรือใช้เครื่องปั้มน้ำดูดน้ำจากคลอง

นิศอบของปศุสัตว์[แก้]

ปศุสัตว์ที่จะต้องจ่ายซะกาตคือ อูฐ วัว กระบือ แกะ แพะ

นิศอบของวัว[แก้]

  • ทุก ๆ 30 ตัว จ่ายซะกาตเป็นลูกวัวอายุ 1 ขวบ
  • ทุก ๆ 40 ตัว จ่ายซะกาตเป็นลูกวัวอายุ 2 ขวบ

นิศอบของอูฐ[แก้]

  • อูฐ 5-9 ตัว ต้องจ่ายเป็นแกะ 1 ตัว
  • อูฐ 10-14 ตัว ต้องจ่ายเป็นแกะ 2 ตัว
  • อูฐ 15-19 ตัว ต้องจ่ายเป็นแกะ 3 ตัว
  • อูฐ 20-24 ตัว ต้องจ่ายเป็นแกะ 4 ตัว
  • อูฐ 25-35 ตัว ต้องจ่ายเป็นลูกอูฐตัวเมียอายุหนึ่งขวบจำนวน 1 ตัว
  • อูฐ 36-45 ตัว ต้องจ่ายเป็นลูกอูฐตัวเมียอายุสองขวบจำนวน 1 ตัว
  • อูฐ 46-60 ตัว ต้องจ่ายเป็นลูกอูฐตัวเมียอายุสามขวบจำนวน 1 ตัว
  • อูฐ 61-75 ตัว ต้องจ่ายเป็นลูกอูฐตัวเมียอายุสี่ขวบจำนวน 1 ตัว
  • อูฐ 76-90 ตัว ต้องจ่ายเป็นลูกอูฐตัวเมียอายุสองขวบจำนวน 2 ตัว
  • อูฐ 91-120 ตัว ต้องจ่ายเป็นลูกอูฐตัวเมียอายุสามขวบจำนวน 2 ตัว
  • อูฐ 121 ตัวหรือมากกว่านั้น ต้องจ่ายเป็นลูกอูฐตัวเมียอายุสองขวบจำนวน 1 ตัวทุก ๆ 40 ตัว หรือ ลูกอูฐตัวเมียอายุสามขวบจำนวน 1 ตัวทุก ๆ 50 ตัว

นิศอบเงินทอง[แก้]

  • ทองคำหนัก 85 กรัม ไม่ว่าจะเป็นทองรูปพรรณ ทองแท่ง หรือเหรียญทอง จ่ายซะกาต 2.5% ของราคาทองคำ
  • เงินหนัก 595 กรัม ไม่ว่าจะเป็นเงินรูปพรรณ เงินแท่ง หรือเหรียญเงินบริสุทธิ์ จ่ายซะกาต 2.5 % ของราคาเงิน
  • เงินมาตราใดก็ตามเก็บไว้ที่บ้านหรือในธนาคาร มีค่าเท่ากับเงินบริสุทธิ์ 595 กรัม ต้องจ่ายซะกาต 2.5 % ของจำนวนเงิน
  • มีสมบัติเป็นสินค้าในคลัง มีค่าเท่ากับเงินบริสุทธิ์ 595 กรัม ต้องจ่ายซะกาต 2.5 % ของราคาสินค้า

นิศอบของทรัพย์ในดินสินในน้ำ[แก้]

ทรัพย์สินต่อไปนี้ต้องจ่ายซะกาต 1/5 หรือ 20% ของรายได้

  • รายได้จากทำเหมืองแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว ทองแดง เหล็ก น้ำ ถ่านหิน เพชรพลอยและอัญมณีชนิดต่าง ๆ สารส้ม เกลือ ปิโตรเลียม ฯลฯ
  • ขุมทรัพย์ของมีค่าที่พบเจอใต้พื้นดิน ใต้กำแพง ในต้นไม้ ภูเขา หรือทะเล

ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ซะกาตเป็นข้อบังคับสำหรับมุสลิมเท่านั้น ส่วนผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมที่อาศัยอยู่ในรัฐอิสลาม ชะรีอะฮ์ในอดีตเคยถูกมองเป็นการให้อำนาจญิซยะฮ์ (ภาษีรัชชูปการ)[75] ส่วนภาษีรูปแบบอื่นต่อมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ซึ่งเคยมีการใช้งานในประวัติศาสตร์อิสลาม เช่น เคาะรอจญ์ (ภาษีที่ดิน),[76] คุมส์ (ภาษีของโจรและของปล้นสะดมจากคนที่ไม่ใช่มุสลิม ความมั่งคั่งกะทันหัน),[77] ushur (ภาษีที่ชายแดนรัฐ ท่าเรือ และชายแดนแต่ละเมืองเพื่อขนย้ายสินค้า ศุลกากร),[78] kari (ภาษีบ้าน)[79] และ chari (บางครั้งเรียก maara, ภาษีทุ่งเลี้ยงสัตว์)[80][81]

เศาะดะเกาะฮ์ เป็นอีกคำหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการกุศล มักจะตีความว่าเป็นคู่ตรงข้ามทางดุลยพินิจของซะกาต[82]

ซะกาตฟิฏเราะฮ์[แก้]

ซะกาตฟิฏเราะฮ์ หรือ เศาะดะเกาะตุลฟิตร์[83] เป็นซะกาตบังคับขนาดเล็กสำหรับมุสลิมทั้งหมด (ทั้งชายและหญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ ตราบเท่าที่เขาหรือเธอสามารถทำได้) มักจ่ายตอนสิ้นสุดวันถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน[84][85] จำนวนเงินที่รวบรวมจะนำไปใช้จ่ายให้กับคนเก็บซะกาตและมุสลิมที่ยากจน เพื่อที่พวกเขาจะได้มีช่องทางในการฉลองอีดิลฟิฏร์ (เทศกาลละศีลอด) หลังเดือนเราะมะฎอน ร่วมกับมุสลิมคนอื่น ๆ[86]

ซะกาตฟิฏเราะฮ์เป็นจำนวนเงินคงที่ที่ประเมินต่อคน ส่วนซะกาตุลมาลนั้นขึ้นอยู่กับรายได้ส่วนบุคคลและทรัพย์สิน[85] ตามรายงานจาก the Hidaya Foundation ซะกาตฟิฏเราะฮ์ที่แนะนำนั้นขึ้นอยู่กับราคาของข้าวหรือข้าวสาลี 1 ศออ์ (ประมาณ 3 กิโลกรัม) ตามราคาท้องถิ่น (ประมาณ 7.00 ดอลลาร์สหรัฐในสหรัฐ ณ ค.ศ. 2015)[83]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Benda-Beckmann, Franz von (2007). Social security between past and future: Ambonese networks of care and support. LIT Verlag, Münster. p. 167. ISBN 978-3-8258-0718-4. Zakat literally means 'that which purifies'. It is a form of sacrifice which purifies worldly goods from their worldly and sometimes impure means of acquisition, and which, according to God's wish, must be channeled towards the community.
  2. "Zakat Al-Maal (Tithing)". Life USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2016. สืบค้นเมื่อ 11 August 2016.
  3. Salehi, M. (2014). "A Study on the Influences of Islamic Values on Iranian Accounting Practice and Development". Journal of Islamic Economics, Banking and Finance. 10 (2): 154–182. doi:10.12816/0025175. Zakat is a religious tax that every Muslim has to pay.
  4. Lessy, Z. (2009). "Zakat (almsgiving) management in Indonesia: Whose job should it be?". La Riba Journal Ekonomi Islam. 3 (1). Zakat is alms-giving and religiously obligatory tax.
  5. Hallaq, Wael (2013). The impossible state: Islam, politics, and modernity's moral predicament. New York: Columbia University Press. p. 123. ISBN 9780231162562.
  6. 6.0 6.1 Yusuf al-Qaradawi (1999), Monzer Kahf (transl.), Fiqh az-Zakat, Dar al Taqwa, London, Volume 1, ISBN 978-967-5062-766, p. XIX.
  7. "BBC - Religions - Islam: Islam at a glance". 2022-03-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-18.
  8. Muḥammad ibn al-Ḥasan Ṭūsī (2010), Concise Description of Islamic Law and Legal Opinions, ISBN 978-1904063292, pp. 131–135.
  9. Hefner R.W. (2006). "Islamic economics and global capitalism". Society. 44 (1): 16–22. doi:10.1007/bf02690463. S2CID 153432583. Zakat is a tax levied on income and wealth for the purpose of their purification.
  10. 10.0 10.1 Bonner, Michael (2003), Poverty and Charity in Middle Eastern Contexts, State University of New York Press, ISBN 978-0791457382, p. 15: "In the old Arabic narratives about the early Muslim community and its conquests and quarrels, zakat and sadaqa loom large at several moments of crisis. These include the beginning of Muhammad's prophetic career in Mecca, when what appear to be the earliest pieces of scripture insist on almsgiving more than any other human activity. These moments of crisis also include the wars of the ridda or apostasy in C.E. 632–634, just after Muhammad's death. At that time most of the Arabs throughout the peninsula refused to continue paying zakat (now a kind of tax) to the central authority in Medina; Abu Bakr, upon assuming the leadership, swore he would force them all to pay this zakat, "even if they refuse me only a [camel's] hobble of it," and sent armies that subdued these rebels or "apostates" in large-scale battles that were soon followed by the great Islamic conquests beyond the Arabian peninsula itself."
  11. Shoufani, Elias (1973), Al-Riddah and the Muslim Conquest of Arabia, University of Toronto Press, ISBN 978-0802019158.
  12. Décobert, C. (1991), Le mendiant et le combattant, L’institution de l’islam, Paris: Editions du Seuil, pp. 238–240.
  13. Medani Ahmed and Sebastian Gianci, Zakat, Encyclopedia of Taxation and Tax Policy, p. 479, quote: "As one of the Islam's five pillars, zakat becomes an obligation due when, over a lunar year, one controls a combination of income and wealth equal to or above Nisaab."
  14. Sarwar, Muhammad (2015). al-Kafi Volume 1 of 8 (Second ed.). New York: The Islamic Seminary Inc. p. 345. ISBN 978-0-9914308-6-4.
  15. Yusuf al-Qaradawi (1999), Monzer Kahf (transl.) King Abdulaziz University, Saudi Arabia, Fiqh az-Zakat, Volume 1, Dar al -Taqwa, London, ISBN 978-967-5062-766, pp. xxi–xxii.
  16. Marty, Martin E. & Appleby, R. Scott (1996). Fundamentalisms and the state: remaking polities, economies, and militance. University of Chicago Press. p. 320. ISBN 978-0-226-50884-9.
  17. Samiul Hasan (2015). Human Security and Philanthropy: Islamic Perspectives and Muslim Majority Country Practices. Springer. p. 130. ISBN 9781493925254.
  18. Jones, Owen Bennett (2003). Pakistan: Eye of the Storm (illustrated ed.). Yale University Press. pp. 21–23. ISBN 978-0300101478.
  19. John, Wilson (2009). John, Wilson (บ.ก.). Pakistan: The Struggle Within. Pearson Education India. p. 105. ISBN 978-8131725047.
  20. Kumaraswamy, P. R.; Copland, Ian (18 October 2013). Kumaraswamy, P.R.; Copland, Ian (บ.ก.). South Asia: The Spectre of Terrorism. Routledge. p. 132. ISBN 978-1317967736.
  21. "The Comprehensive Aramaic Lexicon". cal.huc.edu.
  22. Ridgeon, Lloyd (2003), Major World Religions: From Their Origins to the Present, Routledge, ISBN 978-0415297967, pp. 258: "The Quranic term zakat came to signify a form of obligatory charity or alms tax that was seen as a means of purifying the believer's wealth."
  23. Dean, H. & Khan, Z. (1998). "Islam: A challenge to welfare professionalism". Journal of Interprofessional Care. 12 (4): 399–405. doi:10.3109/13561829809024947. Zakat purifies the wealth of the individual
  24. อัลกุรอาน 9:103
  25. Murata, S. and Chittick, W. C. (1994), The vision of Islam, IB Tauris, London, ISBN 978-1557785169, p. 16
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 Heck, Paul L. (2006). "Taxation". ใน McAuliffe, Jane Dammen (บ.ก.). Encyclopaedia of the Qur'an. Vol. 5. Leiden: Brill Publishers. ISBN 978-90-04-14743-0.
  27. Yusuf al-Qaradawi (1999), Monzer Kahf (transl.), Fiqh az-Zakat, Dar al Taqwa, London, Volume 1, ISBN 978-967-5062-766, p. XL, "Qur'an used the word zakah, in the meaning known to Muslims now, as early as the beginning of the Makkan period. This is found in Suras: 7:156, 19:31 and 55, 21:72, 23:4, 27:7, 30:39, 31:3 and 41:7."
  28. The English translation of these verses can be read here "Center for Muslim-Jewish Engagement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2016., University of Southern California
  29. อัลกุรอาน 9:5
  30. 30.0 30.1 30.2 A. Zysow, "Zakāt." Encyclopaedia of Islam, Second Edition.
  31. "Sahih al-Bukhari"., Book:24 - Obligatory Charity Tax (Zakat) at "sunnah.com".
  32. Obligatory Charity Tax (Zakat) เก็บถาวร 4 ธันวาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sahih Bukhari, University of Southern California
  33. "Sahih Muslim"., Book:12 - The Book of Zakat at "sunnah.com".
  34. The Book of Zakat (Kitab Al-Zakat) เก็บถาวร 4 ธันวาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sahih Muslim, University of Southern California
  35. "Sunan Abi Dawud"., Book:9 - Zakat (Kitab Al-Zakat) at "sunnah.com".
  36. Zakat (Kitab Al-Zakat) เก็บถาวร 4 ธันวาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sunan Abu-Dawood, University of Southern California
  37. Sunan Abu Dawood, 9:1568
  38. Sahih Muslim, "Book:12, Hadith:28"., "Book:12, Hadith:92".
  39. Sahih Muslim, 5:2161, 5:2223
  40. Sahih al-Bukhari, 2:24:486
  41. Medani Ahmed and Sebastian Gianci, Zakat, Encyclopedia of Taxation and Tax Policy, p. 479-481
  42. Kuran, Timur (1996). "The Economic Impact of Islamic Fundamentalism". ใน Marty; Martin E.; Appleby, R. Scott (บ.ก.). Fundamentalisms and the state: remaking polities, economies, and militance. University of Chicago Press. p. 318. ISBN 978-0-226-50884-9.
  43. Kuran, Timur (2010). Islam and Mammon: The Economic Predicaments of Islamism. Princeton University Press. p. 19. ISBN 978-1-4008-3735-9.
  44. Fitzpatrick, Coeli; Walker, Adam Hani (2014). Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God. p. 94. ISBN 978-1-61069-177-2.
  45. 45.0 45.1 Nicolas Prodromou Aghnides (1916). Mohammedan Theories of Finance, Volume 70. Columbia university. pp. 302–304.
  46. Yusuf al-Qaradawi (2011). Fiqh Al-Zakāh: A Comprehensive Study of Zakah Regulations and Philosophy in the Light of the Qurʼan and Sunna. Islamic Book Trust in affiliation with The Other Press. pp. 40–41. ISBN 978-967-5062-76-6. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  47. Abdullahi Ahmed An-Na'im Na (2010), Islam and the Secular State: Negotiating the Future of Shari'a, Harvard University Press, ISBN 978-0674034563, pp. 58–63
  48. Koylu, Mustafa (2003), Islam and its Quest for Peace: Jihad, Justice and Education, ISBN 978-1565181809, pp. 88–89
  49. Nicolas Prodromou Aghnides (1916). Mohammedan Theories of Finance, Volume 70. Columbia university. p. 205.
  50. Yusuf, Al Qardawi (1984). Fiquh of Zakat Volume 1. Kingdom of Saudi Arabia: King Abdul Aziz University Center for Research in Islamic Economics. p. 19.
  51. 51.0 51.1 Ariff, Mohamed (1991). The Islamic voluntary sector in Southeast Asia: Islam and the economic development of Southeast Asia. Institute of Southeast Asian Studies. p. 38. ISBN 978-981-3016-07-1.
  52. อัลกุรอาน 9:60
  53. 53.0 53.1 53.2 53.3 53.4 53.5 53.6 53.7 53.8 M.A. Mohamed Salih (Editor: Alexander De Waal) (2004). Islamism and its enemies in the Horn of Africa. Indiana University Press. pp. 148–149. ISBN 978-0-253-34403-8. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  54. 54.0 54.1 54.2 54.3 54.4 54.5 54.6 54.7 54.8 Benda-Beckmann, Franz von (2007). Social security between past and future: Ambonese networks of care and support. LIT Verlag, Münster. p. 167. ISBN 978-3-8258-0718-4.
  55. 55.0 55.1 Weiss, Anita M. (1986). Islamic reassertion in Pakistan: the application of Islamic laws in a modern state. Syracuse University Press. p. 80. ISBN 978-0-8156-2375-5.
  56. 56.0 56.1 56.2 Juynboll, T.W. Handleiding tot de Kennis van de Mohaamedaansche Wet volgens de Leer der Sjafiitische School, 3rd Edition, Brill Academic, pp. 85–88
  57. Jonsson, David (May 2006). Islamic Economics and the Final Jihad. Xulon Press. p. 245. ISBN 978-1-59781-980-0.
  58. 58.0 58.1 "Reliance of the Traveller" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 March 2013.
  59. 59.0 59.1 Visse; Hans; Visser, Herschel (2009). Islamic finance: principles and practice. Edward Elgar Publishing. p. 29. ISBN 978-1-84542-525-8.
  60. Masahiko Aoki, Timur Kuran and Gérard Roland (2012), Political consequences of the Middle East's Islamic economic legacy, in Institutions and Comparative Economic Development, Palgrave Macmillan, ISBN 978-1137034038, Chapter 5, pp. 124–148
  61. Benthal, Jonathan. "The Qur'an's Call to Alms Zakat, the Muslim Tradition of Alms-giving" (PDF). ISIM Newsletter. 98 (1): 13.
  62. Scott, James C. (1985). Weapons of the weak: everyday forms of peasant resistance. Yale University Press. p. 171. ISBN 978-0-300-03641-1.
  63. Jawad, Rana (2009). Social welfare and religion in the Middle East: a Lebanese perspective. The Policy Press. p. 60. ISBN 978-1-86134-953-8.
  64. Neyshabouri, Abd al-Husayn. "Shia Calendar". Washington Islamic Education Center. สืบค้นเมื่อ 16 December 2017.
  65. 65.0 65.1 65.2 65.3 65.4 65.5 Weiss, Anita M. (1986). Islamic reassertion in Pakistan: the application of Islamic laws in a modern state. Syracuse University Press. p. 81. ISBN 978-0-8156-2375-5.
  66. 66.0 66.1 Yusuf al-Qaradawi (1999), Monzer Kahf (transl.), Fiqh az-Zakat, Dar al Taqwa, London, Volume 1, ISBN 978-967-5062-766, pp. XXXIX–XL
  67. ดูคำอธิบายเกี่ยวกับลูกหลานอิสราเอลในโองการที่ อัลกุรอาน 9:60–66
  68. Hawting, Gerald R., บ.ก. (2006). The development of Islamic ritual. Ashgate Publishing. p. 301. ISBN 978-0-86078-712-9.
  69. Turner, Bryan (2007). "Religious authority and the new media". Theory, Culture & Society. 24 (2): 117–134. doi:10.1177/0263276407075001. S2CID 145564662.
  70. Hashmi, Sohail H. (2010). "The Problem of Poverty in Islamic Ethics". ใน Galston; William A.; Hoffenberg, Peter H. (บ.ก.). Poverty and Morality: Religious and Secular Perspectives. Cambridge University Press. p. 202. ISBN 978-0-521-12734-9.
  71. Faiz Mohammad (1991), Prospects of Poverty Eradication Through the Existing "Zakat" System in Pakistan, The Pakistan Development Review, Vol. 30, No. 4, 1119–1129
  72. Bogle, Emory C. (1998). Islam: origin and belief. University of Texas Press. p. 31. ISBN 978-0-292-70862-4.
  73. Khatab, Sayed (2006). The power of sovereignty: the political and ideological philosophy of Sayyid Qutb. Taylor & Francis. p. 62. ISBN 978-0-415-37250-3.
  74. Zaman, M. Raquibuz (2001). "Islamic Perspectives on Territorial Boundaries and Autonomy". ใน Miller, David; Hashmi, Sohail H. (บ.ก.). Boundaries and justice: diverse ethical perspectives. Princeton University Press. p. 189. ISBN 978-0-691-08800-6.
  75. Böwering, Gerhard, ed. (2013), The Princeton Encyclopedia of Islamic Political Thought, Princeton University Press. p. 545
  76. Lewis, Bernard (2002), The Arabs in History, Oxford: Oxford University Press, ISBN 0-19-280310-7, page 70-74
  77. Iqbal, Zafar and Lewis, Mervyn (2009) An Islamic Perspective on Governance, ISBN 978-1847201386, pp. 99–115
  78. Nienhaus, Volker (2006), Zakat, taxes and public finance in Islam, in Islam and the Everyday World: Public Policy Dilemmas. Sohrab Behdad, Farhad Nomani (eds.), ISBN 978-0415368230, pp. 176–189
  79. Lambton, K.S. (October 1948). "An Account of the Tārīkhi Qumm". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. 12 (3–4): 586–596. doi:10.1017/s0041977x00083154. S2CID 154257790.
  80. Hamid, S. (1995). "Bookkeeping and accounting control systems in a tenth-century Muslim administrative office". Accounting, Business & Financial History. 5 (3): 321–333. doi:10.1080/09585209500000049.
  81. Kulke, H. and Rothermund, D. (1998), A History of India, 3rd Edition, Routledge, ISBN 0-415-15482-0, pp. 158–163
  82. Meri, Josef W., บ.ก. (2005-10-31). Medieval Islamic Civilization: An Encyclopedia. Psychology Press. p. 145. ISBN 9780415966900.
  83. 83.0 83.1 "Sadaqat-ul-Fitr". Hidaya Foundation. สืบค้นเมื่อ 8 April 2015.
  84. Kasule, O. H. (1986). "Muslims in Trinidad and Tobago". Journal Institute of Muslim Minority Affairs. 7 (1): 195–213. doi:10.1080/13602008608715974.
  85. 85.0 85.1 Buehler, M. (2008). "The rise of shari'a by-laws in Indonesian districts: An indication for changing patterns of power accumulation and political corruption" (PDF). South East Asia Research. 16 (2): 255–285. doi:10.5367/000000008785260473. S2CID 54834534.
  86. Al-Hamar, M., Dawson, R., & Guan, L. (2010), A culture of trust threatens security and privacy in Qatar, IEEE 10th International Conference, ISBN 978-1-4244-7547-6, pp. 991–995

หนังสือและบทความ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]