ชูอิจิ นางูโมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชูอิจิ นางูโมะ
นากุโมะ ชูอิจิ ในสมัยที่เป็นพลเรือโท
ชื่อพื้นเมือง
南雲 忠一
เกิด25 มีนาคม ค.ศ.1887
โยเนซาวะ, จังหวัดยามางาตะ ญี่ปุ่น
เสียชีวิต6 กรกฎาคม ค.ศ.1944 (อายุ 57 ปี)
เกาะไซปัน, แปซิฟิกใต้ในอาณัติ
รับใช้ ญี่ปุ่น
แผนก/สังกัดNaval flag of จักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประจำการค.ศ.1908 – ค.ศ.1944
ชั้นยศเรือตรี (ค.ศ.1910)
เรือโท (ค.ศ.1911)
เรือเอก (ค.ศ.1914)
นาวาตรี (ค.ศ.1920)
นาวาโท (ค.ศ.1924)
นาวาเอก (ค.ศ.1929)
พลเรือตรี (ค.ศ.1935)
พลเรือโท (ค.ศ.1939 จนถึงการเสียชีวิต)
พลเรือเอก (แต่งตั้งหลังการเสียชีวิต)
หน่วยคิโด บุไต
บังคับบัญชาวิทยาลัยการทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
กองเรือที่ 3 แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
ที่ว่าการนาวิกโยธินซาเซโบ
ที่ว่าการนาวิกโยธินคุเระ
กองเรือที่ 1 แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น
กองเรือพื้นที่แปซิฟิกกลาง
กองบินที่ 14
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่สอง
การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
การทิ้งระเบิดดาร์วิน
การตีโฉบฉวยมหาสมุทรอินเดีย
ยุทธนาวีที่มิดเวย์
ยุทธนาวีที่ตะวันออกของเกาะโซโลมอน
ยุทธนาวีที่เกาะซานตากรุซ
ยุทธการที่ไซปัน 
บำเหน็จเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย (ชั้นที่ 3)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย (ชั้นที่ 4)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหยี่ยวทองคำ (ชั้นที่ 3)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ (ชั้นที่ 1)

ชูอิจิ นางูโมะ (ญี่ปุ่น: 南雲 忠一โรมาจิNagumo Chūichi; 25 มีนาคม ค.ศ. 1887 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1944) เป็นแม่ทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการของหน่วยคิโด บุไต (กลุ่มกระบวนเรือคุ้มกัน-Carrier battle group)[1] เขาได้ฆ่าตัวตายในช่วงยุทธการที่ไซปัน

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

นากุโมะ ชูอิจิ ในสมัยที่เป็นเรือโท

เกิดที่เมืองโยเนซาวะ เป็นบุตรชายคนที่สองของนากุโมะ ชูโซ (Nagumo Shūzō, 南雲周蔵) ซึ่งเป็นเลขาธิการสำนักงานเขต เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1908 และได้อันดับที่ 5 จากทั้งหมด 191 อันดับ จากนั้นก็ได้เข้าประจำการที่เรือลาดตระเวนป้องกันโซยะ ตามมาด้วยเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะนิชชินและเรือลาดตระเวนป้องกันนิตากะ เขาได้รับยศเป็นเรือตรีและเข้าประจำการที่เรือลาดตระเวนหุ้มเกราะอาซามะในปี ค.ศ.1910

ในปี ค.ศ.1911 เขาเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทัพเรือ ในสาขาวิชาปืนใหญ่และตอร์ปิโด และได้ยศเรือโท เขาเข้าประจำการที่เรือพิฆาตชั้นคามิกาเสะฮัตสึยูกิในปี ค.ศ.1913 เขาได้ยศร้อยเอกในปี ค.ศ.1914 และเข้าประจำการที่เรือประจัญบานคิริชิมะ ในปี ค.ศ.1915 ได้เข้าประจำการที่เรือพิฆาตสุงิ เขาได้เป็นผู้บังคับการประจำเรือพิฆาตคิซารางิในปี ค.ศ.1917 เขาจบการศึกษาจากวิทยาลัยการทัพเรือในปี ค.ศ.1918

ถือได้ว่าเขาชำนาญทางยุทธวิธีเรือพิฆาตและยุทธวิธีตอร์ปิโด เขาได้รับยศนาวาตรีและได้เป็นผู้บังคับการเรือพิฆาตโมมิในปี ค.ศ.1920 ในปี ค.ศ.1921 เขาได้เป็นเจ้าหน้าที่กองเรือพิฆาตที่หนึ่ง โดยในตอนแรกเขาเข้าประจำการที่เรือธงทัตสึตะ ก่อนจะย้ายไปประจำการที่เรือธงเท็นริว ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1922 เขาได้ทำงานเป็นเสนาธิการกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยทำงานได้เพียง 4 วัน เขาได้รับยศนาวาโทในปี ค.ศ.1924

วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ.1925 เขาได้เดินทางเพื่อศึกษากลยุทธ์ ยุทธวิธี และยุทโธปกรณ์ทางกองทัพเรือในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เขาเดินทางกลับถึงประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1926 จากนั้นเขาได้ประจำการที่เรือปืนซากะในเดือนมีนาคม และประจำการที่เรือปืนอุจิในเดือนตุลาคม เขาได้รับยศนาวาเอกและเข้าประจำการที่เรือลาดตระเวนนากะในปี ค.ศ.1929 เขาได้ประจำการที่เรือทากาโอะในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ.1933 และได้ประจำการที่เรือประจัญบานยามาชิโระในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1934 เขาได้รับยศพลเรือตรีในปี ค.ศ.1935 เขาได้เป็นครูใหญ่ประจำโรงเรียนตอร์ปิโดกองทัพเรือในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1937 เขาได้รับยศพลเรือโทในปี ค.ศ.1939 และได้เป็นครูใหญ่ประจำวิทยาลัยการทัพเรือในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1940

สงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]

10 เมษายน ค.ศ.1941 นากุโมะได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ประจำกองบินที่ 1 ซึ่งการแต่งตั้งนี้ได้รับการยอมรับจากโยชิดะ เซ็นโงะและยามาโมโตะ อิโซโรกุ มีเรื่องเล่าว่า โอซาวะ จิซาบุโระก็เป็นหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ประจำหน่วยนี้ แต่เสียงส่วนใหญ่ตัดสินให้แต่งตั้งนากุโมะ นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่า สาเหตุที่นากุโมะได้รับการแต่งตั้งเป็นเพราะว่าเขาสามารถจัดการและบริหารงานได้ดีกว่าโอซาวะ หลังจากการแต่งตั้ง เขาก็ได้ให้นาวาโทเก็นดะ มิโนรุ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญด้านการบินนาวี ทำการซ้อมรบและฝึกฝนทหารให้มีความชำนาญ จากนั้นหน่วยของพวกเขาก็ได้เข้าร่วมในการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

เขาเกือบจะเสียชีวิตในการรบที่มิดเวย์ เมื่อเรืออะกางิที่เขาประจำการถูกโจมตีอย่างหนักโดยเรือรบของฝ่ายสหรัฐและเรือกำลังจะจมลง เขาและคุซากะ ริวโนะสุเกะ ซึ่งเป็นนายทหารผู้ช่วย รวมทั้งคนอื่น ๆ ที่ยังรอดชีวิต สามารถหนีออกจากตัวเรือได้ แต่คุซากะได้รับบาดเจ็บจากบาดแผลที่ถูกไฟไหม้และข้อเท้าเคล็ดทั้งสองข้าง จากการพ่ายแพ้ครั้งนี้ ญี่ปุ่นได้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมากและเริ่มเสียเปรียบทางกลยุทธ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก ในตอนแรก นากุโมะคิดจะฆ่าตัวตาย แต่คุซากะได้มาห้ามปรามเอาไว้ ว่ากันว่า หลังจากยุทธการ นากุโมะดูเหมือนจะสูญเสียความมั่นใจและสูญเสียประสิทธิภาพในการบัญชาการเป็นอย่างมาก

ต่อมาเขาได้รับมอบหมายให้บัญชาการมณฑลทหารเรือซาเซโบและมณฑลทหารเรือคุเระซึ่งเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการฝึกอบรมเท่านั้น

วันที่ 4 มีนาคม ค.ศ.1944 เขาได้รับมอบหมายให้บัญชาการกองเรือที่ 14 และกองเรือพื้นที่แปซิฟิกกลางในบริเวณหมู่เกาะมาเรียนา เมื่อการรบที่ไซปันได้เปิดฉากในวันที่ 15 มิถุนายน พบว่ากองเรือที่นำทัพโดยโอซาวะได้ถูกกองเรือที่ 5 เข้าโจมตีอย่างหนักในยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปิน ซึ่งญี่ปุ่นสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบิน 3 ลำและเครื่องบินประมาณ 600 ลำ ทำให้กองกำลังที่ประจำการอยู่เกาะไซปัน มีเพียงตัวนากุโมะ, พลโทยาโนะ ฮิเดโอะ และ พลโทไซโตะ โยชิสึกุคอยบัญชาการ หลังจากการต่อสู้ประมาณ 20 วัน นากุโมะก็ได้ตัดสินใจใช้ปืนยิงตนเองเสียชีวิต ว่ากันว่า หลังจากที่กองทัพสหรัฐเข้ายึดเกาะไซปันได้ พลเรือเอกเรย์มอนด์ เอ. สพรัวนซ์รู้สึกพึงพอใจกับการตัดสินใจของนากุโมะ นากุโมะได้รับการแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นพลเรือเอกในวันที่ 8 กรกฎาคม

ในวัฒนธรรมสมัยใหม่[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

เกม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Klemen, L. "Vice-Admiral Chuichi Nagumo". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30.