ฉบับร่าง:พระธรรมวัชรวิสุทธิ์ (พรหมา สปฺปญฺโญ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระธรรมวัชรวิสุทธิ์

(พรหมา สปฺปญฺโญ)
ชื่ออื่นพระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณพรหมา ป.ธ.9
ส่วนบุคคล
เกิด7 มกราคม พ.ศ. 2483 (84 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก,ป.ธ.9
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดจักรวรรดิราชาวาส เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท8 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
พรรษา61
ตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดจักรวรรดิราชาวาส เขตสัมพันธวงศ์,ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10

พระธรรมวัชรวิสุทธิ์ (พรหมา สปฺปญโญ)[1] [2]ป.ธ.9 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดจักรวรรดิราชาวาส[3] เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร,ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ,นครพนม, ยโสธร,มุกดาหาร,อำนาจเจริญ)

ประวัติ[แก้]

พระธรรมวัชรวิสุทธิ์ (พรหมา สปฺปญโญ)[4] ป.ธ.9

มีนามเดิมว่า พรหมา นามสกุลดวงดาว เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2483 ณ บ้านหนองม่วง ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายอ้วนและนางสอน นามสกุลดวงดาว ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม ภาษาพูดที่ใช้ในท้องที่ภาษาลาวอีสานบุรีรัมย์

การบรรพชาและอุปสมบท

การบรรพชาอุปสมบท เมื่อได้อายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดอัมพวัน บ้านหนองม่วง ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพระครูจันทศีลคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมศักดิ์ ปชฺโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระชาย จนฺทวงฺโส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาจากพระอุปัชฌาย์ ว่า “สปฺปญฺโญ”อันแปลว่า “ผู้มีปัญญา”

ด้านการศึกษาท่านมุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมด้วยความวิริยะอุสาหะจน พ.ศ.2508 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท นักธรรมชั้นเอก ตามลำดับ สังกัดสำนักศาสนศึกษาวัดอัมพวัน บ้านหนองม่วง ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักเรียนคณะจังหวัดบุรีรัมย์ จากนั้นท่านได้ตัดสินใจมุ่งหน้าเข้าเมืองหลวง ไปอยู่จำพรรษาวัดจักรวรรดิราชาวาส เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 ท่านมุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จนสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการศึกษาชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ประเทศไทย ได้รับความไว้วางใจจากเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ในขณะนั้น และพระเจ้าคณะปกครองชั้นผู้ใหญ่ มอบหมายภารกิจให้สนองงาน ทั้งในด้านการปกครอง การศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และอื่นๆ อีกมากมาย

ลำดับงานปกครอง
ลำดับสมณศักดิ์

ย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้งยังเป็นพระมหาพรหมา สปฺปญฺโญ ป.ธ.9 ในปี พ.ศ. 2526 เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมฑูตในประเทศสหรัฐอเมริกา รับบทบาทพัฒนาสถานที่สร้างวัดธัมมาราม (แห่งใหม่) จนได้สมญานาม “เจ้าคุณเกษตร” ปฏิบัติศาสนกิจในวัดธัมมาราม นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วยเหลืองาน ทั้งด้านการปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่ เริ่มใช้ชีวิตในเพศบรรพชิตในประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระสุธีรัตนาภรณ์ ด้วยความแปลกใหม่และความแตกต่างจากเมืองไทย ทั้งผู้คน สถานที่และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ต้องใช้เวลาปรับตัวระยะหนึ่ง ในสมัยเริ่มต้นของวัดธัมมารามนั้นเป็นพระลูกวัด ร่วมปฏิบัติศาสนกิจอย่างจริงจังต้องผ่านอุปสรรคนานัปการ ทำให้ชาวสหรัฐอเมริกาเข้าใจวิถีชีวิตและบทบาทของพระสงฆ์ต่อสังคม รวมทั้ง ทำการเกษตรโดยลงมือถากถางปรับปรุงพื้นที่ ปลูกพืชผักสวนครัวและมีญาติโยมช่วยซื้อผลผลิตนำไปประกอบอาหารไทย นับว่าประสบความสำเร็จ จนได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ใช้ชีวิตช่วยงานพระศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา ยาวนานถึง 16 ปี จึงกลับมาเมืองไทย เพื่อช่วยเหลืองานวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานครในหลายกรณีตราบจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกอบพิธีสามีจิกรรม พระเทพวิสุทธิโมลี". www.mcubr.ac.th.
  2. "พศจ.ลพบุรี ร่วมพิธีถวายรางวัล". lri.onab.go.th.
  3. "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
  4. "พิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร". ssc.onab.go.th.
  5. "พิธีมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช". posttoday. 2015-01-04.
  6. "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
  7. "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
  8. "มหาเถรสมาคมตั้งเจ้าคณะภาคทั่วประเทศ". www.thairath.co.th. 2019-11-29.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๑, ตอนพิเศษ ๕๗ ง, ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗, หน้า ๑๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๙, ตอนที่ ๒๓ ข, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๕, หน้า ๑๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๐, ตอนที่ ๙ ข, ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖, หน้า ๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ,เล่ม ๑๓๙, ตอนที่ ๔๘ ข, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๕, หน้า ๔