จอร์จ บูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอร์จ บูล
เกิด2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2358 (ลินคอร์น ประเทศอังกฤษ)
เสียชีวิต8 ธันวาคม พ.ศ. 2407 (คันทรี่คอร์ก ไอร์แลนด์)
ยุคปรัชญาศตวรรษที่ 19
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนักศูนย์คณิตศาสตร์แห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์
ความสนใจหลัก
คณิตศาสตร์, ตรรกศาสตร์, ปรัชญาคณิตศาสตร์
แนวคิดเด่น
พีชคณิตแบบบูล
ได้รับอิทธิพลจาก

จอร์จ บูล (อังกฤษ: George Boole) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผลงานสำคัญคือการคิดพีชคณิตแบบบูลขึ้น อันเป็นรากฐานสำคัญของ ตรรกศาสตร์ และวงจรดิจิทัล จอร์จ บูล นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัย College Cork ผู้ที่นิยามพีชคณิตดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางตรรกศาสตร์ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 พีชคณิตแบบบูลนำเทคนิคทางพีชคณิตมาใช้กับนิพจน์ในตรรกศาสตร์เชิงประพจน์ ในปัจจุบันพีชคณิตแบบบูลได้ถูกนำไปประยุกต์อย่างแพร่หลายในการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่นำไปใช้คนแรกคือคลาวด์ อี. แชนนอน นักวิทยาศาสตร์แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratory) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนำมาใช้ในการวิเคราะห์วงจรเน็ตเวิร์กที่ทำงานต่อกันหลาย ๆ ภาค เช่น วงจรของโทรศัพท์ เป็นต้น เมื่อมีการพัฒนาวงจร คอมพิวเตอร์ขึ้นก็ได้มีการนำเอาพีชคณิตบูลีนมาใช้ในการคำนวณ ออกแบบ และอธิบายสภาวะการทำงานของสถานะวงจรภายในระบบคอมพิวเตอร์ โดยพีชคณิตบูลีนเป็นพื้นฐานสำคัญในการออกแบบวงจรตรรกของระบบดิจิทัล

ผลงานที่สำคัญ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]