คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คณะอนุญาโตตุลาการ/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะอนุญาโตตุลาการหมดอายุ

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการขึ้นมาหนึ่งคณะประกอบด้วยสมาชิก 5 คน มีระยะเวลาในตำแหน่งอาสาสมัครดังกล่าว 2 ปี ซึ่งจะครบวาระในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 นี้ มีคำถามปลายเปิดหลายประการที่ต้องพิจารณาดังนี้

  1. ผลงานที่ผ่านมาสองปีเป็นอย่างไร และควรมีอนุญาโตตุลาการแบบนี้ต่อไปหรือไม่ ควรปรับปรุงอย่างไร (ในเชิงการปฏิบัติงาน) หรือควรยุบเลิกเสีย
  2. หากควรมี อนุญาโตตุลาการต่อไป จะมีวิธีการได้มาซึ่งอนุญาโตตุลาการที่จะทำหน้าที่ใน พ.ศ. 2557 ต่อไปอย่างไร จะใช้กติกาเดิมเลือกตั้งใหม่ ต่ออายุ หรือใช้ผู้ดูแลระบบที่มีอายุงาน/ผลงาน เช่น จำนวนการตอบใน WP:AN จำนวนการลบ จำนวนการตรวจ ฯลฯ) ถีงระดับหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ไปโดยอัตโนมัติ
  3. หากต้องดำเนินการในทางใดทางหนึ่งให้ได้มาซึ่งอนุญาโตตุลาการ ก็พึงทำให้เสร็จก่อน 1 มกราคม พ.ศ. 2557 มิฉะนั้นแล้วจะเกิดสุญญากาศและแสดงถึงความอ่อนแอไม่เป็นระบบระเบียบของชุมชน ต้องมีอาสาสมัครจำนวนหนึ่งเข้าประสานงานเป็นคนกลางในการจัดการดังกล่าว
ผมเสนอให้อภิปรายแต่ละหัวข้อไปตามลำดับ หัวข้อละประมาณ 1 สัปดาห์ด้านล่างนี้ครับ

--Taweethaも (พูดคุย) 08:34, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)

ผลงาน/ความจำเป็น

จากหน้า วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/ดัชนี พบว่ามีผลงานดังนี้

  1. แต่งตั้ง ผู้ตรวจสอบผู้ใช้ 2 ครั้ง
  2. ระงับสิทธิ์ผู้ดูแล 2 ครั้ง
  3. พิจารณาข้อพิพาท 1 เรื่อง
  4. กรณีศึกษา 2 เรื่อง/การจัดการภายในเกี่ยวกับการรายงานตัวและนายทะเบียน 3 เรื่อง

ทั้งหมดเป็นเรื่องวิกิพีเดียภาษาไทยทั้งสิ้น (ไม่ได้รับคำร้องขอจากโครงการพี่น้องให้ช่วยเหลือแต่อย่างใด) เห็นว่ากิจกรรมที่ทำมีปริมาณน้อย แต่ต้นทุนของการมีคณะอนุญาโตตุลาการ ตั้งแต่การเลือกตั้ง รับรอง ไม่ใช่น้อยทีเดียว อย่างไรก็ดี คณะอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับผู้ตรวจสอบผู้ใช้ หากคิดว่าจะยุบเสียเพื่อประหยัดเวลาไปทำอย่างอื่น ก็จะสูญเสียความสามารถเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบผู้ใช้ไป ซึ่งต้องช่วยกันชั่งน้ำหนักตรงนี้ให้ดี

ข้อเสนอเพิ่มเติม หากจะมีคณะอนุญาโตตุลาการต่อไป

  1. อาจจะให้อนุญาโตตุลาการมีสิทธิ์เป็นผู้ดูแลด้วยโดยอัตโนมัติและหมดสิทธิ์นั้นไปเมื่อลงจากตำแหน่ง (เพราะว่าใน WP:AN ไม่ได้รับการรับตอบที่รวดเร็วเท่าที่ควร และเป็นการใช้อนุญาโตตุลาการให้เป็นประโยชน์ คุ้มค่ากับที่ต้องเสียเวลาเลือกมา) ส่วนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ดูแลอยู่แล้วหรือได้รับเลือกเป็นผู้ดูแลขณะดำรงตำแหน่งอนุญาโตตุลาการไม่ได้รับผลกระทบจากการได้สิทธิในส่วนนี้
  2. ให้โครงการพี่น้อง (ในภาษาไทย) มีสิทธิเลือกด้วยและยอมรับผูกพันกับคณะอนุญาโตตุลาการนี้ไปจนกว่าจะเติบโตไปมีคณะอนุญาโตตุลาการของตนเอง

--Taweethaも (พูดคุย) 08:48, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)


หากจะกล่าวถึงความจำเป็น ก็คิดว่ามีความจำเป็นในระดับหนึ่งครับ เมื่อเกิดข้อพิพาท ย่อมจะเห็นถึงความสำคัญ ในการหาทางออก แต่เมื่อพิจารณาแล้วว่าที่ผ่านๆ มา ได้มีการใช้ประโยชน์จากคณะอนุญาโตตุลาการมากน้อยเพียงใด และจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้เครื่องมือนี้ ในทัศนะส่วนตัวยังคงเห็นว่าจำเป็นครับ --Pongsak ksm (พูดคุย) 00:50, 10 ตุลาคม 2556 (ICT)

วิธีการได้มา

ส่วนตัวเห็นว่าการเลือกตั้งแบบเดิมนั้นดีอยู่แล้ว โปร่งใสและทำให้ผู้ใช้งานเชื่อมั่นในคำตัดสิน ไม่ควรให้ตำแหน่งนี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติโดยพ่วงกับตำแหน่งอื่นอย่างตำแหน่งผู้ดูแล --Tinuviel | talk 11:22, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)

  • ไม่ว่าจะเป็นผู้ดูแลก่อนแล้วมาเป็น คอต. หรือเป็น คอต. มาก่อนแล้วเป็นผู้ดูแล หรือผู้ที่ได้สิทธิ CU เห็นว่า สิทธิแต่ละอย่างไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน เกิดขึ้นเป็นเอกเทศ หากพ่วงกันไปโดยอัตโนมัติ ชาวบ้านจะครหาว่าฮั้วกัน
  • เกี่ยวกับเรื่องคนเดิมหมดอายุ ไม่เสนอให้ต่ออายุ (ไม่ต้องมีรักษาการ เพราะคดีไม่ได้ถี่มาก) ให้เลือกตั้งใหม่ตามกติกา ทั้งนี้จะเสนอคนเดิมหรือคนใหม่ก็ได้ และเราอาจจะเลือกตั้งก่อนหรือหลังก็ได้ (กรณีก่อน คือ 30 วัน)

--奥虎 ボンド 11:25, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)

  1. "ให้โครงการพี่น้อง (ในภาษาไทย) มีสิทธิเลือกด้วยและยอมรับผูกพันกับคณะอนุญาโตตุลาการนี้ไปจนกว่าจะเติบโตไปมีคณะอนุญาโตตุลาการของตนเอง" ถ้าให้ไปจัดการเลือกตั้งในโครงการพี่น้องต่างหาก ก็เห็นด้วย แต่ถ้าให้วิกิพีเดียภาษาไทยเลือกตั้งแล้วผูกพันโครงการพี่น้องด้วย ไม่เห็นด้วย (และทำไม่ได้อยู่แล้ว)
  2. ไม่เห็นด้วยกับการให้สมาชิก คอต. ได้สิทธิผู้ดูแลระบบโดยอัตโนมัติ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน เหมือนกับว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการแล้ว ให้เป็นตำรวจด้วยโดยอัตโนมัติ เพราะคุณสมบัติและความเหมาะสมในการเป็นสมาชิก คอต. และผู้ดูแลระบบต่างกันและควรพิจารณาแยกกัน วัตถุประสงค์ในการเลือกตั้งก็ต่างกัน ที่เลือกผู้ดูแลระบบเพราะต้องการผู้ดูแลระบบ ไม่ได้ต้องการผู้วินิจฉัยข้อพิพาท เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่เป็นไรถ้าผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิก คอต. อยู่แล้วจะได้รับเลือกเป็นผู้ดูแลระบบอีกตำแหน่งในภายหลัง หรือกลับกัน (เพราะถ้ามีการขัดกันของผลประโยชน์หรืออาจกระทบต่อความไม่เป็นธรรมในปฏิบัติหน้าที่ สมาชิก คอต. ก็ถอนตัวหรือถูกคัดค้านได้อยู่แล้ว)
  3. เรื่องต่ออายุ เห็นว่าไม่จำเป็น (เช่น วาระหมดลง แล้วลงคะแนนเสียงว่า ให้อยู่ต่ออีกหนึ่งปีหรือหนึ่งวาระ) เพราะไม่ต่างอะไรกับเลือกตั้งใหม่ เลือกตั้งใหม่เสียทีเดียวเลยจะดีกว่า
  4. ในโอกาสนี้ เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมนโยบายตามตารางท้ายนี้
--Aristitleism (พูดคุย) 13:55, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
ข้อความเดิม ข้อความใหม่ เหตุผล
ข้อ 3 เงื่อนไขการเป็นผู้สมัคร
  1. ไม่ว่าในการเลือกตั้งประจำปีก็ดี หรือการเลือกตั้งพิเศษก็ดี ผู้สมัครต้อง
    1. เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมูลนิธิว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ ณ ภูมิลำเนาตามกฎหมายของตน และอื่นๆ)
    2. ให้สัตยาบันโดยทำเป็นคำแถลงในการเลือกตั้งสมัยตน ว่า ตนจักปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมูลนิธิว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยเคร่งครัด
    3. เปิดเผยบัญชีผู้ใช้อื่น ๆ ของตนขณะให้สัตยาบันด้วย แต่บัญชีผู้ใช้อันชอบตามระเบียบที่ได้แถลงต่อ คอต. ก่อนที่ตนได้รับการเสนอชื่อนั้น หาจำต้องเปิดเผยอีกไม่
ข้อ 3 เงื่อนไขการเป็นผู้สมัคร
  1. ผู้สมัครต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ ณ ภูมิลำเนาตามกฎหมายของตน และอื่น ๆ)
  2. ผู้สมัครต้องแถลงในคราวเลือกตั้งว่า จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยเคร่งครัด
  3. ในการแถลงตามวรรค 2 ผู้สมัครต้องเปิดเผยบัญชีผู้ใช้อื่น ๆ ของตนด้วย แต่บัญชีผู้ใช้ที่ชอบด้วยนโยบายและได้แจ้งให้ คอต. ทราบก่อนปิดเสนอชื่อนั้น ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยอีก
แก้ไขตามวิกิฯ อังกฤษ และปรับปรุงข้อความ
ข้อ 4 การดำรงตำแหน่ง

วาระดำรงตำแหน่งของตุลาการคนหนึ่ง ๆ ย่อมเริ่มต้นทันทีที่ได้รับเลือกตั้ง ในกรณีเช่นนี้ เขาย่อมเข้าทำคดีได้โดยพลัน

ข้อ 4 การดำรงตำแหน่ง

วาระดำรงตำแหน่งตุลาการเริ่มต้นทันทีที่ได้รับแต่งตั้งโดยผู้มีสิทธิแต่งตั้ง

แก้ไขตามข้อเท็จจริง
ข้อ 9 เหตุพ้นจากตำแหน่ง
  1. ตุลาการคนหนึ่ง ๆ ย่อมพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
    1. ลาออก โดยให้แถลงต่อ คอต. และให้มีผลทันทีที่ได้แถลง
    2. คอต. โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการทั้งหมดที่มีอยู่ สั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะ
      1. ละเมิดจริยธรรมข้อหนึ่งข้อใดเป็นอาจิณ หรือเพียงครั้งเดียวแต่ร้ายแรง
      2. บกพร่องในหน้าที่
      3. ละหน้าที่เป็นเวลายาวนาน โดยไม่บอกกล่าวต่อ คอต. หรือไม่มีเหตุสมควร หรือ
      4. ไร้ความสามารถอย่างเห็นประจักษ์
    3. วาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปีสิ้นสุดลง แต่อาจได้รับเลือกตั้งมาอีกได้
ข้อ 9 เหตุพ้นจากตำแหน่ง

ตุลาการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

  1. ลาออก โดยให้แถลงต่อ คอต. และให้มีผลทันทีที่ได้แถลง
  2. วาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปีสิ้นสุดลง
เอาเรื่องที่ไม่จำเป็นออก
ข้อ 10 การพักหน้าที่

เมื่อมีเหตุตามข้อ 9 วรรค 1 อนุวรรค 3 คอต. โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการทั้งหมดที่มีอยู่ จะสั่งให้ตุลาการผู้นั้นพักหน้าที่แทนก็ได้

ข้อ 10 การพักหน้าที่
(ยกเลิก)
เป็นผลมาจากการแก้ไขข้อ 9
ข้อ 11 บทเบ็ดเตล็ด
  1. ตุลาการที่วาระดำรงแหน่งสิ้นสุดลงระหว่างพิจารณาคดี ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคดีถึงที่สุด
  2. ตุลาการที่ได้รับเลือกเข้ามาแทนผู้พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ย่อมอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือของผู้ที่ตนแทน และอาจได้รับเลือกตั้งมาอีกได้
ข้อ 11 การพ้นจากตำแหน่ง
  1. ตุลาการที่พ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับเลือกตั้งอีกได้
  2. ตุลาการที่พ้นจากตำแหน่งเพราะวาระสิ้นสุดลง ให้อยู่ในตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าตุลาการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
  3. เมื่อตุลาการพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นนอกจากวาระสิ้นสุดลง ให้ คตอ. ประกอบด้วยตุลาการเท่าที่มีอยู่
แก้หัวข้อ เอาข้อความเดิมบางส่วนจากข้อ 9 มาใส่ และเพิ่มข้อความใหม่เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างเลือกตั้ง
ข้อ 12 เขตของ คอต.
  1. คอต. มีเขตเฉพาะแต่ในวิกิพีเดียภาษาไทย, วิกิซอร์ซภาษาไทย, วิกิพจนานุกรมภาษาไทย, วิกิคำคมภาษาไทย และวิกิตำราภาษาไทย
  2. ความข้อนี้ไม่ตัดอำนาจของ คอต. ในอันที่จะพิเคราะห์เรื่องราวทั้งหลายอันเกิดขึ้นภายนอกเขตของตน เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาและวินิจฉัยคดีในอำนาจของตนได้ แต่เรื่องราวเช่นว่านี้ ต้องมีหรือน่าจะมีผลกระทบต่อวิกิพีเดียภาษาไทย, วิกิซอร์ซภาษาไทย, วิกิพจนานุกรมภาษาไทย, วิกิคำคมภาษาไทย หรือวิกิตำราภาษาไทย หรือต่อผู้ใช้โดยรวมด้วย
ข้อ 12 เขตของ คอต.

คอต. มีเขตในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่ไม่ห้าม คอต. ที่จะพิเคราะห์เรื่องราวทั้งหลายที่เกิดนอกเขตของตน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาและวินิจฉัยตามอำนาจของตนได้ แต่เรื่องราวดังกล่าวนี้ต้องมีหรือน่าจะมีผลกระทบต่อวิกิพีเดียภาษาไทยหรือผู้ใช้โดยรวมด้วย

คอต. วิกิฯ ไทยไม่สามารถมีอำนาจในโครงการอื่นได้ ตราบที่สมาชิกโครงการอื่นไม่ได้เลือกด้วย
ข้อ 13 อำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
  1. คอต. มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีดังต่อไปนี้
    1. ข้อพิพาททั้งหลายอันเกิดขึ้นในประชาคม และมีสภาพร้ายแรงถึงขนาดที่ประชาคมไม่สามารถระงับลงได้ด้วยตนเอง
    2. ข้อพิพาทต่าง ๆ อันไม่พึงอภิปรายกันในที่สาธารณะ เนื่องจากความเป็นส่วนตัว, เหตุผลทางกฎหมาย หรือปัจจัยอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
    3. การอุทธรณ์คำสั่งของผู้ดูแลระบบที่ห้าม, ปิดกั้น หรือจำกัดโดยประการอื่นต่อผู้ใช้คนใด
    4. การขอให้เพิกถอนเครื่องมือผู้ดูแลระบบ
    5. การขออนุมัติให้
      1. ตรวจสอบผู้ใช้ (CheckUser) หรือ
      2. ให้ใช้รายการพัสดุทางการของ คอต. ร่วมกับ คอต. ด้วย
    6. การขอให้ยกเลิกคำอนุมัติตามความในอนุวรรค 5
    7. การอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือคำสั่งของ คอต.
  2. การปฏิบัติหน้าที่ทางการของมูลนิธิ หรือของเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
  3. คอต. ย่อมคงไว้ซึ่งเขตอำนาจเหนือคดีที่ตนได้วินิจฉัยไปแล้ว รวมถึงกระบวนพิจารณาที่ตามมา เช่น การบังคับคดี, การรื้อฟื้นคดี, การขอให้อธิบายคำวินิจฉัย ฯลฯ
  4. เมื่อ คอต. เห็นเอง หรือเมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ คอต. จะสั่งให้รื้อฟื้นคดีใหม่เสียเมื่อใดก็ได้
ข้อ 13 อำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
  1. คอต. มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยหรือสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
    1. ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในประชาคม และมีสภาพร้ายแรงถึงขนาดที่ประชาคมไม่สามารถระงับลงได้ด้วยตนเอง
    2. ข้อพิพาทที่ไม่พึงอภิปรายในที่สาธารณะ เพราะความเป็นส่วนตัว เหตุผลทางกฎหมาย หรือเหตุผลอื่นทำนองเดียวกัน
    3. การขอให้เพิกถอนเครื่องมือผู้ดูแลระบบ
    4. การขอให้แต่งตั้งผู้ตรวจสอบผู้ใช้
    5. อุทธรณ์คำสั่งผู้ดูแลระบบที่ห้าม ปิดกั้น หรือจำกัดโดยประการอื่นต่อผู้ใช้
    6. อุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือคำสั่งของ คอต.
  2. การปฏิบัติหน้าที่ทางการของมูลนิธิ หรือของเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
  3. คอต. ย่อมคงไว้ซึ่งเขตอำนาจเหนือคดีที่ตนได้วินิจฉัยไปแล้ว รวมถึงกระบวนพิจารณาที่ตามมา เช่น การบังคับคดี การรื้อฟื้นคดี และการขอให้อธิบายคำวินิจฉัย
  4. เมื่อ คอต. เห็นเอง หรือเมื่อคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ คอต. จะสั่งให้รื้อฟื้นคดีขึ้นใหม่เมื่อใดก็ได้
ปรับปรุงข้อความ
ข้อ 16 ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา

คอต. จะตรา และแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา โดยไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบายนี้ก็ได้

ข้อ 16 ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา

คอต. จะวางและแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณาโดยไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบายนี้ก็ได้

ปรับปรุงข้อความ
ข้อ 27 รูปแบบคำวินิจฉัย
  1. คำวินิจฉัยของ คอต. นั้น อย่างน้อยต้อง
    1. บรรยายข้อเท็จจริงที่ไต่สวนได้ความ
    2. บรรยายคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี พร้อมเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น
    3. ระบุข้อกำหนดในการบังคับคดี ถ้ามี
    4. ลงลายมือชื่อและวันที่ของตุลาการทุกคนที่ร่วมทำคำวินิจฉัย ตามวิธีการของวิกิพีเดีย
ข้อ 27 รูปแบบคำวินิจฉัย

คำวินิจฉัยของ คอต. นั้น ปรกติแล้วควร

  1. บรรยายข้อเท็จจริงที่ไต่สวนได้ความ
  2. บรรยายคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี พร้อมเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น
  3. ระบุข้อกำหนดในการบังคับคดี ถ้ามี
แก้ไขตามวิกิฯ อังกฤษ
ข้อ 34 การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้
  1. การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้ ต้องได้รับสัตยาบันทำนองเดียวกัน
  2. ญัตติแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้ คอต. โดยคะแนนเสียงข้างมากของตุลาการทั้งหมดที่มีอยู่ก็ดี หรือผู้ใช้ ซึ่งเข้าชื่อกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 20 เสียงก็ดี ย่อมเสนอไปยังประชาคมได้
  3. ระเบียบว่าด้วยกระบวนพิจารณา ซึ่งนโยบายนี้อนุญาตให้ คอต. ตราขึ้นและแก้ไขเพิ่มเติมเองได้นั้น หาจำต้องได้รับสัตยาบันจากประชาคมอีกไม่
ข้อ 34 การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้
  1. การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้ ต้องได้รับสัตยาบันทำนองเดียวกัน
  2. ผู้ใช้ก็ดี หรือ คอต. โดยคะแนนเสียงข้างมากของตุลาการทั้งหมดที่มีอยู่ก็ดี สามารถเสนอให้ประชาคมแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้ได้
  3. ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา ซึ่งนโยบายนี้อนุญาตให้ คอต. วางและแก้ไขเพิ่มเติมเองได้นั้น ไม่จำเป็นต้องได้รับสัตยาบันจากประชาคมอีก
- วรรค 1 คงเดิม

- วรรค 2 เปิดให้ผู้ใช้กี่คนก็เสนอแก้ไขนโยบายได้ เพราะวิกิฯ ไทยไม่ได้มีผู้ใช้ประจำมากเท่าวิกิฯ อังกฤษ ไหนจะต้องล่ารายชื่อ อภิปราย แล้วลงคะแนนอีกชั้นหนึ่ง เป็นการสร้างขั้นตอนเกินจำเป็น
- วรรค 3 แก้คำผิด และปรับปรุงข้อความ

ผมค่อนข้างสนับสนุน ArbCom ในฐานะว่าเป็น last resort ของการระงับข้อพิพาท แต่เนื่องจากโดยลักษณะของข้อพิพาทมักจะจบไปในระดับระหว่างผู้ใช้กันเองหรือใน venue ที่เกี่ยวข้อง หรือถ้าไม่เช่นนั้นอาจเป็นเพราะผู้ใช้ไม่ทราบหรือไม่ประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาที่ซับซ้อน จึงอาจมีความรู้สึกว่า ArbCom ไม่ได้อยู่ในฐานะที่ควรจะเป็นในฐานะผู้ระงับข้อพิพาท อย่างไรก็ดีเนื่องจากตัว ArbCom ไม่ได้ทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้แต่ยังมีอำนาจที่เกี่ยวกับการดูแลวิกิพีเดียบางประการเช่นการให้เครื่องมือ CheckUser (Oversight น่าจะไม่จำเป็นเพราะผู้ดูแลมี RevDel และผมเชื่อว่าผู้ดูแลจะไม่ abuse เครื่องมือนี้) และการตรวจสอบการกระทำของผู้ดูแล จึงเห็นว่าแม้อาจไม่ได้มีข้อพิพาทที่จะถึงระดับนี้มาก แต่ควรจะยังมีผู้ใช้ที่มีประสบการณ์และออก decision ในข้อพิพาทที่ยากจะหาข้อยุติอยู่ด้วยอันจะเป็นการประกันว่าจะได้มีคำตัดสินที่สมเหตุสมผลต่อทุกฝ่าย
ส่วนอื่น ๆ ผมเห็นพ้องกับทั้งสามท่านครับ ส่วนเรื่องร่างนโยบายแก้ไขของคุณอริสไตเติลฯ (ถ้าจะใช้) อาจต้องยกยอดไปรวมใน Election เพื่อให้สัตยาบันไปพร้อมกัน --∫G′(∞)dx 19:30, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
เห็นด้วยกับคุณ Aristitleism ในส่วนที่ต้องการแก้ไข - ต้องพิจารณาต่อว่าจะแก้ไก่อนเลือกหรือเลือกพร้อมแก้ ผมเห็นด้วยตามคุณ G(x) ให้ยกยอดรวมกันไปเพื่อประหยัดเวลาและทรัพยากร --Taweethaも (พูดคุย) 19:44, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
เข้าใจข้อทักท้วงเรื่องผู้ดูแลระบบ+อนุญาโตตุลาการ และแปลกใจที่ไม่มีใครบ่นว่าอนุญาโตตุลาการมีผลงานน้อย ถ้าไม่มีใครว่าผลงานน้อย ผมก็ไม่ซีเรียสเรื่องข้อเสนอพ่วงสิทธิผู้ดูแล ที่หาอะไรมาพ่วงเพื่อต้องการให้ทำงานให้คุ้มค่าแรงเหนื่อยที่เลือกมาเท่านั้น --Taweethaも (พูดคุย) 19:44, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)

ผมขอเสนอให้อนุญาตโตตุลาการเป็นที่พึ่งสุดท้ายจริง ๆ หมายความว่า คู่ความควรใช้การระงับข้อพิพาทในระดับต่าง ๆ เป็นลำดับ ไม่ใช่กระโดดข้ามขั้นมา จึงเสนอให้อนุญาโตตุลาการดูแลเรื่องการเข้ามาเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทด้วย โดยอาจจะให้ตุลาการ 1 หรือ 2 คน หรือจะให้คนนอกรับหน้าที่เป็นตัวกลาง เมื่อทำดังนี้แล้ว ตุลาการก็คงมีผลงานเพิ่มขึ้นไปด้วยครับ --Horus | พูดคุย 15:17, 6 ตุลาคม 2556 (ICT)

การเลือกตั้ง

เสนอว่าให้ผู้สมัครเสนอชื่อตนเองในเดือนพฤศจิกายน และเปิดลงคะแนนในเดือนธันวาคม แต่ก่อนจะจัดได้จำต้องมีอาสาสมัครอย่างน้อย 2-3 คน ในการประสานงานเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จึงขอให้ท่านที่สนใจเป็นกรรมการมาลงชื่อเอาไว้ได้ ภายในเดือนตุลาคม เปิดรับผู้สมัครถึงเดือนพฤศจิกายน และเลือกตั้งตลอดเดือนธันวาคม --Taweethaも (พูดคุย) 07:57, 9 ตุลาคม 2556 (ICT)

ลงชื่ออาสาสมัครกรรมการเลือกตั้ง
  1. Taweethaも - อดีต คอต. จะไม่ลงรับเลือกต่อ -- 23:12, 16 ตุลาคม 2556 (ICT)
  2. ในฐานะเป็นผู้ควบคุม de facto เดิม น่าจะช่วยได้อยู่ครับ --∫G′(∞)dx 19:17, 22 ตุลาคม 2556 (ICT)
  3. pongsak_ksm - อดีต คอต. ไม่ประสงค์จะลงสมัครต่อ --Pongsak ksm (พูดคุย) 10:30, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
  4. Tmd - อดีต คอต. ไม่ประสงค์จะลงสมัครต่อ --ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 00:07, 5 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

(เริ่มประกาศหาผู้สมัครใน sitenotice 1 พ.ย. - 30 พ.ย.)

ลงชื่อผู้สมัคร
  1. B20180 - ได้รับการทาบทามจากสมาชิกท่านหนึ่ง --B20180 (พูดคุย) 11:42, 9 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
  2. Octahedron80 --奥虎 ボンド 10:57, 20 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
  3. Tinuviel 14:23, 21 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
การเลือกตั้ง

(จะจัดทำหน้าพิเศษสำหรับการเลือกตั้ง - ประกาศประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง 1 ธ.ค. - 31 ธ.ค.)

ประชามติแก้ไขนโยบายทำในลักษณะเดียวกัน คือ เสนอข้อความปรับปรุงระหว่าง พ.ย. ลงคะแนนในเดือน ธ.ค. และรับรองให้ใช้ได้ในเดือน ม.ค.
ดูนโยบายปัจจุบันที่ วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/นโยบาย
  1. ข้อเสนอของคุณ Aristitleism มีข้อความชัดเจนแล้วดังตารางข้างต้น ซึ่งเป็นการแก้ไขทั่วไป
  2. ข้อเสนอโดย Taweethaも จำเพาะกับ คอต. วิกิพีเดียภาษาไทย ว่าด้วยการร่วมมือกับโครงการพี่น้องด้วยวิธีรวมประชาคมด้วยความสมัครใจ
    • ข้อ 1 บทวิเคราะห์ศัพท์ เดิมระบุว่า "ประชาคม" หมายถึง ประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทย อันประกอบด้วยผู้ใช้ทั้งปวง ขอแก้ไขเป็น "ประชาคม" หมายถึง ประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทย อันประกอบด้วยผู้ใช้ทั้งปวง รวมถึงโครงการพี่น้องที่มีมติชุมชนยินดีเข้าร่วมกระบวนการอนุญาโตตุลาการกับประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทยและคณะอนุญาโตตุลาการได้มีมติรับรองประชาคมโครงการพี่น้องนั้นเข้าไว้ในความดูแล ประชาคมโครงการพี่น้องมีสภาพการเป็นประชาคมในนโยบายคณะอนุญาโตตุลาการทันทีเมื่อทั้งคณะอนุญาโตตุลาการและประชาคมโครงการพี่น้องได้มีมติรับรอง ในขณะที่ประชาคมโครงการพี่น้องอาจสิ้นสภาพการพเป็นประชาคมในนโยบายคณะอนุญาโตตุลาการนี้ได้ทันทีเมื่อคณะอนุญาโตตุลาการหรือประชาคมโครงการพี่น้องนั้นมีมติเพิกถอน
    • ข้อ 12 ตามร่างแก้ไของคุณ Aristitleism แก้ วิกิพีเดียภาษาไทย เป็น ประชาคม
  3. ข้อเสนอโดย Taweethaも จำเพาะกับ คอต. วิกิพีเดียภาษาไทย ว่าด้วยสิทธิผู้ดูแล - ให้ใช้ในการบริหารจัดการหน้าที่เกี่ยวข้องกับธุรการของอนุญาโตตุลาการ (ซึ่งมักมีผู้อื่นเข้ามาเขียน และล็อคไม่ได้เพราะ คอต. ไม่มีสิทธิผู้ดูแล) รวมถึงใช้ดูหน้าที่ถูกลบไปแล้ว ดูรายการที่ซ่อนไว้ ซึ่งจำเป็นต่อกระบวนพิจารณาและอาจต้องรักษาเป็นความลับ (ผมลดสิทธิลงจากข้อเสนอเดิมที่ให้เป็นผู้ดูแลเต็มตัว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย - ข้อเสนอนี้เป็นกรอบกว้างๆ ยังไม่มีผลจนกว่าประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทยหรือประชาคมอื่นๆ จะมีนโยบายจำเพาะไป ซึ่งเอาเป็นไปได้ว่าจะเห็นสิทธิจำเพาะคดีก็ได้)
    • ข้อ 4 เพิ่มหัวข้อย่อยที่ 2. หากมีนโยบายของประชาคมวิกิพีเดียไทยหรือประชาคมโครงการพี่น้องรองรับ อนุญาโตตุลาการอาจได้รับสิทธิเป็นผู้ดูแลระบบโครงการนั้นด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้จำกัดเฉพาะระหว่างดำรงตำแหน่งหรือระหว่างพิจารณาข้อหาหรือคำขอ และให้ใช้เพื่อการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการโดยเคร่งครัดเท่านั้น
  4. ข้อเสนอของคุณ Horus ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยโดยตุลาการ
    • ข้อ 4 เพิ่มหัวข้อย่อยที่ 3. ตุลาการหรือคณะตุลาการอาจทำการไกล่เกลี่ย พูดคุย หรือประสานงานเพื่อระงับข้อพิพาท หรือสร้างความเข้าใจอันดีกันในประชาคมในนามส่วนตนก็ได้ ทั้งนี้การที่กระทำไปทั้งปวงในข้อจะไม่ผูกพันต่อ คอต.
    • ขอเสริมว่า การทำหน้าที่ดังกล่าวอาจไม่ใช่ในฐานะตุลาการก็ได้ (เพราะไม่ได้พกอำนาจมาด้วย) เพียงแต่ว่า อาศัยความที่เป็นผู้ใช้ที่เป็นที่ยอมรับมาช่วยเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้ ที่ผมเสนอ เพราะก่อนที่จะมาพึ่ง คอต. จะได้มีขั้นตอนระหว่างทาง และไม่รู้จะหาตัวกลางที่ไหนก็เลยเสนอให้ผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการช่วยดูแลตรงนี้ และหากข้อพิพาทยังไม่ยุติ จะได้แนะนำให้ทั้งสองร้องต่อ คอต. ต่อไปด้วย --Horus | พูดคุย 18:47, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
      • ผมแก้ไขถ้อยคำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของคุณ horus แล้วครับ --Taweethaも (พูดคุย) 23:19, 30 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
  5. ระเบียบเดิมไม่ได้บอกว่าต้องมีอย่างน้อยกี่คน? ครั้งก่อนตั้งไว้ลอย ๆ ว่า 5 คนแต่ไม่มีในนโยบาย ผมเสนอว่า คอต. 1 คนต่อบัญชีผู้ใช้ 30,000 คน ไม่นับเศษ (ซึ่งปัจจุบันจะได้ 6 คน; เสนออัตราใหม่ได้ครับ) ถ้าผู้สมัครยังไม่ครบก็คงต้องขยายเวลาออกไป --奥虎 ボンド 16:15, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
    • น่าจะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในข้อ 2 การเลือกตั้งตุลาการ ผมเสนอว่าให้ยึดตาม พิเศษ:สถิติ และถือเอาสมาชิกที่มีความเคลื่อนไหว 200 คนต่อตุลาการ 1 คน (ซึ่งจะได้ 5 พอดีในปัจจุบัน) และควรกำหนดว่าจำนวนไม่เกิน ไม่ใช่ว่าจะบังคับเอาให้ได้ครบทุกการเลือกตั้ง - แต่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งทุกปีหมุนเวียนกันไป จะได้มีคนใหม่กับคนเก่าอยู่สลับกันไป (เปิดโอกาสให้คนใหม่ไฟแรงไม่ต้องรอถึงสองปี) --Taweethaも (พูดคุย) 16:53, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
    • สมาชิกมีความเคลื่อนไหวในหน้า พิเศษ:สถิติ เขียนว่า 1051 บัญชี แต่ถ้าดูจาก http://stats.wikimedia.org/EN/TablesWikipediaTH.htm จะเห็นว่าผู้ที่เขียนบทความจริงๆ มีเพียง 895 บัญชี (แก้ไขบทความมากว่า 1 ครั้งในเดือน ก.ย.) ถ้าเปลี่ยนเกณฑ์เป็นกว่า 5 ครั้ง จะได้ 307 บัญชี จึงเสนอแนวทางที่สองว่า 100 บัญชีที่แก้ไขมากกว่า 5 ครั้ง ต่อตุลาการหนึ่งคน และให้เลือกทุกปี แต่ตุลาการมีอายุ 2 ปี ตามเดิม --Taweethaも (พูดคุย) 11:08, 9 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
    • สรุปข้อเสนอนี้เป็นว่าใน "ข้อ 2 การเลือกตั้งตุลาการ" เพิ่มข้อสุดท้าย ในการเลือกตั้งประจำปีครั้งหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนผู้ลงสมัคร แต่จำกัดจำนวนตำแหน่งตุลาการที่ผ่านการรับเลือกไว้ในอัตราตุลาการใหม่ 1 คน ต่อผู้ใช้ที่แก้ไขกว่าห้าคครั้งต่อเดือน 100 คน การคำนวณนี้หากมีเศษให้ปัดขั้นเป็นจำนวนเต็มได้และใช้จำนวนผู้ใช้จากเดือนที่มีการเลือกตั้งเป็นสำคัญ --Taweethaも (พูดคุย) 22:10, 21 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
เรื่องอื่นๆ ของ WMTH
  1. ขอมติในการตั้งชื่อโครงการ Wikivoyage เสียใหม่ว่า วิกิเดินทาง รวมถึงรับรองโลโก้ใหม่ไปพร้อมกัน m:Wikimedians in Thailand/Wikivoyage --Taweethaも (พูดคุย) 21:40, 8 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
    • หากเป็นไปได้ช่วยขึ้นประกาศไว้บนวิกิพีเดียด้วยครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 22:44, 16 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
  2. ลงชื่อสนับสนุน m:Requests_for_new_languages/Wikivoyage_Thai การจัดตั้ง wikivoyage ภาษาไทย --Taweethaも (พูดคุย) 22:07, 8 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
  3. ขออาสาสมัครจัดงาน WLM 2014 ในปีหน้า (รวมถึงหาผู้ประสานงานคนใหม่) --Taweethaも (พูดคุย) 11:28, 11 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
การรับรองและการดำรงตำแหน่ง

ตั้งแต่ 1 ม.ค. เป็นต้นไป

ข้อสังเกตพิเศษในการเลือกตั้ง 2556

ตอนนี้ผมได้ร่างหน้าทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสมัครแล้วครับ ข้อความส่วนใหญ่ลอกจากตอนปี 2554 เกือบทั้งหมด (ดูความเรียบร้อยใน หมวดหมู่:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการวิกิพีเดีย ธันวาคม 2556) แต่ในที่นี้ขอตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า

  1. ผมลอกคำถามทั่วไปมาเกือบทั้งหมด (วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการวิกิพีเดีย ธันวาคม 2556/คำถาม/ทั่วไป) ไม่ทราบว่าทุกท่านเห็นว่าควรปรับเปลี่ยนคำถามอย่างไรไหมครับ เพราะไหน ๆ เราก็มีนโยบายเรื่องนี้มาสองปีแล้ว
  2. ผมยังไม่ได้ขึ้นเรื่องการแก้ไขนโยบายไว้เนื่องจากจะรอให้ทุกท่านเสนอร่างแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน อย่างไรก็ดี ผมยังไม่แน่ใจว่าการแก้ไขนโยบายควรจะแยกหรือรวมกับการเลือกผู้สมัคร (เป็นต้นว่าอาจเลือกเอาว่าจะเลือกผู้สมัครหรือแก้ไขนโยบายอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างก็ได้) และควรจะให้ใช้ requirement เดียวกับการเลือกผู้สมัครหรือไม่ จึงขอความเห็นไว้ ณ ที่นี้ครับ

--∫G′(∞)dx 20:26, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

  1. รู้สึกว่าคำถามค่อยข้างเยอะ/ยาว แต่ก็พอใช้ได้ วัดอะไรบางอย่างได้อยู่ แต่คนไม่ได้เรียนกฎหมายมาอาจจะเสียเปรียบในการตอบ
  2. ผมเห็นว่านโยบายให้เลือกได้เหมือนกับเลือกคนไปเลย โดยระหว่างเดือนพฤศจิกายนนี้ทุกข้อเสนออาจปรับปรุงแก้ไขได้โดยการอภิปรายเบื้องต้น เมื่อถึงเดือนธันวาคมจะเป็นการลงคะแนนรับ/ไม่รับเท่านั้น ไม่ปรับปรุงในรายละเอียดอีก

--Taweethaも (พูดคุย) 20:46, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

ผมทดลองแก้คำถามให้สั้นลงและแทนที่คำถามดูครับ โดยเอา burden of proof ออกแล้วเอาประเด็น community consensus แทนที่ (เทียบกับคำถามในปี 2554) --∫G′(∞)dx 13:42, 6 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
คำถามชุดใหม่นับข้อย่อยได้ถึง 7-8 ข้อครับ ถือว่าดีขึ้นครับ แต่ถ้าให้ดีกว่านี้ ผมคิดว่าจัดคำถามย่อยๆ เหล่านี้เข้าข้อใหญ่เพียงสามข้อคือ
  1. อนุญาโตตุลาการวิกิพีเดียคืออะไรในความคิดของผู้สมัคร
  2. ผู้สมัครมีคุณสมบัติดีเด่นอะไร และมีสิ่งใดที่อยากปรับปรุง
  3. คุณสมบัติของผู้สมัครเหมาะ/ไม่เหมาะกับการทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการฯ อย่างไร

--Taweethaも (พูดคุย) 10:14, 7 พฤศจิกายน 2556 (ICT)

ไม่ค่อยได้เข้ามาระยะหลังครับ เพิ่งเห็นข้อแนะนำอันนี้ ผมเลยยุบทุกอย่างไปเหลือสองข้อที่เป็น open-end มาก ๆ ดู --∫G′(∞)dx 00:08, 22 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
ใช้ได้ดีแล้วครับ --Taweethaも (พูดคุย) 23:12, 30 พฤศจิกายน 2556 (ICT)