คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คณะอนุญาโตตุลาการ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาวิกิพีเดีย คณะอนุญาโตตุลาการ

คณะอนุญาโตตุลาการ[แก้]

ขออนุญาติถามหน่อยครับ เรื่องนี้ผมไม่ทราบนะครับ ผมเลยอยากจะทราบว่า การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการหนิจะต้องเป็นผู้ดูแลเท่านั้นเหรอครับถึงจะใช้สิทธิ์ได้ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Tataemnoil (พูดคุยหน้าที่เขียน) 31 ตุลาคม 2557‎

ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ดูแลครับ --Taweethaも (พูดคุย) 09:45, 1 พฤศจิกายน 2558 (ICT)

การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการวาระใหม่[แก้]

เนื่องด้วยวาระแห่งคณะอนุญาโตตุลาการชุดปัจจุบันกำลังจะหมดวาระลงในสิ้นปีนี้

กระผม จึงอยากจะขอเชิญชวนสมาชิกชุมชนร่วมเตรียมจัดการเลือกตั้งวาระใหม่ โดยออกความเห็นว่าอยากให้มีสิ่งใดเพิ่มเติมหรือคงไว้ซึ่งรูปแบบเดิม

และในโอกาสนี้ จะได้มีการเตรียมส่งข้อความเชิญชวนผู้สนใจสมัครเข้ารับเลือกเป็นอนุญาโตตุลาการชุดใหม่ที่จะถึงนี้ โดยจะส่งข้อความไปยังผู้ที่มีส่วนร่วมแก้ไข 50 ท่านแรก เพื่อเสนอชื่อตนเองหรือทาบทามผู้ที่มีคุณสมบัติในการเข้ารับการเลือกตั้งครั้งนี้ครับ (โดยผู้รับการทาบทามต้องยินยอมด้วย) อนึ่ง ให้ดูคุณสมบัติด้านอายุและเงื่อนไขเบื้องต้นก่อนสมัครด้วยนะครับ --B20180 (พูดคุย) 05:16, 13 ตุลาคม 2558 (ICT)

ผมไม่เป็นแล้วนะครับ ให้คนอื่นเป็นแทน คนที่ผมมองไว้คือคุณ Lerdsuwa แต่ยังไม่ได้ทาบทาม --奥虎 ボンド 11:39, 27 ตุลาคม 2558 (ICT)

ฮะ --B20180 (พูดคุย) 16:46, 27 ตุลาคม 2558 (ICT)
มีผู้ใช้อีกหลายท่านที่เหมาะสมแต่ไม่มีใครสนใจ ในโอกาสนี้ผมขอเสนอให้คณะอนุญาโตตุลาการ อยู่ในวาระนานขึ้นอีกสักหน่อยก็ดีนะครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 21:29, 28 ตุลาคม 2558 (ICT)
ตอนแรกก็นึกในใจอยู่เหมือนกัน ข้อดีอีกอย่างคือ จะช่วยลดขั้นตอนการเลือกตั้งบ่อย ๆ ไปในตัว ทีนี้ก็คงรอความเห็นจากสมาชิกท่านอื่น ๆ ว่าจะเป็น 2 ปีดังเดิม หรือเป็น 3 ปี 4 ปี หรืออื่น ๆ ตามเหตุผลของแต่ละท่าน --B20180 (พูดคุย) 01:31, 29 ตุลาคม 2558 (ICT)
อยู่ต่อไม่ได้ครับ ตามกฎ ถ้าละเมิดกฎ ก็ไม่สมควรจะเป็น คอต. ถ้าไม่เลือกตั้ง ก็ว่างต่อไป --奥虎 ボンド 12:06, 30 ตุลาคม 2558 (ICT)
รับทราบครับ --B20180 (พูดคุย) 16:24, 30 ตุลาคม 2558 (ICT)
  1. ถ้าจะจัดการเลือกตั้ง ตอนนี้ก็ถึงเวลาเปิดให้เสนอชื่อแล้วครับ ลองดูตัวอย่างได้จาก วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ_ธันวาคม_2556 คงต้องมีคนหนึ่งอาสาเป็นเจ้าภาพดูแลงานให้เรียบร้อย
  2. ผมเคยเสนอว่าให้เลือกทุกปี แต่มีวาระสองปีเพื่อจะได้ไม่เกิดภาวะสุญญากาศระหว่างรอการเปลี่ยนผ่านระหว่างสองชุดหรือการเปลี่ยนขั้วนโยบายที่ฉับพลัน
  3. เคยมีปัญหาว่า คอต. จะมีผลผูกพันธ์โครงการพี่น้องได้มากน้อยเพียงใด หากจะเลือกกันใหม่ก็อาจถึงเวลาพิจารณาปัญหานี้อีกครั้ง ผมเสนอว่า ควรให้โครงการพี่น้องลงมติรับรองว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในระบบ คอต. หรือไม่ หากประสงค์เข้าร่วมก็มีความผูกพันธ์ไปจนกว่าจะเปลี่ยนแปลง แต่ให้รับรองซ้ำทุกปี เมื่อโครงการพี่น้องมีขนาดใหญ่เพียงพอก็สามารถเติบโตไปมีระบบ คอต. ของตนเอง ประโยชน์ของการรับ คอต. จากวิกิพีเดียภาษาไทยไปก่อนก็อาจเป็นเรื่อง Check User ที่แต่งตั้งได้ง่ายขึ้น

--Taweethaも (พูดคุย) 16:31, 1 พฤศจิกายน 2558 (ICT)

ผมไม่เห็นด้วยที่จะให้เลือกทุกปีด้วยเหตุผลด้านความถี่เกินไปจนขาดความสำคัญได้ แต่ขอเสนอให้อยู่ในวาระนานขึ้นเพื่อให้การเลือกตั้งมีความถี่ลดลง อาจเป็น 3 หรือ 4 ปี แล้วเลือกล่วงหน้าก่อนหมดวาระสัก 1 ปี ขึ้นไป หากสมาชิกไม่ครบก็เปิดรับสมัครใหม่จนครบเหมือนการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนฯ กล่าวคือคณะที่มาจากการเลือกตั้งซ่อมหมดวาระไปพร้อมๆกับชุดหลัก ที่ผ่านมาเราเลือกครั้งเดียวจบ และด้วย คอต.มีอำนาจสูงสามารถปลดผู้ดูแลระบบได้ ผมจึงไม่สนับสนุนให้อยู่ในวาระต่อเนื่องกัน แม้ทุกท่านที่อาสาเข้าเป็น คอต.จะมีวุฒิภาวะสูง แต่ก็ไม่อยากให้อยู่วาระแบบต่อเนื่องกันไป --Sasakubo1717 (พูดคุย) 08:26, 5 พฤศจิกายน 2558 (ICT)

ขอเสนอให้อยู่ในวาระนานขึ้น 4 ปี คณะชุดนึงอยู่ได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน และไม่อยากให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าก่อน 1 ปี ควรจะจัดเลือกตั้งในปีเดียวกับที่คณะ คอต. ชุดเก่ากำลังจะหมดวาระลง โดยยังให้คณะชุดเก่ายังคงทำงานอยู่จนกว่าการเลือกตั้งจะเสร็จสิ้น หรือต้องจัดการเลือกตั้งก่อนที่คณะ คอต. จะหมดวาระลงภายในไม่เกิน 30 หรือ 60 วัน --ทินวุฒิ ลิวานัค (พูดคุย) 22:52, 11 พฤศจิกายน 2558 (ICT)

ผมขอตอบแทนคุณ Taweetham นะครับเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด แนวคิดการเลือกตั้งให้เวลาเหลื่อมกันนี้ ได้มาจากระบบการเมืองสหรัฐที่สมาชิกสองสภาหมดวาระไม่พร้อมกัน ในกรณีที่จะใช้กับ คอต. ภาษาไทย คือ สมมติว่า คอต. มีได้ 4 คน ในปีหนึ่งก็จะให้ตุลาการหมดวาระไป 2 คน และจะมีการเลือกตั้งในปีนั้นเพื่อเลือกเข้ามาใหม่ ปีต่อไปก็จะมีตุลาการเดิม 2 และตุลาการใหม่ 2 คน การใช้ระบบนี้จะทำให้ไม่มีกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องแล้วทำให้ตำแหน่งตุลาการต้องว่างพร้อมกันทุกคน เข้าใจนะครับ --Horus | พูดคุย 01:17, 12 พฤศจิกายน 2558 (ICT)
กระจ่างแล้วครับ ขอบคุณครับ --ทินวุฒิ ลิวานัค (พูดคุย) 22:01, 12 พฤศจิกายน 2558 (ICT)
  1. @Horus: ขอบคุณคุณ horus ครับ หลักการนี้คล้ายกับระบบของอเมริกา แต่ความจริงแล้วก็มีใช้อยู่ที่อื่นทั่วไปครับ ผมได้แนวคิดมากจาก en:Australian_Senate
  2. @Sasakubo1717: ถ้าอยู่ได้นานก็มั่นคงและสะดวกดีครับ แต่สภาพที่เราได้เห็นกันมา และเทียบกับอายุของวิกิพีเดียภาษาไทย จะพบว่าอาสาสมัครมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ทั้งอาสาสมัครผู้ที่ถูกเลือกและอาสาสมัครส่วนใหญ่ในชุมชนที่ลงคะแนน การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ทำให้มีความจำเป็นต้องเลือกตั้งกันบ่อยขึ้น (แนวคิดดั้งเติมของ Thomas Jefferson คือ กฎหมายควรเปลี่ยนทุก 19 ปี หากใช้อัตราการเกิดและตายในยุโรปมาเป็นตัววัดแล้วดูว่ากลุ่มคนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปเมื่อใด ในทำนองเดียวกันหากเอาอัตราการเข้ามาเป็นอาสาสมัครและอัตราการเลิกเขียนวิกิพีเดียภาษาไทยมาพิจารณา เราอาจเห็นว่าทุกปีหรือสองปีประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนได้เปลี่ยนไปเสียแล้ว จึงจำเป็นต้องขอฉันทามติใหม่อยู่เรื่อยๆ)

--Taweethaも (พูดคุย) 12:58, 7 ธันวาคม 2558 (ICT)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ --Horus | พูดคุย 15:15, 7 ธันวาคม 2558 (ICT)

ArbCom election[แก้]

Hello Thai wikipedians, could you please confirm that the process explained here is still valid? if not, could you kindly update it? 4nn1l2 (พูดคุย) 21:10, 26 พฤศจิกายน 2558 (ICT)

Yes, it is still valid as of today. We are discussing different proposals to change it. --Taweethaも (พูดคุย) 12:46, 7 ธันวาคม 2558 (ICT)

เปิดโอกาสสมาชิกลงคะแนนเสียง[แก้]

วาระการดำรงตำแหน่ง[แก้]

2 ปี (แบบเดิม)

เห็นด้วย

  1. เห็นด้วย ไม่เร็วหรือไม่นานเกินไป --奥虎 ボンド 09:02, 4 มกราคม 2559 (ICT)
  2. เห็นด้วย เห็นด้วยครับ --KyouIchiPon (พูดคุย) 14:36, 8 มกราคม 2559 (ICT)
  3. เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 00:42, 9 มกราคม 2559 (ICT)
  4. เห็นด้วย --Pongsak ksm (พูดคุย) 00:46, 21 มกราคม 2559 (ICT)

คัดค้าน

  1. ไม่เห็นด้วย ใครโหวตอันนี้ ? ช่วยลงลายเซ็นด้วยครับ

เป็นกลาง

  1. เป็นกลาง --Sasakubo1717 (พูดคุย) 19:38, 26 มกราคม 2559 (ICT)

3 ปี (เสนอโดย ผู้ใช้:Sasakubo)

เห็นด้วย

  1. เห็นด้วย ลองดู --B20180 (พูดคุย) 19:44, 8 มกราคม 2559 (ICT)
  2. เห็นด้วย --☭ Walker Emp (พูดคุย) 00:03, 13 มกราคม 2559 (ICT)
  3. เห็นด้วย --Sasakubo1717 (พูดคุย) 11:10, 25 มกราคม 2559 (ICT)

คัดค้าน

  1. ไม่เห็นด้วย --奥虎 ボンド 09:02, 4 มกราคม 2559 (ICT)

เป็นกลาง


4 ปี (เสนอโดยผู้ใช้:Sasakubo)

เห็นด้วย

  1. เห็นด้วย --Wutzwz (พูดคุย) 10:28, 28 ธันวาคม 2558 (ICT)
  2. เห็นด้วย ใครโหวตอันนี้ ? ช่วยลงลายเซ็นด้วยครับ

คัดค้าน

  1. ไม่เห็นด้วย --奥虎 ボンド 09:02, 4 มกราคม 2559 (ICT)
  2. ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 00:42, 9 มกราคม 2559 (ICT)

เป็นกลาง



ผู้ใช้เดิมมีสิทธิดำรงตำแหน่งติดต่อกัน[แก้]

โปรดระบุเหตุผล

เห็นด้วย

  1. เห็นด้วย วิกิพีเดียภาษาไทยมีน้อยคนที่จะสามารถรับและอยากรับหน้าที่นี้ได้ จึงไม่ควรมีข้อจำกัดเรื่องการไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งติดต่อกัน เพราะจะยิ่งทำให้ตัวเลือกมีน้อยลง ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าอดีต คอต. จะสามารถรักษาการหรือเป็นต่อโดยอัตโนมัติ ยังคงต้องเลือกตั้งเหมือนเดิม --奥虎 ボンド 09:02, 4 มกราคม 2559 (ICT)
    • ด้วยเหตุผลที่คนมีสามารถรับงาน คอต.มีน้อย และไม่มีค่อยใครอยากเป็น (อาจมาจากสาเหตุต้องแสดงตัว) นั่นแหละครับ ผมจึงเสนอให้อยู่นานขึ้น ไม่ต้องเลือกบ่อยๆ ชนิดที่ว่ายังไม่ทันได้ทำงานเลยหมดวาระแล้ว --Sasakubo1717 (พูดคุย) 21:25, 23 มกราคม 2559 (ICT)
  2. เห็นด้วย ♥♥ ถ้าเห็นว่าคุณสมบัติเหมาะสมก็โหวต แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีความเที่ยงธรรมก็ไม่ต้องสนับสนุน ♥♥ --B20180 (พูดคุย) 15:32, 28 มกราคม 2559 (ICT)

คัดค้าน

  1. ไม่เห็นด้วย การดำรงตำแหน่งติดต่อกันอาจจะเกิดการผูกขาดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ และยังเป็นการปิดกั้นไม่ให้สมาชิกท่านอื่นๆมีโอกาสเข้ามาทำหน้าที่แทนได้ --Wutzwz (พูดคุย) 10:28, 28 ธันวาคม 2558 (ICT)
    • เรื่องการปิดกั้นคงไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้มีการจำกัดจำนวนมากสุดของ คอต. คนใหม่ ๆ มาสมัครก็ได้ ใครคะแนนถึงก็ได้เป็น แต่ในที่สุดต้องมี คอต. อย่างน้อยสามคน เพื่อให้สามารถชี้ขาดคดีต่าง ๆ ได้ และอย่างที่บอกไปแล้วว่า ไม่ได้เป็นต่อโดยอัตโนมัติ หากไม่ชอบก็ไม่ต้องลงคะแนนให้ เพียงเท่านั้น --奥虎 ボンド 09:08, 4 มกราคม 2559 (ICT)
  2. ไม่เห็นด้วย เหมือนผูกขาด ป้องกันการสะสมอำนาจ เพราะ คอต.มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายผู้ใช้ทั่วไปจนถึงผู้ดูแลระบบได้ อย่างไรก็ตามการอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันไม่ถือว่าเป็นการปิดกั้นผู้ใช้อื่น เพราะเปิดโอกาสอย่างเสรีให้ผู้มีคุณสมบัติสมัครเป็น คอต.ได้ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 20:10, 23 มกราคม 2559 (ICT)

เป็นกลาง


ทาบทามผู้เข้ารับเลือกการดำรงตำแหน่ง[แก้]

ขั้นตอนการลงคะแนนจะเกิดขึ้นภายหลังจากผู้รับการทาบทามยินยอม หรือผู้สมัครท่านอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติเสนอตัวตามเวลาที่กำหนด

@Lerdsuwa: (เสนอโดยผู้ใช้:octahedron80)
@Taweetham: (เสนอโดยผู้ใช้:B20180)
@Tinuviel: (เสนอโดยผู้ใช้:B20180)
@Saeng Petchchai: (เสนอโดยผู้ใช้:B20180)
@Tmd: (เสนอโดยผู้ใช้:B20180)
@Ponpan: (เสนอโดยผู้ใช้:B20180)
@Mda: (เสนอโดยผู้ใช้:B20180)
@Xiengyod: (เสนอโดยผู้ใช้:B20180)
@Thanyakij: (เสนอโดยผู้ใช้:B20180)
@Pongsak ksm: (เสนอโดยผู้ใช้:B20180)
@Love Krittaya: (เสนอโดยผู้ใช้:B20180)

คำตอบจากผู้รับการทาบทาม (โปรดตอบรับ หรือปฏิเสธตามแต่เห็นสมควร หากพ้นวันที่ 31 มกราคม 2559 ยังไม่มีการตอบรับ ถือว่าท่านปฏิเสธการทาบทามครั้งนี้)


ความผูกพันต่อการพิจารณาข้อพิพาทในโครงการพี่น้อง[แก้]

เป็นเพียงความเห็นเบื้องต้น อาจต้องลงความเห็นจากชุมชนพี่น้องภายหลัง เสนอโดยผู้ใช้:Taweetham

เห็นด้วย

  1. เห็นด้วย --Wutzwz (พูดคุย) 10:28, 28 ธันวาคม 2558 (ICT)
  2. เห็นด้วย --Sasakubo1717 (พูดคุย) 20:11, 23 มกราคม 2559 (ICT)

คัดค้าน

เป็นกลาง

  1. เป็นกลาง --奥虎 ボンド 09:35, 4 มกราคม 2559 (ICT)
  2. เป็นกลาง --B20180 (พูดคุย) 19:44, 8 มกราคม 2559 (ICT)

สรุป[แก้]

จากการอภิปราย ทางชุมชนมีมติเห็นชอบ ดังนี้ :

วาระการดำรงตำแหน่ง

2 ปี (แบบเดิม)

ผู้ใช้เดิมมีสิทธิดำรงตำแหน่งติดต่อกัน

มีผู้แสดงความเห็นทั้งสนับสนุน และคัดค้านเท่ากัน จึงยังไม่มีข้อสรุปแน่นอน ซึ่งอาจมีการจัดอภิปรายใหม่ภายหลัง ตามแต่สมาชิกเห็นชอบ หรือเสนอเพิ่มเติม

ทาบทามผู้เข้ารับเลือกการดำรงตำแหน่ง

ไม่มีผู้ใดตอบรับการทาบทามครั้งนี้ จึงอาจมีการทาบทามใหม่ภายหลัง เมื่อมีการจัดเตรียมการเลือกตั้งครั้งต่อไป หรือต้องการให้มีการจัดเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการเพื่อมิให้ขาดช่วง ตามแต่ชุมชนเห็นสมควร

อนึ่ง การทาบทามครั้งต่อไป คงใช้วิธีทาบทามในหน้าพูดคุยของแต่ละบุคคล เพื่อการเข้าถึงแบบเจาะจง

ความผูกพันต่อการพิจารณาข้อพิพาทในโครงการพี่น้อง

สมาชิกออกเสียงเห็นด้วย 2 เสียง และเป็นกลาง 2 เสียง จึงอาจให้สมาชิกในชุมชนโครงการพี่น้องลงความเห็นชอบจากชุมชนภายหลัง

หากสมาชิกท่านอื่นมีความเห็น หรือข้อเสนอแนะอื่นใด สามารถจัดอภิปรายเพิ่มเติมในภายหลังได้ครับ ♥

จึงเรียนมาเพื่อทราบ --B20180 (พูดคุย) 15:10, 3 กุมภาพันธ์ 2559 (ICT)

User separation filter[แก้]

Dear colleagues, occasionally the german language arbitration committee (arbcom.de) receives a request for arbitration in a long-lasting and personal conflict between users or even user groups. In the past we have used increasing block durations for users causing escalations and a 24h interaction ban ("wait 24h before editing after the other on articles or discussion pages", which is the equivalent of what a separation filter could do), to allow both users or user groups to have at least a slowed communication with each other. It worked, with few occasions of it being gamed by small user edits to block the other party on a page for 24h. Besides that, explicit sanctions for non-content edits (like corrections or formatting) aimed at blocking out the other user(s) mentioned in the interaction ban from a page can be implemented.

There are some advantages of a separation filter in comparison with an interaction ban. One of them is the limited equality of the "classical" interaction ban based on human reporting: the smaller user group in a conflict tends to overlook some violations, which are hence not reported or sanctioned, while the larger or more active user group reports every possible rule violation. Besides that, the sanction for an interaction ban violation is usually a temporary block and a separation filter would prevent a conflict escalation instead of punishing it, which poses a less invasive restriction of user editing rights but probably also does the job. Also, the discussions in those long-term conflicts are rarely held in an objective manner and are among the most frustrating tasks for our local administrators, and some of the discussions concern interaction ban violations. The discussions regarding interaction ban violations could be avoided with a separation filter (as it is preventive). With this variable, users (or user groups) can be defined, who cannot edit an article or discussion page for x hours after the other user (or user group) has edited it and vice versa. This temporary mutual exclusion filter would leave both users some time to reflect, it would slow the escalation rate, probably permit third party editors to edit the article, and it would reduce the work load for the local administrators. Therefore we've decided to open a phabricator task (https://phabricator.wikimedia.org/T125723).

All the best, on behalf of the arbcom.de, --Ghilt (พูดคุย) 05:05, 23 เมษายน 2559 (ICT)

[แก้]

Hi there, I created a logo for you. It is part of a series of logos for all arbitration committees. Please use it as you wish. Kind regards, --Sebastian Wallroth (พูดคุย) 23:17, 23 พฤศจิกายน 2559 (ICT)

การรื้อฟื้นคณะอนุยาโตตุลาการ[แก้]

ตอนนี้คณะอนุยาโตตุลาการได้ถูกปล่อยทิ้งร้างมาเป็นเวลากว่า 6 ปีแล้ว (นับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559) จึงมาขอความเห็นจากชาววิกิพีเดียว่าควรจะมีการเลือกสมาชิก คอต. ขึ้นอีกรอบไหมครับ (การเลือกตั้งครั้งก่อนผ่านมา 8 ปีแล้วครับ)

ปล.ตอนนี้ผู้ใช้งานวิกิพีเดียภาษาไทยที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่มีแค่ 1,000 คนเองครับ

--Mr.Green (คุย) 19:34, 30 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]

@Lookruk: เรื่องนี้เคยมีการคุยกันไปแล้ว คุณอาจลองเข้าไปดูเหตุผลที่ยังไม่จำเป็นที่จะต้องแต่งตั้ง คอต. ที่:วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ขอความเห็นเกี่ยวกับคณะอนุญาโตตุลาการ --`EZBELLA (คุย) 00:37, 31 มีนาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]