คารูกัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คารุกัง
คารุกังของคาโงชิมะ
ประเภทวางาชิ
แหล่งกำเนิดธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคจังหวัดคาโงชิมะ
ส่วนผสมหลักผงคารุกัง, น้ำตาล, มันภูเขา
คารุกังมันจู

คารุกัง (ญี่ปุ่น: 軽羹โรมาจิkarukan) เป็นขนมญี่ปุ่นของภูมิภาคคิวชู และ โอกินาวะ โดยเฉพาะจังหวัดคาโกชิมะ เดิมทีทำเป็นในรูปแบบซาโองาชิเช่นเดียวกับอุยโร แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการทำ คารุกังมันจู (軽羹饅頭) ซึ่งมีไส้ถั่วแดงอยู่ข้างใน ได้รับความนิยมมากขึ้น

วิธีการผลิต[แก้]

ใช้น้ำตาล แป้งคารุกัง มันภูเขา และน้ำ เป็นวัตถุดิบ ด้วยอัตราส่วนน้ำหนักประมาณ 6:5:4:3

แป้งคารุกังโกะเป็นแป้งข้าวเจ้าชนิดหนึ่งที่ทำโดยการล้างข้าวแล้วทุบให้แตก และบดให้หยาบ ในจังหวัดคาโงชิมะมีหลายบริษัทที่ผลิตแป้งชนิดนี้ขาย

สำหรับหัวมันที่ใช้นั้น ใช้มันภูเขาญี่ปุ่นจะเหมาะกว่ามันชนิดอื่นเช่นฮ่วยซัว ด้วยเหตุนี้ ในปีที่ผลการเก็บเกี่ยวมันตามธรรมชาติไม่ค่อยดีก็จะทำให้ผลิตได้ยากและจำเป็นต้องขึ้นราคา[1] ในบางกรณี ไข่ขาวจะถูกเติมเมื่อส่วนผสมไม่เพียงพอหรือมีความหนืดไม่เพียงพอ

ปอกเปลือกและขูดมันเทศแล้วเติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้เป็นของเหลว เติมน้ำตาลลงไป แล้วค่อย ๆ เติมน้ำที่เหลือในขณะที่ผสมจนเป็นเนื้อเดียวกัน สุดท้ายใส่แป้งคารุกังแล้วผสมให้เข้ากัน

จากนั้นนำแป้งที่ผสมแล้วใส่ภาชนะบาง ๆ แล้วนึ่งนานกว่า 20 นาที เพื่อให้มีลักษณะกึ่ง ฟองน้ำ สีขาวยืดหยุ่นได้ เวลารับประทานจะหั่นเป็นชิ้น คารุกังเชิงพาณิชย์ทั่วไปมีความชื้นประมาณ 40% ปริมาณน้ำตาลประมาณ 40% และมีความพรุนประมาณ 1.3 ลบ.ซม. ต่อกรัม[2]

หากห่อถั่วอาซูกิกวนไว้ข้างใน ให้ปั้นเป็นก้อนกลมแล้วนำไปนึ่งเพื่อทำคารุคังมันจู ลดน้ำลงเพื่อให้แป้งแข็งเล็กน้อยแล้วนวดให้เข้ากัน

อ้างอิง[แก้]

  1. 「かるかん」製造ピンチ…原料の自然薯不作で 読売新聞(2016/11/30) 2016/11/30閲覧
  2. 大山、1988年、P.32