กะรุน
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก คอรันดัม)
กะรุน | |
---|---|
การจำแนก | |
ประเภท | สารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์ |
สูตรเคมี | Al2O3 |
คุณสมบัติ | |
สี | ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึง วาวแบบเพชร |
รูปแบบผลึก | รูปผลึกแบบหกเหลี่ยม |
โครงสร้างผลึก | ไทรโกนัล |
ค่าความแข็ง | 9 |
ดรรชนีหักเห | nω = 1.767–1.772 nε = 1.759–1.763 |
การเปลี่ยนสี | ไม่มี |
สีผงละเอียด | ขาว |
ความถ่วงจำเพาะ | 3.95–4.1 |
จุดหลอมเหลว | 2044 °C |
สภาพละลายได้ | ไม่สามารถละลายได้ |
อ้างอิง: [1][2][3][4] |
กะรุน (อังกฤษ: corundum; Al2O3) เป็นแร่รัตนชาติประเภทอะลูมิเนียมออกไซด์ ประกอบขึ้นด้วยธาตุอะลูมิเนียมและออกซิเจน
คุณสมบัติ
[แก้]- มีค่าความแข็งที่ 9 ตามมาตราของโมส (Moh's scale)
- มีค่าความถ่วงจำเพาะที่ 3.95–4.1
- มีลักษณะเป็นระบบเฮ็กแซกะนัล รูปผลึกหกเหลี่ยม
- สี
- มีหลายสีเช่น ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึงวาวแบบเพชร
- ถ้าเป็นสีฟ้าหรือน้ำเงินเรียกว่าไพลิน
- ถ้าเป็นสีแดงจะเรียกว่าทับทิม
- ถ้าเป็นสีเหลืองเรียกว่าบุษราคัม
- ถ้าเป็นสีเขียวเรียกว่าเขียวส่อง
- ถ้าเป็นสีชมพูอมส้มเรียกว่าพัดพารัดชา
- ถ้าสีไม่สดจะเป็นขี้พลอย หรือเรียกว่ากากกะรุน
ประวัติ
[แก้]มาจากภาษาสันสกฤต: कुरुविन्द, อักษรโรมัน: Kuruvinda หมายถึง ทับทิม
การกำเนิด
[แก้]พบในหินหลายชนิด ในประเทศไทยพบในหินภูเขาไฟชนิดหินบะซอลต์ ต่างประเทศพบในหินแปร หินเปกมาไทต์ หินอัคนีชนิดหินไซอีไนต์ และหินเนฟีลีนไซอีไนต์
แหล่งที่พบ
[แก้]- ในประเทศไทย พบได้ทั่วไปในจังหวัดจันทบุรี ตราด แพร่ เพชรบูรณ์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาญจนบุรี และลพบุรี
- ในต่างประเทศ สามารถพบในประเทศพม่า กัมพูชา ศรีลังกา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Handbook of Mineralogy
- ↑ Corundum at Mindat.org
- ↑ Corundum at Webmineral
- ↑ Hurlbut, Cornelius S.; Klein, Cornelis, 1985, Manual of Mineralogy, 20th ed., Wiley, pp. 300-302. ISBN 0-471-80580-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กะรุน