ความอัปยศแห่งฆิฆอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยอรมนีตะวันตก พบกับ ออสเตรีย
สนามเอลโมลินอนซึ่งใช้จัดการแข่งขัน
รายการฟุตบอลโลก 1982
วันที่25 มิถุนายน ค.ศ. 1982
สนามเอลโมลินอน, ฆิฆอน
ผู้ตัดสินบ็อบ วาเลนไทน์ (สกอตแลนด์)
ผู้ชม41,000

ความอัปยศแห่งฆิฆอน (อังกฤษ: Disgrace of Gijón) เป็นชื่อที่ใช้เรียกการแข่งขันในฟุตบอลโลก 1982 ระหว่างเยอรมนีตะวันตกกับออสเตรียซึ่งจัดขึ้นที่สนามเอลโมลินอน ในเมืองฆิฆอน ประเทศสเปน ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1982 ซึ่งเป็นการแข่งขันนัดสุดท้ายในรอบแบ่งกลุ่มของกลุ่มที่ 2 หลังจากที่แอลจีเรียและชิลีแข่งขันไปแล้วก่อนหน้านี้หนึ่งวัน ในการแข่งขันนัดนี้ ถ้าเยอรมนีตะวันตกชนะ 1 หรือ 2 ประตูก็จะทำให้เยอรมนีตะวันตกและออสเตรียผ่านเข้ารอบไปด้วยกัน และแอลจีเรียซึ่งเอาชนะเยอรมนีตะวันตกได้ก่อนหน้านี้นั้นตกรอบ เยอรมนีตะวันตกออกนำก่อนใน 10 นาทีแรก และ 80 นาทีที่เหลือหลังจากนั้นกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่ตั้งใจจะทำประตูเพิ่มเลย ทั้งสองทีมถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าล้มบอล แม้ว่าฟีฟ่าจะตัดสินว่าทั้งสองทีมไม่ได้ทำผิดกติกาก็ตาม

สืบเนื่องจากการแข่งขันนัดนี้ และเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อนหน้านี้ที่อาร์เจนตินา ฟีฟ่าได้เปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มโดยให้สองนัดสุดท้ายของแต่ละกลุ่มแข่งขันพร้อมกัน[1] เหตุการณ์นี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า "สนธิสัญญาไม่รุกรานกันแห่งฆิฆอน" (Nichtangriffspakt von Gijón) หรือ "ความอัปยศแห่งฆิฆอน" (Schande von Gijón)[2] ในขณะที่ชาวแอลจีเรียเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "เรื่องอื้อฉาวแห่งฆิฆอน" (อาหรับ: فضيحة خيخون, อักษรโรมัน: Faḍīḥa Khīkhūn) นอกจากนี้เหตุการณ์นี้ยังมีชื่อเรียกว่า อันชลุส ซึ่งอ้างอิงถึงการผนวกรวมออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีในปี ค.ศ. 1938[3]

ปูมหลัง[แก้]

ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน
ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 2 2 0 0 3 0 +3 4
ธงชาติแอลจีเรีย แอลจีเรีย 3 2 0 1 5 5 0 4
ธงชาติเยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันตก 2 1 0 1 5 3 +2 2
ธงชาติชิลี ชิลี 3 0 0 3 3 8 −5 0
  • หมายเหตุ: ชนะได้ 2 คะแนน เสมอได้ 1 คะแนน ถ้าคะแนนเท่ากันจะตัดสินด้วยผลต่างประตูได้เสีย

แอลจีเรียเริ่มต้นการแข่งขันด้วยการพลิกล็อกเอาชนะเยอรมนีตะวันตกด้วยผล 2–1 ในการแข่งขันวันแรก ซึ่งเรียกขานกันว่าเป็น "การพลิกล็อกที่เหลือเชื่อที่สุดนับตั้งแต่เกาหลีเหนือชนะอิตาลีในปี 1966"[4] และเป็น "หนึ่งในเหตุการณ์สุดช็อกในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลโลก"[5] แอลจีเรียกลายเป็นชาติแอฟริกาและชาติอาหรับชาติแรกที่เอาชนะชาติจากยุโรปได้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ก่อนจะแพ้ออสเตรีย 0–2 และชนะชิลี 3–2 ในนัดสุดท้าย ซึ่งทำให้แอลจีเรียกลายเป็นชาติจากแอฟริกาและชาติอาหรับชาติแรกที่ชนะได้สองครั้งในการแข่งขันฟุตบอลโลกคราวเดียวกันอีกด้วย[5]

เนื่องจากแอลจีเรียแข่งขันนัดสุดท้ายไปแล้วก่อนที่เยอรมนีตะวันตกจะพบกับออสเตรีย ทีมยุโรปทั้งสองทีมจึงรู้ดีว่าผลการแข่งขันจะมีผลอย่างไรต่อการเข้ารอบหรือตกรอบ ถ้าเยอรมนีตะวันตกชนะ 1 หรือ 2 ประตู ทั้งเยอรมนีตะวันตกและออสเตรียก็จะเข้ารอบไปด้วยกัน ถ้าเยอรมนีตะวันตกชนะมากกว่านั้นเยอรมนีตะวันตกกับแอลจีเรียจะเข้ารอบ แต่ถ้าเสมอกันหรือออสเตรียชนะ เยอรมนีตะวันตกจะตกรอบ

การแข่งขัน[แก้]

สรุปเหตุการณ์[แก้]

หลังจากที่สิบนาทีแรกเป็นไปอย่างดุเดือด เยอรมนีตะวันตกก็ทำประตูแรกได้จากฮอสท์ รูเบ็ช และหลังจากที่มีประตูเกิดขึ้นแล้ว ผู้เล่นฝ่ายที่ครองบอลได้ก็ส่งลูกไปมาระหว่างฝ่ายตัวเอง จนกว่าผู้เล่นของฝ่ายตรงข้ามเข้ามาใกล้ ผู้เล่นก็ส่งลูกกลับไปที่ผู้รักษาประตู บางครั้งผู้เล่นก็เล่นลูกยาวบ้างแต่ก็ไม่ค่อยมีอะไรเกิดขึ้นหลังจากนั้น ไม่ค่อยมีการเข้าแย่งลูกเกิดขึ้นมากนัก และผู้เล่นทั้งสองฝ่ายแทบจะไม่พยายามทำประตูเพิ่มเลย ผู้เล่นออสเตรียเพียงคนเดียวที่ดูเหมือนจะพยายามเล่นอย่างจริงจังคือวัลเทอร์ ชัคเนอร์ แม้ว่าจะทำอะไรไม่ได้มากนักก็ตาม ในขณะที่ว็อลฟ์กัง เดร็มเลอร์ ของเยอรมนีตะวันตกเป็นผู้เล่นหนึ่งในไม่กี่คนที่พยายามทำประตู[2]

ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ต่างแสดงความไม่พอใจ เอเบอร์ฮาร์ท สตันเย็ค ผู้บรรยายของสถานีโทรทัศน์ อาแอร์เด ของเยอรมนีตะวันตกไม่บรรยายหรือออกความเห็นใด ๆ กับการแข่งขันอีกเลย โรแบร์ท เซเกอร์ ผู้บรรยายของออสเตรียผิดหวังกับสิ่งที่เห็นและบอกให้ผู้ชมปิดโทรทัศน์ จอร์จ เวกซีย์ นักข่าวของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ กล่าวว่าทั้งสองทีม "ดูเหมือนจะร่วมมือกัน" แม้ว่าจะกล่าวเสริมว่าพิสูจน์ได้ยากก็ตาม[4] เอลโกเมร์ซิโอ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นตีพิมพ์รายงานการแข่งขันนัดนี้ลงในหมวดข่าวอาชญากรรม[6]

ผู้ชมในสนามก็ไม่พอใจและแสดงอาการโกรธเคืองต่อผู้เล่นในสนามเช่นกัน ผู้ชมชาวสเปนตะโกนว่า "Fuera, fuera" ("ออกไป ออกไป") "Argelia, Argelia" ("แอลจีเรีย แอลจีเรีย") และ "Que se besen, que se besen" ("จูบกันเลยสิ จูบกันเลยสิ")[7] ในขณะที่ผู้ชมชาวแอลจีเรียโบกธนบัตรใส่ผู้เล่น แม้แต่ผู้ชมชาวเยอรมันและออสเตรียเองก็แสดงอาการไม่พอใจเช่นกัน เนื่องจากพวกเขาหวังจะได้การแข่งขันที่ดุเดือดเช่นเดียวกับ "ปาฏิหาริย์แห่งกอร์โดบา" ซึ่งออสเตรียเอาชนะเยอรมนีตะวันตกได้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1978 แฟนบอลชาวเยอรมันคนหนึ่งถึงกับเผาธงชาติเพื่อประท้วง[8][9]

รายละเอียด[แก้]

เยอรมนีตะวันตก ธงชาติเยอรมนีตะวันตก1–0ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย
รูเบ็ช Goal 10' รายงาน
ผู้ชม: 41,000 คน
ผู้ตัดสิน: บ็อบ วาเลนไทน์ (สกอตแลนด์)
เยอรมนีตะวันตก
ออสเตรีย
GK 1 ฮารัลท์ ชูมัคเคอร์
SW 15 อุลลี ชตีลีเคอ
RB 20 มันเฟรท คัลทซ์
CB 4 คาร์ลไฮนทซ์ เฟิร์สเทอร์
LB 2 ฮันส์-เพเทอร์ บรีเกิล
CM 3 เพาล์ ไบรท์เนอร์
CM 6 ว็อล์ฟกัง เดร็มเลอร์
CM 14 เฟลิคส์ มากัท
RF 11 คาร์ล-ไฮนทซ์ รุมเมอนิกเกอ Substituted off in the 66 นาที 66'
CF 9 ฮอสท์ รูเบ็ช Substituted off in the 68 นาที 68'
LF 7 พีแอร์ ลิทบาร์สกี
ตัวสำรอง:
GK 22 ไอเคอ อิมเมิล
DF 5 แบนท์ เฟิร์สเทอร์
MF 18 โลทาร์ มัทเทอุส Substituted on in the 66 minute 66'
FW 8 เคลาส์ ฟิชเชอร์ Substituted on in the 68 minute 68'
FW 13 อูเวอ ไรน์เดิร์ส
ผู้จัดการ:
ยุพ แดร์วัล
GK 1 ฟรีดริช ค็อนท์ซีลีอา
DF 2 แบนท์ เคราส์
DF 3 เอริช โอเบอร์ไมเออร์
DF 4 โยเซ็ฟ เดเกออร์กี
DF 5 บรูโน เพ็ทไซ
MF 6 โรลันท์ ฮัทเทินแบร์เกอร์
FW 7 วัลเทอร์ ชัคเนอร์ โดนใบเหลือง ใน 32 นาที 32'
MF 8 แฮร์แบร์ท โพรฮัสคา
FW 9 ฮันส์ ครังเคิล
MF 10 ไรน์ฮ็อลท์ ฮินเทอร์ไมเออร์ โดนใบเหลือง ใน 32 นาที 32'
DF 19 เฮรีแบร์ท เวเบอร์
ตัวสำรอง:
GK 22 เคลาส์ ลินเดินแบร์เกอร์
DF 12 อันโทน พิชเลอร์
DF 13 มัคส์ ฮาคไมเออร์
MF 14 แอ็นสท์ เบาไมส์เทอร์
FW 20 ควร์ท เว็ลท์เซิล
ผู้จัดการ:
เฟลิคส์ ลัทซ์เคอ และเกออร์ค ชมิท

หลังจากเหตุการณ์[แก้]

ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน
ธงชาติเยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันตก 2 2 0 1 6 3 +3 4
ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 3 2 0 1 3 1 +2 4
ธงชาติแอลจีเรีย แอลจีเรีย 3 2 0 1 5 5 0 4
ธงชาติชิลี ชิลี 3 0 0 3 3 8 −5 0

เนื่องจากเยอรมนีตะวันตกชนะ 1–0 ทำให้มี 4 คะแนนเท่ากับออสเตรียและแอลจีเรีย เยอรมนีตะวันตกและออสเตรียผ่านเข้ารอบต่อไปเนื่องจากผลต่างประตูได้-เสียดีกว่าแอลจีเรีย ออสเตรียผ่านเข้ารอบที่สองไปพบกับฝรั่งเศสและไอร์แลนด์เหนือ ในขณะที่เยอรมนีตะวันตกผ่านเข้าไปพบกับสเปนซึ่งเป็นเจ้าภาพ และอังกฤษซึ่งเอาชนะฝรั่งเศสมาได้ก่อนหน้านี้

หลังจบการแข่งขัน แฟนฟุตบอลชาวเยอรมันบางส่วนที่โกรธแค้นมารวมตัวกันที่โรงแรมที่พักของนักฟุตบอลทีมชาติเยอรมนีตะวันตก พร้อมทั้งขว้างปาไข่และสิ่งของต่าง ๆ ใส่ผู้เล่น ผู้บรรยายทางโทรทัศน์ของทั้งเยอรมนีตะวันตกและออสเตรียไม่พอใจถึงกับบอกให้ผู้ชมเปลี่ยนช่องไปดูรายการอื่นแทน สหพันธ์ฟุตบอลแอลจีเรียประกาศประท้วงอย่างเป็นทางการ นอกจากนั้น ประธานสหพันธ์ฟุตบอลแอลจีเรียแสดงความเห็นว่าบ็อบ วาเลนไทน์ ผู้ตัดสินในการแข่งขันนัดนี้ควรเข้าจัดการ และการที่บ็อบไม่เข้าไปจัดการนั้นเป็นเหตุสมควรที่จะประท้วง[10] อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าพิจารณาว่าไม่มีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น และตัดสินใจไม่ดำเนินการใด ๆ ทั้งสองฝ่ายปฏิเสธการสมรู้ร่วมคิด[11] ยุพ แดร์วัล ผู้จัดการทีมชาติเยอรมนีตะวันตกปกป้องลูกทีมจากข้อวิจารณ์ โดยอ้างว่าสภาพร่างกายของอุลลี ชตีลีเคอ และคาร์ล-ไฮนทซ์ รุมเมอนิกเกอไม่พร้อมลงแข่งขัน[12] เยอรมนีตะวันตกผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศไปพบกับอิตาลีก่อนจะแพ้ไปด้วยผล 3–1 ส่วนออสเตรียตกรอบในรอบถัดมา

เนื่องจากการแข่งขันนัดนี้ ทำให้การแข่งขันนับตั้งแต่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 และฟุตบอลโลก 1986 เป็นต้นมา นัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่มในกลุ่มเดียวกันจะแข่งพร้อมกัน[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Booth, Lawrence; Smyth, Rob (11 August 2004). "What's the dodgiest game in football history?". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 16 June 2018.
  2. 2.0 2.1 Smyth, Rob (25 February 2014). "No3: West Germany 1–0 Austria in 1982". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 23 June 2014.
  3. Spurling, Jon (2010). Death or Glory The Dark History of the World Cup. p. 67. ISBN 978-1905326-80-8.
  4. 4.0 4.1 Vecsey, George (29 June 1982). "When West Germany and Austria danced a Vienna waltz". Pittsburgh Post-Gazette. p. 12. สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.
  5. 5.0 5.1 Murray, Scott; Walker, Rowan (2008). "June 25 - West Germany 1-0 Austria: 'El Anchluss' (1982)". Day of the Match. Boxtree. p. 183. ISBN 978-0-7522-2678-1.
  6. Honigstein, Raphael (29 June 2014). "Germany won't repeat 1982 mistakes". ESPNFC.com. ESPN Internet Ventures, LLC. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
  7. https://www.youtube.com/watch?t=290&v=PosNh9VGMPI
  8. "World Cup Tales: The Shame Of Gijon, 1982". twohundredpercent.net. London. 9 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  9. Doyle, Paul (13 June 2010). "The day in 1982 when the world wept for Algeria". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
  10. "Cup game labeled as 'fix'". The Register-Guard. Eugene. 26 June 1982. สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.
  11. Molinaro, John (16 June 2008). "No agreement between Germany and Austria this time around". CBC Sports. สืบค้นเมื่อ 15 September 2009.
  12. "German victory in World Cup stirs controversy". Milwaukee Journal. Associated Press; United Press International. 26 June 1982. p. 10. สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.[ลิงก์เสีย]
  13. "The Game that Changed the World Cup — Algeria". algeria.com. สืบค้นเมื่อ 15 September 2009.