ความอยากรู้อยากเห็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลูกแมวตัวหนึ่งกำลังสำรวจ

ความอยากรู้อยากเห็น เป็นอารมณ์อย่างหนึ่งของมนุษย์และสัตว์หลายชนิด ซึ่งส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ เช่น การสำรวจ การสืบเสาะ และการเรียนรู้ คำนี้สามารถใช้แทนพฤติกรรมที่เกิดจากอารมณ์ดังกล่าวก็ได้ อารมณ์ที่อยากรู้อยากเห็นทำให้เกิดแรงผลักดันที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จนถือได้ว่าความอยากรู้อยากเห็นเป็นแรงจูงใจของวิทยาศาสตร์และแขนงวิชาอื่นๆ ในการศึกษาของมนุษย์

ต้นเหตุของความอยากรู้อยากเห็น[แก้]

ถึงแม้ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นความสามารถที่มีมาตั้งแต่เกิดของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด แต่ก็ไม่สามารถจัดว่าเป็นสัญชาตญาณเพราะว่าขาดคุณสมบัติของแบบอย่างการกระทำที่ตายตัว (fixed action pattern) ความอยากรู้อยากเห็นควรจะเป็นหนึ่งในอารมณ์พื้นฐาน เพราะความอยากรู้อยากเห็นสามารถแสดงออกได้โดยยืดหยุ่นหลายวิธี ในขณะที่สัญชาตญาณจะแสดงออกไปในทางเดียวเหมือนกันหมด ความอยากรู้อยากเห็นเป็นสิ่งปกติทั่วไปของมนุษย์ในทุกช่วงอายุตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงวัยชรา และสามารถสังเกตได้ง่ายจากสัตว์ชนิดอื่นด้วย อาทิ ลิง แมว ปลา สัตว์เลื้อยคลาน แมลง ฯลฯ โดยรูปลักษณ์ของการสำรวจจะถูกใช้ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น เช่นสัตว์บนพื้นดินจะมีรูปลักษณ์ที่เหมือนกัน คือขนาดที่จำกัดและความต้องการที่จะออกหาแหล่งอาหาร เป็นต้น

ความอยากรู้อยากเห็นอันแรงกล้าเป็นแรงจูงใจสำคัญของนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เป็นอารมณ์ที่ทำให้ความต้องการของมนุษยชาติกลายเป็นความชำนาญในความรู้ของสาขาวิชาหนึ่งๆ โดยพัฒนาจากความสงสัยและการยกย่องชมเชย ถึงแม้บางทีมนุษย์จะถูกพิจารณาว่ามีความอยากรู้อยากเห็นมาก แต่บางทีก็ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ไม่แตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ชนิดอื่น สิ่งที่เกิดในความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์คือ ความสนใจหรือความอยากรู้อยากเห็นในตนเอง บวกกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์แบบนามธรรม นำไปสู่การเลียนแบบ ความเพ้อฝัน และจินตนาการ และในที่สุดก็นำไปสู่วิธีของมนุษย์โดยเฉพาะนั่นคือ "เหตุผล" ซึ่งเป็นสิ่งนามธรรมและมีความตระหนักในตนเองหรือความสำนึก หลายคนมีความรู้สึกอยากรู้อยากเห็นในเรื่องต่างๆ และก็ได้มีเหตุผลมากมายมาอธิบายรองรับ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของโลกหลังความตาย

ความอยากรู้อยากเห็นที่ผิดปกติ[แก้]

ความอยากรู้อยากเห็นที่ผิดปกติ เป็นตัวอย่างหนึ่งของความอยากรู้อยากเห็นที่เสพติดหรือเลิกไม่ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความตาย ความรุนแรง หรือเหตุการณ์อื่นที่อาจทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ อารมณ์เช่นนั้นคือการระบายความกดดันไปบนความอยากรู้อยากเห็นที่มีตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องอื่นที่อ่อนโยนกว่า สิ่งนี้อาจเข้าใจได้ว่าเป็นพฤติกรรมรูปแบบหนึ่งของการเยียวยาหรือการลบล้างให้หมดไป ดังเช่นการอธิบายในบทกวีของอริสโตเติลว่า "เราสนุกกับการพิจารณาภาพที่พิถีพิถันที่สุดของสิ่งต่างๆ ที่ซึ่งการมองเห็นนั้นสร้างความเจ็บปวดให้เรา"

ดูเพิ่ม[แก้]