ความฉลาดทางอารมณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความฉลาดทางอารมณ์ (อังกฤษ: emotional quotient หรือ emotional intelligence) หรือ อีคิว คือความสามารถในการรับรู้ของตนเอง ในการระบุประเมินและการควบคุมอารมณ์ของตนเอง, ของผู้อื่น หรือของกลุ่ม ความสามารถด้านการควบคุมอารมณ์ที่ช่วยให้ดำเนินชีวิตให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์อย่างมีความสุข ซึ่งเดิมเชื่อกันว่า ความฉลาดทางสติปัญญา คือปัจจัยหลัก ที่ทำให้ผู้คนประสบความสำเร็จ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข แต่ต่อมาภายหลัง นักจิตวิทยาเริ่มไม่คิดว่าความสำเร็จในชีวิตจะขึ้นอยู่กับความสามารถทางสติปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่เนื่องด้วยในสมัยนั้นยังไม่มีข้อมูลการวิจัยอย่างเพียงพอ แนวคิดดังกล่าวจึงถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย กระทั่ง ค.ศ. 1990 สองนักจิตวิทยาชาวอเมริกันซึ่งมีชื่อว่า ปีเตอร์ ซาโลเวย์ และจอห์น ดี. เมเยอร์ ได้นำแนวคิดนี้มาอีกครั้ง โดยกล่าวถึงความฉลาดทางอารมณ์ในความหมายของ รูปแบบหนึ่งของความฉลาดด้านสังคมที่สามารถรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง รวมทั้งผู้อื่น และสามารถแยกแยะความแตกต่างของอารมณ์ได้ ตลอดใช้ข้อมูลนี้ชี้นำในการคิดและการกระทำต่าง ๆ[1]

ในเวลาต่อมา แดเนียล โกลแมน ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้เริ่มขยายแนวคิดนี้อย่างจริงจัง โดยได้ทำการเขียนหนังสือเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ภายหลังจากที่หนังสือของแดเนียล โกลแมน ปรากฏสู่สาธารณชน ผู้คนก็เริ่มให้ความสนใจต่อความฉลาดทางอารมณ์มากขึ้น ตลอดจนในช่วงหลัง ได้มีผลงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้น จนได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จและความสุขสำหรับชีวิต[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]