คลื่นฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสะท้อนของคลื่นวิทยุ (สีเหลือง/ส้ม) ที่บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ (สีม่วง)

คลื่นฟ้า (อังกฤษ: Skywave) คือ เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุข้ามแนวขอบฟ้าของโลก โดยอาศัยคุณสมบัติการสะท้อนคลื่นวิทยุบางย่านความถี่ของบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์

โดยปกติ การสื่อสารวิทยุระหว่างสถานีที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ จะมีอุปสรรคจากความโค้งของผิวโลก ทำให้สถานีส่งไม่สามารถส่งคลื่นไปยังสถานีรับได้ในแนวตรง, แต่ด้วยคุณสมบัติของบรรยากาศโลกชั้นไอโอโนสเฟียร์ ที่อากาศแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า ซึ่งสะท้อนคลื่นวิทยุบางย่านความถี่ ทำให้สามารถทำการส่งคลื่นวิทยุไปยังสถานีรับที่ไกลเลยเส้นขอบฟ้า ข้ามประเทศหรือข้ามทวีปได้ โดยอาศัยการสะท้อนจากบรรยากาศชั้นนี้แทน [1]

การส่งวิทยุด้วยคลื่นฟ้า จะใช้ได้ดีในช่วงความถี่วิทยุคลื่นสั้น (3 - 30 MHz) จึงนิยมใช้ในสถานีวิทยุคลื่นสั้นทางไกล และใช้ในวงการวิทยุสมัครเล่น, ส่วนวิทยุคลื่นกลาง (300 KHz - 3 MHz) สามารถใช้การส่งผ่านคลื่นฟ้าได้เช่นกัน แต่ทำได้เฉพาะในสภาพบรรยากาศเวลากลางคืนเท่านั้น[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • คลื่นดิน (Groundwave propagation) เป็นการส่งคลื่นวิทยุโดยให้หักเหไปตามแนวโค้งของโลกโดยตรง ใช้กับคลื่นวิทยุความถี่ต่ำ (ในย่าน MF หรือ HF ช่วงต้น)[2]
  • คลื่นตรง (Line-of-sight propagation) เป็นการส่งคลื่นวิทยุไปยังสถานีรับในแนวเส้นตรง, ใช้เป็นหลักในคลื่นวิทยุความถี่สูง[1]
  • เครื่องทวนสัญญาณวิทยุ (Radio repeater) เป็นอีกทางเลือกในการแก้ปัญหากรณีที่สถานีรับส่งไม่สามารถส่งคลื่นวิทยุถึงกันได้โดยตรง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 เรียนรู้ไฟฟ้าสื่อสาร. กรุงเทพฯ, สมาร์ทเลิร์นนิ่ง, 2551 ISBN 978-974-10-9762-3. หน้า 146.
  2. เรียนรู้ไฟฟ้าสื่อสาร. กรุงเทพฯ, สมาร์ทเลิร์นนิ่ง, 2551 ISBN 978-974-10-9762-3. หน้า 145.