คลองคูเมืองเดิม
คลองคูเมืองเดิม | |
---|---|
คลองหลอดมองมุ่งหน้าสะพานผ่านพิภพลีลา | |
ตำแหน่ง | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประตูกั้นน้ำ | 2 |
ประวัติ | |
ชื่อทั่วไป | คลองหลอด |
วันที่อนุมัติ | พ.ศ. 2314 |
เริ่มก่อสร้าง | พ.ศ. 2314 |
ข้อมูลภูมิศาสตร์ | |
ทิศ | ตะวันตกเฉียงใต้ |
จุดเริ่มต้น | แม่น้ำเจ้าพระยา แขวงชนะสงคราม และแขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร |
จุดสิ้นสุด | แม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และแขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ |
สาขา | คลองหลอดวัดราชนัดดา คลองหลอดวัดราชบพิธ |
สาขาของ | แม่น้ำเจ้าพระยา |
เชื่อมต่อกับ | แม่น้ำเจ้าพระยา |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | คลองคูเมืองเดิม |
ขึ้นเมื่อ | 29 เมษายน พ.ศ. 2519 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000038 |
คลองคูเมืองเดิม บ้างเรียก คลองหลอด เป็นคลองขุดรอบพระนครชั้นใน (ชั้นแรก) ของเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นคูเมืองที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรี หลังการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายราชธานีไปยังกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดคูเมืองขึ้นใหม่ ส่วนคลองคูเมืองเดิมได้กลายสภาพเป็นเส้นทางคมนาคมของประชาชนในพระนครแทน
ประวัติ
[แก้]เป็นคลองขุดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรีซึ่งกินอาณาเขตเลยมาทางด้านฝั่งพระนคร โดยโปรดฯ ให้ขุดคูเมืองออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านเหนือที่ท่าช้างวังหน้า ด้านใต้ที่ปากคลองตลาด ดินจากการขุดคลองโปรดให้พูนขึ้นเป็นเชิงเทิน ตั้งค่ายไม้ทองหลางทั้งต้นตลองแนวคลองเพือป้องกันข้าศึก[1] เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โปรดให้ขุดคูเมืองใหม่เพื่อขยายอาณาเขตราชธานี คลองคูเมืองเดิมจึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคมของราษฎร ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นคูเมืองอีกต่อไป[1]
ประชาชนเรียกชื่อคลองนี้ตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ปากคลองด้านเหนือผ่านโรงไหมหลวง เรียก "คลองโรงไหมหลวง" ปากคลองด้านใต้เป็นตลาดที่คึกคักทั้งบนบกและในน้ำ จึงเรียก "ปากคลองตลาด" ส่วนตอนกลางระหว่างคลองหลอดวัดราชนัดดา (คลองหลอดข้างวัดบุรณศิริมาตยาราม) กับคลองหลอดวัดราชบพิธ ได้มีประกาศของสุขาภิบาล ร.ศ. 127 ให้เรียกว่า "คลองหลอด" ซึ่งหมายถึงคลองที่อยู่ระหว่างคลองหลอดทั้งสอง แต่ภายหลังคนทั่วไปมักเรียกคลองนี้ตลอดสายว่า "คลองหลอด" ซึ่งผิดจากข้อเท็จจริง
เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี รัฐบาลจึงมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อคลองให้ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า "คลองคูเมืองเดิม"
ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยราชการในพระองค์ หน่วยราชการอื่น ๆ และประชาชนจิตอาสาร่วมกันทำความสะอาด พัฒนา และปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายต่าง ๆ รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมมีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาก รวมทั้งมีปัญหาคนเร่ร่อนและโสเภณีทำให้สภาพแลดูไม่เป็นระเบียบ[2] จึงมีการพัฒนาโดยมีการขุดลอกคลอง และผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลอง ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น ส่วนด้านภูมิทัศน์ได้มีการปรับปรุงทางเท้า ติดตั้งไฟส่องสว่าง[3] รวมทั้งตั้งพรรณไม้ใหญ่บางชนิดออกเพราะรากไม้นั้นจะทำลายแนวเขื่อน และทำการฟื้นฟูต้นขนุนซึ่งเป็นพรรณไม้ที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[4] ส่วนปัญหาคนเร่ร่อนได้ทำการช่วยเหลือนำส่งไปยังศูนย์คัดกรองช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส (บ้านอิ่มใจ)[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]- คลองรอบกรุง คลองรอบกรุงชั้นที่สอง ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
- คลองผดุงกรุงเกษม คลองรอบกรุงชั้นที่สาม ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล (14 กุมภาพันธ์ 2545). "ประวัติคลองคูเมืองเดิม". สนุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สภากทม.เร่งปูแผนจัดการ 'ขอทาน-คนไร้ที่พึ่ง-ค้าประเวณี' ย่านคลองหลอด". มติชน. 5 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ฟื้นคลองคูเมืองเดิม ฟื้นคืนเวนิสตะวันออก". บ้านเมือง. 4 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตัด 'ต้นโพธิ์' ปลุก 'ต้นขนุน' ลุยฟื้นอัตลักษณ์คลองหลอด". เดลินิวส์. 20 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "จัดระเบียบ 'คลองหลอด'". ข่าวสด. 12 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ คลองคูเมืองเดิม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์