คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ตัวย่อ: ครป. อังกฤษ: Campaign for Popular Democracy-CPD) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรณรงค์ให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2521 ให้เป็นประชาธิปไตย ในนาม "โครงการรณรงค์เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย (ครป.)" อันมีพันเอกสมคิด ศรีสังคม (อดีต ส.ส. และอดีต ส.ว. จังหวัดอุดรธานี) เป็นประธาน ซึ่งได้ยุติบทบาทลงเมื่อปี พ.ศ. 2526

ต่อมา เมื่อเกิดรัฐประหารโดยคณะ รสช. ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 องค์กรสิทธิมนุษยชนองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และนักศึกษาจึงได้กลับมารวมตัวกันรื้อฟื้น ครป. ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยเปลี่ยนชื่อองค์กรเป็น "คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย" มีเป้าหมายสำคัญ คือการติดตามและรณรงค์เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2534 เป็นประชาธิปไตย

ครป. ได้จัดกิจกรรมทั้งทางวิชาการและทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการประชุม สัมมนา อภิปราย การรณรงค์ และได้ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรประชาธิปไตยต่างๆ ต่อมาภายหลังเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พล.อ. สุจินดา คราประยูร ผู้นำ รสช. ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครป.เป็นองค์กรหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม เพื่อคัดค้านการสืบทอดอำนาจของ รสช. แม้ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สถานการณ์ทางการเมืองจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ได้รัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส. แต่ ครป. เห็นว่าโครงสร้างของสังคมไทยยังมิได้เป็นประชาธิปไตยที่เอื้อต่อคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง โดยเฉพาะคนระดับพื้นฐาน อันเป็นเกษตรกรและแรงงาน ระบบรัฐสภายังผูกขาดโดยนักการเมือง ระบบราชการ และระบบการศึกษา ที่รวมศูนย์อยู่นอกเหนือการควบคุมตรวจสอบของประชาชน ยังผลให้ประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมในทางการเมืองอย่างแท้จริง ครป. จึงดำเนินกิจกรรมโดยยึดแนวทาง อิสระไม่ฝักใฝ่ทางการเมืองกับพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง มุ่งการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อไปสู่การปฏิรูปการเมืองทั้งระบบ โดยในปี พ.ศ. 2540 ครป. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรประชาธิปไตย และองค์กรประชาชน ในนาม 30 องค์กรประชาธิปไตย ได้มีการใช้รูปแบบการเคลื่อนไหว "ชูธงเขียว เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" และรวบรวมประมวลข้อคิดเห็นในการร่าง รัฐธรรมนูญจากประชาชนทั่วประเทศ นำเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ และร่วมผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จนผ่านรัฐสภาในที่สุด

โครงสร้างของ ครป. ประกอบด้วยนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนหลายท่าน ประกอบด้วยที่ปรึกษา, ที่ปรึกษาส่วนภูมิภาค, คณะกรรมการกลาง, คณะกรรมการกลางส่วนภูมิภาค, คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ, คณะกรรมการดำเนินงาน (ประกอบโดย ประธาน, รองประธานและเลขาธิการ, คณะกรรมการ และเหรัญญิก), และสำนักงานเลขาธิการ.

ผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน ครป. อาทิ

  • พันเอกสมคิด ศรีสังคม อดีตประธาน ครป. (ขณะนั้นเป็น "โครงการรณรงค์เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย")
  • ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว อดีตประธาน ครป อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช)
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ อดีตโฆษก ครป. ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ อดีตประธานร่วมยกร่างหลักการยอกยาการ์ตา (หลักการว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ)
  • พิภพ ธงไชย อดีตประธาน ครป. เลขานุการมูลนิธิเด็ก
  • สุวิทย์ วัดหนู อดีตเลขาธิการ ครป. ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายสลัมสี่ภาค
  • ผศ.ดร.สุริยะใส กตะศิลา อดีตเลขาธิการ ครป. คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมทางสังคม ม.รังสิต
  • ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อดีตรองเลขาธิการ ครป. รองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ อาจารย์กฎหมายมหาชน
  • บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ประธาน ครป. (2564 - 2566) อดีตผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
  • ปรีดา เตียสุวรรณ์ ที่ปรึกษา ครป. ที่ปรึกษาเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN Thailand)
  • กษิต ภิรมย์ ที่ปรึกษา ครป. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ
  • สุริยันต์ ทองหนูเอียด อดีตเลขาธิการ ครป. ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
  • อารีวรรณ จตุทอง อดีตรองเลขาธิการ ครป. อดีตรองนางสาวไทย อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)
  • รองศาสตราจารย์ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อดีตประธาน ครป. ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา NIDA อดีตผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพแรงงานในมหาวิทยาลัย
  • เมธา มาสขาว เลขาธิการ ครป. เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา35

คณะที่ปรึกษาและคณะกรรรมการ ครป. (2566 - 2567) และจุดยืนสมัชชา ครป.[แก้]

นางสาวลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

สำหรับรายชื่อคณะกรรมการ ครป. ชุดใหม่ ประจำปี 2567-2568  มีดังนี้

ประธาน  

น.ส.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์

รองประธาน   

ผศ.ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต รับผิดชอบงานวิชาการโดยเฉพาะประเด็นรัฐธรรมนูญ/การเมือง

รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา รับผิดชอบประเด็นด้านเลือกตั้ง/ภาคกลาง+ตะวันออก

ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล  เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการกระจายอำนาจ รับผิดชอบประเด็นด้านกระจายอำนาจ

นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ  รับผิดชอบประเด็นด้านแรงงานนอกระบบ และภาคอีสาน

นายประพจน์ ศรีเทศ  ภาคีพลเมืองสังเกตการณ์การเลือกตั้ง  รับผิดชอบประเด็นด้านสังเกตการณ์เลือกตั้ง/ภาคเหนือ

นางเรืองรวี พิชัยกุล ผู้ประสานงานขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) รับผิดชอบประเด็นผู้หญิงกับการเมือง

นายมานพ เกื้อรัตน์  เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ผู้แทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) รับผิดชอบประเด็นแรงงาน

นายสมบูรณ์ คำแหง  ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน รับผิดชอบเชื่อมกับสภาองค์กรชุมชน/ภาคใต้

นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด  มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ รับผิดชอบเชื่อมประเด็นปัญหาสลัมและปัญหาร้อนอื่นของภาคประชาชน

เลขาธิการ  

(อยู่ระหว่างการสรรหา / เมธา มาสขาว รักษาการเลขาธิการ)

รองเลขาธิการ   

น.ส.ณีรนุช  จิตต์สม รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)

กรรมการ

นายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธานที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move)

นายสุปัน รักเชื้อ  สื่อมวลชน

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร  เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ

คุณชัชชญา สิริวัฒกานนท์ (บลูม) กลุ่ม Non-Binary ประเทศไทย

คุณวรภัทร วีรพัฒนคุปต์ ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD.)

นายสมควร พรหมทอง  เครือข่ายประชาสังคมภาคใต้

นายกานต์ ธงไชย มูลนิธิเด็ก เครือข่ายปฏิรูปการศึกษา  

ดร.เนรมิตร จิตรักษา  อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ  ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ

นายณัฐวัฒน์ กฤตยานวัช กรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

ประธานคณะที่ปรึกษา

น.พ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

จุดยืนจากสมัชชชา ครป. ชุดนี้

แนวทาง ครป. กับการปฏิรูปการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย"

สถานการณ์โลกทวีความรุนแรง ทั้งในเชิงกายภาพ ปัญหาโลกร้อน ปัญหาพายุ ไต้ฝุ่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว pm 2.5 ภูมิอากาศบรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน ทั้งปัญหาโรคระบาด ในทางการเมือง มีความขัดแย้งรุนแรง เกิดสงครามในหลายภูมิภาค ทั้งในระหว่างประเทศ สงครามกลางเมืองใกล้บ้านเรา ในทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขันเกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินไม่เสถียรแน่นอน มีการสู้กันทางเทคโนโลยี การใช้ธุรกิจสีเทา ลักษณะสังคมคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงมาก และประชากรสูงวัยมากขึ้น

  สถานการณ์โลกและสงครามในประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นประเด็นท้าทาย แม้ประเทศไทยจะยังไม่ตกเป็นประเทศด้านหน้าของสงครามตัวแทนเหมือนเช่นในคาบสมุทรเกาหลี ทะเลจีนใต้ แหลมมะละกา หรือสงครามกลางเมือง เช่น พม่า แต่การครอบงำอุดมการณ์ทางความคิดในแวดวงวิชาการที่แอบอิงมหาอำนาจสองสามฝ่าย ก็เป็นการเมืองเชิงซ้อนของมหาอำนาจที่กดทับสถานการณ์การเมืองภายในอยู่เช่นกัน

  ความเปราะบางที่โลกเผชิญอยู่ จึงส่งผลกระทบต่อไทยทุกด้าน เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ไทยเราต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับวิกฤตการณ์ต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ด้วยกระแสคลื่นนานาจะโหมกระหน่ำกระทบไทยอย่างแน่นอน

  ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ ปฏิรูประบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ให้เป็นธรรม ให้เท่าทันกับสถานการณ์โลก มิเช่นนั้น ไม่เพียงแต่ประเทศไทยจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังรั้งท้ายในชุมชนประชาคมโลก แต่หายนะบรรดามีคงจะมาสู่ประเทศไทยในเร็ววัน

  6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลยังคงบริหารประเทศด้วยความไม่แน่นอน นักลงทุนไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาล การเจรจากับต่างประเทศเกิดความไม่มั่นใจในข้อตกลง ประกอบกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ความไร้ฝีมือของรัฐบาลในการบริหารเศรษฐกิจ ตัวอย่างของการจัดงบประมาณตามแบบราชการ แต่ไม่สะท้อนนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ มีการคอร์รัปชั่นเชิงสถาบัน – เชิงโครงการมากขึ้น ที่ระบบราชการเอื้อต่อการคอร์รัปชั่นมาตั้งแต่รัฐบาลยุคก่อน

  การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทางการเมือง, ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ, ประชาธิปไตยทางสังคมที่เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชน ยังดำเนินต่อไป เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถตอบสนองข้อเสนอของภาคประชาชนได้ การสถาปนาระบอบ “ราชาธิปไตยแบบที่มีรัฐธรรมนูญ” เป็นพลวัตรการต่อสู้ทางการเมืองมาตั้งแต่ 2475 ปัจจุบัน มีการปะทะกันระหว่างแนวคิด “เสรีประชาธิปไตย VS จารีตอนุรักษ์นิยม” ชัดเจนขึ้น เป็นสถานการณ์ความรุนแรงที่น่าห่วงใย แม้ว่าในความขัดแย้งนั้นจะมีความหลากหลายท่ามกลางแนวคิดพหุสังคม

   โดยที่ผู้มีอำนาจยังคงมุ่งแก่งแย่งผลประโยชน์ระหว่างกัน ใช้อำนาจสามานย์อยุติธรรม double standard กดทับเอารัดเอาเปรียบ ไม่เปิดพื้นที่ให้ศักยภาพต่างๆที่ไทยมีอย่างล้นหลามได้เติบโตพัฒนานำไปสู่การร่วมกันผลักดันประเทศให้รุกหน้า กลุ่มผู้มีอำนาจยังคงมุ่งหน้ากีดกั้นเบียดขับเพื่อหวังกอบโกยเพื่อประโยชน์ตนเองและพวกพ้องให้มากที่สุด

  ในทางเศรษฐกิจ การผูกขาดของกลุ่มทุนเป็นไปอย่างเหนียวแน่น ไม่เปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีศักยภาพอื่นๆได้เติบโต ขณะที่เปิดให้กลุ่มทุนข้ามชาติเข้ามาเบียดบังย่ำยีทุนเล็กทุนน้อยในประเทศ  สหภาพแรงงานต่อสู้กับทุนนิยมเสรีมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มทุนเดิมได้ผนวกกับกลุ่มทุนใหม่ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เคยได้ปกครองประเทศ แต่ถูกปกครอง ค่าจ้างไม่เป็นธรรม ต้องทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงถึงอยู่ได้ กลุ่มทุนพลังงานยักษ์ใหญ่ยึดกุมโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการศึกษาที่ไร้ประสิทธิภาพ  ไม่ตอบสนองโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยรแปลงอย่างรวดเร็ว  ระบบสาธารณสุขยังขาดคุณภาพและเลือกปฏิบัติ หลายมาตรฐาน

โดยทางออกของประเทศ จึงต้องออกแบบกลไกใหม่โดยเร็ว โดย ครป.จะมุ่งผลักดันประเด็นสำคัญ คือ

1. การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อเปิดพื้นทึ่ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมด้วยการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ  เพื่อปรับปรุงแก้ไขโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลย์ ไม่เปิดโอกาสให้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจในการใช้ดุลยพินิจ จนเซาะกร่อนบ่อนทำลายล้มล้างประชาธิปไตยแบบตัวแทน แต่สร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลย์ใหม่ บนฐานธรรมาภิบาลที่ยึดโยงกับประชาชน คำวินิจฉัยตัดสินสามารถเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่ได้รับการยอมรับอย่างหมดสิ้นข้อสงสัย (Beyond a Reasonable Doubt) มิใช่ดังที่เป็นอยู่ และมุ่งพัฒนาระบบการเมืองไปสู่ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ที่ให้ความสำคัญกับประชาชนโดยเฉพาะกับสัดส่วนผู้หญิงในการบริหารประเทศ นิติบัญญัติและตัดสินใจทางการเมือง ออกแบบโครงสร้างลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม

2. การออกกฎหมายนิรโทษกรรม  ด้วยหลักสัปปายะ (เกื้อกูล) ประกอบพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

ความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549 สร้างไฟความขัดแย้ง จนกลายเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายระลอก ตั้งแต่ การชุมนุมปี 2549 การชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยคนเสื้อแดงในช่วงปี 2552 – 2553 การต่อต้านรัฐประหารในปี 2557 รวมถึงการชุมนุมตั้งแต่ปี 2563 ประชาชนที่ออกไปแสดงออกทางการเมืองกลับได้รับผลกระทบกลับมาในรูปแบบของภาระทางคดี จึงต้องมีนิรโทษกรรมทุกฝ่าย ทันที ทั้งนี้ ครป.สนับสนุนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน พ.ศ. … (พ.ร.บ.นิรโทษกรรม) ที่เสนอให้ทุกการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมืองเข้าข่ายการได้รับนิรโทษกรรมทั้งสิ ้น ได้แก่คดีความผิดตามประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, คดีพลเรือนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 37/2557

และประกาศคณะรักษาความสงบฉบับที่ 38/2557, คดีตามฐานความผิดในมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา, คดีตามฐานความผิดในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548,

คดีตามฐานความผิดในพระราชบัญญัติออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 เป็นต้น

นอกจากนี ้ คือ การนิรโทษกรรมผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่า จากคำสั่ง 64/2557โดยรัฐบาล คสช. ตามที่พีมูฟอ้างอิงข้อมูลจากคณะทำงานศึกษาร่างกฎหมายว่าด้วยการนิรโทษกรรมแก่ราษฎร ซึ่งได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐ ได้ชี้ว่าในระยะเวลา 8 ปี ตั ้งแต่ 2557-2565 มีคดีความที่เกี่ยวข้องกับการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานฯ รวมกันอย่างน้อย 34,692 คดี

3. การกระจายอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยให้จังหวัดจัดการตนเอง ภาคประชาชนทำงานเชิงเครือข่ายต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการศึกษานวัตกรรมประชาธิปไตยในชุมชนจังหวัดต่างๆ การสร้างพื้นที่กลาง และการสร้างภาคีเพื่อการกระจายอำนาจ รวมถึงการรื้อฟื้นสภาพัฒนาการเมือง

นางสาวลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์

ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

8 มีนาคม 2567

คณะที่ปรึกษาและคณะกรรรมการ ครป. (2564 - 2566)[แก้]

ที่ประชุมสมัชชา ครป. 2564 ได้ทำการเลือกคณะกรรมการชุดใหม่และคณะที่ปรึกษา โดยมีรายนามดังต่อไปนี้[1]

คณะที่ปรึกษา รศ.ดร.สุธี ประศาสน์เศรษฐ, รศ.สุรัสวดี หุ่นพยนต์, คุณปรีดา เตียสุวรรณ์, คุณศิริชัย ไม้งาม, ดร.มานะ ตีรยาภิวัฒน์, คุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์, คุณกษิต ภิรมย์, คุณสมชาย หอมลออ, คุณสมภพ บุนนาค, รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, คุณบรรจง นะแส, ผศ.ประสาท มีแต้ม, ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, คุณนิกร วีสเพ็ญ, รศ.ดร.วิวัฒน์ชัย อัตถากรณ์, คุณอานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์, คุณสกุล สื่อทรงธรรม, คุณทวีป กาญจนวงศ์, คุณสุนี ไชยรส

ประธาน   คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์

รองประธาน ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล , คุณสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง , ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ

เลขาธิการ คุณเมธา มาสขาว

รองเลขาธิการ คุณกิตติชัย ใสสะอาด , คุณสุริยา บุญโชติ

กรรมการ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ , นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ,ผศ. ดร.สุริยะใส กตะศิลา , ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ , ดร.เนรมิตร จิตรรักษา , คุณสุริยันต์ ทองหนูเอียด ,คุณจำนงค์ หนูพันธ์  , คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ , คุณชัยวัฒน์ ตรีวิทยา , คุณสมควร พรหมทอง , คุณประพจน์ ศรีเทศ , คุณวรภัทร วีรพัฒนคุปต์ และ คุณลัดดา รักษ์ประชาไท

คณะทำงาน ปฏิรูปการเมืองและยกร่างรัฐธรรมนูญ คุณกษิต ภิรมย์ , คุณสมชาย , คุณสมชาย หอมลออ , คุณศิริชัย ไม้งาม , คุณปรีดา เตียสุวรรณ์ , คุณวรภัทร วีรพัฒนคุปต์ , น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ , ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์

คณะทำงาน การกระจายอำนาจ และจังหวัดจัดการตนเอง ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล , คุณวรภัทร วีรพัฒนคุปต์

คณะทำงาน ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ นายปรีดา เตียสุวรรณ์

คณะทำงาน การตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ , คุณวรภัทร วีรพัฒนคุปต์

คณะทำงาน ขบวนผู้หญิง ความเสมอภาคทางเพศ และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส คุณสุนี ไชยรส, คุณวรภัทร วีรพัฒนคุปต์ , ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ , คุณนาดา ไชยจิตต์

คณะทำงาน การเลือกตั้งและพรรคการเมือง ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ , คุณวรภัทร วีรพัฒนคุปต์<

ผู้ประสานงานภาคเหนือ คุณสุริยันต์ ทองหนูเอียด, คุณประพจน์ ศรีเทศ

ผู้ประสานงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, คุณสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง

ผู้ประสานงานภาคกลาง คุณจำนงค์ หนูพันธ์

ผู้ประสานงานภาคใต้ คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ, คุณสมควร พรหมทอง

ข้อสรุปและทิศทางจากสมัชชา ครป. ประจำปี 2564[แก้]

ภายหลังจากคณะกรรมการของ ครป. สมัยที่แล้ว(2562-2564) ได้ปฏิบัติภารกิจรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยมาครบวาระ 2 ปีแล้ว จึงได้จัดประชุมสมัชชา ครป. ประจำปี 2564-2566 ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมสมัชชา ครป. จำนวน 35 คน จากคณะที่ปรึกษา คณะกรรมการ สมาชิก และแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมระบบออนไลน์ในสถานการณ์พิเศษ

ที่ประชุม ครป.ได้ประเมินสถานการณ์การเมืองใน 2 ปีข้างหน้า เห็นร่วมกันว่าภัยร้ายแรงที่คุกคามประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนคือ "รัฐบาลอำนาจนิยม" และ "กลุ่มทุนผูกขาด"  ประกอบกับการเมืองระหว่างประเทศที่กำหนดนโยบายความมั่นคงภายใน ระบอบประยุทธ์ได้สร้างเศรษฐกิจทุนนิยมผูกขาดประชารัฐขึ้นจนเกิดความเหลื่อมล้ำสูงสุดในทางเศรษฐกิจ ขณะที่ในทางการเมืองได้สร้างรัฐอำนาจนิยมภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตยครึ่งใบแบบอนุรักษ์นิยมขึ้น ผ่านรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ คสช. ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสถานะอำนาจนิยมและสถานการณ์สิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เนื่องจากขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และขาดระบบกำกับอำนาจรัฐ ตามกลไกประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ และการมีสวนร่วมจากประชาชน

ดังนั้น ความขัดแย้งจึงอาจเกิดการปะทุของเหตุการณ์ขึ้นในรอบ 2 ปีนี้อย่างรุนแรง ทั้งจากการรวบอำนาจทางการเมือง ความผิดพลาดในการบริหารนโยบายทางเศรษฐกิจที่เน้นเสรีนิยมทางการเงิน การละเลยไม่ใส่ใจใยดีในการแก้ไขปัญหาสิทธิชุมชน โครงการขนาดใหญ่ที่กระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ฐานทรัพยากร และความทุกข์ยากของคนชายขอบที่หมักหมมมายาวนาน โดยเฉพาะการบริหารจัดการโรคติดต่อร้ายแรงที่ล้มเหลวในปัจจุบัน เพราะการคอร์รัปชั่นทางอำนาจและนโยบาย ซึ่งทางออกเฉพาะหน้านั้น ภาคประชาชนเห็นว่าจะต้องขับไล่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ออกไป และให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อให้มีสภาผู้แทนราษฎรที่ทำหน้าที่แทนปวงชนชาวไทยอย่างสมบูรณ์โดยปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจรัฐและทุนผูกขาด โดยมีประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยเป็นศูนย์กลางการกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนการปฏิรูปกองทัพ-ตำรวจ กระบวนการยุติธรรม และองค์กรต่างๆ อย่างเป็นระบบ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาการผูกขาดการเมืองและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

ครป. จึงกำหนดเป้าหมายในการทำงานของคณะกรรมการ ครป. ชุดใหม่ว่า จะต้องรณรงค์เพื่อสร้างประชาธิปไตยทั้งทางการเมืองและประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ หยุดการผูกขาดอำนาจนิยมและระบบเศรษฐกิจผูกขาด ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะในทุกระดับตลอด 2 ปีนี้ข้างหน้านี้อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือเครือข่ายภาคประชาชนทั่วประเทศเพื่อหนุนเสริมประเด็นต่างๆ และทำงานกับคนรุ่นใหม่มากขึ้นเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ 1) การปฏิรูปการเมือง พรรคการเมือง การเลือกตั้ง และยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตย 2) กระจายอำนาจการปกครอง อำนาจการจัดการตนเองในระดับท้องถิ่นและจังหวัด ขับเคลื่อนสิทธิชุมชน  3) สร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ รัฐสวัสดิการ หยุดระบบเศรษฐกิจผูกขาด  4) ตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รณรงค์ให้มีการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและความเสมอภาคของประชาชน และการเข้าถึงความยุติธรรม รวมทั้งการตรวจสอบบทบาทขององค์กรอิสระ และ 5) การสร้างสรรค์ทิศทางใหม่ในการพัฒนาประเทศในระยะยาวหลังโควิด civic education และนวัตกรรมใหม่ทางการเมือง

เครือข่าย 30 องค์กรประชาธิปไตยที่ร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับ ครป. ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา[แก้]

1. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) 2. สมาพันธุ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) 3. องค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (P-Net) 4. กลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย(Social Democracy Group) 5. กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย 6. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) 7. โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) 8. มูลนิธิ 14 ตุลา 9. คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 10. กลุ่มสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.40) 11. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน 12. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) 13. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) 14. เครือข่ายสลัม 4 ภาค 15.มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ 16. มูลนิธิพฤษภาประชาธรรม 17. กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) 18. กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 19.คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) 20.ขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move) 21. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ 22. เครือข่ายศิลปิน 23. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD) 24. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย 25.สถาบันปรีดี พนมยงค์ 26.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) 27. เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN.) 28.มูลนิธิเพื่อนหญิง 29.มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา 30.คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ 60 ภาคประชาชน 31. กลุ่ม Non Binary Thailand 32.สมาพันธ์คนงานรถไฟไทย 33.เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ 34.สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 35. เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) 36.เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) 37. สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล 38.ภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย

ข้อสรุปจากสมัชชา ครป. ประจำปี 2562 และรายนามคณะกรรมการ ครป. (วาระ 2562 - 2564)[แก้]

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ออกแถลงการณ์ 1/2562 โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามที่คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) ได้จัดประชุมสมัชชา ครป. ประจำปี 2562 ขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2562[2] ณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีคณะกรรมการ ครป. และเครือข่ายภาคประชาชนเข้าร่วมประชุมสมัชชาวิเคราะห์สถานการณ์และความเป็นไปทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์ ประเมินและทบทวนเป้าหมายและผลการดำเนินภารกิจของครป.ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อกำหนดทิศทาง เป้าหมายและภารกิจระยะต่อไปของ ครป. ผลการประชุมระดมความคิดร่วมกันปรากฏข้อสรุปสำคัญหลายประการซึ่ง ครป.เห็นว่าควรสื่อสารให้สังคมได้รับรู้ร่วมกัน ครป.เห็นว่า ประเทศไทยยังคงเผชิญปัญหาใหญ่ 5 ประการดังต่อไปนี้

1.เราเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีเหตุปัจจัยระดับรากฐานสำคัญมาจาก “ความเหลื่อมล้ำทางอำนาจ” ระหว่าง (1) ประชาชนกับประชาชนด้วยกันเองแต่สังกัดชนชั้นแตกต่างกัน และ (2) ระหว่างชนชั้นนำที่กุมอำนาจรัฐ และกลุ่มทุนใหญ่ที่สามารถเข้าถึงช่วงใช้หรืออาศัยประโยชน์จากอำนาจรัฐในศูนย์กลางรัฐได้ กับประชาชนทั่วไป ความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงนี้ส่งผลให้ทรัพยากรของสังคมถูกจัดสรรโดยรัฐไปเป็นประโยชน์แก่เจ้าของทุนขนาดใหญ่ในหลายพื้นที่และหลายประเด็น ก่อให้เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยทุนใหญ่เพียงบางกลุ่มและตัดโอกาสการแข่งขันของทุนเล็กในพื้นที่ท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ เกิดการละเลยการรักษากติกาการแข่งขันที่เป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจ ชุมชนและประชาชนซึ่งยากจนเป็นจำนวนมาก และไร้อำนาจในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ถูกเบียด-บ่อนเซาะให้สูญเสียวิถีชีวิตและความมั่นคงในชีวิต เกิดการกระจายรัฐสวัสดิการที่ขาดความสมดุล–กลายเป็นการกระจายสวัสดิการตามใจชอบ ขาดความยั่งยืนและเป็นธรรม หรือถูกเบี่ยงเบนเพื่อประโยชน์ทางคะแนนเสียง เป็นต้น

2. เราเห็นปัญหาความแตกแยกที่รุนแรงทางความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่ทำให้เกิดการแยกขั้ว-แบ่งฝ่ายระหว่างประชาชน แต่สังคมไทยยังขาดทั้งหลักคิด แนวทาง กลไกและผู้นำทางความคิดที่จะชี้นำให้เกิดการเชื่อมประสานเพื่อหาทางออกจากปัญหา เราเห็นว่า แม้ธรรมชาติของการเมืองจะหลีกพ้นไปจากความขัดแย้งไม่ได้ แต่ความขัดแย้งนั้นควรอยู่ในระดับที่พอประสานไปด้วยกันได้หรืออย่างน้อยมีกลไก หรือแนวทางที่จะสมานฉันท์ระหว่างประชาชน

3. ปัญหาการขาดเสถียรภาพของรัฐบาลยังเป็นปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสังคมการเมืองทั้งระบบ ปัญหาการผูกขาดอำนาจของชนชั้นนำ การสร้างประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาและพรรคการเมือง รวมทั้งปัญหาเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เราเห็นว่า แม้ปัญหานี้จะมีที่มาจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีมาตลอดทศวรรษ จึงมีความจำเป็นที่ต้องนำกติกาทางการเมืองที่เหมาะสมและเป็นธรรม นำกลับมาใช้และต้องทำให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

4.เราเห็นว่า ในภาวะความขัดแย้งของการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศระหว่างชาติมหาอำนาจซึ่งทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้นโดยลำดับนั้น ได้ส่งผลให้รัฐบาลตัดสินใจรักษาดุลอำนาจไปในทางที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนคนไทยอย่างไม่อาจเหลีกเลี่ยงได้ ประเทศไทยได้กลายเป็นพื้นที่แสวงประโยชน์ของชาติมหาอำนาจทั้งในแง่การใช้เป็นตลาดที่เกินส่วน การฉวยใช้ทรัพยากรของประเทศในระดับที่น่าเป็นห่วงต่อความมั่นคงของชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นต้น

5. เราเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้เป็นกติกาสูงสุดของประเทศที่จะช่วยบรรเทาหรือป้องกันปัญหาที่กล่าวมา ในขณะที่ไม่ได้ทำหน้าที่พื้นฐานในการเป็นกติกาทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยสำหรับจัดสรรอำนาจ ผลประโยชน์และสิทธิหน้าที่ที่เป็นธรรมระหว่างสมาชิกฝ่ายต่างๆ ของสังคมอย่างเพียงพอ ปัญหาการเปิดพื้นที่ให้ทหารเข้าสู่การเมือง รวมถึงการเข้าสู่อำนาจที่เหมาะสมและเป็นธรรมยังคงเป็นปัญหาในรัฐธรรมนูญ

ต่อปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ครป. จึงมีความเห็นพ้องกันว่า การลงมือปฏิบัติร่วมกันในแนวทางที่ให้ผลเป็นการออกจากปัญหาดังกล่าวจะเป็นกระบวนการประสานความเข้าใจและสมานความแตกต่างทางความคิดและอุดมการณ์ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน จะเป็นการวางรากฐานที่ถูกต้องสำหรับการก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ก่อให้เกิดความสุข และความสงบอย่างยั่งยืนแก่ประเทศและประชาชน ด้วยเหตุนี้ ครป. จึงได้กำหนดแนวทางและเป้าหมายที่เราเชื่อว่าจะเป็นจุดคานงัดที่จะทำให้เกิดผลดังกล่าว 5 ประการสำหรับระยะเวลา 2 ปีข้างหน้าคือ

(1) การขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจในเชิงโครงสร้างตามแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประชาธิปไตยทั้งในระดับประเทศและในระดับพื้นที่ชุมชน รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ทางการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมและมรรคผลจากนโยบายสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมโดยรวมอย่างเสมอภาค เท่าเทียมและเป็นธรรม

(2) การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ในประเด็นที่ตอบสนองเป้าหมายการแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงการแก้ปัญหาประชาธิปไตยทางการเมืองในระบบรัฐสภาและพรรคการเมือง

(3) การรณรงค์ผลักดันประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและรัฐสวัสดิการ เพื่อขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำและทุนผูกขาดในประเทศไทย และทุนเสริมธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ

(4) การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ นโยบายและการดำเนินการของรัฐในทุกมิติ รวมถึงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ไร้ประสิทธิภาพและไม่ตอบสนองต่อภารกิจที่มีอยู่ ตามเป้าหมายการปฏิรูปการเมือง

(5) การเชื่อมประสานภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายและโครงการพัฒนาของรัฐ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายและกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม และเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชนที่หลากหลายที่ถูกทำลายและแบ่งแยกในปัจจุบัน เพื่อเป็นการเมืองของพลเมืองที่มีคุณภาพในการพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืนร่วมกัน

สำหรับรายชื่อคณะกรรมการ ครป. ประกอบด้วย คณะที่ปรึกษา  ศ.ธีรยุทธ บุญมี, รศ.ดร.สุธี ประศาสน์เศรษฐ, รศ.สุรัสวดี หุ่นพยนต์, คุณสมบูรณ์ สุพรรณฝ่าย, คุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์, คุณเดช พุ่มคชา, คุณสกุล สื่อทรงธรรม, คุณกษิต ภิรมย์, คุณปรีดา เตียสุวรรณ์, คุณสมชาย หอมลออ, คุณพิภพ ธงไชย, คุณสันติ คุณพิสิฐวงศ์, คุณอดุลย์ เขียวบริบูรณ์, คุณสมภพ บุนนาค

ประธาน รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต  รองประธาน คุณบรรจง นะแส, คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์, ดร.สุริยะใส กตะศิลา, ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล

เลขาธิการ คุณเมธา มาสขาว รองเลขาธิการ คุณกิตติชัย ใสสะอาด, คุณธัชพงศ์ แกดำ (ลาออก 2563), คุณพิชิต ไชยมงคล  เหรัญญิก คุณธนิกา เนาวรัชต์, คุณลัดดา รักษ์ประชาไท

กรรมการ คุณประสาท มีแต้ม, คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ, คุณสุริยันต์ ทองหนูเอียด, คุณศิริชัย ไม้งาม ,คุณต่อพงษ์ เสลานนท์, คุณชัยวัฒน์ ตรีวิทยา, คุณประกิต จันทร์สมวงษ์, คุณสุริยา บุญโชติ ,คุณสมควร พรมทอง, คุณประยงค์ ดอกลำใย, คุณโกศล รักษ์ประชาไท, คุณสาวิทย์ แก้วหวาน,คุณวรภัทร วีรพัฒนคุปต์.


อ้างอิง[แก้]

  1. "ครป. เผยรายชื่อ คกก.ชุดใหม่ปี 2564-2566 ชี้ 'รัฐบาลอำนาจนิยม' และ 'กลุ่มทุนผูกขาด' คือภัยร้ายแรง". prachatai.com.
  2. "ครป.สมัชชาใหญ่ดึงคนเด่นคนดังร่วมทัพเพียบ!วาง5ภารกิจสร้างความเข้มแข็งภาคปชช.-ฟื้นประชาธิปไตยที่ยั่งยืน". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).