ขบวนการทิเบตเอกราชนานาชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขบวนการทิเบตเอกราชนานาชาติ
คําขวัญBhod Rangzen!
ก่อตั้ง1995
ประเภท501(c)(3)
สถานะตามกฎหมายNon-profit organization
วัตถุประสงค์Tibetan independence, human rights in Tibet
President
Benjamin Cox
องค์กรแม่
Board of directors
หมายเหตุRangzen means independence

ขบวนการทิเบตเอกราชนานาชาติ (อังกฤษ: International Tibet Independence Movement) เป็นขบวนการที่ก่อตัวขึ้นเพื่อรวมดินแดนทิเบตสามจังหวัดคือ อัมโด คาม และอูจั้งเป็นราชอาณาจักรเอกราช การสนับสนุนขบวนการนี้ในเขตปกครองตนเองทิเบตถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศจีน ขบวนการนี้ได้รับการสนับสนุนจากชาวทิเบตที่ลี้ภัยไปอยู่ทั่วโลก ชาวทิเบตที่ไม่ใช่ชาวพุทธได้ร่วมสนับสนุนขบวนการนี้ด้วย

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์[แก้]

หลังจากที่เจ้าชายมองโกล เกอเดน ข่านเข้าควบคุมบริเวณโกโกนอร์ เมื่อ พ.ศ. 1782 เขาส่งนายพลโดโอร์ดา ดาร์กันเข้าสู่ทิเบตเมื่อ พ.ศ. 1783 เมื่อเข้ามาถึงกาดัมปา มีการเผาหมู่บ้านชาวทิเบตและมีชาวทิเบตถูกฆ่ากว่า 500 คน การตายของ เออเกอเดย ผู้นำมองโกลเมื่อ พ.ศ. 1784 ทำให้ความต้องการครองโลกของกองทัพมองโกลระงับลงชั่วคราว ความสนใจทิเบตของมองโกลเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1787 เมื่อเจ้าชายเกอเดนส่งจดหมายเชิญลามะนิกายสักยะไปยังเมืองหลวงของมองโกล ผู้นำนิกายสักยะไปถึงโกโกนอร์พร้อมกับหลานชายคือ โดรกอน ชอกยัล พักปา และชนาโดริเยเมื่อ พ.ศ. 1789 เหตุการณ์นี้ถูกย้ำในการรวมทิเบตเข้ากับจีนในพุทธศตวรรษที่ 23 รัฐบาลจีนยุคราชวงศ์ชิงส่งผู้แทนมายังกรุงลาซา ทิเบตก่อกบฏใน พ.ศ. 2302 และฆ่าผู้แทนของจีน กองทัพราชวงศ์ชิงบุกเข้าปราบกบฏและตั้งผู้แทนจีนคนใหม่ จำนวนทหารในทิเบตถูกกำหนดให้มีไม่เกิน 2,000 คน หน้าที่ป้องกันประเทศเป็นของกองทหารท้องถิ่น ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีน

ใน พ.ศ. 2447 กองทัพอังกฤษนำโดย พ.อ. ฟรานซิส ยังฮัสแบนด์ ได้เข้ายึดกรุงลาซาของทิเบตซึ่งมีสาเหตุมาจากความกลัวว่ารัสเซียจะแผ่อิทธิพลเข้าไปในทิเบตก่อน ในเส้นทางสู่ลาซา กองทัพของยังฮัสแบนด์ได้ฆ่าชาวทิเบตไปกว่า 1,300 คน เอกสารบางแหล่งระบุว่ามีถึง 5,000 คน

สนธิสัญญาอังกฤษ-จีน พ.ศ. 2449[1] ยอมรับอำนาจอธิปไตยของจีนเหนือทิเบตและข้อตกลงระหว่างอังกฤษ – รัสเซียที่รัฐบาลจีนไม่ยอมรับ ได้ยอมรับอำนาจของจีนเหนือทิเบตเช่นกัน[2] รัฐบาลของราชวงศ์ชิงเข้ามาปกครองทิเบตโดยตรงเมื่อ พ.ศ. 2452 ดาไล ลามะองค์ที่ 13 ลี้ภัยไปอินเดียของอังกฤษเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ในอีก 1 เดือนต่อมา รัฐบาลจีนประกาศสถาปนาดาไล ลามะองค์ใหม่ [3]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามประชาชนในจีน ทำให้มหาอำนาจตะวันตกรวมทั้งขุนศึกที่ต่อสู้กันเองภายในจีนลดความสนใจเกี่ยวกับทิเบตลง และดาไล ลามะองค์ที่ 13 กลับมาบริหารทิเบตอีกครั้ง รัฐบาลของทิเบตในขณะนั้นครอบคลุมบริเวณอู-จั้ง และคามตะวันตกซึ่งเป็นเขตแดนของเขตปกครองตนเองทิเบตในทุกวันนี้ ส่วนคามตะวันออกที่แยกออกจากกันด้วยแม่น้ำยังเซ อยู่ภายใต้การควบคุมของขุนศึกชาวจีน ลิง เวอชิง สถานการณ์ในอัมโดซับซ้อนยิ่งกว่าเมื่อบริเวณซินิงถูกควบคุมโดบขุนศึกชาวหุย มา บูฟัง ผู้พยายามขยายอำนาจครอบครองส่วนอื่นๆของอัมโด

ทั้งสาธารณรัฐจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่เคยประกาศอำนาจอธิปไตยเหนือทิเบต ใน พ.ศ. 2493 กองทัพปลดปล่อยประชาชนของสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่ทิเบตหลังจากได้ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมด หลังจากการสู้รบในสงครามประชาชนนาน 5 ปี ใน พ.ศ. 2494 แผนการปลดปล่อยทิเบตอย่างสันติซึ่งเป็นสัญญาที่ลงนามระหว่างตัวแทนของดาไล ลามะและปันเชน ลามะ ซึ่งจะเข้าร่วมในการบริหารภายใต้ระบบตัวแทนจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลทิเบต ประชาชนส่วนใหญ่ของทิเบตในขณะนั้นเป็นทาสและมีภาระผูกพันอยู่กับลามะ ความพยายามปฏิรูปที่ดินจึงไม่เป็นที่พอใจของเจ้าที่ดิน ข้อตกลงนี้เริ่มเข้ามามีผลกระทบในทิเบต อย่างไรก็ตาม คามตะวันออกและอัมโด ซึ่งอยู่นอกการบริหารของรัฐบาลทิเบตและถูกปกครองเช่นเดียวกับชาวจีนในส่วนอื่นๆของประเทศคือมีการปฏิรูปที่ดินอย่างเต็มรูปแบบ ในที่สุดเกิกการก่อกบฏโดยเริ่มจากบริเวณนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2499 การก่อกบฏได้ลุกลามเข้าสู่ลาซา ใน พ.ศ. 2502 ดาไล ลามะองค์ที่ 14 และเจ้าหน้าที่รัฐบาลอื่นๆได้ลี้ภัยไปอินเดีย

สถานะของทิเบต[แก้]

สถานะของทิเบตก่อน พ.ศ. 2493 ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2455 – 2493 ยังเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเอกราชของทิเบต

ในกลุ่มที่สนับสนุนเกี่ยวกับความเป็นเอกราชของทิเบต ทิเบตเป็นชาติต่างหากและเป็นรัฐอิสระก่อนยุคจักรวรรดิมองโกล (ราชวงศ์หงวน) เมื่อ 700 ปีมาแล้วระหว่างการตกต่ำของจักรวรรดิมองโกลใน พ.ศ. 1911 และถูกปราบโดยราชวงศ์ชิงเมื่อ พ.ศ. 2263 และเป็นเอกราชอีกครั้งระหว่างการตกต่ำของราชวงศ์ชิงจนเข้าร่วมในสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อ พ.ศ. 2494 นอกจากนั้น เหตุการณ์ในช่วงที่อยู่ภายใต้จักรวรรดิมองโกลและจักรวรรดิของราชวงศ์ชิง ทิเบตยังมีการปกครองตนเองอยู่

ในอีกมุมมองหนึ่ง จะมองว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์หงวนและถูกปกครองโดยรัฐบาลจีนราชวงศ์ต่างๆมาจนถึงยุคสาธารณรัฐ โดยรัฐบาลจีนยังคงมีอำนาจอธิปไตยเหนือทิเบตในช่วงที่ทิเบตกล่าวอ้างว่าตนเป็นเอกราช ไม่มีประเทศใดยอมรับว่าทิเบตเป็นประเทศต่างหาก และทิเบตยังยอมรับอำนาจอธิปไตยของจีน และส่งตัวแทนรัฐไปยังจีนในโอกาสต่างๆ จีนกล่าวว่าขบวนการที่ต้องการเรียกร้องเอกราชของทิเบตได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกที่จะทำลายความเป็นเอกภาพของจีน และทำลายภาพพจน์ของจีนในประชาคมโลก นอกจากนั้น จีนยังกล่าวว่ารัฐอรุณาจัลประเทศเป็นส่วนหนึ่งของทิเบตที่ถูกอินเดียยึดครอง

สถานะของทิเบตหลัง พ.ศ. 2493[แก้]

รัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตกล่าวอ้างว่ามีชาวทิเบตที่ตายโดยผิดธรรมชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ราว 1.2 ล้านคน แต่รัฐบาลจีนปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับการหายสาบสูญไปของชาวทิเบตไม่แน่นอนเพราะขาดแคลนข้อมูลที่เชื่อถือได้มาตั้งแต่ต้น จากเอกสารของทางรัฐบาลจีนระบุว่ามีชาวทิเบต 2.8 ล้านคน ใน พ.ศ. 2496 และลดลงเหลือ 2.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2507

ฝ่ายบริหารกลางทิเบตกล่าวว่ามีการอพยพชาวจีนฮั่นหลายล้านคนเข้าสู่ทิเบตเพื่อหลอมรวมทางวัฒนธรรม และโดยการแต่งงานข้ามกลุ่มชน มีความพยายามฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมของทิเบตไว้เพื่อการท่องเที่ยว แต่วิถีประจำวันแบบดั้งเดิมถูกเปลี่ยนแปลง แม้ว่าทางรัฐบาลกลางจะให้เสรีภาพทางศาสนาพอสมควร แต่พระและชียังคงรู้สึกว่าถูกจำกัดเสรีภาพอยู่ [4]และชาวทิเบต (ส่วนใหญ่เป็นพระ) ยังคงหลบหนีออกจากทิเบตทุกปี ชาวทิเบตส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าโครงการที่รัฐบาลจีนอ้างว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทิเบต เช่นถนนสายทิเบต-ชิงไห่ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับการควบคุมทิเบตของรัฐบาลกลางและชาวจีนฮั่นที่อพยพเข้ามาจะได้ประโยชน์มากกว่าชาวทิเบตดั้งเดิม ข้อมูลของทางรัฐบาลจีนกล่าวว่าใน พ.ศ. 2280 ทิเบตมีประชากร 8 ล้านคน จากนั้นลดลงเหลือ 1.9 ล้านคนใน พ.ศ. 2502 จนปัจจุบันประชากรเพิ่มเป็น 7.3 ล้านคน โดยเป็นชาวทิเบตแท้ 5 ล้านคน ซึ่งการเพิ่มประชากรเป็นผลมาจากการปรับปรุงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ทันสมัยขึ้น รัฐบาลจีนยังปฏิเสธข้ออ้างของรัฐบาลพลัดถิ่นทิเบตเรื่องการกลืนชาติโดยชาวจีน โดยรัฐบาลจีนกล่าวว่าขอบเขตของทิเบตตามที่รัฐบาลพลัดถิ่นกล่าวอ้างใหญ่เกินไป บางส่วนคนส่วนใหญ่แต่เดิมไม่ใช่ชาวทิเบต

รัฐบาลจีนปฏิเสธข้อกล่าวอ้างที่ว่าคุณภาพชีวิตของชาวทิเบตตกต่ำลง โดยชี้ให้เห็นว่ามีการใช้ภาษาทิเบตในโรงเรียนและในศาล และชีวิตของชาวทิเบตได้รับการพัฒนาให้ดีกว่าสมัยดาไลลามะหลายด้าน ตัวอย่างเช่น ค่าจีดีพีของเขตปกครองตนเองทิเบตในปัจจุบันเป็น 30 เท่าของเมื่อ พ.ศ. 2493 มีทางหลวงมากกว่า 22,500 กิโลเมตร ซึ่งสร้างหลังจาก พ.ศ. 2493 มีการจัดระบบการศึกษาหลังจากรวมเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 25 แห่งที่รัฐบาลจีนสร้าง อัตราการตายของทารกลดลงจาก 43% ใน พ.ศ. 2493 เหลือ 0.66% ใน พ.ศ. 2543 ช่วงชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 35.5 ปีใน พ.ศ. 2493 เป็น 67 ปี ใน พ.ศ. 2543 การปฏิวัติวัฒนธรรมและการทำลายวัฒนธรรมทั่วทั้งประเทศจีนถูกประณ ามว่าเป็นภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งผู้ปลุกปั่นได้ถูกตัดสินในศาล และการริเริ่มขึ้นอีกเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในประเทศจีนปัจจุบัน แผนพัฒนาภาคตะวันตกของจีนรวมทั้งทิเบตด้วย เป็นการมุ่งจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น

พัฒนาการและอิทธิพล[แก้]

ดาไลลามะองค์ปัจจุบันได้ตระเวนกล่าวปราศัยในหลายประเทศทั้งในสหรัฐและยุโรป ใน พ.ศ. 2528 ได้เริ่มการรณรงค์ให้มีการแก้ปัญหาโดยสันติเพื่อการเรียกร้องเอกราช จนกระทั่งกลายเป็นเอกราชไม่สำคัญ การได้ปกครองตนเองเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แนวคิดนี้เป็นที่รู้จักในชื่อทางสายกลาง ดาไลลามะได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางมากว่า 40 ปี แต่ไม่เคยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลชาติต่างๆว่าในฐานะรัฐบาลพลัดถิ่น

ขบวนการที่เคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของทิเบตมีหลายกลุ่มได้แก่

คอนเสิร์ตเพื่อเอกราชทิเบต[แก้]

หลังจากที่วง Beastie Boys ได้ออกอัลบั้ม Ill Communication ใน พ.ศ. 2537 ได้มีการจัดตั้งกองทุนมิลาเรปะซึ่งตั้งชื่อตามลามะองค์สำคัญของทิเบตขึ้น เพื่อใช้ดนตรีสร้างความสนใจแก่ประชาชน ผู้ก่อตั้งกองทุนมิลาเรปะได้ร่วมมืองกับวง Beastie Boys และเกิดแนวคิดในการจัดคอนเสิร์ตเพื่อเอกราชทิเบตขึ้น

การจัดคอนเสิร์ตครั้งแรกมีขึ้นที่ ซานฟรานซิสโกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจถึง 100,000 คน และได้รายได้ 800,000 เหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือเอกราชของทิเบต และทำให้มีการศึกษาเกี่ยวกับทิเบตเพิ่มขึ้น

หนังสือเดินทางของทิเบต[แก้]

ผู้ต่อสู้เพื่อเอกราชทิเบตหลายคนสนับสนุนแนวคิดว่ารัฐบาลพลัดถิ่นทิเบตควรจะออกหนังสือเดินทางทิเบตได้ แต่ยังไม่แน่นอนว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆจะยอมรับผู้ถือหนังสือเดินทางของทิเบตหรือไม่ ในบางประเทศยอมรับผู้ถือหนังสือเดินทางทิเบตในฐานะนักท่องเที่ยว แต่ยังไม่ได้ยอมรับอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนั้นยังเป็นปัญหากับทางรัฐบาลพลัดถิ่นทิเบตเองว่าจะตั้งสำนักงานออกหนังสือเดินทางที่ใด หนังสือเดินทางจะเป็นรูปแบบใด แบบดั้งเดิม แบบอ่านด้วยเครื่องจักร หรือแบบบันทึกข้อมูลทางชีวภาพ

อ้างอิง[แก้]

  1. Smith, Tibet, p. 162
  2. Goldstein, History, p. 830
  3. Smith (1996), p. 175
  4. "Who Are the Drapchi 14?". Amnesty International USA Group 133. April 4, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-25.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  • Allen, Charles (2004). Duel in the Snows: The True Story of the Younghusband Mission to Lhasa. London: John Murray, 2004. ISBN 0-7195-5427-6.
  • Bell, Charles (1924). Tibet: Past & Present. Oxford: Clarendon Press.
  • Courtois, Stéphane; Mark Kramer et al (1999). The Black Book of Communism: Crimes, terror, repression. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. ISBN 0674076087.
  • French, Patrick (2002). Tibet, Tibet: a personal history. New York: Knopf. ISBN 1400041007.
  • McKay, Alex (1997). Tibet and the British Raj: The Frontier Cadre 1904-1947. London: Curzon. ISBN 0-7007-0627-5.
  • Shakya, Tsering (1999). The Dragon in the Land of Snows: A History of Modern Tibet Since 1947. New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-11814-7.
  • Smith, Warren W. (Jr.) (1996). Tibetan Nation: A History of Tibetan Nationalism and Sino-Tibetan Relations. Boulder, CO: Westview Press. ISBN 0-8133-3155-2.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]