การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2007

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2007

← 2002 21-22 เมษายน และ 5-6 พฤษภาคม 2007 2012 →
 
ผู้ได้รับเสนอชื่อ นีกอลา ซาร์กอซี เซกอแลน รัวยาล
พรรค UMP พรรคสังคมนิยม (ฝรั่งเศส)
คะแนนเสียง 18,983,138 16,790,440
% 53.06% 46.94%

ผลการเลือกตั้งในรอบสอง: ผู้สมัครที่มีเสียงข้างมากในแต่ละเทศบาล 36,784 แห่ง
โดยนีกอลา ซาร์กอซี: ฟ้า; เซกอแลน รัวยาล: ชมพู

ประธานาธิบดีก่อนการเลือกตั้ง

ฌัก ชีรัก
UMP

ว่าที่ประธานาธิบดี

นีกอลา ซาร์กอซี
UMP

การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2550 (ฝรั่งเศส: Élection présidentielle française de 2007) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 - 22 เมษายน และ 5 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยมีจุดประสงค์ในการหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสสืบต่อจากฌัก ชีรัก

ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีจำนวนประชาชนฝรั่งเศสมาขึ้นทะเบียนเลือกตั้งมากกว่าครั้งก่อน ๆ โดยมีจำนวนกว่า 50,000,000 คนในดินแดนประเทศฝรั่งเศสและอีก 535,000 คนจากต่างประเทศตามสถานกงสุล[1] เป็นการแสดงว่ามีคนมาขึ้นทะเบียนกว่า 1.8 ล้านคนต่อปี [2] และ 3.3 ล้านคนมากกว่าปี พ.ศ. 2545[3] โดยมีสาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่สูงขึ้น [4] · [5] และความสนใจทางด้านการเมืองภาคประชาชน[3] การเลือกตั้งครั้งนี้ยังแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของฝรั่งเศสอีกด้วย เนื่องจากประชาชนกว่า 1.5 ล้านคนลงคะแนนเสียงผ่านทางคอมพิวเตอร์[6].

การเลือกตั้งรอบแรกจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550 ตั้งแต่ 08.00 น. - 18.00 น.[7] และเนื่องจากความแตกต่างในเวลา การเลือกตั้งก็ยังจัดเมื่อวันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2550 สำหรับดินแดนภายนอกแผ่นดินใหญ่: กัวเดอลุป เฟรนช์เกียนา มาร์ตีนิก เฟรนช์โปลินีเซีย แซงปีแยร์และมีเกอลง และคูหาเลือกตั้งที่จัดโดยสถานทูตและสถานกงสุลบนทวีปอเมริกา[8]

และเนื่องจากไม่มีผู้สมัครคนใดชนะด้วยเสียงข้างมากเด็ดขาด จึงมีการจัดการเลือกตั้งรอบสองขึ้นเมื่อวันที่ 5 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ระหว่างผู้สมัครที่มีเสียงมากที่สุดสองคนคือ นีกอลา ซาร์กอซี และเซกอแลน รัวยาล[9]

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ โดยนีกอลา ซาร์กอซีเป็นผู้ชนะด้วยคะแนนเสียง 18,983,138 หรือคิดเป็น 53.06% และวาระการดำรงตำแหน่งของฌัก ชีรักได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เวลา 00.00 น. โดยนีกอลา ซาร์กอซีได้ดำรงตำแหน่งสืบต่อมา

ประวัติ[แก้]

วันเวลาจัดการเลือกตั้ง[แก้]

วันเวลาจัดการเลือกตั้งนั้นได้ถูกกำหนดผ่านรัฐบัญญัติ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ทำการประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2549[10].

การเลือกตั้งรอบแรก[แก้]

การเลือกตั้งรอบสอง[แก้]

ผลการเลือกตั้งโดยรวม[แก้]

ในการเลือกตั้งรอบแรกนั้นปรากฏผลว่า กว่า 85% หรือ 37.6 ล้านคนจาก 44 ล้านผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้ออกสิทธิเลือกตั้งจากประชากรทั้งหมด 62 ล้านคน ผลที่ออกมาคือการที่ซาร์กอซีและรัวยาลก้าวไปสู้การเลือกตั้งรอบที่ 2 ด้วยคะแนน 31% และ 26% ตามลำดับ ส่วนฟร็องซัว ไบรูได้คะแนนมาเป็นอันดับสาม (19%) และฌ็อง-มารี เลอ แปน เป็นที่สี่ (10%) ซึ่งต่างกับในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเลอ แปนได้คะแนน 16.9% และยังได้ก้าวไปสู้การเลือกตั้งรอบสอง

ในทันทีหลังจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกออกมาอย่างเป็นทางการ ผู้สมัครปีกซ้ายทั้งสี่คนที่ได้พ่ายแพ้ ซึ่งก็คือ โฌเซ โบเว่, มารี-จอร์จ บุฟเฟต์, อาร์แลตต์ ลากิเยร์และโดมินิก วัวเนต์ได้ออกมาสนับสนุนให้ลงคะแนนแก่รัวยาล

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ที่อาร์แลตต์ ลากิเยร์ได้ให้การสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส โอลิวีเยร์ เบอซองเซอโนต์ได้บอกให้ผู้สนับสนุนของเขาออกเสียงต่อต้านซาร์กอซี เฟรเดอริค นีอูส์และเชราร์ด ชิวาร์ดีไม่ได้ออกมาประกาศว่าจะสนับสนุนฝ่ายใด ส่วนฟิลิป เดอ วิลลีเยร์ได้ประกาศสนับสนุนซาร์กอซี ทางด้านฌอง-มารี เลอ เปนได้ออกประกาศให้งดออกเสียงในรอบสอง

ในวันที่ 25 เมษายน ฟรองซัวส์ ไบรูได้ออกมาประกาศไม่สนับสนุนผู้แข่งขันในรอบชิงทั้งสอง และยังได้ประกาศว่าเขาจะตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาใหม่ชื่อว่า Mouvement démocrate (MoDem) ทั้งนี้เขาได้วิพากย์วิจารณ์ผู้แข่งขันทั้งสอง พร้อมทั้งเสนอให้มีการโต้วาที ซึ่งรัวยาลตกลงในการโต้วาทีออกทางโทรทัศน์ ขณะที่ซาร์กอซีเสนอให้มีการคุยกันแบบส่วนตัว ไม่ใช่โต้วาทีทางโทรทัศน์

ในวันที่ 6 พฤษภาคม เวลาประมาณ 18.15 น. แหล่งข่าวจากสำนักข่าวของเบลเยี่ยมและสวิตเซอร์แลนด์ เช่น Le Soir, RTBF เก็บถาวร 2009-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, La Libre Belgique และ La Tribune de Genève ได้ประกาศว่า นีกอลา ซาร์กอซี เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งในรอบสอง โดยอ้างอิงจากผลสำรวจเบื้องต้น และภายหลังการคาดคะเนผลการเลือกตั้งของ CSA นั้นปรากฏชัดว่า ซาร์กอซีด้วยคะแนน 53% ซึ่งรัวยาลก็ได้ยอมรับกับการพ่ายแพ้ของตนเองในเย็นวันนั้นเอง

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

· ·
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 22 เมษายน และ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
อันดับที่ ผู้สมัครเลือกตั้ง พรรค รอบแรก รอบสอง
คะแนนเสียง เปอร์เซ็นต์ คะแนนเสียง เปอร์เซ็นต์
1 นีกอลา ซาร์กอซี อูว์นียงปูร์เอิงมูฟว์ม็องปอปูแลร์ (UMP) 11,448,663 31.18% 18,983,138 53.06%
2 เซกอแลน รัวยาล พรรคสังคมนิยม (PS) 9,500,112 25.87% 16,790,440 46.94%
3 ฟร็องซัว บายรู อูว์นียงปูร์ลาเดมอคราซีฟร็องแซซ (UDF) 6,820,119 18.57%
4 ฌอง-มารี เลอ เป็ง ฟรงนาซียอนาล (FN) 3,834,530 10.44%
5 โอลีวีเย เบอซ็องเซอโน ลีกกอมูว์นิสต์เรวอลูว์ซียอแนร์ (LCR) 1,498,581 4.08%
6 ฟีลิป เดอ วีลีเย มูฟว์ม็องปูร์ลาฟร็องส์ (MPF) 818,407 2.23%
7 มารี-ฌอร์ฌ บูว์แฟ ปาร์ตีกอมูว์นิสต์ฟร็องแซ (PCF) 707,268 1.93%
8 ดอมีนิก วัวแน เลแวร์ (Les Verts) 576,666 1.57%
9 อาร์แล็ต ลากีเย ลุตอูวรีแยร์ (LO) 487,857 1.33%
10 โฌเซ บอเว ผู้สมัครอิสระ 483,008 1.32%
11 เฟรเดริก นีอู ชัส แป็ช นาตูร์ ทราดีซียง (CPNT) 420,645 1.15%
12 เฌราร์ ชีวาร์ดี ปาร์ตีเดทราวาเยอร์ (PT) 123,540 0.34%
ผลรวม 36,719,396 35,773,578
เสียงข้างมากเด็ดขาด (18,359,698)  
บัตรดี 36,719,396 98.56% 35,773,578 95.80%
บัตรเสีย 534,846 1.44% 1,568,426 4.20%
จำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง 37,254,242 83.77% 37,342,004 83.97%
จำนวนผู้งดออกเสียงเลือกตั้ง 7,218,592 16.23% 7,130,729 16.03%
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,472,834 100% 44,472,733 100%

การเลือกตั้งรอบแรก (22 เมษายน พ.ศ. 2550)[แก้]

ผลการเลือกตั้งในรอบแรก
ผลการเลือกตั้งในรอบแรก:
ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งโดยมีเสียงข้างมากในเขตการปกครอง:
นีกอลา ซาร์กอซี
เซกอแลน รัวยาล
ฟรองซัวส์ ไบรู

ทั่วทั้งประเทศ นีกอลา ซาร์กอซี ได้รับคะแนนเสียง 31% เซกอแลน รัวยาลได้รับคะแนนเสียง 26% ขณะที่เทียบกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2545 นั้น ฌัก ชีรักได้คะแนนเสียง 20% ส่วนลียอแนล ฌ็อสแป็ง ได้ 16.18% เท่านั้นเอง ฟรองซัวส์ ไบรู ได้คะแนนเสียง 18.6% ในครั้งนี้ ซึ่งได้คะแนนเสียงมากกว่าในปี พ.ศ. 2545 เกือบ 3 เท่า (6.8%) ส่วนผู้สมัครจากพรรคพรรคแนวหน้าแห่งชาติ (FN) ฌ็อง-มารี เลอ แปน ได้คะแนนเพียงแค่ 10.4% เมื่อเทียบกับความประสบความสำเร็จของเขาในปี พ.ศ. 2545 เมื่อเขาได้ 16.9% ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งซาร์กอซีได้ย้ายตนไปยังพรรคขวาจัด ทำให้มีผู้ออกมาวิจารณ์และแถลงว่าผู้ที่สนับสนุนพรรคแนวหน้าแห่งชาติ (FN) มาแต่เดิมนั้น โดนซาร์กอซีหลอกล่อให้ไปสังกัดปีกขวาจัดด้วย ถ้าดูผลโดยรวมนั้น ฝ่ายซ้ายได้รับคะแนน 36% ฝ่ายกลางได้รับคะแนน 19% ฝ่ายขวาได้รับคะแนน 33% ส่วนขวาจัดนั้นได้ 11%

ส่วนผู้สมัครอื่นๆ นั้นได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าที่เคยได้รับมาในปี พ.ศ. 2545 โดยมีโอลิวีเยร์ เบอซองเซอโนต์ จากพรรคสันนิบาตคอมมิวนิสต์ปฏิวัติ (LCR) ล้มเหลวในการบรรลุ 5% ซึ่งจะทำให้เขาสามารถเบิกเงินจากรัฐบาลในการรณรงค์หาเสียงได้ แต่ทว่าเขาได้รับเสียงสนับสนุนเพียงแค่ 4.1% เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2545 ที่เขาได้ 4.3% ส่วนผู้สมัครที่ตามหลังเขามาคือผู้สมัครขวาจัดอีกคนหนึ่ง ฟิลิป เดอ วิลลีเยร์ (2.2%), ผู้สมัครจากพรรคคอมมิวนิสต์ มารี-จอร์จ บุฟเฟต์ (ได้ 1.9% เมื่อเทียบกับโรแบร์ต อู ที่ได้ 3.4% ในปี พ.ศ. 2545), ผู้สมัครพรรคเขียว โดมินิก วัวเนต์ (ได้ 1.6% เมื่อเทียบกับ โนเอ็ล มาแมร์ ที่ได้ 5.7% ในปี พ.ศ. 2545), ผู้สมัครจากพรรคพลังแรงงาน (LO) อาร์แลตต์ ลากิเยร์ (ได้ 1.3% เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2545 ที่ได้ 5.7%), ผู้สมัครอิสระ นักต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ โฌเซ โบเว่ (1.3%), เฟรเดอริค นีอูส์ (ได้ 1.2% เมื่อเทียบกับ ฌอง แซงต์-ฌอสส์ที่ได้ 4.2% ในปี พ.ศ. 2545) และสุดท้าย เชราร์ด ชิวาร์ดี (ได้ 0.3% เมื่อเทียบกับ ดานีแยล กลัคสไตน์ที่ได้ 0.5% ในปี พ.ศ. 2545) การงดออกเสียงนั้นอยู่ในระดับ 15.4%

สถิติการเลือกตั้งทั่วไปนั้นอยู่ที่ 84.6% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2508 ที่ได้ 84.8% เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมากตัดสินใจที่จะไม่นิ่งเฉยอยู่บ้าน ซึ่งส่วนมากนั้นตัดสินใจที่จะต้านการออกเสียงลงคะแนนคัดค้าน และเลือกที่จะลงคะแนนเสียงอย่างเป็นประโยชน์ นั่นก็คือการที่ลงคะแนนเสียงให้กับผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งอ้างว่าเป็นแกนนำในแต่ละขั้วการเมือง (นีกอลา ซาร์กอซี, เซกอแลน รัวยาล และ/หรือฟร็องซัว ไบรู)

สโลแกน "ใครก็ได้ยกเว้นซาร์กอซี" ได้ถูกผลักดันและเป็นผลประโยชน์แก่ทั้งรัวยาลและไบรู ขณะที่กลยุทธ์ในการลงคะแนนเสียง ซ้ายหรือขวา คือสาเหตุทำไมผู้สมัครอื่น ๆ ถึงได้คะแนนน้อยลงกว่าการเลือกตั้งรอบแรกในครั้งก่อนหน้านี้

การรณรงค์หาเสียงนั้นเห็นได้ชัดว่ามีการแบ่งแยกกันอย่างสุดขั้วและเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสโลแกนของฝ่ายซ้ายที่ว่า "ใครก็ได้ยกเว้นซาร์กอซี"

อ้างอิง[แก้]

  1. Inscriptions sur les listes électorales, Ministère de l'intérieur, Communiqué, 27 mars 2007 อ่านที่นี่ เก็บถาวร 2007-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. « 44 508 024 voix prêtes à se faire entendre », Jean-Dominique Merchet, Libération, 28 อ่านที่นี่[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 « 3,3 millions d'électeurs inscrits en plus par rapport à 2002 », Luc Bronner, Le Monde 21 อ่านที่นี่
  4. Notamment, la plus haute augmentation de la participation se trouve en région parisienne (+9,6 % d'inscrits)
  5. Tableau d’évolution du nombre d’inscrits par département 2006/2007, Ministère de l’intérieur, 27 mars 2007 อ่านที่นี่ เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Christophe Guillemin, « 1,5 million d'électeurs français inaugureront le vote électronique le 22 avril », ZDNet France, 10.
  7. Dans certaines grandes villes, un arrêté préfectoral a pu être pris pour que la consultation soit prolongée jusqu’à 20 heures (Code électoral, , art. R41)
  8. Article 1 du Décret no 2007-227 du 21 février 2007 portant convocation des électeurs pour l’élection du président de la République
  9. Conseil constitutionnel, Décision du 26 avril 2007 relative à la liste des candidats habilités à se présenter au second tour de l'élection du Président de la République.
  10. Communication du ministre d’État, ministre de l’Intérieur et de l’Aménagement du territoire เก็บถาวร 2007-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, sur le site du premier ministre

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2007 ถัดไป
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ค.ศ. 2002
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ค.ศ. 2007

การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ค.ศ. 2012