กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองบังคับการอารักขา
และควบคุมฝูงชน
ตรากองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน
อักษรย่อบก.อคฝ.
คำขวัญเกียรติ วินัย กล้าหาญ อดทน
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง7 กันยายน, พ.ศ. 2552 (14 ปี 231 วัน)
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
แผนที่เขตอำนาจของ กองบังคับการอารักขา
และควบคุมฝูงชน
เขตอำนาจเฉพาะด้าน
สำนักงานใหญ่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ผู้บริหารหน่วยงาน
  • พลตำรวจตรี ชัยกฤต โพธิ์อ๊ะ, ผู้บังคับการ
หน่วยงานปกครอง กองบัญชาการตำรวจนครบาล
บทบาทการควบคุมฝูงชน
การปราบจลาจล
การอารักขา
 • พระมหากษัตริย์ และพระราชินี
 • พระบรมวงศานุวงศ์
 • บุคคลสำคัญ
การรักษาความมั่นคง
เขตอำนาจปกครอง • 4 กองกำกับการ
เว็บไซต์
pccd.metro.police.go.th

กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (อังกฤษ: Protection and Crowds Control Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มมวลชน พร้อมกับการถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และอารักขาบุคคลสำคัญตามแต่ละโอกาส มีหน่วยงานอยู่ในสังกัด 3 กองกำกับการ กองบังคับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ผู้บังคับการกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนคนปัจจุบัน คือ พลตำรวจตรี ธนันท์ธร รัตนสิทธิภาคย์

ประวัติ[แก้]

กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน เป็นกองบังคับการในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 มีภารกิจควบคุมฝูงชน พร้อมกับการถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และอารักขาบุคคลสำคัญ[1]

ปฏิบัติการ[แก้]

กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ในส่วนของกองกำกับควบคุมฝูงชน 1 และ 2 ได้ปฏิบัติภารกิจในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ทั้งการใช้กำลังของหน่วยเอง และสนับสนุนกองร้อยควบคุมฝูงชนที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ร้องขอกำลังจากตำรวจภูธร[2] และตำรวจตระเวนชายแดน[3] ในด้านการบังคับบัญชา และการใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557[แก้]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 มีการจัดกำลังเพื่อควบคุมฝูงชนทั่วกรุงเทพมหานคร ในการชุมนุมที่แยกผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 มีการใช้อาวุธปืน และลูกระเบิดเอ็ม 79 ส่งผลให้ตำรวจที่เข้ามาเพื่อควบคุมพื้นที่ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงในครั้งนั้น[4][5]

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564[แก้]

ตำรวจควบคุมฝูงชน สังกัดกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ขณะเข้าควบคุมการชุมนุมกลุ่มผู้ประท้วงชาวพม่า ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยจากคณะรัฐประหารและเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางอองซานซูจี

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 มีการตรึงกำลังเป็นรายวันทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ในการชุมนุมที่แยกปทุมวัน ได้เกิดการสลายการชุมนุมขึ้น ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 6 คน และมีผู้ถูกจับกุมกว่า 100 คน จากการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารแก๊สน้ำตา[6]

ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2564 มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการยกระดับการใช้ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน ซึ่งมีตำรวจสังกัดกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนเป็นกำลังหลักในการใช้อาวุธ คือกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และใช้กำลังเกินกว่าเหตุในการปฏิบัติหน้าที่[7]

ในการชุมนุมวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ส.ต.ต.เดชวิทย์ เล็ทเทนสัน ผบ.หมู่ กองกำกับการอารักขา 1 กองบังคับการหน่วยอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.) ถูกยิงด้วยอาวุธปืนไม่ทราบขนาด ทะลุหมวกกันน็อคได้รับบาดเจ็บสาหัส[8]ภายในซอยดินแดง 1 ขณะปฏิบัติงานบริเวณแยกดินแดงโดยกล่าวหาว่ากระสุนมาจากฝั่งผู้ชุมนุม ในขณะที่ผู้ชุมนุมถูกจับกุมทั้งสิ้น 73 คน เป็นเยาวชน 21 คน และผู้ใหญ่ 52 คน[8] โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าจะออกหมายจับผู้ก่อเหตุการยิงเจ้าหน้าที่ดังกล่าว[9]

ในขณะที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลออกประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจ้างซ่อมแซมรถฉีดน้ำแรงดันสูง จำนวน 5 คัน ซึ่งถูกทำลายได้รับความเสียหายจากการชุมนุมในระหว่างปี 2563 - 2564 ความเสียหายมูลค่าสูงกว่า 30 ล้านบาท[10]

ภารกิจ[แก้]

  • ถวายอารักขา สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ
  • รักษาความปลอดภัยผู้แทนพระองค์ บุคคลสำคัญ
  • รักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มมวลชนต่าง ๆ
  • สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด[11][แก้]

  • ตำรวจควบคุมฝูงชนหญิง กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนในปี พ.ศ. 2565
    กองกำกับการอำนวยการและสนับสนุน
  • กองกำกับการอารักขา 1
  • กองกำกับการอารักขา 2
  • กองกำกับการควบคุมฝูงชน 1
  • กองกำกับการควบคุมฝูงชน 2

ยุทโธปกรณ์[แก้]

อาวุธปืน[แก้]

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ อ้างอิง
เอฟเอ็น 303 ปืนปราบจลาจล  เบลเยียม พบใช้งานครั้งแรกช่วงกลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2564[12] [13]

รถยนต์[แก้]

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ อ้างอิง
เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส350ดี รถยนต์นั่งขนาดใหญ่  เยอรมนี
บีเอ็มดับเบิ้ลยู 5 ซีรีส์ เอฟ10 รถยนต์นั่งขนาดกลาง  เยอรมนี
บีเอ็มดับเบิ้ลยู 5 ซีรีส์ เอฟ10 รถยนต์นั่งขนาดกลาง  เยอรมนี
อีซูซุ เอ็นพีอาร์ 150 รถบรรทุก  ญี่ปุ่น
ฮีโน่ รถบัส  ญี่ปุ่น
แดวู โนวัส เจอาร์ซี-10000 รถฉีดน้ำแรงดันสูง  เกาหลีใต้ [14]
จีโน่ มอเตอส์ ไททัน - รถฉีดน้ำแรงดันสูง  เกาหลีใต้ [14]
ไซโนทรัก รถฉีดน้ำแรงดันสูง  จีน [14]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เกี่ยวกับกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
  2. matichon (2021-02-17). "ตร.เตรียมกำลัง 81 กองร้อย รับมือม็อบ 18-22 ก.พ.64". มติชนออนไลน์.
  3. "ระดมกำลังตำรวจ 95 กองร้อย เข้ากรุง เสริมทัพนครบาลคุมม็อบ 14 ตุลา". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-10.
  4. สรุปยอดปะทะตาย 4 เจ็บ 64 แฉนาทีเอ็ม 79 ตกใส่ตร.
  5. เก็บตกเสียงตำรวจชั้นผู้น้อยบนเตียงโรงพยาบาล เหตุการณ์ ‘ผ่านฟ้า’
  6. ตำรวจยอมรับใช้น้ำผสมก๊าซน้ำตา สลายชุมนุมแยกปทุมวัน
  7. โลกออนไลน์วิจารณ์หนัก ชาวดินแดงเผยคลิป คฝ.รุมกระทืบประชาชน
  8. 8.0 8.1 "ลำดับเหตุการณ์ ตำรวจ คฝ. ถูกยิงศีรษะ ระหว่างควบคุมพื้นที่ดินแดง". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-04-07.
  9. "จ่อออกหมายจับแก๊งยิงหัวตำรวจ คฝ". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  10. "เปิดราคา บช.น. ส่งซ่อมรถจีโน่ 5 คัน 47 ล้านบาท เสียหายจากการชุมนุม". www.sanook.com/news.
  11. "หน่วยงานในสังกัด". pccd.metro.police.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
  12. "ชาวแฟลตดินแดงร้องผู้ชุมนุมงดเสียงดังหลังเคอร์ฟิวส์ คนแก่-เด็กอ่อนได้ผลกระทบ ยันไม่ใช่ 'สลิ่ม'". prachatai.com.
  13. "ตำรวจบอสตันยกเลิกใช้ แต่ คฝ. ไทยเริ่มใช้กับม็อบ". Twitter.
  14. 14.0 14.1 14.2 รู้จัก รถปราบจลาจลของตำรวจไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]