ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรณีกาล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 772: บรรทัด 772:


==การเสนอเส้นเวลาของพรีแคมเบรียน==
==การเสนอเส้นเวลาของพรีแคมเบรียน==
หนังสือ ''Geologic Time Scale 2012'' ของ ICS ซึ่งมีมาตรกาลใหม่ซึ่งได้รับอนุมัติ ยังมีการนำเสนอข้อเสนอเพื่อแก้ไขมาตรกาลของพรีแคมเบรียน เพื่อให้สะท้อนถึงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เช่น [[โลก#การก่อกำเนิด|การก่อตัวของโลก]] หรือ [[เหตุการณ์ออกซิเดชันครั้งใหญ่]] ขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งการตั้งชื่อการลำดับชั้นหินตามอายุกาลก่อนหน้าส่วนใหญ่ไว้สำหรับช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง<ref name="vankranendonk2012">{{cite book|last=Van Kranendonk|first=Martin J. |title=The geologic time scale 2012|date=2012|publisher=Elsevier|location=Amsterdam|isbn=978-0-44-459425-9|pages=359–365|edition=1st|editor=Felix M. Gradstein |editor2=James G. Ogg |editor3=Mark D. Schmitz |editor4=abi M. Ogg|chapter=16: A Chronostratigraphic Division of the Precambrian: Possibilities and Challenges|doi=10.1016/B978-0-444-59425-9.00016-0}}</ref>

*[[บรมยุคเฮเดียน]] – 4568–4030 ล้านปีก่อน
**[[มหายุคคาออสเทียน]] – 4568–4404 ล้านปีก่อน – ตัวชื่อหมายถึงทั้ง[[ภาวะยุ่งเหยิง (จักรวาลวิทยา)|ภาวะยุ่งเหยิงตามปรัมปรา]]และระยะ[[ทฤษฎีความอลวน|อลวน]]ของ[[สมมติฐานเนบิวลา#การก่อตัวของดาวเคราะห์|การก่อตัวของดาวเคราะห์]]<ref name="vankranendonk2012" /><ref name="goldblatt2010">{{cite journal|last1=Goldblatt|first1=C.|first2=K. J.|last2=Zahnle |first3=N. H.|last3=Sleep |first4=E. G.|last4=Nisbet |title=The Eons of Chaos and Hades|journal=Solid Earth|date=2010|volume=1|issue=1|pages=1–3|bibcode = 2010SolE....1....1G |doi=10.5194/se-1-1-2010|doi-access=free}}</ref><ref>{{cite journal|last=Chambers|first=John E.|title=Planetary accretion in the inner Solar System|journal=Earth and Planetary Science Letters|date=July 2004|volume=223|issue=3–4|pages=241–252|doi=10.1016/j.epsl.2004.04.031|url=http://www.astro.washington.edu/courses/astro321/Chambers_EPSL_04.pdf|bibcode = 2004E&PSL.223..241C }}</ref>
**มหายุคแจ็คฮิลล์เซียน (Jack Hillsian) หรือมหายุคเซอร์โคเนียน (Zirconian) – 4404–4030 ล้านปีก่อน – ทั้งสองชื่อหมายถึงเข็มขัดกรีนสโตนแจ็คฮิลล์ ซึ่งพบแร่ที่เก่าแก่ที่สุดบนโลก นั่นคือ [[เพทาย]] (zircons)<ref name="vankranendonk2012" /><ref name=goldblatt2010 />
*[[บรมยุคอาร์เคียน]] – 4031–2420 ล้านปีก่อน
**[[มหายุคพาลีโออาร์เคียน]] – 4031–3490 ล้านปีก่อน
***ยุคอาคัสตัน (Acastan) – 4031–3810 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตาม[[หินไนส์อาคัสตา]]<ref name="vankranendonk2012" /><ref name=goldblatt2010 />
**ยุคอีสวน (Isuan) – 3810–3490 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตาม[[เข็มขัดกรีนสโตนอีซัว]]<ref name="vankranendonk2012" />
**[[มหายุคมีโซอาร์เคียน]] – 3490–2780 ล้านปีก่อน
***ยุควาลบารัน (Vaalbaran) – 3490–3020 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตามชื่อของ[[หินฐานธรณี]][[หินฐานธรณีคาปวาล|คาปวาล]] (ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา) และ[[หินฐานธรณีพีลบารา]] (รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย)<ref name="vankranendonk2012" />
***ยุคปอนโกลัน (Pongolan) – 3020–2780 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตามซูเปอร์กรุ๊ปปอนโกลา<ref name="vankranendonk2012" />
**[[มหายุคนีโออาร์เคียน]] – 2780–2420 ล้านปีก่อน
***ยุคเมทาเนียน (Methanian) – 2780–2630 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตามการอนุมานที่โดดเด่นของ[[โพรแคริโอต]][[เมทาโนโทรป]]<ref name="vankranendonk2012" />
***ยุคไซดีเรียน (Siderian) – 2630–2420 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตามการต่อตัวของแถบเหล็กภายในช่วงยุค<ref name="vankranendonk2012" />
*[[บรมยุคโพรเทอโรโซอิก]] – 2420–541 ล้านปีก่อน
**[[มหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก]] – 2420–1780 ล้านปีก่อน
***ยุคออกซีเจเนียน (Oxygenian) – 2420–2250 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตามการแสดงหลักฐานชิ้นแรกสำหรับการออกซิไดซ์ชั้นบรรยากาศทั่วโลก<ref name="vankranendonk2012" />
***[[ยุคไรเอเชียน|ยุคจาตูเลียน (Jatulian) หรือยุคยูแคเรียน (Eukaryian)]] – 2250–2060 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตามเหตุการณ์การแพร่กระจายของไอโซโทป Lomagundi–Jatuli δ<sup>13</sup>C ในช่วงยุค และการพบซากดึกดำบรรพ์แรกของ[[ยูแคริโอต]] (เสนอ)<ref name="El Albani et al 2014">{{cite journal|last1=El Albani|first1=Abderrazak|last2=Bengtson|first2=Stefan|last3=Canfield|first3=Donald E.|last4=Riboulleau|first4=Armelle|last5=Rollion Bard|first5=Claire|last6=Macchiarelli|first6=Roberto|display-authors=etal|title=The 2.1 Ga Old Francevillian Biota: Biogenicity, Taphonomy and Biodiversity|journal=PLOS ONE|year= 2014|volume=9|issue=6|pages=e99438|doi=10.1371/journal.pone.0099438|bibcode = 2014PLoSO...999438E|pmid=24963687|pmc=4070892|doi-access=free}}</ref><ref name="Albani2010">{{cite journal|last1= El Albani|first1=Abderrazak|last2=Bengtson|first2=Stefan |last3=Canfield|first3=Donald E. |last4=Bekker|first4=Andrey |last5=Macchiarelli|first5=Roberto |last6=Mazurier|first6=Arnaud |last7=Hammarlund|first7=Emma U. |display-authors= etal |title=Large colonial organisms with coordinated growth in oxygenated environments 2.1 Gyr ago|journal=Nature|year=2010|volume=466|issue=7302|pages=100–104|doi=10.1038/nature09166|pmid=20596019|url=http://www.afrikibouge.com/publications/Article%20Albani.pdf|bibcode=2010Natur.466..100A|s2cid=4331375}}</ref> first fossil appearance of [[Eukaryota|eukaryotes]]<ref name="vankranendonk2012" />
***[[ยุคออโรซีเรียน|ยุคโคลัมเบียน]] (Columbian) – 2060–1780 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตาม[[มหาทวีปโคลัมเบีย]]<ref name="vankranendonk2012" />
**[[มหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิก]] – 1780–850 ล้านปีก่อน
***ยุคโรดีเนียน (Rodinian) – 1780–850 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตาม[[มหาทวีปโรดีเนีย]] ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เสถียร<ref name="vankranendonk2012" />
**[[มหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก]] – 850–541 ล้านปีก่อน
***[[ยุคไครโอเจเนียน]] – 850–630 ล้านปีก่อน – ตั้งชื่อตามการเกิดขึ้นของการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งหลายครั้ง<ref name="vankranendonk2012" />
***[[ยุคอีดีแอคารัน]] – 630–541 ล้านปีก่อน

แสดงตามมาตราส่วน:

<timeline>
ImageSize = width:1100 height:120
PlotArea = left:65 right:15 bottom:20 top:5
AlignBars = justify

Colors =
id:precambrian value:rgb(0.968,0.262,0.439)
id:proterozoic value:rgb(0.968,0.207,0.388)
id:neoproterozoic value:rgb(0.996,0.701,0.258)
id:ediacaran value:rgb(0.996,0.85,0.415)
id:cryogenian value:rgb(0.996,0.8,0.36)
id:tonian value:rgb(0.996,0.75,0.305)
id:mesoproterozoic value:rgb(0.996,0.705,0.384)
id:rodinian value:rgb(0.996,0.75,0.478)
id:paleoproterozoic value:rgb(0.968,0.263,0.44)
id:columbian value:rgb(0.968,0.459,0.655)
id:eukaryian value:rgb(0.968,0.408,0.596)
id:oxygenian value:rgb(0.968,0.357,0.537)
id:archean value:rgb(0.996,0.157,0.498)
id:neoarchean value:rgb(0.976,0.608,0.757)
id:siderian value:rgb(0.976,0.7,0.85)
id:methanian value:rgb(0.976,0.65,0.8)
id:mesoarchean value:rgb(0.968,0.408,0.662)
id:pongolan value:rgb(0.968,0.5,0.75)
id:vaalbaran value:rgb(0.968,0.45,0.7)
id:paleoarchean value:rgb(0.96,0.266,0.624)
id:isuan value:rgb(0.96,0.35,0.65)
id:acastan value:rgb(0.96,0.3,0.6)
id:hadean value:rgb(0.717,0,0.494)
id:zirconian value:rgb(0.902,0.114,0.549)
id:chaotian value:rgb(0.8,0.05,0.5)
id:black value:black
id:white value:white

Period = from:-4600 till:-541
TimeAxis = orientation:horizontal
ScaleMajor = unit:year increment:500 start:-4500
ScaleMinor = unit:year increment:100 start:-4500

Define $markred = text:"*" textcolor:red shift:(0,3) fontsize:10

PlotData=
align:center textcolor:black fontsize:8 mark:(line,black) width:25 shift:(0,-5)

bar:supereon

from: start till: -541 text:[[พรีแคมเบรียน|Precambrian]] color:precambrian

bar:eon

from: -2420 till: -541 text:[[บรมยุคโพรเทอโรโซอิก|Proterozoic]] color:proterozoic
from: -4031 till: -2420 text:[[บรมยุคอาร์เคียน|Archean]] color:archean
from: start till: -4031 text:[[บรมยุคเฮเดียน|Hadean]] color:hadean

bar:era

from: -850 till: -541 text:[[มหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก|Neoproterozoic]] color:neoproterozoic
from: -1780 till: -850 text:[[มหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิก|Mesoproterozoic]] color:mesoproterozoic
from: -2420 till: -1780 text:[[มหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก|Paleoproterozoic]] color:paleoproterozoic
from: -2780 till: -2420 text:[[มหายุคนีโออาร์เคียน|Neoarchean]] color:neoarchean
from: -3490 till: -2780 text:[[มหายุคมีโซอาร์เคียน|Mesoarchean]] color:mesoarchean
from: -4031 till: -3490 text:[[มหายุคพาลีโออาร์เคียน|Paleoarchean]] color:paleoarchean
from: -4404 till: -4031 text:Zirconian color:zirconian
from: start till: -4404 text:[[มหายุคคาออสเทียน|Chaotian]] color:chaotian

bar:period

fontsize:6

from: -630 till: -541 text:[[Ediacaran|Ed.]] color:ediacaran
from: -850 till: -630 text:[[Cryogenian]] color:cryogenian
from: -1780 till: -850 text:[[Rodinian]] color:rodinian
from: -2060 till: -1780 text:[[Columbian]] color:columbian
from: -2250 till: -2060 text:[[Eukaryian]] color:eukaryian
from: -2420 till: -2250 text:[[Oxygenian]] color:oxygenian
from: -2630 till: -2420 text:[[Siderian]] color:siderian
from: -2780 till: -2630 text:[[Methanian]] color:methanian
from: -3020 till: -2780 text:[[Pongolan]] color:pongolan
from: -3490 till: -3020 text:[[Vaalbaran]] color:vaalbaran
from: -3810 till: -3490 text:[[Isuan]] color:isuan
from: -4031 till: -3810 text:[[Acastan]] color:acastan
from: start till: -4031 color:white
</timeline>

เปรียบเทียบกับเส้นเวลาปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้แสดงตามมาตราส่วน:

<timeline>
ImageSize = width:1100 height:120
PlotArea = left:65 right:15 bottom:20 top:5
AlignBars = justify

Colors =
id:precambrian value:rgb(0.968,0.262,0.439)
id:proterozoic value:rgb(0.968,0.207,0.388)
id:neoproterozoic value:rgb(0.996,0.701,0.258)
id:ediacaran value:rgb(0.996,0.85,0.415)
id:cryogenian value:rgb(0.996,0.8,0.36)
id:tonian value:rgb(0.996,0.75,0.305)
id:mesoproterozoic value:rgb(0.996,0.705,0.384)
id:stenian value:rgb(0.996,0.85,0.604)
id:ectasian value:rgb(0.996,0.8,0.541)
id:calymmian value:rgb(0.996,0.75,0.478)
id:paleoproterozoic value:rgb(0.968,0.263,0.44)
id:statherian value:rgb(0.968,0.459,0.655)
id:orosirian value:rgb(0.968,0.408,0.596)
id:rhyacian value:rgb(0.968,0.357,0.537)
id:siderian value:rgb(0.968,0.306,0.478)
id:archean value:rgb(0.996,0.157,0.498)
id:neoarchean value:rgb(0.976,0.608,0.757)
id:mesoarchean value:rgb(0.968,0.408,0.662)
id:paleoarchean value:rgb(0.96,0.266,0.624)
id:eoarchean value:rgb(0.902,0.114,0.549)
id:hadean value:rgb(0.717,0,0.494)
id:black value:black
id:white value:white

Period = from:-4600 till:-541
TimeAxis = orientation:horizontal
ScaleMajor = unit:year increment:500 start:-4500
ScaleMinor = unit:year increment:100 start:-4500

Define $markred = text:"*" textcolor:red shift:(0,3) fontsize:10

PlotData=
align:center textcolor:black fontsize:8 mark:(line,black) width:25 shift:(0,-5)

bar:supereon

from: start till: -541 text:[[Precambrian]] color:precambrian

bar:eon

from: -2500 till: -541 text:[[Proterozoic]] color:proterozoic
from: -4031 till: -2500 text:[[Archean]] color:archean
from: start till: -4031 text:[[Hadean]] color:hadean

bar:era

from: -1000 till: -541 text:[[Neoproterozoic]] color:neoproterozoic
from: -1600 till: -1000 text:[[Mesoproterozoic]] color:mesoproterozoic
from: -2500 till: -1600 text:[[Paleoproterozoic]] color:paleoproterozoic
from: -2800 till: -2500 text:[[Neoarchean]] color:neoarchean
from: -3200 till: -2800 text:[[Mesoarchean]] color:mesoarchean
from: -3600 till: -3200 text:[[Paleoarchean]] color:paleoarchean
from: -4031 till: -3600 text:[[Eoarchean]] color:eoarchean
from: start till: -4031 color:white

bar:period

fontsize:6
from: -635 till: -541 text:[[Ediacaran|Ed.]] color:ediacaran
from: -720 till: -635 text:[[Cryogenian|Cr.]] color:cryogenian
from: -1000 till: -720 text:[[Tonian]] color:tonian
from: -1200 till: -1000 text:[[Stenian]] color:stenian
from: -1400 till: -1200 text:[[Ectasian]] color:ectasian
from: -1600 till: -1400 text:[[Calymmian]] color:calymmian
from: -1800 till: -1600 text:[[Statherian]] color:statherian
from: -2050 till: -1800 text:[[Orosirian]] color:orosirian
from: -2300 till: -2050 text:[[Rhyacian]] color:rhyacian
from: -2500 till: -2300 text:[[Siderian]] color:siderian
from: start till: -2500 color:white
</timeline>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:48, 16 พฤศจิกายน 2564

วงกลมนี้แสดงหน่วยหลักบางส่วนของมาตรธรณีกาลและเหตุการณ์ซึ่งถูกกำหนดไว้ในประวัติของโลก บรมยุคเฮเดียนแสดงถึงช่วงเวลาก่อนที่จะมีซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยขอบบนของบรมยุคดังกล่าวในปัจจุบัน คือ 4.0 Ga (พันล้านปีก่อน)[1] ส่วนการแบ่งย่อยอื่น ๆ นั้นจะสะท้อนถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยมีบรมยุคอาร์เคียนและบรมยุคโพรเทอโรโซอิกด้วย ส่วนมหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคมีโซโซอิก และมหายุคซีโนโซอิกเป็นมหายุคของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ขณะที่ช่วงสามล้ามปีของยุคควอเทอร์นารีซึ่งเป็นข่วงเวลาของมนุษย์ที่เรารู้กันนั้นมีขนาดเล็กเกินกว่าจะแสดงได้ด้วยแผนภาพนี้

มาตรธรณีกาล (อังกฤษ: Geologic time scale หรือย่อว่า GTS) เป็นระบบของการหาอายุตามลำดับเวลาที่จำแนกชั้นหินทางธรณีวิทยา (การลำดับชั้นหิน) ตามเวลา ซึ่งนักธรณีวิทยา นักบรรพชีวินวิทยา และนักวิทยาศาสตร์โลกแขนงอื่น ๆ ใช้เพื่ออธิบายการวัดเวลาและความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ในทางธรณีประวัติ โดยมาตรกาลได้ถูกพัฒนาผ่านการศึกษาและการสังเกตชั้นหินและความสัมพันธ์ ตลอดจนเวลาที่ซึ่งสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ปรากฏตัว วิวัฒนาการ และสูญพันธุ์ผ่านการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ ตารางของธรณีกาลดังปรากฏในบทความนี้ รวมถึงระบบอนุกรมวิธาน อายุของช่วงเวลา และรหัสสีมาตรฐานนั้นถูกกำหนดโดยคณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากล (ICS)

ศัพทวิทยา

การแบ่งที่ใหญ่ที่สุดของเวลาชื่อช่วงของเวลาที่เรียกว่า บรมยุค (eon) โดยบรมยุคแรก คือ บรมยุคเฮเดียน ซึ่งเริ่มต้นขึ้นพร้อมการก่อตัวของโลกและทอดตัวยาวประมาณ 540 ล้านปีจนเข้าสู่บรมยุคอาร์เคียน ซึ่งเป็นเวลาที่โลกเย็นตัวลงจนเพียงพอสำหรับการเกิดทวีปต่าง ๆ และสิ่งมีชีวิตแรกสุดได้ปรากฏตัวขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2.5 พันล้านปี ออกซิเจนที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวสังเคราะห์แสงจึงได้เริ่มปรากฏขึ้นในชั้นบรรยากาศ และเป็นหมุดหมายการเริ่มต้นของบรมยุคโพรเทอโรโซอิก ในท้ายที่สุด บรมยุคฟาเนอโรโซอิกได้รวมเอาช่วงเวลากว่า 541 ล้านปีที่มีสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์หลากหลายชนิดเอาไว้ โดยเริ่มต้นด้วยการปรากฏตัวของสัตว์เปลือกแข็งในซากดึกดำบรรพ์ และสืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน บรมยุคสามบรมยุคแรก (กล่าวคือ ทุกบรมยุค ยกเว้นบรมยุคโพรเทอโรโซอิก) สามารถเรียกรวมกันได้ว่าเป็นอภิมหาบรมยุค (supereon) พรีแคมเบรียน เนื่องด้วยความสำคัญของการระเบิดยุคแคมเบรียน ซึ่งเกิดความหลากหลายของรูปแบบสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์อย่างมากมหาศาลได้เกิดขึ้นในยุคแคมเบรียนเป็นจุดเริ่มต้นของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก โดยบรมยุคสามารถแบ่งออกได้เป็นมหายุค (era)[2] ซึ่งสามารถแบ่งย่อยต่อไปได้เป็นยุค (period)[3] สมัย (epoch) และช่วงอายุ (age) และยังมีสภาพขั้วแม่เหล็กของรุ่นหิน หรือ "รุ่น" (chron) ที่สามารถใข้เป็นการแบ่งย่อยของช่วงอายุได้ด้วย แม้ว่าจะไม่ถูกรวมอยู่ในระบบของคณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากลก็ตาม

บรมยุค มหายุค ยุค ขอบเขต
(ล้านปีก่อน)
ช่วงเวลา
(ล้านปี)
ฟาเนอโรโซอิก ซีโนโซอิก ควอเทอร์นารี (ไพลสโตซีน/โฮโลซีน) 2.588–0 2.588+
นีโอจีน (ไมโอซีน/ไพลโอซีน) 23.03–2.588 20.4
พาลีโอจีน (พาลีโอซีน/อีโอซีน/โอลิโกซีน) 66.0–23.03 42.9
มีโซโซอิก ยุคครีเทเชียส 145.5–66.0 79.5
จูแรสซิก 201.3–145.0 56.3
ไทรแอสซิก 252.17–201.3 50.9
พาลีโอโซอิก เพอร์เมียน 298.9–252.17 46.7
คาร์บอนิเฟอรัส (มิสซิสซิปเปียน/เพนน์ซีลเวเนียน) 358.9–298.9 60
ดีโวเนียน 419.2–358.9 60.3
ไซลูเรียน 443.4–419.2 24.2
ออร์โดวิเชียน 485.4–443.4 42
แคมเบรียน 541.0–485.4 55.6
โพรเทอโรโซอิก นีโอโพรเทอโรโซอิก อีดีแอคารัน 635.0–541.0 94
ไครโอเจเนียน 720–635 85
โทเนียน 1000–720 280
มีโซโพรเทอโรโซอิก สเทเนียน 1200–1000 200
เอกเทเซียน 1400–1200 200
คาลิมเมียน 1600–1400 200
แพลีโอโพรเทอโรโซอิก สตาทีเรียน 1800–1600 200
ออโรซีเรียน 2050–1800 250
ไรเอเซียน 2300–2050 250
ไซดีเรียน 2500–2300 200
อาร์เคียน นีโออาร์เคียน ไม่มีการแบ่งย่อยเป็นยุคอย่างเป็นทางการ 2800–2500
มีโซอาร์เคียน 3200–2800
พาลีโออาร์เคียน 3600–2200
อีโออาร์เคียน 4000–3600
เฮเดียน ไม่มีการแบ่งย่อยเป็นมหายุคอย่างเป็นทางการ ไม่มีการแบ่งย่อยเป็นยุคอย่างเป็นทางการ กำเนิดโลกถึง 4000 ล้านปีก่อน
หน่วยในธรณีกาลวิทยาและการลำดับชั้นหิน[4]
ส่วนของหิน (ชั้นหิน) ในการลำดับชั้นหินตามอายุกาล ช่วงเวลาในธรณีกาลวิทยา หมายเหตุถึง
หน่วยทางธรณีกาลวิทยา
หินบรมยุค
(Eonothem)
บรมยุค มีทั้งสิ้น 4 ช่วง ช่วงหนึ่ง ๆ กินเวลาครึ่งพันล้านปีหรือมากกว่า
หินมหายุค
(Erathem)
มหายุค กำหนดไว้ 10 ช่วง ช่วงหนึ่ง ๆ กินเวลาหลายร้อยล้านปี
หินยุค
(System)
ยุค กำหนดไว้ 22 ช่วง ช่วงหนึ่ง ๆ กินเวลาสิบล้านถึงประมาณร้อยล้านปี
หินสมัย
(Series)
สมัย กำหนดไว้ 34 ช่วง ช่วงหนึ่ง ๆ กินเวลาหลายสิบล้านปี
หินช่วงอายุ
(Stage)
ช่วงอายุ กำหนดไว้ 99 ช่วง ช่วงหนึ่ง ๆ กินเวลาหลายล้านปี
หินรุ่น
(Chronozone)
รุ่น การแบ่งย่อยของช่วงอายุ ไม่ถูกใช้ในมาตรธรณีกาลของ ICS

เพื่อให้สอดคล้องกับบรมยุค มหายุค ยุค สมัย และ ช่วงอายุ จึงมีการใช้คำว่า "หินบรมยุค" "หินมหายุค" "หินยุค" "หินสมัย" และ "หินช่วงอายุ" เพื่ออ้างอิงถึงชั้นหินที่อยู่ในช่วงเวลาตามธรณีกาลเหล่านี้ในประวัติโลก

นักธรณีวิทยายังใช้หน่วย "ตอนต้น" (early) "ตอนกลาง" (mid) และ "ตอนปลาย" (late) เมื่อกล่าวถึงเวลาและ "ล่าง" (lower) "กลาง" (middle) และ "บน" (upper) เมื่อกล่าวถึงหินด้วย เช่น หินช่วงอายุจูแรสซิกล่าง (Lower Jurassic Series) ในการลำดับชั้นหินตามอายุกาลนั้นสอดคล้องกับสมัยจูแรสซิกตอนต้น (Early Jurassic Epoch) ในธรณีกาลวิทยา[5] ในภาษาอังกฤษ คำคุณศัพท์นั้นจะใช้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เมื่อการแบ่งย่อยนั้นเป็นทางการ และจะใช้เป็นตัวพิมพ์เล็กเมื่อไม่เป็นทางการ เช่น "early Miocene" และ "Early Jurassic"

การกำหนดมหายุค

บรมยุคฟาเนอโรโซอิก แบ่งออกเป็นสามมหายุค ได้แก่ มหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคมีโซโซอิก และ มหายุคซีโนโซอิก (หมายถึง สิ่งมีชีวิต "เก่า" "กลาง" และ "ปัจจุบัน" ตามลำดับ) ซึ่งเป็นตัวแทนของขั้นหลักในการพิจารณาซากดึกดำบรรพ์ด้วยตาเปล่า มหายุคเหล่านี้ถูกแบ่งแยกด้วยขอบเขตมหันตภัยการสูญพันธุ์ คือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก เป็นตัวแบ่งระหว่างมหายุคพาลีโอโซอิกและมหายุคมีโซโซอิก และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน เป็นตัวแบ่งระหว่างมหายุคมีโซโซอิกและมหายุคซีโนโซ[6] โดยมีหลักฐานว่าเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีนนั้นเกิดขึ้นจากการปะทุของหินปิดกั้นไซบีเรียน และเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีนเกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตที่ทำให้เกิดหุบอุกกาบาตชิกชูลุบ[ต้องการอ้างอิง]

บรมยุคเฮเดียน บรมยุคอาร์เคียน และ บรมยุคโพรเทอโรโซอิก นั้นแต่เดิมเรียกรวมกันว่า พรีแคมเบรียน โดยช่วงเวลาเหล่านี้ครอบคลุมประวัติของโลกไว้สี่พันล้านปีก่อนการปรากฏขึ้นของสัตว์เปลือกแข็ง อย่างไรก็ตาม บรมยุคอาร์เคียนและบรมยุคโพรเทอโรโซอิกนั้นมีการแบ่งย่อยเป็นมหายุคของมันเอง

การกำหนดยุค

ปัจจุบันมียุคที่ได้รับการยอมรับแล้วยี่สิบสองยุคในบรมยุคปัจจุบัน นั่นคือ บรมยุคฟาเนอโรโซอิก ตามการนิยามของคณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากล (ICS) โดยอ้างอิงกับการลำดับชั้นหินในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก[7] ในปี 2547 ยุคอีดีแอคารันซึ่งเป็นยุคสุดท้ายของอภิมหาบรมยุครีแคมเบรียนได้ถูกกำหนดในลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้ และนับเป็นครั้งแรกในรอบ 130 ปีที่มีการกำหนดลักษณะของยุคขึ้นใหม่[8]

โดยผลที่เกิดขึ้นจากการใช้แนวทางเช่นนี้ต่อบรมยุคฟาเนอโรโซอิกคือทำให้จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของช่วงอายุต่าง ๆ นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเวลาผ่านไป เมื่ออายุสัมพัทธ์ของหินที่ได้รับการคัดเลือกไว้นั้นถูกกำหนดขึ้นได้อย่างแม่นยำมากขึ้น[9]

ชุดของหิน (หินตะกอน หินอัคนี หรือ หินแปร) ที่เกิดขึ้นในระหว่างยุคเหล่านี้จะอยู่ในหน่วยของการลำดับชั้นหินตามอายุกาล เรียกว่า หินยุค (system)[10] ยกตัวอย่างเช่น "หินยุคจูแรสซิก" ของหินนั้นเกิดขึ้นในช่วง "ยุคจูแรสซิก" (ระหว่าง 201 ถึง 145 ล้านปีก่อน)[10]

หลักการ

หลักฐานจากการหาอายุสัมบูรณ์ชี้ว่าโลกมีอายุประมาณ 4.54 พันล้านปี[11][12] ธรณีวิทยาหรือห้วงเวลาลึกของโลกในอดีตถูกจัดแบ่งออกเป็นหน่วยต่าง ๆ ตามเหตุการณ์ที่คาดว่าได้เกิดขึ้น โดยช่วงเวลาที่แตกต่างกันบนมาตรธรณีกาลนั้น มักจะถูกกำหนดขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในชั้นหินที่สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ทางธรณีวิทยาหรือบรรพชีวินวิทยา เช่น การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ตัวอย่างเช่น ขอบเขตระหว่างยุคครีเทเชียสและยุคพาลีโอจีนถูกกำหนดไว้ที่เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน ซึ่งเป็นจุดจบของไดโนเสาร์กลุ่มที่ไม่ใช่สัตว์ปีก รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ส่วนช่วงเวลาที่เก่ากว่าที่เกิดขึ้นก่อนที่จะถูกบันทึกไว้ได้ในซากดึกดำบรรพ์ (ก่อนบรมยุคโพรเทอโรโซอิก) นั้นจะถูกกำหนดโดยอายุสัมบูรณ์

หน่วยทางธรณีวิทยาจากช่วงเวลาเดียวกันแต่มาจากส่วนต่าง ๆ ของโลกนั้นมักจะไม่เหมือนกัน และมีซากดึกดำบรรพ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ช่วงเวลาเดียวกันจึงได้รับชื่อที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุคแคมเบรียนตอนล่างจะถูกเรียกว่า หินสมัยวาอูโกบาน (Waucoban series) ที่ซึ่งจากนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นบริเวณต่าง ๆ ตามการสืบทายาทของไทรโลไบต์ ในเอเชียตะวันออกและไซบีเรีย หน่วยเดียวกันนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น หินสมัยอเลเซียน (Alexian stage) หินสมัยแอตดาบาเนียน (Atdabanian stage) และ หินสมัยโบโตเมียน (Botomian stage) โดยลักษณะสำคัญของงานของคณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากล คือ การประนีประนอมความขัดแย้งทางศัพทวิทยานี้ และกำหนดแนวชั้นสากลขึ้นที่สามารถใช้กันได้ทั่วโลก[13]

บนดาวเคราะห์และดวงจันทร์ดวงอื่นบางดวงในระบบสุริยะ จะมีโครงสร้างแข็งอย่างเพียงพอที่จะเก็บรักษาประวัติศาสตร์ของมันไว้ได้ เช่น ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดวงจันทร์ของโลก ส่วนดาวเคราะห์ที่ประกอบด้วยของเหลวเป็นส่วนมาก เช่น ดาวแก๊สยักษ์ จะไม่สามารถเก็บรักษาประวัติศาสตร์ของมันไว้ได้ นอกเหนือจากการระดมชนหนักครั้งหลังแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนดาวเคราะห์ดวงอื่นอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อโลกเพียงเล็กน้อย และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกก็มีผลเล็กน้อยต่อดาวเคราะห์เหล่านั้นเช่นกัน ดังนั้น การสร้างมาตรกาลที่เชื่อมโยงกับดาวเคราะห์นั้นจึงมีความเกี่ยวข้องอย่างจำกัดอยู่กับมาตรกาลของโลกเท่านั้น ยกเว้นในบริบทของระบบสุริยะ การมีอยู่ เวลา และผลกระทบบนพื้นดินของการระดมชนหนักครั้งหลังจึงยังคงเป็นประเด็นที่ถกเกียงกันอยู่[a]

ประวัติและการตั้งชื่อของมาตรกาล

วังวนธรณีกาล แสดงให้เห็นประวัติศาสตร์อันยาวนาน 4.6 พันล้านปีของโลกตั้งแต่อภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียนจนถึงปัจจุบัน

ประวัติช่วงต้น

ในสมัยกรีซโบราณ แอริสตอเติล (384–322 BCE) ได้สังเกตว่ามีซากดึกดำบรรพ์ของเปลือกหอยในหิน ซึ่งคล้ายกันกับที่พบได้ตามชายหาด เขาได้อนุมานว่าซากดึกดำบรรพ์ในหินเหล่านั้นเกิดขึ้นจากสิ่งมีขีวิต และเขาให้เหตผลว่า ตำแหน่งของแผ่นดินและทะเลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อนานมาแล้ว เลโอนาร์โด ดา วินชี (ค.ศ. 1452–1519) เห็นด้วยกับการตีความของแอริสตอเดิลที่ว่าซากดึกดำบรรพ์นั้นเป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตโบราณที่เหลืออยู่[14]

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 แอวิเซนนา (เสียชีวิต ค.ศ. 1037) นักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย และอัลแบร์ตุส มาญุส (เสียชีวิต ค.ศ. 1280) มุขนายกแห่งคณะดอมินิกันในศาสนาคริสต์ ได้ขยายความคำอธิบายของแอริสตอเติลไปเป็นทฤษฏีของเหลวกลายเป็นหิน[15] นอกจากนี้แอวิเซนนายังได้เสนอหลักการข้อหนึ่งที่อยู่ภายใต้มาตรธรณีกาลด้วย นั่นคือ กฎการวางซ้อนของชั้นหิน ในขณะที่กล่าวถึงการกำเนิดภูเขาในหนังสือ The Book of Healing (ค.ศ. 1027)[16] และยังมีเฉิน กัว (ค.ศ. 1031–1095) นักธรรมชาติวิทยาชาวจีน ซึ่งเป็นผู้ค้นพบแนวคิดของ "ห้วงเวลาลึก" ด้วย[17]

การจัดตั้งหลักการเบื้องต้น

ในช่วงปลายคริสต์ตวรรษที่ 17 นิโกลัส สตีโน (ค.ศ. 1638–1686) ได้กล่าวถึงหลักการพื้นฐานของมาตรธรณีกาล โดยสตีโนแย้งว่าชั้นหินนั้นถูกวางเรียงต่อ ๆ กันและแต่ละชั้นแสดงถึง "ส่วน" ของเวลา นอกจากนี้ เขายังได้ตั้งกฎการวางซ้อนขึ้น ซึ่งระบุว่าชั้นหินหนึ่ง ๆ อาจมีอายุมากกว่าชั้นที่อยู่ด้านบนและมีอายุน้อยกว่าชั้นที่อยู่ด้านล่างชั้นดังกล่าว แม้ว่าหลักการของสตีโนนั้นจะเรียบง่าย แต่การนำไปพิสูจน์นั้นกลับมีความท้าทาย นอกจากนี้ แนวคิดของสตีโนยังนำไปสู่แนวคิดที่สำคัญอื่น ๆ ที่นักธรณีวิทยาใช้ในปัจจุบันด้วย เช่น การหาอายุสัมพัทธ์ ซึ่งตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 นั้น นักธรณีวิทยาตระหนักได้ว่า

  1. ลำดับของชั้นหินมักจะถูกกร่อน ถูกบิดให้ผิดรูป ถูกทำให้เอียง หรือแม้แต่เกิดกลับด้านหลังจากการถูกทับถมแล้ว
  2. ชั้นหินที่วางตัวในเวลาเดียวกันแต่ต่างพื้นที่กัน อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันได้อย่างสิ้นเชิง
  3. ชั้นหินของพื้นที่หนึ่ง ๆ เป็นเพียงส่วนเดียวของประวัติอันยาวนานของโลกเท่านั้น

ทฤษฎีเนปจูนิสต์ที่เป็นที่นิยมในเวลานั้น (ทฤษฎีได้รับการอธิบายโดยอับราฮัม ก็อทท์ลบ เวร์เนร์ (ค.ศ. 1749–1817) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18) เสนอว่า หินทั้งหมดนั้นเกิดการตะกอนจากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียว ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงทางความคิดได้เกิดขึ้นครั้งใหญ่เมื่อเจมส์ ฮุตตันได้นำเสนอ ทฤษฎีโลก หรือ การตรวจสอบกฎที่สามารถสังเกตได้จากองค์ประกอบ การยุบ และการบูรณะขึ้นของแผ่นดินบนโลก ขึ้น[18] ที่ราชสมาคมแห่งเอดินบะระในเดือนมีนาคมและเมษายน ค.ศ. 1785 โดยจอห์น แมคฟีได้ยืนยันว่า "เมื่อสิ่งต่าง ๆ ปรากฏขึ้นจากมุมมองของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้เจมส์ ฮุตตันจากการอ่านเหล่านั้นกลายมาเป็นผู้ก่อกำเนิดธรณีวิทยาสมัยใหม่"[19]: 95–100  โดยฮุตตันเสนอว่า ภายใน [เนื้อใน] ของโลกนั้นร้อน และความร้อนนี้เป็นกลไกขับเคลื่อนการสร้างชั้นหินใหม่ขึ้น โดยแผ่นดินจะถูกก่อนไปโดยอากศและน้ำ และเกิดการทับถมเป็นชั้นในทะเล จากนั้นความร้อนก็จะรวมตะกอนเหล่านั้นให้เป็นหิน และยกให้เป็นแผ่นดินใหม่ โดยทฤษฎีนี้เรียกว่า พลูโตนิยม ซึ่งตรงกันข้ามกับทฤษฎีที่มุ่งไปที่อุทกภัยแบบเนปจูนนิยม

การประดิษฐ์มาตรธรณีกาล

ความพยายามอย่างจริงจังครั้งแรกในการกำหนดมาตรธรณีกาลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั่วโลกนั้นเกิดขึ้นในช่วงปลายคริตส์ศตวรรษที่ 18 ผู้ที่มีอิทธิพลต่อความคิดมากที่สุดในช่วงแรก ๆ (โดยมีเวร์เนร์เป็นผู้ครองอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น) ได้แบ่งหินของเปลือกโลกออกเป็นสี่ประเภท ได้แก่ ปฐมภูมิ (Primary) ทุติยภูมิ (Secondary) ตติยภูมิ (Tertiary) และ จตุรภูมิ (Quaternary) โดยตามทฤษฎีแล้ว หินแต่ละประเภทนั้นจะก่อตัวขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ในประวัติโลก ดังนั้น อันที่จริงแล้วจึงเป็นไปได้ที่จะกล่าวถึง "ยุคเทอร์เทียรี" เช่นเดียวกับ "หินเทอร์เทียรี" โดย "ยุคตติยภูมิ" หรือ "เทอร์เทียรี" (ปัจจุบันแบ่งออกเป็นยุคพาลีโอจีนและนีโอจีน) ถูกใช้งานในฐานะชื่อของยุคทางธรณีวิทยามาจนถึงศตวรรษที่ 20 ส่วน "ยุคจตุรภูมิ" หรือ "ควอเทอร์นารี" ยังคงถูกใช้เป็นชื่อของยุคอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบัน

การระบุชั้นหินโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่ ซึ่งถูกบุกเบิกโดยวิลเลียม สมิธ, ฌ็อฌ กูวีเย, ฌ็อง โดมาลียูส ดาลัว และอเล็กซองเดรอะ บงนีอาต์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ช่วยให้นักธรณีวิทยาสามารถแบ่งประวัติของโลกได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้นักธรณีวิทยาเชื่อมโยงชั้นหินต่าง ๆ ข้ามพรมแดนของประเทศ (หรือแม้แต่ทวีป) ได้ โดยหากชั้นหินสองสั้น (แต่ว่าอยู่ห่างไกลกัยหรือมีองค์ประกอบต่างกัน) ซึ่งมีซากดึกดำบรรพ์เหมือนกัน โอกาสที่ชั้นหินทั้งสองจะวางตัวในเวลาเดียวกันนั้นจะอยู่ในระดับดี จากการศึกษาโดยละเอียดเกี่ยวกับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ในยุโรประหว่างปี ค.ศ. 1820 ถึง 1850 ทำให้เกิดของลำดับทางธรณีที่ยังใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

การตั้งชื่อยุค สมัย และ มหายุค

งานเริ่มแรกในการพัฒนามาตรธรณีกาลนั้นถูกครอบงำโดยนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ชื่อของยุคทางธรณีวิทยาจึงสะท้อนถึงการครอบงำนั้น โดย คำว่า "แคมเบรียน" (ชื่อโบราณของประเทศเวลส์) และ "ออร์โดวิเชียน" และ "ไซลูเรียน" ก็เป็นชื่อที่ตั้งตามเผ่าโบราณของประเทศเวลส์ เนื่องจากมีการกำหนดลำดับชั้นหินและกำหนดยุคจากประเทศเวลส์[19]: 113–114  ส่วน "ดรโวเนียน" เป้นชื่อที่ตั้งตามเทศมณฑลเดวอนของประเทศอังกฤษ และ "คาร์บอนิเฟอรัส" มาจากคำว่า "the Coal Measures" ซึ่งเป็นคำเก่าที่ใช้โดยนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษในชั้นหินชุดเดียวกัน ขณะที่ "เพอร์เมียน" ตั้งตามดินแดนเปียร์มของประเทศรัสเซีย เนื่องจากยุคดังกล่าวถูกกำหนดโดยใช้ชั้นหินในภูมิภาคดังกล่าวโดยรอเดอร์ริก เมอร์ชสัน นักธรณีวิทยาชาวสก็อต อย่างไรก็ตาม บางยุคก็ได้รับการตั้งชื่อโดยนักธรณีวิทยาจากประเทศอื่น เช่น "ไทรแอสซิก" ตั้งโดยฟรีดริช ฟอน อัลแบร์ที นักธรณีวิทยาชาวเยอรมัน โดยชื่อมาจากลักษณะสามชั้นที่แตกต่างกัน (ในภาษาละติน trias หมายถึง ตรีลักษณ์) กล่าวคือ ชั้นหินแดง ซึ่งถูกปิดทับด้วยชั้นหินชอล์ก และตามด้วยชั้นหินดินดานดำ ซึ่งลักษณะนี้สามารถพบได้ทั่วประเทศเยอรมนีและภูมิภาคยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ จึงเป็นที่มาของชื่อ 'ไทรแอส' (trias) ชื่อ "จูแรสซิก" ตั้งโดยอเล็กซองเดรอะ บงนีอาต์ นักธรณีวิทยาชาวฝรั่งเศส โดยมีที่มาจากหินปูนทะเลเป็นบริเวณกว้างของภูเขาฌูรา (Jura) ชื่อ "ครีเทเชียส" (จากภาษาละติน creta หมายถึง หินชอล์ก) เป็นยุคที่ถูกกำหนดครั้งแรกโดยฌ็อง โดมาลียูส ดาลัว นักธรณีวิทยาชาวเบลเยียมในปี พ.ศ. 2365 โดยการใช้ชั้นหินในแอ่งปารีส[20] และได้ตั้งชื่อตามชั้นหินชอล์ก (การทับถมของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เกิดจากเปลือกของสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง) ที่กว้างขวาง ซึ่งพบได้ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก

นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษยังได้รับหน้าที่ในการจัดกลุ่มยุคให้เป็นมหายุคต่าง ๆ ด้วย รวมถึงการแบ่งยุคเทอร์เทียรีและควอเทอร์นารีออกเป็นสมัยต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2384 เจมส์ ฟิลลิปส์ ได้ตีพิมพ์มาตรธรณีกาลทั่วโลกครั้งแรกขึ้นตามประเภทของซากดึกดำบรรพ์ที่พบในแต่ละมหายุค โดยมาตรของฟิลลิปส์ช่วยทำให้คำศัพท์ เช่น พาลีโอโซอิก ("สิ่งมีชีวิตเก่า") ซึ่งเขาได้ขยายให้มันครอบคลุมเวลามากกว่าที่เคยใช้มาให้เป็นคำมาตรฐาน และยังได้คิดค้นคำว่า มีโซโซอิก ("สิ่งมีชีวิตกลาง") ขึ้นด้วย[21]

การหาอายุของธรณีกาล

เมื่อวิลเลียม สมิธและเซอร์ชาร์ล ไลเอลล์รู้เป็นครั้งแรกว่าชั้นหินนั้นเป็นตัวแทนของช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกัน มาตรกาลสามารถประมาณขึ้นได้อย่างคราว ๆ ไม่แม่นยำเท่านั้น อันเนื่องมาจากค่าประมาณของอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน ขณะเดียวกันนักคิดได้เสนออายุของโลกเอาไว้ที่ประมาณหกพันถึงเจ็ดพันปี โดยอ้างอิงจากคัมภีร์ไบเบิล ส่วนนักธรณีวิทยาได้เสนอมาตรธรณีกาลไว้ที่หลักล้านปี และบางกลุ่มถึงกับเสนอว่าอายุของโลกนั้นเป็นอนันต์[ต้องการอ้างอิง] นักธรณีวิทยาและนักบรรพชีวินวิทยาได้สร้างตารางธรณีขึ้น โดยอิงจากตำแหน่งสัมพัทธ์ของชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ต่าง ๆ และประเมินมาตรกาลขึ้นจากการศึกษาอัตราการผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การเกิดหินตะกอน และ การแข็งตัวกลายเป็นหิน จนกระทั่งมีการค้นพบกัมมันตรังสีในปี พ.ศ. 2439 และได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ทางธรณีวิทยาด้วยการหาอายุสัมบูรณ์ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ขณะที่อายุของชั้นหินต่าง ๆ และอายุของโลกนั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก

มาตรธรณีกาลแรกที่ใช้อายุสมบูรณ์ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2456 โดยอาร์เทอร์ โฮล์ม นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ[22] เขาได้พัฒนาแขนงทางธรณีกาลวิทยาขึ้น และยังได้ตีพิมพ์หนังสือระดับโลก The Age of the Earth ขึ้น ซึ่งเขาได้ประมาณอายุของโลกว่ามีอายุอย่างน้อย 1.6 พันล้านปี[23]

ในความพยายามอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 คณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากลได้ทำงานเพื่อเชื่อมโยงบันทึกทางชั้นหินท้องถิ่นในบริเวณต่าง ๆ ของโลกให้เป็นระบบเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลก[24]

ในปี พ.ศ. 2520 คณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินโลก (ปัจจุบัน คือ คณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากล) ได้เริ่มกำหนดจุดอ้างอิงทั่วโลกขึ้น เรียกว่า GSSP (จุดและแหล่งชั้นหินแบบฉบับขอบทั่วโลก) สำหรับช่วงเวลาทางธรณีวิทยาและระยะของกลุ่มซากดึกดำบรรพ์ โดยงานของคณะกรรมาธิการได้ถูกอธิบายไว้ในมาตรธรณีกาลปี พ.ศ. 2555 ของแกรดสเทนและคณะ[9] นอกจากนี้ยังมีแบบจำลองยูเอ็มแอล สำหรับเป็นวิธีการจัดโครงสร้างมาตรเวลาที่เกี่ยวข้องกับ GSSP ด้วย[25]

ปัญหาสหสัมพันธ์

นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันถือว่ามิสซิสซิปเปียนและเพนซิลเวเนียนเป็นยุคตามการแบ่งของตนมาอย่างยาวนาน แม้ว่า ICS จะรับรองทั้งสองช่วงเป็น "กึ่งยุค" (subperiods) ของยุคคาร์บอนิเฟอรัสตามการรับรองของนักธรณีวิทยาชาวยุโรป[26] กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นในประเทศจีน ประเทศรัสเซีย และแม้แต่ประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งมีมหายุคอื่น ๆ ทำให้การจัดบันทึกทางการลำดับชั้นหินให้เป็นหนึ่งเดียวกันนั้นช้าลง[27]

แอนโทรโปซีน

วัฒนธรรมสมัยนิยมและนักวิทยาศาสตร์จำนวนที่มากขึ้นได้ใช้คำว่า "แอนโทรโปซีน" อย่างไม่เป็นทางการในการระบุสมัยปัจจุบันที่เรากำลังอาศัยอยู่[28] คำนี้ถูกบัญญัติโดยพอล ครูตเซนและยูจีน สโตร์เมอร์ในปี พ.ศ. 2543 เพื่ออธิบายถึงเวลาปัจจุบันที่ซึ่งมนุษย์ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม และยังมีการวิวัฒนาการเพื่ออธิบาย "สมัย" ซึ่งเริ่มต้นไปแล้วในอดีตด้วย โดยกำหนดเริ่มจากการปล่อยคาร์บอนของมนุษย์และการผลิตและการบริโภคสินค้าพลาสติกที่หลงเหลืออยู่ในพื้นดิน[29]

นักวิจารณ์คำศัพท์คำนี้กล่าวว่า ไม่ควรใช้คำศัพท์คำนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยากในการกำหนดเวลาอย่างเฉพาะเจาะจงที่มนุษย์เริ่มมีอิทธิพลต่อชั้นหิน ซึ่งถือเป็นการกำหนดจุดเริ่มต้นของสมัย[30]

คำนี้ไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้อย่างเป็นทางการโดย ICS ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558[31] โดยคณะทำงานแอนโทรโปซีนได้จัดประชุมกัน ณ กรุงออสโล ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 เพื่อรวบรวมหลักฐานสนับสนุนข้อโต้แย้งสำหรับแอนโทรโปซีนว่าเป็นสมัยทางธรณีวิทยาอย่างแท้จริง[31] โดยหลักฐานได้รับการประเมินและทางกลุ่มได้ลงมติสนับสนุนให้ใช้คำว่า "แอนโทรโปซีน" เป็นชื่อช่วงอายุใหม่ทางทางธรณีวิทยาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559[32] หากคณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากลอนุมัติข้อแนะนำนี้ ข้อเสนออนุมัติดังกล่าวจะต้องได้รับรองสัตยาบันโดยสหพันธ์ธรณีวิทยาสากล จึงจะถูกยอมรับอย่างเป็นทางการในฐานะส่วนหนึ่งของมาตรธรณีกาลได้[33]

การเปลี่ยนแปลงยุคที่สำคัญ

  • การเปลี่ยนแปลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือ การยกเลิกการใช้ยุคเทอร์เทียรี และใช้คำว่า ยุคพาลีโอจีน และ ยุคนีโอจีนตามลำดับแทน โดยสิ่งนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่[34]
  • มีการพิจารณาการยกเลิกยุคควอเทอร์นารี แต่ถูกพักไว้ก่อนด้วยเหตุผลด้านความต่อเนื่อง[35]
  • แม้กระทั่งก่อนหน้าในประวัติของวิทยาศาสตร์ เทอร์เทียรียังถูกถือเป็น "มหายุค" และมีการแบ่งย่อยของตนด้วย (พาลีโอซีน, อีโอซีน, โอลิโกซีน, ไมโอซีน และ ไพลโอซีน) โดยเรียกการแบ่งย่อยนั้นว่า "ยุค"[36]

ตารางธรณีกาล

ตารางด้านล่างนี้ เป็นตารางสรุปเหตุการณ์สำคัญและลักษณะเฉพาะของช่วงของเวลาซึ่งประกอบขึ้นเป็นมาตรธรณีกาล ตารางนี้ถูกจัดเรียงโดยแสดงช่วงเวลาล่าสุดไว้ทางด้านบน และด้านล่างสุดคือช่วงเวลาที่เก่าแก่ที่สุด ความสูงของแต่ละรายการในตารางนั้นไม่สอดคล้องกับระยะของแต่ละการแบ่งย่อย

เนื้อหาของตารางนี้อ้างอิงกับมาตรธรณีการอย่างเป็นทางการปัจจุบันของคณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากล (ICS)[1] โดยมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสมัยเป็นรูปแบบตอนต้น/ตอนปลายจากล่าง/บนซึ่งเป็นรูปแบบเดิม ตามการแนะนำของคณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากล เมื่อต้องใช้การลำดับชั้นหินตามอายุกาล[5]

คณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากลยังมีบริการตารางธรณีกาลรูปแบบออนไลน์ด้วยผ่าน ics-chart โดยอ้างอิงมาจากบริการส่งมอบ Resource Description Framework/Web Ontology Language บนอุปกรณ์ที่อ่านได้ในการแสดงมาตรกาล ซึ่งพร้อมใช้งานผ่านบริการโปรเจค GeoSciML ของคณะกรรมาธิการการจัดการและประยุกต์ธรณีศาสตร์ และ SPARQL[37][38]

ตารางนี้ไม่เป็นไปตามมาตราส่วน โดยแม้ว่าบรมยุคฟาเนอโรโซอิกจะดูแล้วมีขนาดใหญ่กว่าบรมยุคที่เหลือ แต่กินเวลาเพียง 500 ล้านปีเท่านั้น ขณะที่สามบรมยุคก่อนหน้า (หรืออภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียน) กินเวลารวมกันกว่า 3.5 พันล้านปี ลักษณะเช่นนี้ เนื่องมาจากการขาดข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสามบรมยุคแรก (หรืออภิมหาบรมยุค) เมื่อเทียบกับบรมยุคปัจจุบัน (บรมยุคฟาเนอโรโซอิก])[ต้องการอ้างอิง] ส่วนสมัยแอนโทรโปซีนนั้นยังไม่ถูกรวมอยู่ในตารางนี้

อภิมหาบรมยุค
(Supereon)
บรมยุค
(Eon)
มหายุค
(Era)
ยุค
(Period)
สมัย
(Epoch)
ช่วงอายุ
(Age)
เหตุการณ์สำคัญ เริ่มต้น, ล้านปีที่แล้ว
n/a[b] ฟาเนอโรโซอิก
(Phanerozoic)
ซีโนโซอิก
(Cenozoic)
ควอเทอร์นารี
(Quaternary)
โฮโลซีน
(Holocene)
เมฆาลายัน
(Meghalayan)
ยุคน้ำแข็งเล็ก (Little Ice Age)ในยุคนี้มีแผ่นน้ำแข็งอยู่แถบขั้วโลกกเหนือและขั้วโลกใต้ มีการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรจากาศจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมของมนุษย์ 0.0042*
นอร์ทกริปเปียน
(Northgrippian)
8,200 ก่อน มีช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่นมากที่สุดในยุคโฮโลซีน เรียกว่า Holocene Climatic Optimum 0.0082*
กรีนแลนด์เดียน
(Greenlandian)
เริ่มต้นช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งที่เริ่มขึ้นเมื่อ 11,700 ปีก่อน น้ำทะเลเข้าท่วมด็อกเกอร์แลนด์ (Doggerland) แถบทะเลยุโรปเหนือ และซุนดาแลนด์ (Sundaland) ในคาบสมุทรอินโดจีน ทะเลทรายซาฮาร่าเริ่มก่อตัว เริ่มต้นการกสิกรรมยุคหินใหม่ (Neolithic) จุดกำเนิดของอารยธรรมมนุษย์ 0.0117*
ไพลสโตซีน
(Pleistocene)
ตอนปลาย
(ทารันเทียน)

(Late (Tarantian))
ช่วงเวลาอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งอีเมียน (Eemian Interglacial) เป็นยุคน้ำแข็งยุคสุดท้าย มีการปะทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟทะเลสาบโทบาบนเกาะสุมาตรา ทำให้เกิดการสูญพันธ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ และประชากรมนุษย์ลดลงเหลือหลักพัน 0.129
ชิบาเนียน
(Chibanian)
เป็นช่วงเวลาอุณภูมิลดลงมากที่สุดในช่วงยุคน้ำแข็ง และมนุษย์โฮโมเซเปียน (Homo Sapiens) ถือกำเนิดในทวีปแอฟริกา[39] 0.774
คาลาเบรียน
(Calabrian)
อุณหภูมิโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง โฮโมอีเร็กตัส (Homo erectus) ขยายดินแดนไปทั่วแอฟริกา เอเชีย และยุโรป 1.8*
เจลาเซียน
(Gelasian)

(Gelasian)

เริ่มต้นยุคน้ำแข็งในสมัยควอเทอร์นารี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดยักษ์เริ่มมีการปรากฏบนโลก และมนุษย์โฮโมฮาบิลิส (Homo habilis) ถือกำเนิดในแอฟริกา 2.58*
นีโอจีน
(Neogene)
ไพลโอซีน
(Pliocene)
ปีอาเซนเซียน
(Piacenzian)
แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์เริ่มก่อตัว มนุษย์วานรออสตราโลพิเทคัส (Australopithecus) มีการกระจายตัวทั่วทวีปแอฟริกา 3.6*
แซนเคลียน
(Zanclean)
น้ำท่วมครั้งใหญ่ (Zanclean flooding) ในที่ราบเมดิเตอร์เรเนียน อุณหภูมิเริ่มลดต่ำลง วานรอาร์ดิพิเธคัส (Ardipithecus) อาศัยในทวีปแอฟริกา 5.333*
ไมโอซีน
(Miocene)
เมซซิเนียน
(Messinian)
เหตุการณ์ Messinian ที่มีทะเลสาบเกลือ (Hypersaline lake) ในลุ่มน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอันว่างเปล่า สภาพภูมิอากาศเย็นยะเยือกในระดับปานกลาง คั่นด้วยยุคน้ำแข็งหลายครั้งและการขยายตัวของแผ่นน้ำแข็งทางตะวันออกของทวีปแอนตาร์กติกา มนุษย์วานร Sahelanthropus tchadensis อาศัยอยู่ในแอฟริกา และช่วงเวลานี้เป็นยุคที่บรรพบุรุษของมนุษย์แยกสายออกมาจากลิงซิมแปนซี 7.246*
ตอร์โตเนียน
(Tortonian)
11.63*
เซอร์ร่าวาเลียน
(Serravallian)
ช่วงอายุนี้เป็นช่วงอายุที่มีอุณภูมิเฉลี่ยมากที่สุดในสมัยไมโอซีน เรียกว่า middle Miocene climate optimum.[40] และมีการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในเหตุการณ์ที่เรียกว่า middle Miocene disruptionซึ่งเกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นและกระแสน้ำทะเลที่เปลี่ยนไป 13.82*
ลางเกียน
(Langhian)
15.97
เบอร์ดิกาเลียน
(Burdigalian)
ผืนป่าที่กระจายตัวทั่วโลกดึงคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก จนปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ค่อยๆลดระดับลง จาก 650 ppmv ลงเหลือประมาณ 100 ppmv ในช่วงยุคไมโอซีน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกเริ่มจะเหมือนกับสายพันธุ์ในปัจจุบัน มีม้าและแมสโตดอนสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก หญ้ากลายเป็นพืชที่แพร่หลาย บรรพบุรุษของร่วมของวานรทุกชนิดอาศัยอยู่ในยุคนี้ ณ ทวีปแอฟริกา 20.44
อาคิเทเนียน
(Aquitanian)
23.03*
พาลีโอจีน
(Paleogene)
โอลิโกซีน
(Oligocene)
ชาเชียน
(Chattian)
ยุคนี้มีการสูญพันธุ์ในสัตว์ทะเลที่เรียกว่า Eocene–Oligocene extinction event แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้เริ่มขยายตัว มีการแตกสายพันธุ์ใหม่จำนวนมากของสัตว์เลี้ยวลูกด้วยนม พืชดอกมีการวิวัฒนาการเพิ่มเติมจนคล้ายกับพืชดอกในปัจจุบัน 28.1
รูเพเลียน
(Rupelian)
33.9*
อีโอซีน
(Eocene)
ไพรอาโบเนียน
(Priabonian)
ภูมิอากาศอากาศเย็นปานกลาง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโบราณ (เช่น Creodonts, "Condylarths", Uintatheres ฯลฯ ) เจริญรุ่งเรืองในช่วงยุคนี้ รูปร่างของตระกูลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีในปัจจุบันเริ่มปรากฏ สายพันธุ์วาฬโบราณเกิดความหลากหลายในยุคนี้ มีการก่อตัวของแผ่นน้ำแข็งถาวรในแอนตาร์กติกา เทือกเขาเฮเลนนิกก่อตัวขึ้นในกรีซและทะเลอีเจียน 37.8
บาร์โทเนียน
(Bartonian)
41.2
ลูเทเลียน
(Lutetian)
47.8*
อิพรีเชียน
(Ypresian)
มีเหตุการณ์ภาวะโลกร้อนขึ้นสองครั้ง (PETM และ ETM-2) มีภูมิอากาศร้อน เรียกช่วงอายุนี้ว่า Eocene Climatic Optimum. เนื่องจากมีอุณภูมิเฉลี่ยสูงสุดในสมัยอีโอซีน เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Azolla event ที่เฟิร์น Azolla ดูดซับ CO2 ในอากาศทำให้เหลือปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จาก 3500 ppm เหลือเพียง 650 ppm เป็นจุดเริ่มต้นของการเย็นตัวลงของภูมิอากาศที่กินระยะเวลายาวนานตั้งแต่ปลายยุคอิพรีเชียน 49 ล้านปีก่อน อนุทวีปอินเดียชนเข้ากับทวีปเอเชียทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยขึ้น 56*
พาลีโอซีน
(Paleocene)
ทาเนเชียน
(Thanetian)
ยุคนี้เริ่มต้นนับจากเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน (Cretaceous–Paleogene extinction event: K–Pg extinction event) ยุคนี้มีภูมิอากาศร้อนชื้น พืชยุคใหม่ถือกำเนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีความหลากหลาย แทนที่ไดโนเสาร์ นกคือไดโนเสาร์ชนิดเดียวที่หลงเหลือมาในยุคพาลีโอซีน สัตว์เลี้ยวลูกด้วยนมขนาดใหญ่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกบนโลก เทือกเขาแอลป์เริ่มก่อตัวในยุโรป 59.2*
เซอแลนเดียน
(Selandian)
61.6*
ดาเนียน
(Danian)
66*
มีโซโซอิก
(Mesozoic)
ครีเทเชียส
(Cretaceous)
ตอนปลาย
(Late)
มาสทริเชียน
(Maastrichtian)
พืชมีดอกขยายพันธุ์ไปทั่วโลก ส่งผลให้มีแมลงชนิดใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ปลาที่มีก้านครีบ (Teleost Fish) ซึ่งเป็นสปีชีส์ปลา 96% ในปัจจุบันปรากฏในมหายุคนี้ มีสัตว์กลุ่มแอมโมนอยด์, belemnites, rudist bivalves, เม่นทะเล และฟองน้ำอาศัยอยู่ในทะเลทั่วโลก มีไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่อุบัติขึ้น (อาทิ Tyrannosaurs, Titanosaurs, Hadrosaurs, และ Ceratopsids) โมซาซอรัส (Mosasaurs) และฉลามยุคใหม่เริ่มปรากฏ นกมีฟัน, ไร้ฟัน และเทอร์โรซอร์ (Pterosaur) อาศัยอยู่ร่วมกันบนท้องฟ้า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกลูกเป็นไข่, เป็นตัว และในกระเป๋าหน้าท้องปรากฏในยุคนี้ ทวีปกอนวานาแตกตัวออก มีการก่อตัวของเทือกเขาร็อคกี้ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีเท่ากับปัจจุบัน มหายุคนี้จบลงด้วยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์ทั้งหมดที่ไม่ใช่นก (Non-avian dinosaur) เรียกว่า เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน (Cretaceous–Paleogene extinction event: K-T extinction event) กวาดล้างสิ่งมีชีวิตไปกว่า 70% ของสปีชีส์ทั้งหมด สันนิษฐานว่าเกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ในคาบสมุทคยูกาตัน อ่าวเม็กซิโก 72.1 ± 0.2*
คัมปาเนียน
(Campanian)
83.6 ± 0.2
ซานโตเนียน
(Santonian)
86.3 ± 0.5*
โคเนียเซียน
(Coniacian)
89.8 ± 0.3
ทูโรเนียน
(Turonian)
93.9*
ซีโนมาเนียน
(Cenomanian)
100.5*
ตอนต้น
(Early)
อัลเบียน
(Albian)
~113
อัปเทียน
(Aptian)
~125
บาร์เรมเมียน
(Barremian)
~129.4
เฮาเทริเวียน
(Hauterivian)
~132.9
เวลังจิเนียน
(Valanginian)
~139.8
เบอร์เรียเชียน
(Berriasian)
~145
จูแรสซิก
(Jurassic)
ตอนปลาย
(Late)
ทิโทเนียน
(Tithonian)
พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) โดยเฉพาะต้นสน, Bennettitales, ปรง และเฟิร์นกระจายตัวอยู่ทั่วโลก  ไดโนเสาร์หลายชนิดเช่น Sauropods, Carnosaurs และ Stegosaurs มีจำนวนมากทั่วทุกมุมโลก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบได้ทั่วไป แต่มีขนาดเล็ก นกและกิ้งก่าถือกำเนิดขึ้น สัตว์เลื้อยคลานในทะเลจำพวก Ichthyosaurs และ plesiosaurs ถือกำเนิดขึ้น ในทะเลมีสัตว์จำพวก Bivalves, Ammonites, belemnites, เม่นทะเล, crinoids, ปลาดาว, ฟองน้ำ, terebratulid และ rhynchonellid brachiopods อยู่จำนวนมาก มหาทวีปแพนเจีย (Pangea supercontinent) แตกตัวออกเป็นทวีปกอนวาน่า (Gondwana) และลอเรเชีย (Laurasia) ระดับ CO2 ในบรรยากาศมีปริมาณเป็น 3-4 เท่า เทียบกับยุคปัจจุบัน 152.1 ± 0.9
คิมเมอริดเจียน
(Kimmeridgian)
157.3 ± 1.0
อ็อกฟอร์เดียน
(Oxfordian)
163.5 ± 1.0
ตอนกลาง
(Middle)
คัลโลเวียน
(Callovian)
166.1 ± 1.2
บาโธเนียน
(Bathonian)
168.3 ± 1.3*
บาจอเชียน
(Bajocian)
170.3 ± 1.4*
อาเลเนียน
(Aalenian)
174.1 ± 1.0*
ตอนต้น
(Early)
โทอาร์เชียน
(Toarcian)
182.7 ± 0.7*
ไพเลนส์เบเชียน
(Pliensbachian)
190.8 ± 1.0*
ไซเนมูเรียน
(Sinemurian)
199.3 ± 0.3*
เฮทเทนเจียน
(Hettangian)
201.3 ± 0.2*
ไทรแอสซิก
(Triassic)
ตอนปลาย
(Late)
เรเทียน
(Rhaetian)
อาร์โคซอร์เป็นสัตว์จำพวกหลักที่โครงโลกในยุคไทรแอสสิก บนแผ่นดิน คือ ไดโนเสาร์ และบนอากาศคือ เทอโรซอร์ ส่วนในทะเล Ichthyosaurs และ Nothosaurs ครองผืนน้ำ พวกสัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ซีแนปซิด) มีขนาดเล็กลง และมีลักษณะทางกายภาพคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนู กลายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดแรกของโลก และจระเข้ปรากฏขึ้นในยุคนี้ ต้น Dicroidiumflora มีอยู่มากบนแผ่นดิน แอมโมไนต์เริ่มมีมากในทะเล ปลายุคใหม่และปะการังยุคใหม่เริ่มถือกำเนิดขึ้น ไดโนเสาร์กลายเป็นสัตว์ที่ครองโลก แทนที่ซีแนปซิด และในปลายยุคเกิดเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ชื่อว่า Triassic–Jurassic (Tr-J) extinction event ที่ทำให้ Therapsids และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดยักษ์สูญพันธ์ ~208.5
นอเรียน
(Norian)
~227
คาร์เนียน
(Carnian)
~237*
ตอนกลาง
(Middle)
เลเดียน
(Ladinian)
~242*
อานิเชียน
(Anisian)
247.2
ตอนต้น
(Early)
โอเลเนเคียน
(Olenekian)
251.2
อินดูอัน
(Induan)
251.902 ± 0.06*
พาลีโอโซอิก
(Paleozoic)
เพอร์เมียน
(Permian)
โลพินเจียน
(Lopingian)
ชางซิงเจียน
(Changhsingian)
แผ่นดินรวมกันเป็นมหาทวีปชื่อว่า แพนเจีย (Pangia supercontinent) ทำให้เกิดเทือกเขาอัลปาเลเชียน ยุคน้ำแข็ง Permo-Carboniferous glaciation สิ้นสุดลง สัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยวลูกด้วยนม หรือเรียกว่า ซีแนปซิด (Synapsids) มีอยู่จำนวนมาก หลากหลายสายพันธุ์ ถือเป็นสัตว์ที่ครองโลกในยุคนี้ ในช่วงกลางของยุคเพอร์เมียน พืชแบบเดิมได้ถูกแทนที่โดยพืชจำพวกสน แบบเมล็ดเปลือย เป็นพืชแบบแรกที่มีเมล็ดสมบูรณ์ กำเนิดมอสที่สมบูรณ์จำพวกแรก ด้วงและแมลงวันกำเนิดในยุคนี้ ยุคนี้จบลงด้วยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก เรียกว่า Permian-Triassic extinction event ที่ล้างลางสิ่งมีชีวิตไปมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์บนโลก อาทิ ไตรโลไบต์, graptolites และ blastoids สันนิษฐานว่าเกิดจากการปะทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟขนาดยักษ์ (Supervolcano) ในพื้นที่ไซบีเรียในปัจจุบัน ทำให้อากาศเป็นพิษ และเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้น 254.14 ± 0.07*
วูเชียพิงเจียน
(Wuchiapingian)
259.1 ± 0.4*
กัวเดลูเปียน
(Guadalupian)
คาฟิเทเนียน
(Capitanian)
265.1 ± 0.4*
วอร์เดียน
(Wordian)
268.8 ± 0.5*
โรเดียน
(Roadian)
272.95 ± 0.5*
ซิซูราเลียน
(Cisuralian)
คุนกูเรียน
(Kungurian)
283.5 ± 0.6
อาร์ทินส์เคียน
(Artinskian)
290.1 ± 0.26
ซัคมาเรียน
(Sakmarian)
295 ± 0.18
อัสเซเลียน
(Asselian)
298.9 ± 0.15*
คาร์บอนิเฟอรัส
(Carboniferous)
เพนซิลเวเนียน
(Pennsylvanian)
เจเลียน
(Gzhelian)
แมลงมีปีกมีการปรากฏขึ้นและขยายพันธุ์ทั่วโลกอย่างฉับพลันในยุคบาชคิเรียน แมลงมีขนาดใหญ่เนื่องจากปริมาณของออกซิเจนที่เพิ่มสูงอย่างมาก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีความหลากหลายทางสปีชีส์ สัตว์เลี้ยวคลานถือกำเนิดขึ้น มีป่าต้นCordaites และเฟิร์นจำนวนมาก ที่กลายสภาพทับถมเป็นถ่านหินในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีราที่ย่อยซากพืชในสมัยนี้ ปริมาณออกซิเจนมีมากที่สุดในยุคนี้ ปะการังกระจายตัวทั่วชายฝั่งเขตร้อนทั่วโลก 303.7 ± 0.1
แคสซิโมเวียน
(Kasimovian)
307 ± 0.1
มอสโกเวียน
(Moscovian)
315.2 ± 0.2
บาชคิเรียน
(Bashkirian)
323.2 ± 0.4*
มิสซิสซิปเปียน
(Mississippian)
เซอร์ปูโคเวียน
(Serpukhovian)
ต้นไม้ดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ สัตว์มีกระดูกสันหลังตัวแรกบนแผ่นดิน แมงป่องครึ่งบกครึ่งน้ำอาศัยอยู่แถบชายฝั่งแนวปะการัง ฉลามโบราณมีจำนวนเยอะในมหาสมุทร เม่นทะเลมีปริมาณมาก ไทรโลไบต์เริ่มเหลืออยู่ไม่มากในทะเล 330.9 ± 0.2
ไวชอน
(Viséan)
346.7 ± 0.4*
ทัวร์เนเซียน
(Tournaisian)
358.9 ± 0.4*
ดีโวเนียน
(Devonian)
ตอนปลาย
(Late)
ฟาเมนเนียน
(Famennian)
ต้นสามร้อยยอด (Clubmosses) และเฟิร์นปรากฏบนแผ่นดิน รวมถึงพืชเมล็ดเปลือยดึกดำบรรพ์ ต้นไม้ต้นแรก แมลงไร้ปีกชนิดแรก ในทะเลมี Strophomenid, atrypid brachiopods, rugose, tabulate corals, crinoids อย่างอุดมสมบูรณ์ ไทรโลไบต์เริ่มหายไป จากการเพิ่มขึ้นของปลามีกราม ปลาฉลามชนิดแรกถือกำเนิด 372.2 ± 1.6*
ฟราสเนียน
(Frasnian)
382.7 ± 1.6*
ตอนกลาง
(Middle)
จิเวเทียน
(Givetian)
387.7 ± 0.8*
ไอเฟเลียน
(Eifelian)
393.3 ± 1.2*
ตอนต้น
(Early)
เอมเชียน
(Emsian)
407.6 ± 2.6*
ปราเกียน
(Pragian)
410.8 ± 2.8*
ลอชโคเวียน
(Lochkovian)
419.2 ± 3.2*
ไซลูเรียน
(Silurian)
พริโดลี
(Pridoli)
พืชมีท่อลำเลียงชนิดแรก (Rhyniophytes) เกิดขึ้นบนบก กิ้งกือชนิดแรกและ arthropleurids บนบก ปลามีกรามชนิดแรก ในทะเลมีปลากรามหุ้มเกราะจำนวนมาก แมงป่องในทะเลมีขนาดใหญ่ Tabulate และปะการังพรม, brachiopods (Pentamerida, Rhynchonellida, ฯลฯ ) และ crinoids อุดมสมบูรณ์ทั่วมหาสมุทร Trilobites และหมึกกระดอง (Mollusk) มีความหลากหลาย 423 ± 2.3*
ลัดโลว
(Ludlow)
ลุดฟอร์เดียน
(Ludfordian)
425.6 ± 0.9*
กอร์สเทียน
(Gorstian)
427.4 ± 0.5*
เวนล็อก
(Wenlock)
โฮเมอเรียน
(Homerian)
430.5 ± 0.7*
เชียนวูดเดียน
(Sheinwoodian)
433.4 ± 0.8*
ลานโดเวอรี
(Llandovery)
เทลีเคียน
(Telychian)
438.5 ± 1.1*
แอโรเนียน
(Aeronian)
440.8 ± 1.2*
รุดดาเนียน
(Rhuddanian)
443.8 ± 1.5*
ออร์โดวิเชียน
(Ordovician)
ตอนปลาย
(Late)
เฮอร์แนนเชียน
(Hirnantian)
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแตกสายพันธุ์ออกเป็นประเภทใหม่ ๆ (เช่นเซฟาโลพอดแบบเปลือกยาว) มีการปรากฏขึ้นของต้นปะการัง, brachiopods (Orthida Strophomenida ฯลฯ ), bivalves, nautiloids, trilobites, ostracods, bryozoa echinoderms หลายชนิด (อาทิ crinoids, cystoids, ปลาดาวและอื่น ๆ ) Conodonts (แพลงก์ตอนสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังสายพันธุ์แรก) บนแผ่นดินปรากฏพืชสีเขียวและเชื้อราขึ้นเป็นครั้งแรก ปลายสมัยเกิดยุคน้ำแข็ง 445.2 ± 1.4*
เคเทียน
(Katian)
453 ± 0.7*
แซนด์เบียน
(Sandbian)
458.4 ± 0.9*
ตอนกลาง
(Middle)
แดริวิเลียน
(Darriwilian)
467.3 ± 1.1*
ตาพิงเจียน
(Dapingian)
470 ± 1.4*
ตอนต้น
(Early)
โฟลเอียน
(Floian)
477.7 ± 1.4*
เทรมาโดเชียน
(Tremadocian)
485.4 ± 1.9*
แคมเบรียน
(Cambrian)
ฟูโรงเจียน
(Furongian)
หินช่วงอายุ 10
(Stage 10)
เกิดความหลายหลายของสิ่งมีชีวิตครั้งใหญ่บนโลกฉับพลันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เรียกว่า การทวีชนิดพันธุ์สัตว์ยุคแคมเบรียน (Cambrian explosion) ค้นพบฟอสซิลจำนวนมากในยุคนี้ ไฟลัมของสัตว์ในยุคปัจจุบันหลายชนิดมีต้นกำเนิดจากบรรพบุรุษในยุคนี้ พบสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวแรกของโลก (chordates) รวมไปถึงไฟลัมของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีสิ่งมีชีวิตชื่อ Archaeocyatha ที่มีลักษณะคล้ายปะการังจำนวนมากและสูญพันธุ์ในเวลาต่อมา มีสิ่งมีชีวิตจำพวกไทรโลไบต์ หนอนปล้อง ฟองน้ำ หอย และAnomalocarids ที่เป็นสัตว์กินเนื้อที่ขนาดใหญ่ที่สุดในยุคนี้ อีดีแอคารันสูญพันธุ์ทั้งหมด สิ่งมีชีวิตทั้งยูคาริโอตและโปรคาริโอตอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก และสืบสายพันธุ์มาจวบจนปัจจุบัน ~489.5
เจียงชานเนียน
(Jiangshanian)
~494*
ไพเบียน
(Paibian)
~497*
เมียวลิงเจียน
(Miaolingian)
กูจางเจียน
(Guzhangian)
~500.5*
ดรูเมียน
(Drumian)
~504.5*
วูลิวเวียน
(Wuliuan)
~509
หินสมัย 2
(Series 2)
หินช่วงอายุ 4
(Stage 4)
~514
หินช่วงอายุ 3
(Stage 3)
~521
เทอร์เรนูเวียน
(Terreneuvian)
หินช่วงอายุ 2
(Stage 2)
~529
ฟอร์จูเนียน
(Fortunian)
~541 ± 1.0*
พรีแคมเบรียน
(Precambrian)
โพรเทอโรโซอิก
(Proterozoic)
นีโอโพรเทอโรโซอิก
(Neoproterozoic)
อีดีแอคารัน
(Ediacaran)
พบฟอสซิลชิ้นสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเป็นครั้งแรก สิ่งมีชีวิตชื่อ Ediacaran biota เจริญเติบโตมากในทะเลทั่วโลก จึงเรียกมหายุคนี้ว่า อีดีแอคารัน จากชื่อของสิ่งมีชีวิตนึ้ พบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตคล้ายหนอนชื่อ Trichophycus มีสิ่งมีชีวิตตัวอ่อนคล้ายแมงกระพรุนเกิดขึ้นในยุคนี้ อาทิ Dickinsonia ~635*
ไครโอเจเนียน
(Cryogenian)
สันนิษฐานว่าโลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งครั้งใหญ่ (Cryogenian glaciation) เรียกว่า ทฤษฎีโลกลูกบอลหิมะ (Snowball Earth) มหาทวีปโรดีเนียแตกออกจากกัน ~720[c]
โทเนียน
(Tonian)
ทวีปกลับมารวมกันเป็นชิ้นเดียวชื่อ มหาทวีปโรดีเนีย (Rodinia supercontinent) มีการตรวจพบฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (Eukaryotes) หลายชนิด ในรูปแบบของโปรโตซัว 1000[c]
มีโซโพรเทอโรโซอิก
(Mesoproterozoic)
สเทเนียน
(Stenian)
ในยุคนี้มีแบคทีเรียยูแคริโอตมากมาย และได้มีสัตว์หลายเซลล์ยุคแรกเกิดขึ้น ยังไมสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ทวีปกลับมาเริ่มรวมกันเป็นผืนเดียวอีกครั้งเรียกว่า มหาทวีปโรดีเนีย (Rodinia supercontinent) 1200[c]
เอกเทเซียน
(Ectasian)
ลานทวีป (Platform covers) ขยายตัวออก สาหร่ายสีเขียวเริ่มโตในทะเล 1400[c]
คาลิมเมียน
(Calymmian)
ในยุคนี้มีสัตว์หลายเซลล์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในยุคนี้ยังไม่พบสิ่งมีชีวิตที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และยังไม่พบสิ่งมีชีวิตใดๆ บนพื้นดิน สัตว์ในยุคนี้ส่วนใหญ่เป็นโพรทิสตา,โครมาลวีโอตาและจุลชีพอื่น ๆ มหาทวีปโคลัมเบียแตกออกจากกัน 1600[c]
แพลีโอโพรเทอโรโซอิก
(Paleoproterozoic)
สตาทีเรียน
(Statherian)
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวซับซ้อน (Eukaryote) เกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกโดยเป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสต์ที่มีนิวเคลียส บนโลกมีทวีปเดียวชื่อว่า มหาทวีปโคลัมเบีย 1800[c]
ออโรซีเรียน
(Orosirian)
ชั้นบรรยากาศอุดมไปด้วยก๊าซออกซิเจน หลังยุคน้ำแข็งฮูโรเนียน 2050[c]
ไรเอเซียน
(Rhyacian)
ยุคน้ำแข็งฮูโรเนียน (Huronian glaciation) ทั่วโลกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งตั้งแต่ขั้วโลกจนถึงเส้นศูนย์สูตร 2300[c]
ไซดีเรียน
(Siderian)
วิกฤตการณ์ออกซิเจน (Oxygen catastrophe) เกิดจากการที่ไซยาโนแบคทีเรียที่สังเคราะห์แสง ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยก๊าซออกซิเจนมากเกินไปทำให้อุณหภูมิลดลงอย่างมาก และออกซิเจนที่เป็นพิษได้ล้างบางสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ (Anaerobic Bacteria) เกือบทั้งหมด เป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก เรียกว่า การเพิ่มของออกซิจนครั้งใหญ่ (Great Oxygenation Event: GOE) และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคน้ำแข็งที่ปกคลุมทั้งโลก ที่เรียกว่ายุคน้ำแข็งฮูโรเนียน (Huronian glaciation) 2500[c]
อาร์เคียน
(Archean)
นีโออาร์เคียน
(Neoarchean)
ในยุคนี้มีโพรแคริโอตชนิดที่เป็นจุดเด่นคือ สโตรมาโตไลต์ ซึ่งเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ เป็น ออกซิเจน ทำให้มีออกซิเจนมากขึ้น แต่ยังไม่มาก เพียง 0.2% 2800[c]
มีโซอาร์เคียน
(Mesoarchean)
พบเจอฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ (Macrofossil) เป็นครั้งแรก เป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่กันเป็นก้อน เรียกว่า สโตรมาโตไลต์ พบเป็นครั้งแรกในยุคนี้ สโตรมาโตไลต์ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วเปลี่ยนให้เป็น ออกซิเจน ในทะเลมีสิ่งมีชีวิตประเภทอาร์เคีย และแบคทีเรียมากที่สุด 3200[c]
พาลีโออาร์เคียน
(Paleoarchean)
แบคทีเรียชนิดแรกที่ผลิตก๊าซออกซิเจน ฟอสซิลสิ่งมีชีวิตชิ้นแรกที่ได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัด หลุมอุกกาบาตที่เก่าแก่ที่สุดบนโลก (อาทิ Canadian Sheild และ Pilbara) 3600[c]
อีโออาร์เคียน
(Eoarchean)
ค้นพบซอสซิลของสิ่งมีชีวิตเป็นครั้งแรก เรียกว่า Microfossil เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างแบบโปรคาริโอต อาทิ แบคทีเรีย และอาร์เคีย จากการค้นพบในฟอสซิล สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกเพิ่มจำนวนตัวเองด้วยโมเลกุล RNA นับเป็นจุดเริ่มต้นของบรมยุคอาร์เคียน ยุคที่มีสิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นบนดาวเคราะห์โลก ~4000
เฮเดียน
(Hadean)
อิมเบรียนตอนต้น (Early Imbrian)
(นีโอเฮเดียน (Neohadean))
(ไม่เป็นทางการ)
มีหลักฐานของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์จากสารที่พบในยุคนี้ เช่น สารเคโรเจน (Kerogen) ยุคนี้เป็นยุคการพุ่งชนจำนวนมากจากอุกกาบาตยุคหลัง (Late Heavy Bombardment) ในระบบสุริยะชั้นใน  อาจเกิดจากการย้ายวงโคจรของดาวเนปจูนไปสู่แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) จากการรีโซแนนซ์กันของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ มีการค้นพบหินที่อายุเก่าแก่ที่สุดในยุคนี้ (4,031 ถึง 3,580 ล้านปีก่อน) 4130[41]
เนคทาเรียน (Nectarian)
(มีโซเฮเดียน (Mesohadean))
(ไม่เป็นทางการ)
แผ่นเปลือกโลกเริ่มมีการแบ่งที่ชัดเจน หลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์จำนวนมากเกิดขึ้นในยุคนี้ มีการค้นพบสัญญานแรกของสิ่งมีชีวิตบนโลกจากไอโซโทปเบาของธาตุคาร์บอนซึ่งเป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต 4280[41]
กลุ่มแอ่ง (Basin Groups)
(พาลีโอเฮเดียน (Paleohadean))
(ไม่เป็นทางการ)
จุดจบของการพุ่งชนจำนวนมากของอุกกาบาตจากอวกาศ (Early Bombardment Phase) แร่ที่เก่าแก่ที่สุดก่อตัวในยุคนี้ (Zircon, 4,404 ± 8 ล้านปีก่อน)  ดาวหางเป็นสื่อกลางนำน้ำมายังโลก 4533[41]
คริปติก (Cryptic)
(อีโอเฮเดียน (Eohadean))
(ไม่เป็นทางการ)
ก่อนบรมยุคเฮเดียน 4,533 ถึง 4,527 ล้านปีก่อน มีการก่อตัวของดวงจันทร์ สมมุติฐานว่าเกิดจากการชนกันครั้งใหญ่ของโลกและดาวเคราะห์ขนาดเท่าดาวอังคารชื่อว่า เทีย (Thea) 4,570 ถึง 4,567 มีการก่อตัวของดาวเคราะห์โลกจากเศษหิน มีการพุ่งขนโดยอุกกาบาตและดาวหางจำนวนมากในยุคนี้ และ 4,680 ถึง 4,630 ล้านปีก่อน ดวงอาทิตย์ได้ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มก๊าซ 4600

การเสนอเส้นเวลาของพรีแคมเบรียน

หนังสือ Geologic Time Scale 2012 ของ ICS ซึ่งมีมาตรกาลใหม่ซึ่งได้รับอนุมัติ ยังมีการนำเสนอข้อเสนอเพื่อแก้ไขมาตรกาลของพรีแคมเบรียน เพื่อให้สะท้อนถึงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เช่น การก่อตัวของโลก หรือ เหตุการณ์ออกซิเดชันครั้งใหญ่ ขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งการตั้งชื่อการลำดับชั้นหินตามอายุกาลก่อนหน้าส่วนใหญ่ไว้สำหรับช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง[42]

แสดงตามมาตราส่วน:

AcastanIsuanVaalbaranPongolanMethanianSiderianOxygenianEukaryianColumbianRodinianCryogenianEdiacaranมหายุคคาออสเทียนมหายุคพาลีโออาร์เคียนมหายุคมีโซอาร์เคียนมหายุคนีโออาร์เคียนมหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิกมหายุคมีโซโพรเทอโรโซอิกมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิกบรมยุคเฮเดียนบรมยุคอาร์เคียนบรมยุคโพรเทอโรโซอิกพรีแคมเบรียน

เปรียบเทียบกับเส้นเวลาปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้แสดงตามมาตราส่วน:

SiderianRhyacianOrosirianStatherianCalymmianEctasianStenianTonianCryogenianEdiacaranEoarcheanPaleoarcheanMesoarcheanNeoarcheanPaleoproterozoicMesoproterozoicNeoproterozoicHadeanArcheanProterozoicPrecambrian

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "International Stratigraphic Chart". International Commission on Stratigraphy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2014.
  2. "Chapter 9. Chronostratigraphic units". Stratigraphic guide. International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018.
  3. Jackson, Julia A., บ.ก. (1997). "period [geochron]". Glossary of geology (Fourth ed.). Alexandria, Viriginia: American Geological Institute. ISBN 0922152349.
  4. Cohen, K.M.; Finney, S.; Gibbard, P.L. (2015), International Chronostratigraphic Chart (PDF), International Commission on Stratigraphy.
  5. 5.0 5.1 International Commission on Stratigraphy. "Chronostratigraphic Units". International Stratigraphic Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ธันวาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2009.
  6. Erwin D.H. (1994). "The Permo–Triassic Extinction" (PDF). Nature. 367 (6460): 231–236. Bibcode:1994Natur.367..231E. doi:10.1038/367231a0. S2CID 4328753.
  7. "International Commission on Stratigraphy". 2021. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  8. Knoll, A. H.; Walter, MR; Narbonne, G. M; Christie-Blick, N (30 July 2004). "A new period for the geologic time scale" (PDF). Science. 305 (5684): 621–622. doi:10.1126/science.1098803. PMID 15286353. S2CID 32763298.
  9. 9.0 9.1 Gradstein, Felix; Ogg, James; Schmitz, Mark; Ogg, Gabi, บ.ก. (2012). The Geologic Time Scale. Elsevier B.V. ISBN 978-0-444-59425-9.
  10. 10.0 10.1 Jackson 1997, "system [stratig]".
  11. "Age of the Earth". U.S. Geological Survey. 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2005. สืบค้นเมื่อ 2006-01-10.
  12. Dalrymple, G. Brent (2001). "The age of the Earth in the twentieth century: a problem (mostly) solved". Special Publications, Geological Society of London. 190 (1): 205–221. Bibcode:2001GSLSP.190..205D. doi:10.1144/GSL.SP.2001.190.01.14. S2CID 130092094.
  13. "Statutes of the International Commission on Stratigraphy". สืบค้นเมื่อ 26 November 2009.
  14. Janke, Paul R. (1999). "Correlating Earth's History". Worldwide Museum of Natural History.
  15. Rudwick, M. J. S. (1985). The Meaning of Fossils: Episodes in the History of Palaeontology. University of Chicago Press. p. 24. ISBN 978-0-226-73103-2.
  16. Fischer, Alfred G.; Garrison, Robert E. (2009). "The role of the Mediterranean region in the development of sedimentary geology: A historical overview". Sedimentology. 56 (1): 3. Bibcode:2009Sedim..56....3F. doi:10.1111/j.1365-3091.2008.01009.x.
  17. Sivin, Nathan (1995). Science in Ancient China: Researches and Reflections. Brookfield, Vermont: Ashgate Publishing Variorum series. III, 23–24.
  18. Hutton, James (2013). "Theory of the Earth; or an investigation of the laws observable in the composition, dissolution, and restoration of land upon the Globe". Transactions of the Royal Society of Edinburgh (ตีพิมพ์ 1788). 1 (2): 209–308. doi:10.1017/s0080456800029227. สืบค้นเมื่อ 2016-09-06.
  19. 19.0 19.1 McPhee, John (1981). Basin and Range. New York: Farrar, Straus and Giroux. ISBN 9780374109141.
  20. Great Soviet Encyclopedia (ภาษารัสเซีย) (3rd ed.). Moscow: Sovetskaya Enciklopediya. 1974. vol. 16, p. 50.
  21. Rudwick, Martin (2008). Worlds Before Adam: The Reconstruction of Geohistory in the Age of Reform. pp. 539–545.
  22. "Geologic Time Scale". EnchantedLearning.com.
  23. "How the discovery of geologic time changed our view of the world". Bristol University.
  24. Martinsson, Anders; Bassett, Michael G. (1980). "International Commission on Stratigraphy". Lethaia. 13 (1): 26. doi:10.1111/j.1502-3931.1980.tb01026.x.
  25. Cox, Simon J. D.; Richard, Stephen M. (2005). "A formal model for the geologic time scale and global stratotype section and point, compatible with geospatial information transfer standards". Geosphere. 1 (3): 119–137. Bibcode:2005Geosp...1..119C. doi:10.1130/GES00022.1. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
  26. Davydov, V.I.; Korn, D.; Schmitz, M.D.; Gradstein, F.M.; Hammer, O. (2012), "The Carboniferous Period", The Geologic Time Scale (ภาษาอังกฤษ), Elsevier, pp. 603–651, doi:10.1016/b978-0-444-59425-9.00023-8, ISBN 978-0-444-59425-9, สืบค้นเมื่อ 2021-06-17
  27. Lucas, Spencer G. (6 November 2018). "The GSSP Method of Chronostratigraphy: A Critical Review". Frontiers in Earth Science. 6: 191. Bibcode:2018FrEaS...6..191L. doi:10.3389/feart.2018.00191.
  28. Stromberg, Joseph. "What Is the Anthropocene and Are We in It?". Smithsonian Magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-15.
  29. "Anthropocene: Age of Man – Pictures, More From National Geographic Magazine". ngm.nationalgeographic.com. สืบค้นเมื่อ 2015-09-22.
  30. Stromberg, Joseph. "What is the Anthropocene and Are We in It?". สืบค้นเมื่อ 2015-09-22.
  31. 31.0 31.1 "Working Group on the 'Anthropocene'". Subcommission on Quaternary Stratigraphy. International Commission on Stratigraphy.
  32. "The Anthropocene epoch: scientists declare dawn of human-influenced age". TheGuardian.com. 29 August 2016.
  33. George Dvorsky. "New Evidence Suggests Human Beings Are a Geological Force of Nature". Gizmodo.com. สืบค้นเมื่อ 2016-10-15.
  34. Knox, R.W.O’B.; Pearson, P.N.; Barry, T.L.; Condon, D.J.; Cope, J.C.W.; Gale, A.S.; Gibbard, P.L.; Kerr, A.C.; Hounslow, M.W.; Powell, J.H.; Rawson, P.F.; Smith, A.G.; Waters, C.N.; Zalasiewicz, J. (June 2012). "Examining the case for the use of the Tertiary as a formal period or informal unit". Proceedings of the Geologists' Association. 123 (3): 390–393. doi:10.1016/j.pgeola.2012.05.004.
  35. Gibbard, Philip L.; Smith, Alan G.; Zalasiewicz, Jan A.; Barry, Tiffany L.; Cantrill, David; Coe, Angela L.; Cope, John C. W.; Gale, Andrew S.; Gregory, F. John; Powell, John H.; Rawson, Peter F.; Stone, Philip; Waters, Colin N. (28 June 2008). "What status for the Quaternary?". Boreas. 34 (1): 1–6. doi:10.1111/j.1502-3885.2005.tb01000.x.
  36. See, for example, Sahni, B. (1940). "Presidential Address: The Deccan Traps: An Episode of the Tertiary Era". Current Science. 9 (1): 47–54. JSTOR 24204747.
  37. Cox, Simon J. D. "SPARQL endpoint for CGI timescale service". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-06. สืบค้นเมื่อ 2014-08-03.
  38. Cox, Simon J. D.; Richard, Stephen M. (2014). "A geologic timescale ontology and service". Earth Science Informatics. 8: 5–19. doi:10.1007/s12145-014-0170-6. S2CID 42345393.
  39. Hornyak, T. (2020), Japan puts its mark on geologic time with the Chibanian Age, Eos, 101, https://doi.org/10.1029/2020EO139453. Published on 30 January 2020.
  40. https://digitalcommons.bryant.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1010&context=honors_science
  41. 41.0 41.1 41.2 41.3 41.4 41.5 Goldblatt, C.; Zahnle, K. J.; Sleep, N. H.; Nisbet, E. G. (2010). "The Eons of Chaos and Hades". Solid Earth. 1 (1): 1–3. Bibcode:2010SolE....1....1G. doi:10.5194/se-1-1-2010.
  42. 42.00 42.01 42.02 42.03 42.04 42.05 42.06 42.07 42.08 42.09 42.10 42.11 42.12 42.13 Van Kranendonk, Martin J. (2012). "16: A Chronostratigraphic Division of the Precambrian: Possibilities and Challenges". ใน Felix M. Gradstein; James G. Ogg; Mark D. Schmitz; abi M. Ogg (บ.ก.). The geologic time scale 2012 (1st ed.). Amsterdam: Elsevier. pp. 359–365. doi:10.1016/B978-0-444-59425-9.00016-0. ISBN 978-0-44-459425-9.
  43. Chambers, John E. (July 2004). "Planetary accretion in the inner Solar System" (PDF). Earth and Planetary Science Letters. 223 (3–4): 241–252. Bibcode:2004E&PSL.223..241C. doi:10.1016/j.epsl.2004.04.031.
  44. El Albani, Abderrazak; Bengtson, Stefan; Canfield, Donald E.; Riboulleau, Armelle; Rollion Bard, Claire; Macchiarelli, Roberto; และคณะ (2014). "The 2.1 Ga Old Francevillian Biota: Biogenicity, Taphonomy and Biodiversity". PLOS ONE. 9 (6): e99438. Bibcode:2014PLoSO...999438E. doi:10.1371/journal.pone.0099438. PMC 4070892. PMID 24963687.
  45. El Albani, Abderrazak; Bengtson, Stefan; Canfield, Donald E.; Bekker, Andrey; Macchiarelli, Roberto; Mazurier, Arnaud; Hammarlund, Emma U.; และคณะ (2010). "Large colonial organisms with coordinated growth in oxygenated environments 2.1 Gyr ago" (PDF). Nature. 466 (7302): 100–104. Bibcode:2010Natur.466..100A. doi:10.1038/nature09166. PMID 20596019. S2CID 4331375.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน