ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภัยพิบัติแห่งอียิปต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วณิพก (คุย | ส่วนร่วม)
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[File:Scenes from Exodus f 16.jpg|thumb|ฉากในหนังสืออพยพ ตอนการตายของบุตรหัวปี ซึ่งรวมไปถึงโอรสหัวปีของฟาโรห์; ชาวอิสราเอลออกจากประเทศอียิปต์ ภาพวาดในศตวรรษที่ 14]]
[[File:Scenes from Exodus f 16.jpg|thumb|ฉากในหนังสืออพยพ ตอนการตายของบุตรหัวปี ซึ่งรวมไปถึงโอรสหัวปีของฟาโรห์; ชาวอิสราเอลออกจากประเทศอียิปต์ ภาพวาดในศตวรรษที่ 14]]
'''ภัยพิบัติแห่งอียิปต์'''ใน[[หนังสืออพยพ]] เป็น[[ภัยพิบัติ]] 10 ชนิดที่[[Yahweh|พระผู้เป็นเจ้าของชาวอิสราเอล]]ส่งผลกระทบต่อ[[Biblical Egypt|อียิปต์]]เพื่อโน้มน้าวให้[[ฟาโรห์ในคัมภีร์ไบเบิล|ฟาโรห์]]ปลดปล่อย[[วงศ์วานอิสราเอล]]ที่ตกเป็นทาสไป ภัยพิบัติแต่ละครั้งส่งผลต่อฟาโรห์และหนึ่งใน[[เทพเจ้าอียิปต์โบราณ|เทพเจ้าอียิปต์]]<ref name="Greifenhagen"/> ภัยพิบัติทำหน้าที่เป็น "หมายสำคัญ" ของพระผู้เป็นเจ้าต่อการเยาะเย้ยของฟาโรห์ที่ว่าพระองค์ไม่รู้จักพระยาห์เวห์: "ชาวอียิปต์จะได้รู้ว่าเราคือพระยาห์เวห์"<ref name="Tigay">{{cite book
เมื่อพระเจ้าทรงใช้[[โมเสส]]และ[[อาโรน]]ให้เข้าเฝ้า[[ฟาโรห์]]เพื่อทูลขอให้ทรงปล่อย[[วงศ์วานอิสราเอล]]เป็นไทนั้น โมเสสและอาโรนต้องเข้าไปทูลขอถึง 10 ครั้ง กว่าที่องค์ฟาโรห์จะยอมปล่อยชนชาติอิสราเอลให้ออกจาก[[อียิปต์]]ได้ ในแต่ละครั้งที่ฟาโรห์ทรงละเลยต่อคำขอของโมเสสและอาโรนนั้น พระเจ้าก็ทรงมอบภัยพิบัติต่าง ๆ ให้แก่อียิปต์ทุกครั้ง จนกระทั่งองค์ฟาโรห์ทรงพบกับภัยพิบัติครั้งสุดท้ายด้วยพระองค์เอง จึงยอมปล่อยให้อิสราเอลออกเดินทางจากอียิปต์ได้ โดยในการขอให้ฟาโรห์ปล่อยอิสราเอลนั้น โมเสสได้ทูลขอองค์ฟาโรห์ ให้ตนนำอิสราเอลออกไปถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้าในถิ่นทุรกันดาร ภัยพิบัติที่จะกล่าวถึงนี้ อ้างอิงมาจาก[[คัมภีร์ไบเบิล]]ภาค[[พันธสัญญาเดิม]] หนังสืออพยพ บทที่ 7-13
|last = Tigay
|first = Jeffrey H.
|chapter = Exodus
|editor1-last = Berlin
|editor1-first = Adele
|editor2-last = Brettler
|editor2-first = Marc Zvi
|title = The Jewish Study Bible
|publisher = Oxford University Press
|year = 2004
|url = https://archive.org/details/isbn_9780195297515
|url-access = registration
}}</ref>{{rp|117}}


มีการอ่านภัยพิบัติแห่งอียิปต์ในช่วง[[ระเบียบปัสกา]]
== ไม้เท้าของอาโรน ==
ในครั้งแรก เมื่อ[[โมเสส]]และ[[อาโรน]]เข้าเฝ้าฟาโรห์นั้น องค์ฟาโรห์ตรัสสั่งให้พวกเขาแสดงอัศจรรย์เพื่อพิสูจน์ว่าคำพูดของทั้งสองเป็นจริงนั้น พระเจ้าทรงให้อาโรน โยนไม้เท้าลงบนพื้น ไม้เท้านั้นก็กลายเป็นงู องค์ฟาโรห์ก็ทรงเรียกพวกนักปราชญ์ และนักแสดงกลมากระทำเช่นเดียวกันนี้ แต่งูของอาโรนนั้นก็กินงูของนักวิทยากลเหล่านั้นเสียสิ้น แต่องค์ฟาโรห์ก็ไม่ทรงเอาใจใส่ต่อคำพูดของทั้งสองคน จึงเป็นเหตุให้มีภัยพิบัติแรกเกิดขึ้น<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 7 ข้อที่ 8-13</ref>


== ภัยพิบัติจากโลหิต ==
== ภัยพิบัติ ==
=== น้ำที่กลายเป็นเลือด ===
[[File:Tissot Water Is Changed into Blood.jpg|thumb|ภัยพิบัติแรก: ''น้ำถูกเปลี่ยนเป็นเลือด'', ภาพโดย[[เจมส์ ติโซ]]]]
[[File:Tissot Water Is Changed into Blood.jpg|thumb|ภัยพิบัติแรก: ''น้ำถูกเปลี่ยนเป็นเลือด'', ภาพโดย[[เจมส์ ติโซ]]]]
ด้วยองค์ฟาโรห์ ทรงไม่ใส่ใจต่อการเข้าเฝ้าครั้งแรกของโมเสสและอาโรน พระเจ้าจึงทรงให้ทั้งสองเข้าเฝ้า[[ฟาโรห์]]อีกครั้งในเช้าวันรุ่งขึ้น เพื่อสำแดงภัยพิบัติครั้งแรกแก่[[อียิปต์]]
ด้วยองค์ฟาโรห์ ทรงไม่ใส่ใจต่อการเข้าเฝ้าครั้งแรกของโมเสสและอาโรน พระเจ้าจึงทรงให้ทั้งสองเข้าเฝ้า[[ฟาโรห์]]อีกครั้งในเช้าวันรุ่งขึ้น เพื่อสำแดงภัยพิบัติครั้งแรกแก่[[อียิปต์]]
บรรทัด 13: บรรทัด 26:
พระเจ้าทรงสั่งให้อาโรน ยกไม้เท้าขึ้นตีน้ำในแม่น้ำไนล์ ต่อพระพักตร์ฟาโรห์ และบรรดาข้าราชบริพาร น้ำในแม่น้ำไนล์ก็กลายเป็นโลหิต ปลาในแม่น้ำก็ตายสิ้น และน้ำนั้นก็ดื่มกินไม่ได้ แต่เหล่าบรรดาวิทยากลของ[[อียิปต์]] ก็สามารถกระทำกลเช่นนี้ได้เช่นกัน องค์ฟาโรห์จึงยังทรงไม่เชื่อทั้งสอง ดังนั้นชาวอียิปต์จึงต้องขุดบ่อเพื่อหาน้ำดื่ม เนื่องจากดื่มน้ำจาก[[แม่น้ำไนล์]]ไม่ได้<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 7 ข้อที่ 14-25</ref>
พระเจ้าทรงสั่งให้อาโรน ยกไม้เท้าขึ้นตีน้ำในแม่น้ำไนล์ ต่อพระพักตร์ฟาโรห์ และบรรดาข้าราชบริพาร น้ำในแม่น้ำไนล์ก็กลายเป็นโลหิต ปลาในแม่น้ำก็ตายสิ้น และน้ำนั้นก็ดื่มกินไม่ได้ แต่เหล่าบรรดาวิทยากลของ[[อียิปต์]] ก็สามารถกระทำกลเช่นนี้ได้เช่นกัน องค์ฟาโรห์จึงยังทรงไม่เชื่อทั้งสอง ดังนั้นชาวอียิปต์จึงต้องขุดบ่อเพื่อหาน้ำดื่ม เนื่องจากดื่มน้ำจาก[[แม่น้ำไนล์]]ไม่ได้<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 7 ข้อที่ 14-25</ref>


== ภัยพิบัติจากกบ ==
=== กบ ===
หลังภัยพิบัติแรกผ่านไป 7 วัน พระเจ้าจึงทรงใช้ให้โมเสสและอาโรน ไปเข้าเฝ้า[[ฟาโรห์]]อีกครั้ง แจ้งแก่องค์ฟาโรห์ให้ปล่อยชาว[[อิสราเอล]]ไปเสีย มิฉะนั้นพระเจ้าจะทรงให้ฝูง[[กบ]]ใน[[แม่น้ำไนล์]] ขึ้นมาจนเต็มแผ่นดิน[[อียิปต์]] แต่องค์ฟาโรห์ก็มิได้สนใจ พระเจ้าจึงให้อาโรนชูไม้เท้าเหนือแม่น้ำ ฝูงกบก็พากันขึ้นมาจากแม่น้ำไนล์จนเต็มแผ่นดิน แต่เหล่านักแสดงกล ก็สามารถแสดงกลเรียกกบขึ้นมาจากแม่น้ำได้ด้วยเช่นกัน
หลังภัยพิบัติแรกผ่านไป 7 วัน พระเจ้าจึงทรงใช้ให้โมเสสและอาโรน ไปเข้าเฝ้า[[ฟาโรห์]]อีกครั้ง แจ้งแก่องค์ฟาโรห์ให้ปล่อยชาว[[อิสราเอล]]ไปเสีย มิฉะนั้นพระเจ้าจะทรงให้ฝูง[[กบ]]ใน[[แม่น้ำไนล์]] ขึ้นมาจนเต็มแผ่นดิน[[อียิปต์]] แต่องค์ฟาโรห์ก็มิได้สนใจ พระเจ้าจึงให้อาโรนชูไม้เท้าเหนือแม่น้ำ ฝูงกบก็พากันขึ้นมาจากแม่น้ำไนล์จนเต็มแผ่นดิน แต่เหล่านักแสดงกล ก็สามารถแสดงกลเรียกกบขึ้นมาจากแม่น้ำได้ด้วยเช่นกัน


แต่เมื่อฝูงกบอยู่กันเต็มเมือง องค์ฟาโรห์จึงเรียก[[โมเสส]]และ[[อาโรน]] เข้าพบ และให้สัญญาหากทั้งสองทูลต่อพระเจ้าให้ฝูงกบไปเสียจากแผ่นดินอียิปต์ องค์ฟาโรห์จะยอมให้ชาวอิสราเอลออกเดินทางได้ในวันรุ่งขึ้น โมเสส จึงร้องทูลพระเจ้า และฝูงกบก็พากันตายสิ้นทั้งแผ่นดิน<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 1-14</ref>
แต่เมื่อฝูงกบอยู่กันเต็มเมือง องค์ฟาโรห์จึงเรียก[[โมเสส]]และ[[อาโรน]] เข้าพบ และให้สัญญาหากทั้งสองทูลต่อพระเจ้าให้ฝูงกบไปเสียจากแผ่นดินอียิปต์ องค์ฟาโรห์จะยอมให้ชาวอิสราเอลออกเดินทางได้ในวันรุ่งขึ้น โมเสส จึงร้องทูลพระเจ้า และฝูงกบก็พากันตายสิ้นทั้งแผ่นดิน<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 1-14</ref>


== ภัยพิบัติจากริ้น ==
=== ริ้น ===
ครั้นเมื่อฝูง[[กบ]]ตายเสียสิ้น ความเดือดร้อนก็บรรเทาไปแล้ว องค์[[ฟาโรห์]]จึงทรงไม่ปฏิบัติตามคำสัญญาที่จะให้[[อิสราเอล]]ออกเดินทางในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าจึงให้โมเสสและอาโรน เข้าเฝ้า ฟาโรห์ และให้อาโรนเอาไม้เท้าตีฝุ่นดิน ให้กลายเป็น[[ริ้น]]ทั่วประเทศอียิปต์
ครั้นเมื่อฝูง[[กบ]]ตายเสียสิ้น ความเดือดร้อนก็บรรเทาไปแล้ว องค์[[ฟาโรห์]]จึงทรงไม่ปฏิบัติตามคำสัญญาที่จะให้[[อิสราเอล]]ออกเดินทางในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าจึงให้โมเสสและอาโรน เข้าเฝ้า ฟาโรห์ และให้อาโรนเอาไม้เท้าตีฝุ่นดิน ให้กลายเป็น[[ริ้น]]ทั่วประเทศอียิปต์


ครั้งนี้เหล่านักแสดงกลของฟาโรห์ ไม่สามารถแสดงกลทำให้ฝุ่นกลายเป็นริ้นได้ จึงทูลต่อฟาโรห์ว่า "''นี่เป็นกิจการแห่งนิ้วพระหัตถ์พระเจ้า''" แต่ฟาโรห์ก็มิได้สนพระทัย<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 15-19</ref>
ครั้งนี้เหล่านักแสดงกลของฟาโรห์ ไม่สามารถแสดงกลทำให้ฝุ่นกลายเป็นริ้นได้ จึงทูลต่อฟาโรห์ว่า "''นี่เป็นกิจการแห่งนิ้วพระหัตถ์พระเจ้า''" แต่ฟาโรห์ก็มิได้สนพระทัย<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 15-19</ref>


== ภัยพิบัติจากเหลือบ ==
=== เหลือบ ===
วันรุ่งขึ้น พระเจ้าทรงให้โมเสสไปรอพบฟาโรห์ ที่ริม[[แม่น้ำไนล์]] และทูลต่อพระองค์ว่า หากไม่ทรงอนุญาตให้อิสราเอลออกไปนมัสการพระเจ้า ณ ถิ่นทุรกันดาร พระเจ้าก็จะทรงบันดาลให้ฝูง[[เหลือบ]]อยู่เต็มประเทศ[[อียิปต์]] ยกเว้นแต่เมืองโกเชนที่ชาวอิสราเอลอาศัยอยู่ จะไม่มีเหลือบเข้าไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์เป็นพระเจ้าของอิสราเอล
วันรุ่งขึ้น พระเจ้าทรงให้โมเสสไปรอพบฟาโรห์ ที่ริม[[แม่น้ำไนล์]] และทูลต่อพระองค์ว่า หากไม่ทรงอนุญาตให้อิสราเอลออกไปนมัสการพระเจ้า ณ ถิ่นทุรกันดาร พระเจ้าก็จะทรงบันดาลให้ฝูง[[เหลือบ]]อยู่เต็มประเทศ[[อียิปต์]] ยกเว้นแต่เมืองโกเชนที่ชาวอิสราเอลอาศัยอยู่ จะไม่มีเหลือบเข้าไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์เป็นพระเจ้าของอิสราเอล


บรรทัด 30: บรรทัด 43:
องค์ฟาโรห์จึงว่า "''เราจะปล่อยพวกเจ้าไป เพื่อจะได้ถวายสัตวบูชาแด่พระเจ้าของเจ้าในถิ่นทุรกันดาร แต่ว่าพวกเจ้าอย่าไปให้ไกลนัก จงวิงวอนเพื่อเราด้วย''" โมเสสจึงอธิษฐานต่อพระเจ้าให้ฝูงเหลือบไปจากแผ่นดินอียิปต์<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 20-31</ref>
องค์ฟาโรห์จึงว่า "''เราจะปล่อยพวกเจ้าไป เพื่อจะได้ถวายสัตวบูชาแด่พระเจ้าของเจ้าในถิ่นทุรกันดาร แต่ว่าพวกเจ้าอย่าไปให้ไกลนัก จงวิงวอนเพื่อเราด้วย''" โมเสสจึงอธิษฐานต่อพระเจ้าให้ฝูงเหลือบไปจากแผ่นดินอียิปต์<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 20-31</ref>


== ภัยพิบัติที่เกิดกับฝูงสัตว์ ==
=== ฝูงสัตว์ ===
เมื่อสิ้นฝูงเหลือบ องค์[[ฟาโรห์]]ก็ทรงละเลยต่อสัญญาของพระองค์อีกครั้ง พระเจ้าจึงทรงให้[[โมเสส]]เข้าไปทูลต่อฟาโรห์ว่า หากพระองค์ไม่ยอมปล่อยคนของพระเจ้าไปนมัสการพระองค์ พระเจ้าจะทรงกระทำให้ฝูงสัตว์ของอียิปต์ ทั้ง[[ม้า]] [[ลา]] [[อูฐ]] โค [[แพะ]] และ[[แกะ]] เป็น[[โรคระบาด]]ร้ายแรง และยกเว้นฝูงสัตว์ของคนอิสราเอลที่จะไม่เป็นโรค โดยกำหนดโรคระบาด คือ วันถัดไป
เมื่อสิ้นฝูงเหลือบ องค์[[ฟาโรห์]]ก็ทรงละเลยต่อสัญญาของพระองค์อีกครั้ง พระเจ้าจึงทรงให้[[โมเสส]]เข้าไปทูลต่อฟาโรห์ว่า หากพระองค์ไม่ยอมปล่อยคนของพระเจ้าไปนมัสการพระองค์ พระเจ้าจะทรงกระทำให้ฝูงสัตว์ของอียิปต์ ทั้ง[[ม้า]] [[ลา]] [[อูฐ]] โค [[แพะ]] และ[[แกะ]] เป็น[[โรคระบาด]]ร้ายแรง และยกเว้นฝูงสัตว์ของคนอิสราเอลที่จะไม่เป็นโรค โดยกำหนดโรคระบาด คือ วันถัดไป


แต่องค์ฟาโรห์ ก็มิได้สนพระทัย วันรุ่งขึ้นฝูงสัตว์ของอียิปต์ก็พากันตายหมด เหลือเพียงฝูงสัตว์ของอิสราเอล แต่ฟาโรห์ก็ยังไม่ทรงปล่อยชาวอิสราเอลออกไป<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 32 ถึง บทที่ 9 ข้อที่ 8</ref>
แต่องค์ฟาโรห์ ก็มิได้สนพระทัย วันรุ่งขึ้นฝูงสัตว์ของอียิปต์ก็พากันตายหมด เหลือเพียงฝูงสัตว์ของอิสราเอล แต่ฟาโรห์ก็ยังไม่ทรงปล่อยชาวอิสราเอลออกไป<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 32 ถึง บทที่ 9 ข้อที่ 8</ref>


== ภัยพิบัติจากฝี ==
=== ฝี ===
[[File:Egyptian plague of boils in the Toggenburg Bible.jpg|thumb|ภัยพิบัติที่หก ภาพจากคำภีร์ไบเบิลฉบับ Toggenburg (ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ในปีค.ศ. 1411]]
[[File:Egyptian plague of boils in the Toggenburg Bible.jpg|thumb|ภัยพิบัติที่หก ภาพจากคำภีร์ไบเบิลฉบับ Toggenburg (ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ในปีค.ศ. 1411]]
พระเจ้าทรงให้โมเสสกำเขม่าจากเตาไฟเต็มฝ่ามือ ไปเข้าเฝ้าฟาโรห์และเมื่ออยู่ต่อหน้าฟาโรห์ ก็ซัดเขม่านั้นออกไป เขม่านั้นก็กลายเป็นฝุ่นกระจายไปทั่วอียิปต์ ทำให้ชาวอียิปต์กลายเป็น[[ฝี]]แตกลามทั้งตัว รวมไปถึงเหล่านักแสดงกลของฟาโรห์ ก็เป็นฝีทั่วตัวด้วยเช่นกัน แต่องค์ฟาโรห์ก็ไม่ยอมปล่อยอิสราเอลออกไป<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 9 ข้อที่ 8-12</ref>
พระเจ้าทรงให้โมเสสกำเขม่าจากเตาไฟเต็มฝ่ามือ ไปเข้าเฝ้าฟาโรห์และเมื่ออยู่ต่อหน้าฟาโรห์ ก็ซัดเขม่านั้นออกไป เขม่านั้นก็กลายเป็นฝุ่นกระจายไปทั่วอียิปต์ ทำให้ชาวอียิปต์กลายเป็น[[ฝี]]แตกลามทั้งตัว รวมไปถึงเหล่านักแสดงกลของฟาโรห์ ก็เป็นฝีทั่วตัวด้วยเช่นกัน แต่องค์ฟาโรห์ก็ไม่ยอมปล่อยอิสราเอลออกไป<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 9 ข้อที่ 8-12</ref>


== ภัยพิบัติจากลูกเห็บ ==
=== ลูกเห็บ ===
พระเจ้าทรงให้[[โมเสส]]เข้าเฝ้าฟาโรห์แต่เช้า และทูลต่อพระองค์ว่า หากฟาโรห์ไม่ยินยอมปล่อยชาวอิสราเอลไป วันรุ่งขึ้น พระเจ้าจะให้มีลูกเห็บตกลงทั่วแผ่นดินอียิปต์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเตือนให้ผู้คนและสัตว์ทั้งหลายหลบอยู่ในที่กำบัง มิฉะนั้นจะโดนลูกเห็บเสียชีวิต
พระเจ้าทรงให้[[โมเสส]]เข้าเฝ้าฟาโรห์แต่เช้า และทูลต่อพระองค์ว่า หากฟาโรห์ไม่ยินยอมปล่อยชาวอิสราเอลไป วันรุ่งขึ้น พระเจ้าจะให้มีลูกเห็บตกลงทั่วแผ่นดินอียิปต์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเตือนให้ผู้คนและสัตว์ทั้งหลายหลบอยู่ในที่กำบัง มิฉะนั้นจะโดนลูกเห็บเสียชีวิต


บรรทัด 46: บรรทัด 59:
ฟาโรห์จึงทรงให้คนไปตามโมเสสและอาโรนมา แจ้งว่า "''ครั้งนี้เราทำบาปแน่แล้ว พระเจ้าเป็นฝ่ายถูก เราและชนชาติของเราผิด''..." แต่โมเสสก็ทราบว่าที่ฟาโรห์กล่าวเช่นนั้นมิได้ยำเกรงพระเจ้าจริง แต่เมื่อโมเสสออกจากเข้าเฝ้าฟาโรห์ ก็ทูลขอต่อพระเจ้าให้ลูกเห็บหยุดตก ฟาโรห์ก็ยังคงแข็งขืน มิยอมให้อิสราเอลออกจากอียิปต์ไป<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 9 ข้อที่ 13-34</ref>
ฟาโรห์จึงทรงให้คนไปตามโมเสสและอาโรนมา แจ้งว่า "''ครั้งนี้เราทำบาปแน่แล้ว พระเจ้าเป็นฝ่ายถูก เราและชนชาติของเราผิด''..." แต่โมเสสก็ทราบว่าที่ฟาโรห์กล่าวเช่นนั้นมิได้ยำเกรงพระเจ้าจริง แต่เมื่อโมเสสออกจากเข้าเฝ้าฟาโรห์ ก็ทูลขอต่อพระเจ้าให้ลูกเห็บหยุดตก ฟาโรห์ก็ยังคงแข็งขืน มิยอมให้อิสราเอลออกจากอียิปต์ไป<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 9 ข้อที่ 13-34</ref>


== ภัยพิบัติจากฝูงตั๊กแตน ==
=== ฝูงตั๊กแตน ===
พระเจ้าก็ทรงให้ โมเสส และอาโรน เข้าเฝ้าฟาโรห์ อีกครั้ง แจ้งว่าครั้งนี้ พระเจ้าจะทรงให้เกิดฝูง[[ตั๊กแตน]]เข้าทำลายพืชผลที่เหลือรอดจากลูกเห็บเสียสิ้น บรรดาข้าราชบริพารจึงพากันทูลขอให้ฟาโรห์ปล่อยพวกเขาไป
พระเจ้าก็ทรงให้ โมเสส และอาโรน เข้าเฝ้าฟาโรห์ อีกครั้ง แจ้งว่าครั้งนี้ พระเจ้าจะทรงให้เกิดฝูง[[ตั๊กแตน]]เข้าทำลายพืชผลที่เหลือรอดจากลูกเห็บเสียสิ้น บรรดาข้าราชบริพารจึงพากันทูลขอให้ฟาโรห์ปล่อยพวกเขาไป


บรรทัด 53: บรรทัด 66:
ฟาโรห์จึงให้เรียกโมเสสและอาโรนมาเฝ้า และขอให้ทูลต่อพระเจ้าให้ไล่ฝูงตั๊กแตนไปเสีย โมเสสก็ทูลขอต่อพระเจ้า แต่ฟาโรห์ก็เปลี่ยนพระทัย ไม่ยอมให้อิสราเอลออกไปจากอียิปต์อีก<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 9 ข้อที่ 1-20</ref>
ฟาโรห์จึงให้เรียกโมเสสและอาโรนมาเฝ้า และขอให้ทูลต่อพระเจ้าให้ไล่ฝูงตั๊กแตนไปเสีย โมเสสก็ทูลขอต่อพระเจ้า แต่ฟาโรห์ก็เปลี่ยนพระทัย ไม่ยอมให้อิสราเอลออกไปจากอียิปต์อีก<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 9 ข้อที่ 1-20</ref>


== ภัยพิบัติจากความมืด ==
=== ความมืด ===
[[File:Spanish 15th Century, Massacre of the Firstborn and Egyptian Darkness, c. 1490, NGA 3930.jpg|thumb|''การสังหารเด็กแรกเกิดและความมืดในอียิปต์'' ป. ค.ศ. 1490, ภาพพิมพ์ไม้ทาสี, [[หอศิลป์แห่งชาติ (วอชิงตัน ดี.ซี.)|หอศิลป์แห่งชาติ]], วอชิงตัน, [[Lessing J. Rosenwald|Rosenwald]] Collection, 1943.3.716]]
[[File:Spanish 15th Century, Massacre of the Firstborn and Egyptian Darkness, c. 1490, NGA 3930.jpg|thumb|''การสังหารเด็กแรกเกิดและความมืดในอียิปต์'' ป. ค.ศ. 1490, ภาพพิมพ์ไม้ทาสี, [[หอศิลป์แห่งชาติ (วอชิงตัน ดี.ซี.)|หอศิลป์แห่งชาติ]], วอชิงตัน, [[Lessing J. Rosenwald|Rosenwald]] Collection, 1943.3.716]]
ต่อมาพระเจ้าจึงทรงทำให้ท้องฟ้าเหนือแผ่นดินอียิปต์มืดไป เป็นเวลา 3 วัน ชาวเมืองไม่สามารถไปไหนได้ เพราะมองไม่เห็น ยกเว้นแต่เมืองที่ชาวอิสราเอลอาศัยอยู่ที่มีแสงสว่าง ฟาโรห์จึงให้ตามต้ว โมเสส และอาโรน มา แจ้งว่าจะทรงอนุญาตให้นำผู้คนได้นนัสการพระเจ้าได้ทุกคน แต่ไม่ทรงอนุญาตให้นำฝูงสัตว์ไป โมเสสจึงแจ้งว่า "''ต้องโปรดประทานให้มีเครื่องสัตวบูชา และเครื่องเผาบูชาติดมือไปด้วย...ข้าพระบาทต้องนำฝูงสัตว์ไปด้วย ขาดไม่ได้สักกีบเดียว..."'' องค์ฟาโรห์จึงทรงพิโรธ ขับไล่ทั้งสองออกไป และกล่าวว่า "''อย่ามาให้เราเห็นหน้าอีกเลย เพราะถ้าเจ้าเห็นหน้าเราวันใด เจ้าจะต้องตายวันนั้น''" <ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 10 ข้อที่ 21-28</ref>
ต่อมาพระเจ้าจึงทรงทำให้ท้องฟ้าเหนือแผ่นดินอียิปต์มืดไป เป็นเวลา 3 วัน ชาวเมืองไม่สามารถไปไหนได้ เพราะมองไม่เห็น ยกเว้นแต่เมืองที่ชาวอิสราเอลอาศัยอยู่ที่มีแสงสว่าง ฟาโรห์จึงให้ตามต้ว โมเสส และอาโรน มา แจ้งว่าจะทรงอนุญาตให้นำผู้คนได้นนัสการพระเจ้าได้ทุกคน แต่ไม่ทรงอนุญาตให้นำฝูงสัตว์ไป โมเสสจึงแจ้งว่า "''ต้องโปรดประทานให้มีเครื่องสัตวบูชา และเครื่องเผาบูชาติดมือไปด้วย...ข้าพระบาทต้องนำฝูงสัตว์ไปด้วย ขาดไม่ได้สักกีบเดียว..."'' องค์ฟาโรห์จึงทรงพิโรธ ขับไล่ทั้งสองออกไป และกล่าวว่า "''อย่ามาให้เราเห็นหน้าอีกเลย เพราะถ้าเจ้าเห็นหน้าเราวันใด เจ้าจะต้องตายวันนั้น''" <ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 10 ข้อที่ 21-28</ref>


== มรณกรรมของบุตรหัวปี ==
=== มรณกรรมของบุตรหัวปี ===
นี่เป็นภัยพิบัติสุดท้ายที่พระเจ้าทรงกระทำต่ออียิปต์ และเป็นภัยพิบัติที่เป็นเหตุให้องค์ฟาโรห์ต้องอนุญาตให้อิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์ไปได้ และภัยพิบัตินี้ ก็เป็นที่มาของ[[ปัสกา|พิธีปัสกา]] หนึ่งในพิธีศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิวมาจนทุกว้นนี้
นี่เป็นภัยพิบัติสุดท้ายที่พระเจ้าทรงกระทำต่ออียิปต์ และเป็นภัยพิบัติที่เป็นเหตุให้องค์ฟาโรห์ต้องอนุญาตให้อิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์ไปได้ และภัยพิบัตินี้ ก็เป็นที่มาของ[[ปัสกา|พิธีปัสกา]] หนึ่งในพิธีศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิวมาจนทุกว้นนี้


บรรทัด 63: บรรทัด 76:


ก่อนถึงเวลาเที่ยงคืน โมเสสให้อิสราเอลถือ[[ปัสกา]]เพื่อเป็นเครื่องหมายให้พระเจ้าทรงทราบว่าบ้านหลังใดเป็นของอิสราเอล จะได้ทรงผ่านไปเสีย และเมื่อเวลาเที่ยงคืน คืนนั้นก็เกิดภัยพิบัติสุดท้ายแก่อียิปต์ ทุกบ้านต่างเสียบุตรชายหัวปีไปเสียสิ้น ฟาโรห์และชาวอียิปต์ทั้งสิ้นจึงต่างเร่งรัดให้อิสราเอลทั้งผู้คน สัตว์เลี้ยง และทรัพย์สิ่งของออกไปจากแผ่นดินอียิปต์ รวมเวลาที่อิสราเอลอยู่ในอียิปต์เป็นเวลา 430 ปี คนอิสราเอลที่ออกเดินทางจากอียิปต์มีจำนวนนับเฉพาะผู้ชาย ได้ประมาณ หกแสนคน เป็นอันจบภัยพิบัติที่มีต่ออียิปต์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางของชนชาติอิสราเอล<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 12</ref>
ก่อนถึงเวลาเที่ยงคืน โมเสสให้อิสราเอลถือ[[ปัสกา]]เพื่อเป็นเครื่องหมายให้พระเจ้าทรงทราบว่าบ้านหลังใดเป็นของอิสราเอล จะได้ทรงผ่านไปเสีย และเมื่อเวลาเที่ยงคืน คืนนั้นก็เกิดภัยพิบัติสุดท้ายแก่อียิปต์ ทุกบ้านต่างเสียบุตรชายหัวปีไปเสียสิ้น ฟาโรห์และชาวอียิปต์ทั้งสิ้นจึงต่างเร่งรัดให้อิสราเอลทั้งผู้คน สัตว์เลี้ยง และทรัพย์สิ่งของออกไปจากแผ่นดินอียิปต์ รวมเวลาที่อิสราเอลอยู่ในอียิปต์เป็นเวลา 430 ปี คนอิสราเอลที่ออกเดินทางจากอียิปต์มีจำนวนนับเฉพาะผู้ชาย ได้ประมาณ หกแสนคน เป็นอันจบภัยพิบัติที่มีต่ออียิปต์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางของชนชาติอิสราเอล<ref>พระธรรมอพยพ บทที่ 12</ref>

== การประพันธ์และเทววิทยา ==


==ภาพ==
==ภาพ==
บรรทัด 76: บรรทัด 91:


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[ไม้เท้าของอาโรน]]
* [[พระธรรมอพยพ]]
* [[โมเสส]]
* [[โยเคเบด]]
* [[ปัสกา]]
* [[มิเรียม]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}

==อ่านเพิ่ม==
{{refbegin}}

* {{cite book |last=Collins |first=John J. |title=The Bible After Babel: Historical Criticism in a Postmodern Age |year=2005 |publisher=Eerdmans |isbn=9780802828927 |url=https://books.google.com/books?id=yqClWOhqso0C&q=%22collective+memory%22&pg=PA45}}
* {{cite book |last1=Faust |first1=Avraham |chapter=The Emergence of Iron Age Israel: On Origins and Habitus |title=Israel's Exodus in Transdisciplinary Perspective: Text, Archaeology, Culture, and Geoscience |editor1=Thomas E. Levy |editor2=Thomas Schneider |editor3=William H. C. Propp |chapter-url=https://www.academia.edu/11906343 |date=2015 |publisher=Springer |isbn=978-3-319-04768-3}}
* {{cite book |last=Redmount |first=Carol A. |title=The Oxford History of the Biblical World |chapter=Bitter Lives: Israel In And Out of Egypt |editor-last=Coogan |editor-first=Michael D. |year=2001 |orig-year=1998 |publisher=Oxford University Press |isbn=9780199881482 |chapter-url=https://books.google.com/books?id=4DVHJRFW3mYC&pg=PA59}}
* {{cite book |last1=Rendsburg |first1=Gary A. |chapter=Moses the Magician |title=Israel's Exodus in Transdisciplinary Perspective: Text, Archaeology, Culture, and Geoscience |editor1=Thomas E. Levy |editor2=Thomas Schneider |editor3=William H. C. Propp |chapter-url=https://jewishstudies.rutgers.edu/docman/faculty-seminars/678-moses-the-magician/file |date=2015 |publisher=Springer |isbn=978-3-319-04768-3}}
{{refend}}

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* {{Commons category-inline}}


{{หนังสืออพยพ}}
{{หนังสืออพยพ}}
{{Authority control}}


[[หมวดหมู่:พันธสัญญาเดิม]]
[[หมวดหมู่:พันธสัญญาเดิม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:59, 22 มกราคม 2567

ฉากในหนังสืออพยพ ตอนการตายของบุตรหัวปี ซึ่งรวมไปถึงโอรสหัวปีของฟาโรห์; ชาวอิสราเอลออกจากประเทศอียิปต์ ภาพวาดในศตวรรษที่ 14

ภัยพิบัติแห่งอียิปต์ในหนังสืออพยพ เป็นภัยพิบัติ 10 ชนิดที่พระผู้เป็นเจ้าของชาวอิสราเอลส่งผลกระทบต่ออียิปต์เพื่อโน้มน้าวให้ฟาโรห์ปลดปล่อยวงศ์วานอิสราเอลที่ตกเป็นทาสไป ภัยพิบัติแต่ละครั้งส่งผลต่อฟาโรห์และหนึ่งในเทพเจ้าอียิปต์[1] ภัยพิบัติทำหน้าที่เป็น "หมายสำคัญ" ของพระผู้เป็นเจ้าต่อการเยาะเย้ยของฟาโรห์ที่ว่าพระองค์ไม่รู้จักพระยาห์เวห์: "ชาวอียิปต์จะได้รู้ว่าเราคือพระยาห์เวห์"[2]: 117 

มีการอ่านภัยพิบัติแห่งอียิปต์ในช่วงระเบียบปัสกา

ภัยพิบัติ

น้ำที่กลายเป็นเลือด

ภัยพิบัติแรก: น้ำถูกเปลี่ยนเป็นเลือด, ภาพโดยเจมส์ ติโซ

ด้วยองค์ฟาโรห์ ทรงไม่ใส่ใจต่อการเข้าเฝ้าครั้งแรกของโมเสสและอาโรน พระเจ้าจึงทรงให้ทั้งสองเข้าเฝ้าฟาโรห์อีกครั้งในเช้าวันรุ่งขึ้น เพื่อสำแดงภัยพิบัติครั้งแรกแก่อียิปต์

เช้าวันรุ่งขึ้นโมเสสและอาโรนจึงไปเข้าเฝ้าองค์ฟาโรห์ ณ ริมแม่น้ำไนล์ โดยอาโรนได้นำไม้เท้าไปด้วย โมเสส จึงแจ้งแก่ฟาโรห์ให้ปล่อยชนชาวอิสราเอล หากไม่เช่นนั้น พระเจ้าจะทรงกระทำให้แม่น้ำ ลำคลอง และบึงต่าง ๆ กลายเป็นโลหิต ปลาในแม่น้ำจะตาย และชาวอียิปต์จะดื่มน้ำจากแม่น้ำไนล์ไม่ได้ แต่ฟาโรห์ก็ไม่สนพระทัยต่อคำพูดของทั้งสอง

พระเจ้าทรงสั่งให้อาโรน ยกไม้เท้าขึ้นตีน้ำในแม่น้ำไนล์ ต่อพระพักตร์ฟาโรห์ และบรรดาข้าราชบริพาร น้ำในแม่น้ำไนล์ก็กลายเป็นโลหิต ปลาในแม่น้ำก็ตายสิ้น และน้ำนั้นก็ดื่มกินไม่ได้ แต่เหล่าบรรดาวิทยากลของอียิปต์ ก็สามารถกระทำกลเช่นนี้ได้เช่นกัน องค์ฟาโรห์จึงยังทรงไม่เชื่อทั้งสอง ดังนั้นชาวอียิปต์จึงต้องขุดบ่อเพื่อหาน้ำดื่ม เนื่องจากดื่มน้ำจากแม่น้ำไนล์ไม่ได้[3]

กบ

หลังภัยพิบัติแรกผ่านไป 7 วัน พระเจ้าจึงทรงใช้ให้โมเสสและอาโรน ไปเข้าเฝ้าฟาโรห์อีกครั้ง แจ้งแก่องค์ฟาโรห์ให้ปล่อยชาวอิสราเอลไปเสีย มิฉะนั้นพระเจ้าจะทรงให้ฝูงกบในแม่น้ำไนล์ ขึ้นมาจนเต็มแผ่นดินอียิปต์ แต่องค์ฟาโรห์ก็มิได้สนใจ พระเจ้าจึงให้อาโรนชูไม้เท้าเหนือแม่น้ำ ฝูงกบก็พากันขึ้นมาจากแม่น้ำไนล์จนเต็มแผ่นดิน แต่เหล่านักแสดงกล ก็สามารถแสดงกลเรียกกบขึ้นมาจากแม่น้ำได้ด้วยเช่นกัน

แต่เมื่อฝูงกบอยู่กันเต็มเมือง องค์ฟาโรห์จึงเรียกโมเสสและอาโรน เข้าพบ และให้สัญญาหากทั้งสองทูลต่อพระเจ้าให้ฝูงกบไปเสียจากแผ่นดินอียิปต์ องค์ฟาโรห์จะยอมให้ชาวอิสราเอลออกเดินทางได้ในวันรุ่งขึ้น โมเสส จึงร้องทูลพระเจ้า และฝูงกบก็พากันตายสิ้นทั้งแผ่นดิน[4]

ริ้น

ครั้นเมื่อฝูงกบตายเสียสิ้น ความเดือดร้อนก็บรรเทาไปแล้ว องค์ฟาโรห์จึงทรงไม่ปฏิบัติตามคำสัญญาที่จะให้อิสราเอลออกเดินทางในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าจึงให้โมเสสและอาโรน เข้าเฝ้า ฟาโรห์ และให้อาโรนเอาไม้เท้าตีฝุ่นดิน ให้กลายเป็นริ้นทั่วประเทศอียิปต์

ครั้งนี้เหล่านักแสดงกลของฟาโรห์ ไม่สามารถแสดงกลทำให้ฝุ่นกลายเป็นริ้นได้ จึงทูลต่อฟาโรห์ว่า "นี่เป็นกิจการแห่งนิ้วพระหัตถ์พระเจ้า" แต่ฟาโรห์ก็มิได้สนพระทัย[5]

เหลือบ

วันรุ่งขึ้น พระเจ้าทรงให้โมเสสไปรอพบฟาโรห์ ที่ริมแม่น้ำไนล์ และทูลต่อพระองค์ว่า หากไม่ทรงอนุญาตให้อิสราเอลออกไปนมัสการพระเจ้า ณ ถิ่นทุรกันดาร พระเจ้าก็จะทรงบันดาลให้ฝูงเหลือบอยู่เต็มประเทศอียิปต์ ยกเว้นแต่เมืองโกเชนที่ชาวอิสราเอลอาศัยอยู่ จะไม่มีเหลือบเข้าไปเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระองค์เป็นพระเจ้าของอิสราเอล

องค์ฟาโรห์ทรงไม่ยอมเช่นเดิม พระเจ้าจึงทรงให้ฝูงเหลือบบินเต็มทั่วเมืองอียิปต์ ยกเว้นแต่เมืองโกเชน ฟาโรห์จึงทรงให้เรียก โมเสส และอาโรน มาพบ และรับสั่งให้ อิสราเอล ถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้าในอียิปต์ มิให้ออกไปนอกเมือง แต่โมเสสทูลแย้งว่า การถวายเครื่องบูชาของอิสราเอลต้องฆ่าสัตว์ต้องห้ามของอียิปต์ จึงจำเป็นต้องไปกระทำในถิ่นทุรกันดาร

องค์ฟาโรห์จึงว่า "เราจะปล่อยพวกเจ้าไป เพื่อจะได้ถวายสัตวบูชาแด่พระเจ้าของเจ้าในถิ่นทุรกันดาร แต่ว่าพวกเจ้าอย่าไปให้ไกลนัก จงวิงวอนเพื่อเราด้วย" โมเสสจึงอธิษฐานต่อพระเจ้าให้ฝูงเหลือบไปจากแผ่นดินอียิปต์[6]

ฝูงสัตว์

เมื่อสิ้นฝูงเหลือบ องค์ฟาโรห์ก็ทรงละเลยต่อสัญญาของพระองค์อีกครั้ง พระเจ้าจึงทรงให้โมเสสเข้าไปทูลต่อฟาโรห์ว่า หากพระองค์ไม่ยอมปล่อยคนของพระเจ้าไปนมัสการพระองค์ พระเจ้าจะทรงกระทำให้ฝูงสัตว์ของอียิปต์ ทั้งม้า ลา อูฐ โค แพะ และแกะ เป็นโรคระบาดร้ายแรง และยกเว้นฝูงสัตว์ของคนอิสราเอลที่จะไม่เป็นโรค โดยกำหนดโรคระบาด คือ วันถัดไป

แต่องค์ฟาโรห์ ก็มิได้สนพระทัย วันรุ่งขึ้นฝูงสัตว์ของอียิปต์ก็พากันตายหมด เหลือเพียงฝูงสัตว์ของอิสราเอล แต่ฟาโรห์ก็ยังไม่ทรงปล่อยชาวอิสราเอลออกไป[7]

ฝี

ภัยพิบัติที่หก ภาพจากคำภีร์ไบเบิลฉบับ Toggenburg (ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ในปีค.ศ. 1411

พระเจ้าทรงให้โมเสสกำเขม่าจากเตาไฟเต็มฝ่ามือ ไปเข้าเฝ้าฟาโรห์และเมื่ออยู่ต่อหน้าฟาโรห์ ก็ซัดเขม่านั้นออกไป เขม่านั้นก็กลายเป็นฝุ่นกระจายไปทั่วอียิปต์ ทำให้ชาวอียิปต์กลายเป็นฝีแตกลามทั้งตัว รวมไปถึงเหล่านักแสดงกลของฟาโรห์ ก็เป็นฝีทั่วตัวด้วยเช่นกัน แต่องค์ฟาโรห์ก็ไม่ยอมปล่อยอิสราเอลออกไป[8]

ลูกเห็บ

พระเจ้าทรงให้โมเสสเข้าเฝ้าฟาโรห์แต่เช้า และทูลต่อพระองค์ว่า หากฟาโรห์ไม่ยินยอมปล่อยชาวอิสราเอลไป วันรุ่งขึ้น พระเจ้าจะให้มีลูกเห็บตกลงทั่วแผ่นดินอียิปต์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเตือนให้ผู้คนและสัตว์ทั้งหลายหลบอยู่ในที่กำบัง มิฉะนั้นจะโดนลูกเห็บเสียชีวิต

เหล่าข้าราชบริพารส่วนใหญ่ก็เกรงกลัว จึงได้นำฝูงสัตว์หลบในที่กำบัง และเมื่อถึงเวลา พระเจ้าก็ทรงบันดาลให้มีลูกเห็บ และฟ้าร้อง ลูกเห็บที่ตกลงในแผ่นดินอียิปต์ครั้งนั้นนับว่าเป็นครั้งใหญ่ที่สุด จึงทำลายพืชผลของอียิปต์ทั้งแผ่นดิน ยกเว้นแต่ในเมืองโกเชนที่อิสราเอลอาศัยอยู่ ไม่มีลูกเห็บตกเลย

ฟาโรห์จึงทรงให้คนไปตามโมเสสและอาโรนมา แจ้งว่า "ครั้งนี้เราทำบาปแน่แล้ว พระเจ้าเป็นฝ่ายถูก เราและชนชาติของเราผิด..." แต่โมเสสก็ทราบว่าที่ฟาโรห์กล่าวเช่นนั้นมิได้ยำเกรงพระเจ้าจริง แต่เมื่อโมเสสออกจากเข้าเฝ้าฟาโรห์ ก็ทูลขอต่อพระเจ้าให้ลูกเห็บหยุดตก ฟาโรห์ก็ยังคงแข็งขืน มิยอมให้อิสราเอลออกจากอียิปต์ไป[9]

ฝูงตั๊กแตน

พระเจ้าก็ทรงให้ โมเสส และอาโรน เข้าเฝ้าฟาโรห์ อีกครั้ง แจ้งว่าครั้งนี้ พระเจ้าจะทรงให้เกิดฝูงตั๊กแตนเข้าทำลายพืชผลที่เหลือรอดจากลูกเห็บเสียสิ้น บรรดาข้าราชบริพารจึงพากันทูลขอให้ฟาโรห์ปล่อยพวกเขาไป

ฟาโรห์จึงให้โมเสสและอาโรน นำอิสราเอลไปนมัสการพระเจ้าได้ แต่ให้นำไปได้เฉพาะผู้ชาย แต่ผู้หญิงต้องอยู่ในอียิปต์ ดังนั้นเมื่อโมเสสกลับจากเข้าเฝ้า พระเจ้าจึงทรงให้มีฝูงตั๊กแตนจำนวนมากเข้าทำลายพืชผลทั่วแผ่นดินอียิปต์

ฟาโรห์จึงให้เรียกโมเสสและอาโรนมาเฝ้า และขอให้ทูลต่อพระเจ้าให้ไล่ฝูงตั๊กแตนไปเสีย โมเสสก็ทูลขอต่อพระเจ้า แต่ฟาโรห์ก็เปลี่ยนพระทัย ไม่ยอมให้อิสราเอลออกไปจากอียิปต์อีก[10]

ความมืด

การสังหารเด็กแรกเกิดและความมืดในอียิปต์ ป. ค.ศ. 1490, ภาพพิมพ์ไม้ทาสี, หอศิลป์แห่งชาติ, วอชิงตัน, Rosenwald Collection, 1943.3.716

ต่อมาพระเจ้าจึงทรงทำให้ท้องฟ้าเหนือแผ่นดินอียิปต์มืดไป เป็นเวลา 3 วัน ชาวเมืองไม่สามารถไปไหนได้ เพราะมองไม่เห็น ยกเว้นแต่เมืองที่ชาวอิสราเอลอาศัยอยู่ที่มีแสงสว่าง ฟาโรห์จึงให้ตามต้ว โมเสส และอาโรน มา แจ้งว่าจะทรงอนุญาตให้นำผู้คนได้นนัสการพระเจ้าได้ทุกคน แต่ไม่ทรงอนุญาตให้นำฝูงสัตว์ไป โมเสสจึงแจ้งว่า "ต้องโปรดประทานให้มีเครื่องสัตวบูชา และเครื่องเผาบูชาติดมือไปด้วย...ข้าพระบาทต้องนำฝูงสัตว์ไปด้วย ขาดไม่ได้สักกีบเดียว..." องค์ฟาโรห์จึงทรงพิโรธ ขับไล่ทั้งสองออกไป และกล่าวว่า "อย่ามาให้เราเห็นหน้าอีกเลย เพราะถ้าเจ้าเห็นหน้าเราวันใด เจ้าจะต้องตายวันนั้น" [11]

มรณกรรมของบุตรหัวปี

นี่เป็นภัยพิบัติสุดท้ายที่พระเจ้าทรงกระทำต่ออียิปต์ และเป็นภัยพิบัติที่เป็นเหตุให้องค์ฟาโรห์ต้องอนุญาตให้อิสราเอลออกจากแผ่นดินอียิปต์ไปได้ และภัยพิบัตินี้ ก็เป็นที่มาของพิธีปัสกา หนึ่งในพิธีศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิวมาจนทุกว้นนี้

ก่อนที่พระเจ้าจะทรงประทานภัยพิบัตินี้ พระเจ้าทรงให้โมเสสไปรวบรวมคนอิสราเอล จัดเก็บทรัพย์สิ่งของ และฝูงสัตว์เพื่อเตรียมเดินทางออกจากอียิปต์ และโมเสสก็แจ้งว่าในคืนนั้น พระเจ้าจะทรงออกไปท่ามกลางอียิปต์ และนำบุตรหัวปีของอียิปต์ ตั้งแต่ราชบุตรหัวปีของฟาโรห์ จนถึงบุตรหัวปีของเหล่าทาส สัตว์เลี้ยงไปเสียสิ้นทั้งแผ่นดินอียิปต์ แต่จะไม่ทรงแตะต้องคนอิสราเอลเลย[12]

ก่อนถึงเวลาเที่ยงคืน โมเสสให้อิสราเอลถือปัสกาเพื่อเป็นเครื่องหมายให้พระเจ้าทรงทราบว่าบ้านหลังใดเป็นของอิสราเอล จะได้ทรงผ่านไปเสีย และเมื่อเวลาเที่ยงคืน คืนนั้นก็เกิดภัยพิบัติสุดท้ายแก่อียิปต์ ทุกบ้านต่างเสียบุตรชายหัวปีไปเสียสิ้น ฟาโรห์และชาวอียิปต์ทั้งสิ้นจึงต่างเร่งรัดให้อิสราเอลทั้งผู้คน สัตว์เลี้ยง และทรัพย์สิ่งของออกไปจากแผ่นดินอียิปต์ รวมเวลาที่อิสราเอลอยู่ในอียิปต์เป็นเวลา 430 ปี คนอิสราเอลที่ออกเดินทางจากอียิปต์มีจำนวนนับเฉพาะผู้ชาย ได้ประมาณ หกแสนคน เป็นอันจบภัยพิบัติที่มีต่ออียิปต์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางของชนชาติอิสราเอล[13]

การประพันธ์และเทววิทยา

ภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Greifenhagen
  2. Tigay, Jeffrey H. (2004). "Exodus". ใน Berlin, Adele; Brettler, Marc Zvi (บ.ก.). The Jewish Study Bible. Oxford University Press.
  3. พระธรรมอพยพ บทที่ 7 ข้อที่ 14-25
  4. พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 1-14
  5. พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 15-19
  6. พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 20-31
  7. พระธรรมอพยพ บทที่ 8 ข้อที่ 32 ถึง บทที่ 9 ข้อที่ 8
  8. พระธรรมอพยพ บทที่ 9 ข้อที่ 8-12
  9. พระธรรมอพยพ บทที่ 9 ข้อที่ 13-34
  10. พระธรรมอพยพ บทที่ 9 ข้อที่ 1-20
  11. พระธรรมอพยพ บทที่ 10 ข้อที่ 21-28
  12. พระธรรมอพยพบทที่ 11
  13. พระธรรมอพยพ บทที่ 12

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Plagues of Egypt