ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอเซ็กชวล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วณิพก (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วณิพก (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 52: บรรทัด 52:
[[File:Asexual ring.jpg|thumb|แหวนสีดำอาจจะสวมที่นิ้วกลางของมือข้างขวาเพื่อแสดงตนว่าเป็นเอเซ็กชวล]]
[[File:Asexual ring.jpg|thumb|แหวนสีดำอาจจะสวมที่นิ้วกลางของมือข้างขวาเพื่อแสดงตนว่าเป็นเอเซ็กชวล]]
ในปี พ.ศ. 2552 สมาชิกของ[[เอเซ็กชวลวิซิบิลิตีแอนด์เอดูเคชันเน็ตเวิร์ก]]เข้าร่วมในฐานะเอเซ็กชวลเป็นครั้งแรกใน[[ไพรด์พาเรด]]ของอเมริกาที่[[ซานฟรานซิสโก]]<ref name="Rufus">{{cite magazine |last=Anneli |first=Rufus |date=June 22, 2009 |title=Stuck. Asexuals at the Pride Parade. |url=http://www.psychologytoday.com/blog/stuck/200906/asexuals-the-pride-parade |url-status=live |magazine=[[Psychology Today]] |archive-url=https://web.archive.org/web/20220309223639/https://www.psychologytoday.com/us/blog/stuck/200906/asexuals-the-pride-parade |archive-date=March 9, 2022 |access-date=July 15, 2013}}</ref> ในปี พ.ศ. 2553 หลังการถกเถียงเป็นระยะเวลาหนึ่งเกี่ยวกับการมีอยู่ของ[[ธงไพรด์]]เพื่อแสดงออกถึงเอเซ็กชวลรวมถึงระบบในการสร้างสรรค์ธงดังกล่าว ในที่สุดก็มีการประกาศธงไพรด์ของเอเซ็กชวลอย่างเป็นทางการ แบบสุดท้ายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมและได้รับการให้คะแนนเสียงมากที่สุดจากการลงคะแนนเสียงแบบเปิดออนไลน์<ref name=":7">{{cite web |date=9 January 2012 |title=Asexuality – Redefining Love and Sexuality |url=http://recultured.com/uncategorized/09/asexuality-redefining-love-and-sexuality/ |url-status=live |archive-url=https://web.archive.org/web/20180617124513/http://recultured.com/uncategorized/09/asexuality-redefining-love-and-sexuality/ |archive-date=June 17, 2018 |access-date=7 August 2012 |publisher=recultured}}</ref> สีของธงเป็นแถบแนวนอน 4 สีได้แก่สีดำ เทา ขาว และม่วง จากบนลงล่าง มีความหมายถึงเอเซ็กชวล เกรย์เอเซ็กชวล อัลโลเซ็กชวล และชุมชนตามลำดับ<ref>{{cite book |last1=Bilić |first1=Bojan |title=Intersectionality and LGBT Activist Politics: Multiple Others in Croatia and Serbia |last2=Kajinić |first2=Sanja |date=2016 |publisher=Springer |pages=95–96}}</ref><ref>{{cite book |last1=Decker |first1=Julie |title=The Invisible Orientation: An Introduction to Asexuality |publisher=Skyhorse}}</ref><ref>{{cite web |title=Asexual |url=http://www.lgbt.ucla.edu/Campus-Resources/Asexual |url-status=dead |archive-url=https://web.archive.org/web/20170904115908/http://www.lgbt.ucla.edu/Campus-Resources/Asexual |archive-date=September 4, 2017 |access-date=June 25, 2018 |publisher=UCLA Lesbian Gay Bisexual Transgender Resource center}}</ref> ตั้งแต่นั้นมาจึงใช้ธงนี้เป็นสัญลักษณ์แทนเอเซ็กชวลทั้งหมด<ref name=":7" /> สมาชิกบางคนของชุมชนเอเซ็กชวลเลือกที่จะสวมแหวนสีดำเพิ่มเติมที่[[นิ้วกลาง]]ของมือข้างขวา รู้จักกันในชื่อว่า "แหวนเอช" (ace ring) เพื่อใช้ระบุตัวตนว่าเป็นเอเซ็กชวล<ref>{{cite journal |last1=Chasin |first1=CJ DeLuzio |year=2013 |title=Reconsidering Asexuality and Its Radical Potential |journal=Feminist Studies |volume=39 |issue=2 |pages=405–426 |doi=10.1353/fem.2013.0054 |s2cid=147025548}}</ref> เอเซ็กชวลบางคนใช้ไพ่[[เอซ]]เพื่อใช้ระบุรสนิยมทางโรแมนติกของตน เช่น [[เอซโพดำ]]หมายถึง[[เอโรแมนติก]] และ[[เอซโพแดง]]หมายถึงไม่ได้เป็นเอโรแมนติก<ref name="AceSuits" />
ในปี พ.ศ. 2552 สมาชิกของ[[เอเซ็กชวลวิซิบิลิตีแอนด์เอดูเคชันเน็ตเวิร์ก]]เข้าร่วมในฐานะเอเซ็กชวลเป็นครั้งแรกใน[[ไพรด์พาเรด]]ของอเมริกาที่[[ซานฟรานซิสโก]]<ref name="Rufus">{{cite magazine |last=Anneli |first=Rufus |date=June 22, 2009 |title=Stuck. Asexuals at the Pride Parade. |url=http://www.psychologytoday.com/blog/stuck/200906/asexuals-the-pride-parade |url-status=live |magazine=[[Psychology Today]] |archive-url=https://web.archive.org/web/20220309223639/https://www.psychologytoday.com/us/blog/stuck/200906/asexuals-the-pride-parade |archive-date=March 9, 2022 |access-date=July 15, 2013}}</ref> ในปี พ.ศ. 2553 หลังการถกเถียงเป็นระยะเวลาหนึ่งเกี่ยวกับการมีอยู่ของ[[ธงไพรด์]]เพื่อแสดงออกถึงเอเซ็กชวลรวมถึงระบบในการสร้างสรรค์ธงดังกล่าว ในที่สุดก็มีการประกาศธงไพรด์ของเอเซ็กชวลอย่างเป็นทางการ แบบสุดท้ายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมและได้รับการให้คะแนนเสียงมากที่สุดจากการลงคะแนนเสียงแบบเปิดออนไลน์<ref name=":7">{{cite web |date=9 January 2012 |title=Asexuality – Redefining Love and Sexuality |url=http://recultured.com/uncategorized/09/asexuality-redefining-love-and-sexuality/ |url-status=live |archive-url=https://web.archive.org/web/20180617124513/http://recultured.com/uncategorized/09/asexuality-redefining-love-and-sexuality/ |archive-date=June 17, 2018 |access-date=7 August 2012 |publisher=recultured}}</ref> สีของธงเป็นแถบแนวนอน 4 สีได้แก่สีดำ เทา ขาว และม่วง จากบนลงล่าง มีความหมายถึงเอเซ็กชวล เกรย์เอเซ็กชวล อัลโลเซ็กชวล และชุมชนตามลำดับ<ref>{{cite book |last1=Bilić |first1=Bojan |title=Intersectionality and LGBT Activist Politics: Multiple Others in Croatia and Serbia |last2=Kajinić |first2=Sanja |date=2016 |publisher=Springer |pages=95–96}}</ref><ref>{{cite book |last1=Decker |first1=Julie |title=The Invisible Orientation: An Introduction to Asexuality |publisher=Skyhorse}}</ref><ref>{{cite web |title=Asexual |url=http://www.lgbt.ucla.edu/Campus-Resources/Asexual |url-status=dead |archive-url=https://web.archive.org/web/20170904115908/http://www.lgbt.ucla.edu/Campus-Resources/Asexual |archive-date=September 4, 2017 |access-date=June 25, 2018 |publisher=UCLA Lesbian Gay Bisexual Transgender Resource center}}</ref> ตั้งแต่นั้นมาจึงใช้ธงนี้เป็นสัญลักษณ์แทนเอเซ็กชวลทั้งหมด<ref name=":7" /> สมาชิกบางคนของชุมชนเอเซ็กชวลเลือกที่จะสวมแหวนสีดำเพิ่มเติมที่[[นิ้วกลาง]]ของมือข้างขวา รู้จักกันในชื่อว่า "แหวนเอช" (ace ring) เพื่อใช้ระบุตัวตนว่าเป็นเอเซ็กชวล<ref>{{cite journal |last1=Chasin |first1=CJ DeLuzio |year=2013 |title=Reconsidering Asexuality and Its Radical Potential |journal=Feminist Studies |volume=39 |issue=2 |pages=405–426 |doi=10.1353/fem.2013.0054 |s2cid=147025548}}</ref> เอเซ็กชวลบางคนใช้ไพ่[[เอซ]]เพื่อใช้ระบุรสนิยมทางโรแมนติกของตน เช่น [[เอซโพดำ]]หมายถึง[[เอโรแมนติก]] และ[[เอซโพแดง]]หมายถึงไม่ได้เป็นเอโรแมนติก<ref name="AceSuits" />

== ศาสนา ==
จากการศึกษาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง[[ศาสนา]]และเอเซ็กชวลอย่างนัยสำคัญทางสถิติ<ref name="Aicken">{{cite book |last1=Aicken |first1=Catherine R.&nbsp;H. |url=https://books.google.com/books?id=sEGDCgAAQBAJ&pg=PT22 |title=Asexuality and Sexual Normativity: An Anthology |last2=Mercer |first2=Catherine H. |last3=Cassell |first3=Jackie A. |date=2015-09-07 |publisher=Routledge |isbn=978-0-415-73132-4 |editor1-last=Carrigan |editor1-first=Mark |location=New York City, New York and London, England |pages=22–27 |article=Who reports absence of sexual attraction in Britain? Evidence from national probability surveys |access-date=January 10, 2018 |editor2-last=Gupta |editor2-first=Kristina |editor3-last=Morrison |editor3-first=Todd G. |archive-url=https://web.archive.org/web/20200726094223/https://books.google.com/books?id=sEGDCgAAQBAJ&pg=PT22 |archive-date=July 26, 2020 |url-status=live}}</ref> เนื่องจากการเป็นเอเซ็กชวลมีอยู่ทั้งในบุคคลที่นับถือศาสนาและบุคคลที่ไม่นับถือศาสนาด้วยจำนวนใกล้เคียงกัน<ref name="Aicken" /> การเป็นเอเซ็กชวลเป็นเรื่องที่ปกติมากในหมู่นักบวชที่ถือพรหมจรรย์ เนื่องจากผู้ที่ไม่เป็นเอเซ็กชวลมักถูกกีดกันโดย[[คำสาบานแห่งพรหมจรรย์]]<ref name="Bogaert" /> จากการศึกษาของ Aicken และอื่น ๆ ผู้ตอบแบบสอบถามชาว[[มุสลิม]]ตอบว่าตนไม่มีประสบการณ์การดึงดูดทางเพศรูปแบบใด ๆ ในสัดส่วนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามชาว[[คริสต์ศาสนิกชน]]<ref name="Aicken" />

เนื่องจากการใช้ว่า "เอเซ็กชวล" เพิ่งจะเกิดขึ้นในเวลาไม่นาน ศาสนาส่วนใหญ่จึงไม่มีจุดยืนชัดเจนในเรื่องนี้<ref name="AsexualityandChristianity">{{cite web |title=Asexuality and Christianity |url=http://asexualawarenessweek.com/docs/PRIDE-Asexuality-and-Christianity.pdf |url-status=dead |archive-url=https://web.archive.org/web/20131029184212/http://asexualawarenessweek.com/docs/PRIDE-Asexuality-and-Christianity.pdf |archive-date=October 29, 2013 |access-date=January 10, 2018 |work=Asexual Awareness Week}}</ref>

ใน[[พระวรสารนักบุญมัทธิว]] 19:11-12 [[พระเยซู]]ตรัสว่า "ไม่ใช่ทุกคนจะรับคำสอนนี้ได้ ยกเว้นคนที่พระเจ้าประทานให้เท่านั้น เพราะคนที่เป็น[[ขันที]]ตั้งแต่เกิดก็มี คนที่มนุษย์ทำให้เป็นขันทีก็มี คนที่ทำตัวเองให้เป็นขันทีเพราะเห็นแก่แผ่นดินสวรรค์ก็มี ใครรับได้ก็ให้รับเอาเถิด"<ref name="Kaoma">{{cite book|last=Kaoma|first=Kapya|date=2018|title=Christianity, Globalization, and Protective Homophobia: Democratic Contestation of Sexuality in Sub-Saharan Africa|url=https://books.google.com/books?id=xSU_DwAAQBAJ&pg=PA160|location=Boston, Massachusetts|publisher=Palgrave Macmillan|isbn=978-3-319-66341-8|pages=159–160|access-date=January 10, 2018|archive-date=September 23, 2019|archive-url=https://web.archive.org/web/20190923043738/https://books.google.com/books?id=xSU_DwAAQBAJ&pg=PA160|url-status=live}}</ref> อรรถกถาจารย์ของคัมภีร์ไบเบิลบางท่านตีความว่า "คนที่เป็นขันทีตั้งแต่เกิด" หมายความรวมถึงเอเซ็กชวลด้วย<ref name="Kaoma" /><ref>{{cite book|last1=Cole|first1=William Graham|title=Sex in Christianity and Psychoanalysis|date=2015|orig-date=1955|series=Routledge Library Editions: Psychoanalysis|publisher=Routledge|location=New York City, New York and London, England|isbn=978-1138951792|page=177|url=https://books.google.com/books?id=ZaLhCgAAQBAJ&pg=PA177|access-date=January 10, 2018|archive-date=September 23, 2019|archive-url=https://web.archive.org/web/20190923043751/https://books.google.com/books?id=ZaLhCgAAQBAJ&pg=PA177|url-status=live}}</ref> ในขณะที่ศาสนาคริสต์ไม่ได้กล่าวถึงเอเซ็กชวลโดยตรง แต่ก็ยังเคารพนับถือพรหมจรรย์ [[เปาโลอัครทูต]]ถูกเขียนระบุว่าเป็นผู้ถือพรหมจรรย์ ก็ได้รับการระบุโดยผู้เขียนบางคนว่าเป็นเอเซ็กชวล<ref>{{cite book|last1=Zuckerman|first1=Phil|title=An Invitation to Sociology of Religion|date=2003|publisher=Routledge|location=New York City, New York and London, England|isbn=978-0-415-94125-9|page=111|url=https://books.google.com/books?id=Ml6TAgAAQBAJ&pg=PA111|access-date=January 11, 2018|archive-date=September 23, 2019|archive-url=https://web.archive.org/web/20190923043738/https://books.google.com/books?id=Ml6TAgAAQBAJ&pg=PA111|url-status=live}}</ref> เปาโลอัครทูตถูกเขียนถึงใน[[จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1|พระธรรม 1 โครินธ์]]: 7:6–9 ว่า {{blockquote|ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนี้เป็นการอนุญาต ไม่ใช่สั่ง ข้าพเจ้าต้องการให้ทุกคนเป็นเหมือนข้าพเจ้า แต่ว่าแต่ละคนก็ได้รับของประทานของตัวเองจากพระเจ้า คนหนึ่งได้รับอย่างนี้ และอีกคนหนึ่งได้รับอย่างนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวกับพวกที่ไม่แต่งงานและพวกแม่ม่ายว่า การที่พวกเขาจะอยู่เหมือนข้าพเจ้าก็ดีแล้ว แต่ถ้าควบคุมตัวไม่อยู่ ก็จงแต่งงานเสียเถิด เพราะว่าแต่งงานเสียก็ดีกว่ามีใจเร่าร้อนด้วยกามราคะ}}


== ในสื่อ ==
== ในสื่อ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:59, 18 มิถุนายน 2566

เอเซ็กชวล
A group of people holding an asexual pride banner
Manifestación WorldPride 2017 ที่กรุงมาดริด
นิยามการขาดการดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น มีความต้องการทางเพศหรือความสนใจในกิจกรรมทางเพศต่ำหรือไม่มี
ย่อace
หมวดหมู่ย่อย
ธง
ธงไพรด์ของเอเซ็กชวล
ธงไพรด์ของเอเซ็กชวล
ชื่อธงธงไพรด์ของเอเซ็กชวล
ความหมายสีดำคือเอเซ็กชวล สีเทาคือเกรย์เอเซ็กชวล สีขาวคืออัลโลเซ็กชวล สีม่วงคือชุมชน

เอเซ็กชวลลิตี (อังกฤษ: asexuality) หรือ เอเซ็กชวล (อังกฤษ: asexual) เป็นการขาดการดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น มีความสนใจหรือความต้องการกิจกรรมทางเพศต่ำหรือไม่มี[1][2][3] อาจถือว่าเป็นทั้งรสนิยมทางเพศหรือการขาดรสนิยมทางเพศ[4][5][6] นอกจากนี้ยังมีการจัดหมวดหมู่ของเอเซ็กชวลที่กว้างขึ้น รวมไปถึงสเปกตรัมโดยกว้าง ๆ ของอัตลักษณ์ย่อยของเอเซ็กชวล[7]

เอเซ็กชวลแตกต่างจากการงดเว้นกิจกรรมทางเพศและแตกต่างจากการอยู่เป็นโสด[8][9] ซึ่งได้รับอิทธิพลโดยทั่วไปจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ตัวบุคคล สังคม และความเชื่อทางศาสนาของบุคคลนั้น ๆ[10] รสนิยมทางเพศแตกต่างจากพฤติกรรมทางเพศ ที่เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ "ถาวร"[11] บุคคลที่เป็นเอเซ็กชวลบางคนมีกิจกรรมทางเพศ แม้ว่าจะขาดการดึงดูดทางเพศหรือความต้องการทางเพศด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ต้องการสร้างความสุขกับตนเองหรือคู่รัก หรือต้องการมีบุตร[8][12]

การยอมรับเอเซ็กชวลในฐานะรสนิยมทางเพศและในขอบเขตของการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยังเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่[2][12] เนื่องจากการวิจัยทั้งในมุมมองด้านสังคมวิทยาและจิตวิทยากำลังอยู่ในขั้นเริ่มพัฒนา[12] ขณะที่นักวิจัยบางคนยืนยันว่าเอเซ็กชวลเป็นรสนิยมทางเพศ แต่ก็มีนักวิจัยคนอื่น ๆ ที่ไม่เห็นด้วย[4][5] บุคคลที่เป็นเอเซ็กชวลอาจมีอยู่ร้อยละ 1 ของประชากร[2]

ชุมชนเอเซ็กชวลหลายแห่งเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมเริ่มแพร่หลายในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ชุมชนที่มีจำนวนสมาชิกมากและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือเอเซ็กชวลวิซิบิลิตีแอนด์เอดูเคชันเน็ตเวิร์กซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 2544 โดยเดวิด เจย์[4][13]

คำนิยาม อัตลักษณ์ และความสัมพันธ์

เนื่องจากมีความหลากหลายอย่างมีนัยสำคัญในหมู่ผู้ที่ระบุตนว่าเป็นเอเซ็กชวล คำว่า "เอเซ็กชวล" จึงสามารถครอบคลุมคำนิยามโดยกว้าง ๆ[14] นักวิจัยโดยทั่วไปให้คำนิยามของ "เอเซ็กชวล" ว่าเป็นการขาดการดึงดูดทางเพศหรือขาดความสนใจในกิจกรรมทางเพศ[4][12][15] แม้ว่ามีคำนิยามอื่น ๆ ที่แตกต่างกันออกไปจากนี้ คำว่า "เอเซ็กชวล" อาจใช้กล่าวถึงบุคคลที่มีพฤติกรรมทางเพศน้อยหรือไม่มีเลย หรือใช้กล่าวถึงเพิ่มเติมถึงการมีความต้องการทางเพศหรือการดึงดูดทางเพศต่ำหรือไม่มีโดยเฉพาะระหว่างคู่รักที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศ[12][16]

เอเซ็กชวลวิซิบิลิตีแอนด์เอดูเคชันเน็ตเวิร์ก (เอเว็น) ซึ่งเป็นฟอรัมออนไลน์ที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นชุมชนออนไลน์ของเอเซ็กชวล ให้คำนิยามของ "เอเซ็กชวล" ว่า "ผู้ที่ไม่มีการประสบการณ์การดึงดูดทางเพศ" และยังเสริมว่าเอเซ็กชวล "โดยแก่นแท้" เป็น "เพียงคำทีผู้คนใช้เพื่อช่วยให้ค้นพบตัวเอง" และสนับสนุนให้ผู้คนใช้คำว่า เอเซ็กชวล เพื่อนิยามตนเอง "ตราบเท่าที่สมเหตุสมผลที่จะเรียกเช่นนั้น"[17] เอเซ็กชวลมักเรียกโดยย่อว่า เอซ (ace) เป็นคำย่อจากการออกเสียงว่า เอเซ็กชวล[18] และชุมชนของเอเซ็กชวลโดยรวมก็ถูกเรียกว่า ชุมชนเอซ (ace community)[19][20]

ความสัมพันธ์

แม้ว่าเอเซ็กชวลไม่มีการดึงดูดทางเพศ แต่เอเซ็กชวลบางคนอาจมีความสัมพันธ์ในเชิงโรแมนติกที่บริสุทธิ์ ในขณะที่บางคนอาจไม่มี[4][21] บางคนที่ระบุตนว่าเป็นเอเซ็กชวลกล่าวว่าตนมีประสบการณ์ดึงดูดทางเพศ แม้ว่าจะไม่มีความต้องการที่จะมีกิจกรรมทางเพศ เอเซ็กชวลบางคนก็ขาดความต้องการที่จะมีกิจรรรมทางกายที่ไม่ใช่ทางเพศเช่นการกอดหรือการจับมือ ในขณะที่เอเซ็กชวลคนอื่น ๆ ก็อาจจะเลือกที่จะทำกิจกรรมดังกล่าว[8][9][12][14] คนที่เป็นเอเซ็กชวลอาจะแสวงหาความสัมพันธ์ที่ไม่มีความโรแมนติกและไม่มีกิจกรรมทางเพศ เรียกว่าเป็น "ความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิก"[18]

เอเซ็กชวลบางคนอาจจะมีกิจกรรมทางเพศเนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น[12] บางคนอาจจะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองในรูปการปลดปล่อยเดี่ยว ในขณะที่บางคนอาจจะรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องกระทำเช่นนั้น[14][22][23] ความต้องการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองและกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ มักถูกเรียกโดยเอเซ็กชวลว่าเป็น แรงขับดันทางเพศ (sex drive) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่แยกต่างหากจากการดึงดูดทางเพศและการเป็นเอเซ็กชวล เอเซ็กชวลที่สำเร็จความใคร่ด้วยตนเองโดยทั่วไปถือว่าเป็นการปล่อยสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ตามปกติ มากกว่าจะถือว่าเป็นสัญญาณของเรื่องเพศแอบแฝง และเอเซ็กชวลบางคนก็ไม่เห็นว่าเป็นเรื่องน่าพึงพอใจ[12][24] ชายที่เป็นเอเซ็กชวลบางคนไม่สามารถทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาตและไม่สามารถสอดใส่ได้[25] เอเซ็กชวลแต่ละคนยังมีมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องกิจกรรมทางเพศ บางคนอาจมีกิจกรรมทางเพศเพื่อประโยชน์ของคู่รัก ในขณะที่คนอื่นอาจจะไม่ชอบแนวคิดนี้อย่างมาก แม้ว่าเอเซ็กชวลโดยทั่วไปจะไม่ได้ต่อต้านเรื่องเพศโดยภาพรวมก็ตาม[12][14][23]

หลายคนที่ระบุตนว่าเป็นเอเซ็กชวลก็อาจจะเลือกรับอัตลักษณ์อื่น ซึ่งมักรวมถึงอัตลักษณ์ทางสถานะเพศและรสนิยมทางโรแมนติกประเภทต่าง ๆ ด้วย[26] เหล่านี้มักรวมเข้ากับอัตลักษณ์เอเซ็กชวลของบุคคล และเอเซ็กชวลอาจระบุตนว่าเป็นเฮเทโรเซ็กชวล เลสเบียน เกย์ หรือไบเซ็กชวลในแง่ความความโรแมนติกหรืออีกด้านหนึ่งของรสนิยมทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศนอกเหนือไปจากการระบุตนว่าเป็นเอเซ็กชวล[21] ในแง่ที่เป็นโรแมนติกของรสนิยมทางเพศก็อาจระบุได้ด้วยอัตลักษณ์โรแมนติกที่หลากหลาย เช่น ไบโรแมนติก เฮเทโรโรแมนติก โฮโมโรแมนติก หรือแพนโรแมนติก และผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การดึงดูดทางโรแมนติกอาจระบุตนด้วยคำว่าเอโรแมนติก[14][21] การแยกจากกันระหว่างรสนิยมทางโรแมนติกและรสนิยมทางเพศนี้อธิบายได้โดยทั่วไปด้วยแบบจำลองการดึงดูดแบบแยกส่วน (split attraction model) ซึ่งระบุว่าความดึงดูดทางโรแมนติกและความดึงดูดทางเพศไม่ได้เชื่อมโยงกันอย่างเคร่งครัดสำหรับทุกผู้คน บุคคลผู้ที่เป็นทั้งเอโรแมนติกและเอเซ็กชวลบางครั้งจะรู้จักในคำเรียกว่า "เอโร-เอซ" ("aro-ace" หรือ "aroace")[27]

เกรย์เอเซ็กชวล

คำว่า "เกรย์เอเซ็กชวล" หมายถึงสเปกตรัมระหว่างเอเซ็กชวลและที่ไม่ใช่เอเซ็กชวล (มักระบุว่าว่าเป็นอัลโลเซ็กชวล)[28] บุคคลผู้ที่ระบุตนว่าเป็นเกรย์เอเซ็กชวลอาจมีประสบการณ์การดึงดูดทางเพศเป็นครั้งคราว หรือเพียงมีประสบการณ์ดึงดูดทางเพศในฐานะองค์ประกอบรองเมื่อมีความผูกพันทางอารมณ์ที่มั่นคงและแน่นแฟ้นกับคู่เป้าหมาย รู้จักในคำเรียกว่า เดมิเซ็กชวล[14][29]

ชุมชน

ประวัติศาสตร์ของชุมชนเอเซ็กชวลยังไม่มีเอกสารในงานวิชาการในปัจจุบัน[30] แม้ว่าเว็บไซต์ส่วนตัวหลายแห่งสำหรับผู้อยู่ใต้คำนิยามของเอเซ็กชวลในภายหลังจะปรากฏออนไลน์ในช่วงทศวรรษ 1990[31] แต่นักวิชาการเชื่อว่าชุมชนของผู้ที่ระบุตัวเองว่าเป็นเอเซ็กชวลเริ่มต้นก่อตั้งในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 โดยได้รับการส่งเสริมจากความนิยมของชุมชนออนไลน์[32] ชุมชนขนาดเล็กที่มีออนไลน์ ได้แก่ "Leather Spinsters", "Nonolibidoism Society" และ "Haven for the Human Amoeba" จากเอกสารโดย Volkmar Sigusch[31] ในปี พ.ศ. 2544 นักเคลื่อนไหวสิทธิเดวิด เจย์ก่อตั้งเอเซ็กชวลวิซิบิลิตีแอนด์เอดูเคชันเน็ตเวิร์ก (เอเว็น) โดยมีเป้าเหมายคือ "สร้างการยอมรับและการอภิปรายเกี่ยวกับเอเซ็กชวลในระดับสาธารณะ และส่งเสริมการเติบโตของสังคมเอเซ็กชวล"[4][13]

สัญลักษณ์

ธงไพรด์ของเอเซ็กชวลประกอบด้วยแถบแนวนอนสีสีคือสีดำ เทา ขาว และม่วง จากบนลงล่าง
แหวนสีดำอาจจะสวมที่นิ้วกลางของมือข้างขวาเพื่อแสดงตนว่าเป็นเอเซ็กชวล

ในปี พ.ศ. 2552 สมาชิกของเอเซ็กชวลวิซิบิลิตีแอนด์เอดูเคชันเน็ตเวิร์กเข้าร่วมในฐานะเอเซ็กชวลเป็นครั้งแรกในไพรด์พาเรดของอเมริกาที่ซานฟรานซิสโก[33] ในปี พ.ศ. 2553 หลังการถกเถียงเป็นระยะเวลาหนึ่งเกี่ยวกับการมีอยู่ของธงไพรด์เพื่อแสดงออกถึงเอเซ็กชวลรวมถึงระบบในการสร้างสรรค์ธงดังกล่าว ในที่สุดก็มีการประกาศธงไพรด์ของเอเซ็กชวลอย่างเป็นทางการ แบบสุดท้ายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมและได้รับการให้คะแนนเสียงมากที่สุดจากการลงคะแนนเสียงแบบเปิดออนไลน์[34] สีของธงเป็นแถบแนวนอน 4 สีได้แก่สีดำ เทา ขาว และม่วง จากบนลงล่าง มีความหมายถึงเอเซ็กชวล เกรย์เอเซ็กชวล อัลโลเซ็กชวล และชุมชนตามลำดับ[35][36][37] ตั้งแต่นั้นมาจึงใช้ธงนี้เป็นสัญลักษณ์แทนเอเซ็กชวลทั้งหมด[34] สมาชิกบางคนของชุมชนเอเซ็กชวลเลือกที่จะสวมแหวนสีดำเพิ่มเติมที่นิ้วกลางของมือข้างขวา รู้จักกันในชื่อว่า "แหวนเอช" (ace ring) เพื่อใช้ระบุตัวตนว่าเป็นเอเซ็กชวล[38] เอเซ็กชวลบางคนใช้ไพ่เอซเพื่อใช้ระบุรสนิยมทางโรแมนติกของตน เช่น เอซโพดำหมายถึงเอโรแมนติก และเอซโพแดงหมายถึงไม่ได้เป็นเอโรแมนติก[18]

ศาสนา

จากการศึกษาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและเอเซ็กชวลอย่างนัยสำคัญทางสถิติ[39] เนื่องจากการเป็นเอเซ็กชวลมีอยู่ทั้งในบุคคลที่นับถือศาสนาและบุคคลที่ไม่นับถือศาสนาด้วยจำนวนใกล้เคียงกัน[39] การเป็นเอเซ็กชวลเป็นเรื่องที่ปกติมากในหมู่นักบวชที่ถือพรหมจรรย์ เนื่องจากผู้ที่ไม่เป็นเอเซ็กชวลมักถูกกีดกันโดยคำสาบานแห่งพรหมจรรย์[40] จากการศึกษาของ Aicken และอื่น ๆ ผู้ตอบแบบสอบถามชาวมุสลิมตอบว่าตนไม่มีประสบการณ์การดึงดูดทางเพศรูปแบบใด ๆ ในสัดส่วนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามชาวคริสต์ศาสนิกชน[39]

เนื่องจากการใช้ว่า "เอเซ็กชวล" เพิ่งจะเกิดขึ้นในเวลาไม่นาน ศาสนาส่วนใหญ่จึงไม่มีจุดยืนชัดเจนในเรื่องนี้[41]

ในพระวรสารนักบุญมัทธิว 19:11-12 พระเยซูตรัสว่า "ไม่ใช่ทุกคนจะรับคำสอนนี้ได้ ยกเว้นคนที่พระเจ้าประทานให้เท่านั้น เพราะคนที่เป็นขันทีตั้งแต่เกิดก็มี คนที่มนุษย์ทำให้เป็นขันทีก็มี คนที่ทำตัวเองให้เป็นขันทีเพราะเห็นแก่แผ่นดินสวรรค์ก็มี ใครรับได้ก็ให้รับเอาเถิด"[42] อรรถกถาจารย์ของคัมภีร์ไบเบิลบางท่านตีความว่า "คนที่เป็นขันทีตั้งแต่เกิด" หมายความรวมถึงเอเซ็กชวลด้วย[42][43] ในขณะที่ศาสนาคริสต์ไม่ได้กล่าวถึงเอเซ็กชวลโดยตรง แต่ก็ยังเคารพนับถือพรหมจรรย์ เปาโลอัครทูตถูกเขียนระบุว่าเป็นผู้ถือพรหมจรรย์ ก็ได้รับการระบุโดยผู้เขียนบางคนว่าเป็นเอเซ็กชวล[44] เปาโลอัครทูตถูกเขียนถึงในพระธรรม 1 โครินธ์: 7:6–9 ว่า

ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนี้เป็นการอนุญาต ไม่ใช่สั่ง ข้าพเจ้าต้องการให้ทุกคนเป็นเหมือนข้าพเจ้า แต่ว่าแต่ละคนก็ได้รับของประทานของตัวเองจากพระเจ้า คนหนึ่งได้รับอย่างนี้ และอีกคนหนึ่งได้รับอย่างนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวกับพวกที่ไม่แต่งงานและพวกแม่ม่ายว่า การที่พวกเขาจะอยู่เหมือนข้าพเจ้าก็ดีแล้ว แต่ถ้าควบคุมตัวไม่อยู่ ก็จงแต่งงานเสียเถิด เพราะว่าแต่งงานเสียก็ดีกว่ามีใจเร่าร้อนด้วยกามราคะ

ในสื่อ

เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ตั้งใจเสนอภาพเชอร์ล็อก โฮมส์ที่เป็นตัวละครของตนให้เป็นผู้ที่ในปัจจุบันจัดว่าเป็นเอเซ็กชวล[40]

การแสดงภาพเอเซ็กชวลในสื่อมีจำกัดและไม่ได้ค่อยมีการเปิดเผยหรือยืนยันโดยผู้สร้างหรือนักเขียน[45] ในผลงานที่สร้างขึ้นก่อนต้นศตวรรษที่ 21 ตัวละครมักถูกสันนิษฐานโดยอัตโนมัติว่าเป็นเซ็กชวล (ผู้ที่มีการดึงดูดทางเพศ)[46] และการมีอยู่ของเพศวิถีของตัวละครไม่เคยถูกตั้งคำถาม[46] เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์เสนอภาพเชอร์ล็อก โฮมส์ที่เป็นตัวละครของตนให้เป็นผู้ที่ในปัจจุบันจัดว่าเป็นเอเซ็กชวล[40] ด้วยความตั้งใจจะบรรยายลักษณะนิสัยของตัวละครว่าสิ่งที่เป็นแรงผลักดันมีเพียงสติปัญญา และมีภูมิคุ้มกันต่อความปรารถนาทางเนื้อหนังมังสา[40] จักเฮด โจนส์ ตัวละครของอาร์ชีคอมิกส์ก็มีแนวโน้มว่าจะถูกสร้างให้เป็นเอเซ็กชวลโดยผู้สร้างเพื่อให้เป็นขั้วตรงข้ามกับอาร์ชี แอนดรูว์ซึ่งเป็นเฮเทโรเซ็กชวล (ผู้ที่มีการดึงดูดทางเพศต่อเพศตรงข้าม) อย่างมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี การแสดงภาพได้เปลี่ยนแปลง มีการทำซ้ำและรีบูตหลายชุดของซีรีส์ที่บอกโดยนัยว่าจักเฮดอาจเป็นเกย์หรืออาจเป็นเฮเทโรเซ็กชวล[40][47] ในปี พ.ศ. 2559 จักเฮดได้รับการยืนยันว่าเป็นเอเซ็กชวลในคอมิกของจักเฮดชุด นิวริเวอร์เดล[47] ผู้เขียนบทของรายการโทรทัศน์ ริเวอร์เดลในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งสร้างจากคอมิกของอาชี เลือกจะแสดงภาพของจักเฮดว่าเป็นเฮเทโรเซ็กชวล แม้ว่าจะได้รับการเรียกร้องจะแฟน ๆ รวมถึงโคล สเพราส์นักแสดงผู้รับบทจักเฮดให้คงความเป็นเอเซ็กชวลของจักเฮด และให้ชุมชนของเอเซ็กชวลร่วมแสดงตัวตนร่วมกับชุมชนเกย์และไบเซ็กชวล ซึ่งทั้งเกย์และไบเซ็กชวลมีการนำเสนอในรายการทั้งคู่[48] การตัดสินใจนี้จุดชนวนให้การการสนทนาวิพากย์วิจารณ์เกี่ยวกับการลบเอเซ็กชวลในสื่อออกโดยเจตนารวมถึงผลที่ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชมอายุน้อย[49]

อ้างอิง

  1. Robert L. Crooks; Karla Baur (2016). Our Sexuality. Cengage Learning. p. 300. ISBN 978-1305887428. สืบค้นเมื่อ January 4, 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 Katherine M. Helm (2015). Hooking Up: The Psychology of Sex and Dating. ABC-CLIO. p. 32. ISBN 978-1610699518. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 22, 2020. สืบค้นเมื่อ January 4, 2017.
  3. Kelly, Gary F. (2004). "Chapter 12". Sexuality Today: The Human Perspective (7th ed.). McGraw-Hill. p. 401 (sidebar). ISBN 978-0-07-255835-7. Asexuality is a condition characterized by a low interest in sex.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Marshall Cavendish, บ.ก. (2010). "Asexuality". Sex and Society. Vol. 2. Marshall Cavendish. pp. 82–83. ISBN 978-0-7614-7906-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2015. สืบค้นเมื่อ July 27, 2013.
  5. 5.0 5.1 Bogaert, AF (April 2015). "Asexuality: What It Is and Why It Matters". The Journal of Sex Research. 52 (4): 362–379. doi:10.1080/00224499.2015.1015713. PMID 25897566. S2CID 23720993.
  6. Bella DePaulo (September 5, 2016). "Sexual Orientation, Not a Sexual Dysfunction".
  7. Scherrer, Kristin (2008). "Coming to an Asexual Identity: Negotiating Identity, Negotiating Desire". Sexualities. 11 (5): 621–641. doi:10.1177/1363460708094269. PMC 2893352. PMID 20593009.
  8. 8.0 8.1 8.2 Margaret Jordan Halter; Elizabeth M. Varcarolis (2013). Varcarolis' Foundations of Psychiatric Mental Health Nursing. Elsevier Health Sciences. p. 382. ISBN 978-1-4557-5358-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2020. สืบค้นเมื่อ May 7, 2014.
  9. 9.0 9.1 DePaulo, Bella (September 26, 2011). "ASEXUALS: Who Are They and Why Are They Important?". Psychology Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2015. สืบค้นเมื่อ December 13, 2011.
  10. The American Heritage Dictionary of the English Language (3d ed. 1992), entries for celibacy and thence abstinence.
  11. "Sexual orientation, homosexuality and bisexuality". American Psychological Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2013. สืบค้นเมื่อ March 30, 2013.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 12.8 Prause, Nicole; Cynthia A. Graham (2007). "Asexuality: Classification and Characterization" (PDF). Archives of Sexual Behavior. 36 (3): 341–356. doi:10.1007/s10508-006-9142-3. PMID 17345167. S2CID 12034925. สืบค้นเมื่อ April 4, 2022.
  13. 13.0 13.1 Swash, Rosie (February 25, 2012). "Among the asexuals". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2021. สืบค้นเมื่อ February 2, 2013.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 Karli June Cerankowski; Megan Milks (2014). Asexualities: Feminist and Queer Perspectives. Routledge. pp. 89–93. ISBN 978-1-134-69253-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2014. สืบค้นเมื่อ July 3, 2014.
  15. Bogaert, Anthony F. (2006). "Toward a conceptual understanding of asexuality". Review of General Psychology. 10 (3): 241–250. doi:10.1037/1089-2680.10.3.241. S2CID 143968129. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2012. สืบค้นเมื่อ August 31, 2007.
  16. Nancy L. Fischer; Steven Seidman (2016). Introducing the New Sexuality Studies. Routledge. p. 183. ISBN 978-1317449188. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2020. สืบค้นเมื่อ January 4, 2017.
  17. "Overview". The Asexual Visibility and Education Network. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2016. สืบค้นเมื่อ January 6, 2016.
  18. 18.0 18.1 18.2 Decker, Julie S. (2015). The Invisible Orientation: An Introduction to Asexuality. Simon and Schuster. ISBN 9781510700642. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2021. สืบค้นเมื่อ 20 April 2019.แม่แบบ:Page number needed
  19. Meg Barker (2012). Rewriting the Rules: An Integrative Guide to Love, Sex and Relationships. Routledge. p. 69. ISBN 978-0415517621. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2020. สืบค้นเมื่อ February 8, 2016.
  20. Shira Tarrant (2015). Gender, Sex, and Politics: In the Streets and Between the Sheets in the 21st Century. Routledge. pp. 254–256. ISBN 978-1317814764. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2021. สืบค้นเมื่อ February 8, 2016.
  21. 21.0 21.1 21.2 Christina Richards; Meg Barker (2013). Sexuality and Gender for Mental Health Professionals: A Practical Guide. SAGE. pp. 124–127. ISBN 978-1-4462-9313-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2014. สืบค้นเมื่อ July 3, 2014.
  22. Westphal, Sylvia Pagan. "Feature: Glad to be asexual". New Scientist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2007. สืบค้นเมื่อ 11 November 2007.
  23. 23.0 23.1 Bridgeman, Shelley (5 August 2007). "No sex please, we're asexual". The New Zealand Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2018. สืบค้นเมื่อ September 16, 2011.
  24. Yule, Morag A.; Brotto, Lori A.; Gorzalka, Boris B. (2014). "Sexual fantasy and masturbation among asexual individuals". The Canadian Journal of Human Sexuality. 23 (2): 89–95. doi:10.3138/cjhs.2409. S2CID 4091448.
  25. Carrigan, Mark (August 2011). "There's More to Life Than Just Sex? Difference and Commonality Within the Asexual Community". Sexualities. 14 (4): 462–478. doi:10.1177/1363460711406462. S2CID 146445274.
  26. MacNeela, Pádraig; Murphy, Aisling (December 30, 2014). "Freedom, Invisibility, and Community: A Qualitative Study of Self-Identification with Asexuality". Archives of Sexual Behavior. 44 (3): 799–812. doi:10.1007/s10508-014-0458-0. ISSN 0004-0002. PMID 25548065. S2CID 23757013.
  27. Kliegman, Julie (2021-10-29). "What Does AroAce Mean? Not Everyone Who's Aromantic Is Asexual". Bustle (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-04.
  28. Chasin, CJ DeLuzio (2015). "Making Sense in and of the Asexual Community: Navigating Relationships and Identities in a Context of Resistance". Journal of Community & Applied Social Psychology. 25 (2): 167–180. doi:10.1002/casp.2203. ISSN 1099-1298.
  29. Adler, Melissa (2010). "Meeting the Needs of LGBTIQ Library Users and Their Librarians: A Study of User Satisfaction and LGBTIQ Collection Development in Academic Libraries". ใน Greenblatt, Ellen (บ.ก.). Serving LGBTIQ Library and Archives Users. North Carolina: McFarland & Company. ISBN 978-0-7864-4894-4.
  30. Carrigan, Mark; Gupta, Kristina; Morrison, Todd G. (2015). Asexuality and Sexual Normativity: An Anthology. Routledge. ISBN 978-0-415-73132-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2020. สืบค้นเมื่อ August 20, 2019.
  31. 31.0 31.1 Volkmar Sigusch. "Sexualitäten: Eine kritische Theorie in 99 Fragmenten". 2013. Campus Verlag [de].
  32. Abbie E. Goldberg (2016). The SAGE Encyclopedia of LGBTQ Studies. SAGE Publications. p. 92. ISBN 978-1483371290. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2020. สืบค้นเมื่อ October 5, 2017. [...] The sociological literature has stressed the novelty of asexuality as a distinctive form of social identification that emerged in the early 21st century.
  33. Anneli, Rufus (June 22, 2009). "Stuck. Asexuals at the Pride Parade". Psychology Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2022. สืบค้นเมื่อ July 15, 2013.
  34. 34.0 34.1 "Asexuality – Redefining Love and Sexuality". recultured. 9 January 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2018. สืบค้นเมื่อ 7 August 2012.
  35. Bilić, Bojan; Kajinić, Sanja (2016). Intersectionality and LGBT Activist Politics: Multiple Others in Croatia and Serbia. Springer. pp. 95–96.
  36. Decker, Julie. The Invisible Orientation: An Introduction to Asexuality. Skyhorse.
  37. "Asexual". UCLA Lesbian Gay Bisexual Transgender Resource center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2017. สืบค้นเมื่อ June 25, 2018.
  38. Chasin, CJ DeLuzio (2013). "Reconsidering Asexuality and Its Radical Potential". Feminist Studies. 39 (2): 405–426. doi:10.1353/fem.2013.0054. S2CID 147025548.
  39. 39.0 39.1 39.2 Aicken, Catherine R. H.; Mercer, Catherine H.; Cassell, Jackie A. (2015-09-07). "Who reports absence of sexual attraction in Britain? Evidence from national probability surveys". ใน Carrigan, Mark; Gupta, Kristina; Morrison, Todd G. (บ.ก.). Asexuality and Sexual Normativity: An Anthology. New York City, New York and London, England: Routledge. pp. 22–27. ISBN 978-0-415-73132-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2020. สืบค้นเมื่อ January 10, 2018.
  40. 40.0 40.1 40.2 40.3 40.4 Bogaert, Anthony (2012). Understanding Asexuality. Lanham, Maryland: Rowman and Littlefield Publishers, Inc. pp. 36–39. ISBN 978-1-4422-0099-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2020. สืบค้นเมื่อ January 10, 2018.
  41. "Asexuality and Christianity" (PDF). Asexual Awareness Week. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 29, 2013. สืบค้นเมื่อ January 10, 2018.
  42. 42.0 42.1 Kaoma, Kapya (2018). Christianity, Globalization, and Protective Homophobia: Democratic Contestation of Sexuality in Sub-Saharan Africa. Boston, Massachusetts: Palgrave Macmillan. pp. 159–160. ISBN 978-3-319-66341-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2019. สืบค้นเมื่อ January 10, 2018.
  43. Cole, William Graham (2015) [1955]. Sex in Christianity and Psychoanalysis. Routledge Library Editions: Psychoanalysis. New York City, New York and London, England: Routledge. p. 177. ISBN 978-1138951792. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2019. สืบค้นเมื่อ January 10, 2018.
  44. Zuckerman, Phil (2003). An Invitation to Sociology of Religion. New York City, New York and London, England: Routledge. p. 111. ISBN 978-0-415-94125-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2019. สืบค้นเมื่อ January 11, 2018.
  45. Kelemen, Erick. "Asexuality". Encyclopedia of Sex and Gender. Ed. Fedwa Malti-Douglas. Vol. 1. Detroit: Macmillan Reference USA, 2007. 103. Gale Virtual Reference Library. Web. May 2, 2016.
  46. 46.0 46.1 Jackson, Stevi, and Sue Scott. Theorizing Sexuality. Maidenhead: Open UP, 2010. Web. May 2, 2016.
  47. 47.0 47.1 "Archie Comic Reveals Jughead Is Asexual". Vulture. February 8, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2017. สืบค้นเมื่อ December 14, 2017.
  48. "Cole Sprouse Is Bummed That RIVERDALE's Jughead Isn't Asexual | Nerdist". Nerdist. 2017-01-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-09-09.
  49. Revanche, Jonno. "'Riverdale's' Asexual Erasure Can Be More Harmful Than You Think". Teen Vogue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2021. สืบค้นเมื่อ 2018-09-09.

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Human asexuality