เอโรแมนติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอโรแมนติก
นิยามการขาดการดึงดูดทางโรแมนติกกับผู้อื่น; มีความต้องการกิจกรรมโรแมนติกน้อยหรือไม่มี
ย่อaro
ธง
ธงไพรด์ของเอโรแมนติก
ธงไพรด์ของเอโรแมนติก
ชื่อธงธงไพรด์ของเอโรแมนติก
ความหมายสีเขียวหมายถึงสเปกตรัมของเอโรแมนติก สีขาวเหมือนถึงรักบริสุทธิ์และมิตรภาพ สีเทาและสีดำหมายถึงสเปกตรัมของเพศวิถี[1][2]

เอโรแมนติซิซึม (อังกฤษ: aromanticism) หรือ เอโรแมนติก (อังกฤษ: aromantic) เป็นรสนิยมทางโรแมนติก เป็นการมีประสบการณ์การดึงดูดทางโรแมนติกน้อยหรือไม่มี[3][4][5] คำว่า "เอโรแมนติก" เรียกย่อ ๆ อย่างสำนวนภาษาปากว่า "เอโร" ("aro") กล่าวถึงบุคคลที่มีรสนิยมทางโรแมนติกเป็นเอโรแมนติก[6][7]

ชุมชน[แก้]

สัญลักษณ์[แก้]

ธงไพรด์ของเอโรแมนติกสร้างสรรค์ขึ้นในปี พ.ศ. 2557 โดยคาเมรอน วิมซี[8][1] สีเขียวถูกเลือกเป็นสีหลักเนื่องจากเป็นสีตรงข้ามกับสีแดงซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความรักแบบโรแมนติก สีเขียวมีความหมายถึงสเปกตรัมของเอโรแมนติก สีขาวมีความหมายถึงรักบริสุทธิ์และมิตรภาพ สีเทาและสีดำมีความหมายถึงสเปกตรัมของเพศวิถีส่วนต่าง ๆ[2][9]

แหวนสีขาวอาจสวมไว้ที่นิ้วกลางของมือข้างซ้ายเพื่อระบุตัวตนว่าอยู่ในสเปกตรัมของเอโรแมนติก[10] เลือกใช้แหวนสีขาวนี้เพื่อให้ตรงกันข้ามกับแหวนของเอเซ็กชวลที่เป็นแหวนสีดำสวมที่มือข้างขวา[11]

อีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่ชาวเอโรแมนติกใช้บ่อยคือลูกศร เนื่องจากคำภาษาอังกฤษว่า "เอร์โรว์" (arrow) ที่มีความหมายว่า "ลูกศร" เป็นคำพ้องเสียง ของ "เอโร" (aro) ที่เป็นคำย่อของ "เอโรแมนติก" ที่ชาวเอโรแมนติกใช้เรียกตัวเอง[12]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "whoops yeah i just realised i never actually made a proper post for this version of the flag with meanings and stuff (Origin of the Aromantic Flag)". tumblr. Cameron Whimsy. November 16, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2023. สืบค้นเมื่อ March 11, 2023.
  2. 2.0 2.1 "What is the aromantic flag". lgbtqnation.com. June 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2023. สืบค้นเมื่อ March 11, 2023.
  3. Bougie, C. (2021). Composing aromanticism (วิทยานิพนธ์ Thesis). University of Missouri--Columbia. doi:10.32469/10355/85832. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
  4. "5 things you should know about aromantic people". Stonewall (ภาษาอังกฤษ). 2022-02-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
  5. "Never Been Interested in Romance? You Could Be Aromantic". Psych Central (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26.
  6. Josh Salisbury. "Meet the aromantics: 'I'm not cold – I just don't have any romantic feelings' | Life and style". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-07. สืบค้นเมื่อ 2018-04-15.
  7. Przybylo, Ela; Gupta, Kristina (2020). "Editorial Introduction: The Erotics of Asexualities and Nonsexualities: Intersectional Approaches". Feminist Formations. 32 (3): vii–xxi. doi:10.1353/ff.2020.0034. ISSN 2151-7371. S2CID 235009367. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-06. สืบค้นเมื่อ 2022-04-21.
  8. "Queer Community Flags". queerevents.ca. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2023. สืบค้นเมื่อ March 11, 2023.
  9. Gillespie, Claire. "22 Different Pride Flags and What They Represent in the LGBTQ+ Community". Health.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2020. สืบค้นเมื่อ 19 July 2020.
  10. "Aromantic Ring?!". March 29, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2023. สืบค้นเมื่อ March 11, 2023.
  11. "All about beautiful ace and aro rings". July 30, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2023. สืบค้นเมื่อ March 11, 2023.
  12. "Aromantic flag and symbols explained". 6 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2023. สืบค้นเมื่อ 25 March 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]