ข้ามไปเนื้อหา

ไส้เดือนดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไส้เดือนดิน หรือไส้เดือน หรือรากดิน (อังกฤษ: earthworm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแอนเนลิดา ในอันดับย่อย Lumbricina มีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดิน ใต้กองใบไม้ หรือใต้มูลสัตว์[1] เป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

ปัจจุบันพบทั่วโลกประมาณ 4,400 ชนิด โดยแบ่งออกได้ตามลักษณะแหล่งที่อยู่อาศัย

  1. กลุ่มอาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
  2. กลุ่มอาศัยในดินชั้นบน ที่มีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร
  3. กลุ่มอาศัยในดินชั้นล่าง ที่มีความลึกประมาณ 2-3 เมตร

ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการย่อยอินทรียสารในดิน และการเคลื่อนที่ในดินของไส้เดือน ถือเป็นการพรวนดิน ทำให้ดินมีช่องว่างที่จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการปลูกพืช อีกทั้งยังใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากไส้เดือนอีกด้วย และนอกจากนี้แล้ว ไส้เดือนยังเป็นที่นิยมอย่างยาวนาน ใช้เป็นเหยื่อสำหรับตกปลา

ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนเป็นอาชีพ และมีการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับไส้เดือนให้มากและกว้างขึ้น

ไส้เดือนชนิดที่มีความยาวที่สุดในโลกตามบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ คือ ไส้เดือนยักษ์แอฟริกา จัดเป็นไส้เดือนที่อาศัยอยู่ในดินที่ลึก มีความยาวสูงสุด 6.7 เมตร[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ลักษณะทั่วไปของไส้เดือนดิน ,ไส้เดือนดิน,อาณัฐ ตันโช,สสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ,พ.ศ. 2550,หน้า 43
  2. ["Giant South African Earthworm (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-29. สืบค้นเมื่อ 2011-09-07. Giant South African Earthworm (อังกฤษ)]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]