ข้ามไปเนื้อหา

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (อังกฤษ: Asexual reproduction) คือการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตโดยไม่มีการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งการสืบพันธุ์แบบนี้จะไม่มีการกลายพันธุ์หรือสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมขึ้น ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นต่ำและเป็นการสืบพันธุ์อย่างไม่สลับซับซ้อน ข้อดีของการสืบพันธุ์แบบนี้ได้แก่ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถเพิ่มจำนวนได้โดยไม่ต้องหาคู่ ในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรอเวลาและพลังงานในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ เหมาะกับสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ

ประเภทของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

[แก้]
  • การแตกหน่อ (Budding) สิ่งมีชีวิตตัวใหม่งอกออกมาจากตัวเดิม แล้วหลุดออกมาเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ เช่น ไฮดรา ยีสต์ และยังพบในพืชอีกด้วยเช่น หน่อไม้ ไผ่
  • การแบ่งตัวออกเป็นสอง (fission) สิ่งมีชีวิตตัวหนึ่งแบ่งเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่แบบเท่าๆกัน โดยเริ่มจากการแบ่งนิวเคลียส และตามด้วยไซโทพลาสซึม สิ่งมีชีวิตที่ใช้กระบวนการนี้ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย
  • การขาดออกเป็นท่อน (Fragmentation) ส่วนที่หลุดไปจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งพัฒนาไปเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ โดยเซลล์ในส่วนที่หลุดไปนั้นเกิดรีเจนเนอเรชั่น (regeneration) กลับเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้อีก ตัวอย่างเช่น ดาวทะเล
  • การสร้างสปอร์ (Spore formation) คือการแบ่งนิวเคลียสออกเป็นหลายๆนิวเคลียส สิ่งมีชีวิตที่ใช้กระบวนการนี้ได้แก่ เห็ด รา ยีสต์
  • พาร์ธีโนเจนเนซิส (Parthenogenesis) คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของแมลงบางชนิด โดยสามารถวางไข่แบบไม่อาศัยการปฏิสนธิ โดยที่ตัวอ่อนที่ฝักออกมาจะเป็นตัวเมียและมียีนเพียงครึ่งเดียวทั้งหมด เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำ ผึ้ง มด ต่อ แตน
  • รีเจนเนอร์เรชั่น (Regeneration) คือการงอกใหม่ เกิดหลัง การขาดออกเป็นท่อน มี2แบบ คือ
  1. ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ เช่น พลานาเรีย ปลิง ดาวทะเล ไส้เดือนดิน ซีแอนนีโมนี เป็นต้น
        • จิ้งจกงอกหาง ไม่ถือว่าเป็นการงอกใหม่ เพราะหางที่หลุดออกไปไม่สามารถดำรงชีวิตเป็นตัวต่อได้
  • การเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์ (Parthenogenesis) เซลล์สืบพันธุ์เพศเมียจะเจริญไปเป็นตัวอ่อน หรือเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ โดยไม่ได้รับการผสมพันธุ์หรือเกิดการปฏิสนธิกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้

อ้างอิง

[แก้]