ไรน์ II

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไรน์ II
ศิลปินอันเดรอัส กัวร์สคี
ปี1999
ประเภทภาพถ่าย
สื่อซีพรินท์ แก้วอะคริลิก
มิติ190 เซนติเมตร × 360 เซนติเมตร (73 in × 143 in); [1]
เจ้าของไม่ประสงค์ออกนาม

ไรน์ II (อังกฤษ: Rhein II) เป็นภาพถ่ายสีโดยทัศนศิลปินชาวเยอรมัน อันดรีอัส กัวร์สคี ในปี 1999[2] ภาพถ่ายแสดงแม่น้ำสายหนึ่ง (คือ แม่น้ำไรน์ตอนล่าง) กำลังไหลในแนวนอน ระหว่างทุ่งสีเขียวที่ขนาบอยู่ ภายใต้ท้องฟ้ามืดครึ้ม[3] รายละเอียดในภาพบางส่วน เช่น คนจูงสุนัขและโรงงานหนึ่งในภาพถูกตัดต่ออกด้วยวิธีทางดิจิทัลโดยศิลปิน[4] ภาพถ่ายนี้เป็นผลงานชิ้นที่สองและชิ้นใหญ่สุดจากชุดภาพถ่ายหกภาพของแม่น้ำไรน์[2] ภาพนี้ถ่ายที่ใกล้กับเมืองดึสเซิลดอร์ฟ ไม่ไกลจากที่ซึ่งเขาถ่ายอีกภาพหนึ่งในปี 1996[5]

ในปี 2011 งานพรินท์ของภาพนี้ถูกประมูลไปด้วยราคา 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ภาพนี้กลายเป็นภาพถ่ายที่แพงที่สุดในโลก[6][3]

นักเขียนด้านศิลปะ ฟลอเรนซ์ วอเทอส์ (Florence Waters) เคยเขียนถึงภาพนี้ลง เดอะเดลี่เทเลกราฟ ว่าเป็นงานที่ "มีชีวิตขีวา, งดงาม และ น่าจดจำ (memorable) – อันที่จริง เราควรจะเขียนว่า เป็นที่ไม่มีทางลืมลง (unforgettable) เสียมากกว่า – [นี่เป็น] การเปลี่ยนความหมาย (twist) แบบร่วมสมัยของ [...] แลนด์สเคปที่โรแมนติก"[6]

การผลิต[แก้]

ภาพถ่ายนี้เป็นผลงานชิ้นที่สองและชิ้นใหญ่สุดจากชุดภาพถ่ายหกภาพของแม่น้ำไรน์[2] ในภาพเป็นแม่น้ำไรน์ตอนล่างไหลไปตามแนวนอน ขนาบด้วยทุ่งหญ้าสีเขียวเรียบ ๆ ภายใต้ท้องฟ้ามืดครึ้มด้วยเมฆ[3] ภาพนี้ถ่ายที่ตำแหน่งหนึ่งไม่ไกลจากเมืองดึสเซิลดอร์ฟ ไม่ไกลจากที่ซึ่งเขาถ่ายอีกภาพหนึ่งในปี 1996[5] โดยงานชิ้นจากปี 1996 นั้นเขาไม่พึงพอใจ

รายละเอียดและองค์ประกอบจากภาพถ่ายเดิมบางส่วน เช่น โรงวานและคนจูงสุนัข ถูกตัดต่ออกไปด้วยวิธีการทางดิจิทัล[4] การดัดแปลงภาพนี้เขาให้เหตุผลว่า "ถ้าให้พูดอย่างปริทรรศน์ (paradoxically) แล้วละก็ มุมนี้ของแม่น้ำไรน์ไม่สามารถมีได้เลยในโลกความเป็นจริง (in situ) แต่ต้องอาศัยการก่อร่างขึ้นโดยสมมติ (a fictitious construction) เพื่อให้ได้ภาพที่แม่นยำของแม่น้ำสมัยใหม่"[7] ภาพพรินท์ของภาพถ่ายมีขนาด 73 โดย 143 นิ้ว (190 โดย 360 เซนติเมตร)[1]

การประมูล[แก้]

งานพรินท์ดั้งเดิมเป็นสมบัติของ Galerie Monika Sprüth ในโคโลญ ก่อนที่ต่อมาจะถูกซื้อโดยนักสะสมชาวเยอรมันผู้ไม่ประสงค์ระบุนาม[1] ผู้ซึ่งต่อมาได้นำภาพนี้ขายโดยการประมูลที่คริสทีส์ สาขานิวยอร์กในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2011 โดยตั้งเป้ามูลค่าอยู่ที่ราว 2.5-3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] ท้ายที่สุดงานถูกประมูลไปด้วยราคา 4,338,500 ดอลลาร์[1] โดยไม่ระบุชื่อผู้ซื้อ[4]

ชิ้นงานสาธารณะ[แก้]

งานพรินท์ภาพถ่ายนี้ชิ้นที่ห้าซึ่งมีหน้าตาเหมือนกันแต่มีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อยที่ 156.4 × 308.3 ซm (61.6 × 121.4 in) ถูกซื้อในปี 2000 โดยเครือหอศิลป์อังกฤษ เทท[5] ปัจจุบันงานชิ้นดังกล่าวอยู่ในของสะสมของเททแต่ไม่ได้นำออกมาจัดแสดงสาธารณะ[5] งานพรินท์อีกชิ้นที่ขนาดเท่ากันเป็นสมบัติของ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ที่นิวยอร์กซิตี และไม่ได้จัดแสดงต่อสาธารณะเช่นกัน[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Sale 2480 / Lot 44". Christie's. สืบค้นเมื่อ 13 November 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Andreas Gursky's Rhein II sets photo record". BBC News. 11 November 2011. สืบค้นเมื่อ 13 November 2011.
  3. 3.0 3.1 3.2 Skarda, Erin (11 November 2011). "And Here's the Most Expensive Photograph in the World". Time. สืบค้นเมื่อ 13 November 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 Kennedy, Maev (11 November 2011). "Andreas Gursky's Rhine II photograph sells for $4.3m". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 November 2011.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Taylor, Rachel (February 2004). "'The Rhine II', Andreas Gursky, 1999". Tate. สืบค้นเมื่อ 23 November 2020.
  6. 6.0 6.1 Waters, Florence (11 November 2011). "Why is Andreas Gursky's Rhine II the most expensive photograph?". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 13 November 2011.
  7. Waters, Florence (11 November 2011). "Photograph by Andreas Gursky breaks auction record". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 13 November 2011.
  8. "Andreas Gursky. Rhine II. 1999". Museum of Modern Art, New York. สืบค้นเมื่อ 12 February 2021.