ข้ามไปเนื้อหา

ไรชส์มารีเนอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไรชส์มารีเนอ
Reichsmarine
ประจำการ1919–1935
ประเทศ เยอรมนี (1919–1933)
 ไรช์เยอรมัน (1933–1935)
รูปแบบกองทัพเรือ
บทบาทกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล
ขึ้นกับไรชส์แวร์
เครื่องหมายสังกัด
ธงศึกไรช์ (1933–1935)
ธงศึกไรช์ (1921–1933)
ธงศึกไรช์ (1919–1921) ไม่เคยใช้

ไรชส์มารีเนอ (เยอรมัน: Reichsmarine) เป็นชื่อของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของเยอรมนีระหว่าง 1919 ถึง 1935[1] โดยถือเป็นเหล่าทัพหนึ่งของไรชส์แวร์ (Reichswehr) ในบัญชาของกระทรวงไรชส์แวร์

ตามสนธิสัญญาแวร์ซาย ไรชส์มารีเนอจะมีกำลังพลได้ไม่เกิน 15,000 นาย ห้ามมีเรือดำน้ำ มีเรือเดรดนอตได้ไม่เกิน 6 ลำ, เรือลาดตระเวนไม่เกิน 6 ลำ, เรือพิฆาตไม่เกิน 12 ลำ, เรือตอร์ปีโดไม่เกิน 12 ลำ เรือใหม่ที่จะขึ้นประจำการทดแทนห้ามมีระวางเกิน 10,000 ตัน ในปี1935 ฮิตเลอร์ได้ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายทิ้ง และยกระดับกองกำลังนี้เป็นกองทัพเรือเต็มรูปแบบที่ชื่อว่า ครีคส์มารีเนอ (Kriegsmarine)

ทำเนียบผู้บังคับบัญชา

[แก้]

ผู้บริหารสูงสุดของไรชส์มารีเนอมีชื่อตำแหน่งว่า อธิบดีกรมทหารเรือ (Chef der Admiralität) ระหว่างปี 1919 ถึง 1920 ต่อมาได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อตำแหน่งว่า อธิบดีกรมบัญชาการทัพเรือ (Chefs der Marineleitung)[2]

รายนามอธิบดีกรมทหารเรือ (Chef der Admiralität)
  1. พลเรือโท อาด็อล์ฟ ฟอน ทรอทา (Adolf von Trotha) ดำรงตำแหน่ง 26 มีนาคม 1919
  2. พลเรือตรี วิลลีอัม มีชาเอลิส (William Michaelis) เข้ารักษาการ 22 มีนาคม 1920
  3. พลเรือโท เพาล์ เบนค์เคอ (Paul Behncke) ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน 1920
รายนามอธิบดีกรมบัญชาการทัพเรือ (Chefs der Marineleitung)
  1. พลเรือโท เพาล์ เบนค์เคอ (Paul Behncke) ดำรงตำแหน่ง 14 กันยายน 1920
  2. พลเรือโท ฮันส์ เซ็นเคอร์ (Hans Zenker) ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 1924
  3. พลเรือโท เอริช เรเดอร์ (Erich Raeder) ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 1928 ถึง 1 มิถุนายน 1935

อ้างอิง

[แก้]
  1. Raymond C. Watson Jr. Radar Origins Worldwide: History of Its Evolution in 13 Nations Through World War II, Trafford Publishing, 2009, p. 229. Describes the meaning of Reichsmarine as "Realm Navy".[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง]
  2. Naval department of Germany, "Rangliste der deutschen Reichsmarine", University of Michigan Library (2010), pg 34