ไก่ฟ้าสีเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไก่ฟ้าสีเลือด
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Galliformes
วงศ์: Phasianidae
วงศ์ย่อย: Phasianinae
สกุล: Ithaginis
Wagler, 1832
สปีชีส์: I.  cruentus
ชื่อทวินาม
Ithaginis cruentus
(Hardwicke, 1821)
ชื่อพ้อง
  • Ithaginis cruentatus

ไก่ฟ้าสีเลือด (อังกฤษ: Blood pheasant; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ithaginis cruentus) เป็นนกชนิดหนึ่ง จำพวกไก่ฟ้า จัดอยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ithaginis

ไก่ฟ้าสีเลือดมีขนาดลำตัวเหมือนไก่ป่าขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 43 เซนติเมตร มีจะงอยปากที่แข็งแรง มีขนปกคลุมลำตัวรุงรังสีเทา แต่ที่หน้าอกเป็นสีแดงสดเหมือนเลือดไหลซึมไปทั่วเส้นขน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ในตัวผู้จะมีส่วนใบหน้าและหัวเป็นสีแดง ขณะที่ตัวเมียจะเป็นสีน้ำตาลทึม ๆ[2]

พบกระจายพันธุ์ตามแถบเทือกเขาสูงตามแนวเทือกเขาหิมาลัยในหลายประเทศ เช่น ภูฐาน, เนปาล, ธิเบต, ตอนเหนือของอินเดีย, ตอนเหนือของพม่า และภาคตะวันตกของจีน มีพฤติกรรมมักชอบอาศัยในป่าสนผสมและในพื้นที่อยู่ใกล้กับยอดเขาที่มีหิมะหรือน้ำแข็งปกคลุม มีการอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาล โดยพบได้ในที่ ๆ ระดับความสูงที่สูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน และด้วยปริมาณหิมะที่เพิ่มขึ้นในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวจะย้ายไปอยู่ในระดับพื้นที่ ๆ ต่ำกว่า

ไก่ฟ้าสีเลือด เป็นนกประจำรัฐสิกขิม ของอินเดีย และเป็นนกประจำชาติของคาซัคสถาน[3]

ภาพวาดของตัวผู้และตัวเมีย

ชนิดย่อย[แก้]

แบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • I. c. affinis (CW Beebe, 1912) - รัฐสิกขิมของอินเดีย
  • I. c. beicki (Mayr & Birckhead, 1937) - ทางตอนเหนือของภาคของจีน
  • I. c. berezowskii (Bianchi, 1903) - ภูเขาทางตอนเหนือของจีน
  • I. c. clarkei (Rothschild, 1920) - ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
  • I. c. cruentus (Hardwicke, 1821) - ภาคเหนือของเนปาลจนถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของภูฐาน
  • I. c. geoffroyi (Verreaux, 1867) - ภาคตะวันตกของจีนจนถึงภาคตะวันออกเฉียงใต้ของธิเบต
  • I. c. kuseri (Beebe, 1912) - ทางตอนเหนือของรัฐอัสสัมในอินเดียและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของธิเบต
  • I. c. marionae (Mayr, 1941) - ภูเขาทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า
  • I. c. michaelis (Bianchi, 1903) - ทางเหนือของภาคกลางของจีน
  • I. c. rocki (Riley, 1925) - ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
  • I. c. sinensis (David, 1873) - ภาคกลางของจีน
  • I. c. tibetanus (ECS Baker, 1914) - ภาคตะวันออกของธิเบตและภาคใต้ของธิเบต

อ้างอิง[แก้]

  1. BirdLife International (2009). "Ithaginis cruentus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4.
  2. Hardwicke, T. (1821). "Descriptions of a Wild Dog of Sumatra, a new Species of Viverra, and a new Species of Pheasant". The Transactions of the Linnean Society of London. Linnean Society of London. XIII: 235–238.
  3. Johnsgard, P. A. (1999) The Pheasants of the World: Biology and Natural History. Washington, D.C: Smithsonian Institution Press.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ithaginis cruentus ที่วิกิสปีชีส์