ใบระบาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ใบระบาด
ใบระบาด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Solanales
วงศ์: Convolvulaceae
สกุล: Argyreia
สปีชีส์: A.  nervosa
ชื่อทวินาม
Argyreia nervosa
(Burm.f.) Bojer
เมล็ดของใบระบาด

ใบระบาด (ชื่อสามัญ: Baby Wood Rose, Baby Hawaiian Woodrose, Elephant Climber, Elephant Creeper, Elephant Creeper Silver, Elephant Vine, Silver Morning, Silver Morning Glory, Morning Glory, Wood Rose, Woolly Morning Glory)[1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer) มีชื่อพื้นเมือง เช่น ผักบุ้งเงิน ผักระบาด หรือ เมืองมอน เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

พรรณไม้ในวงศ์ผักบุ้ง ลำต้นสีเขียว เลื้อยพันได้ ไม้เลื้อยอายุหลายปี ทอดเลื้อยได้ไกล 10 เมตร ทุกส่วนของใบระบาดมีน้ำยางสีขาว กิ่งอ่อนสีขาว มีขนสีขาวเงินปกคลุมหนาแน่น ใบสีเขียวเทา ใต้ใบและผิวนอกของกลีบดอกมีขนสีขาวแกมเงิน วงกลีบดอกรูปหลอด ภายในสีชมพูอมม่วงอ่อน ผลเป็นแบบกระเปาะมีกลีบเลี้ยงติด ลักษณะผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร เมล็ดสีดำ[2] เป็นไม้พื้นเมืองของอินเดียมีชื่อในภาษาสันสกฤตว่า विधारा (Vidhara) มีการกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก รวมทั้งในฮาวายและประเทศแถบทะเลแคริบเบียน พบมากที่ฮาวาย สามารถกลายเป็นพืชรุกรานได้

สารสำคัญ[แก้]

มีสารเออร์โกลีนและเอไมด์ของกรดไลเซอร์กิก มีฤทธิ์หลอนประสาท[3] ห้ามรับประทานใบและเมล็ด โดยใบห้ามนำมารับประทาน หากรับประทานใบเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง มึนงง ตาพร่า ส่วนเมล็ดถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้ประสาทหลอน

บรรณานุกรม[แก้]

  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  "ใบระบาด (Bai Rabat)".  หน้า 168.
  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  "ใบละบาท". หน้า 443-444.
  • สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  "ใบระบาด".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/.
  • ไม้ประดับออนไลน์.  "ใบละบาท".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.maipradabonline.com.

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://medthai.com/ใบระบาด/
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-11. สืบค้นเมื่อ 2018-12-03.
  3. จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]