ข้ามไปเนื้อหา

โลหฑี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลหฑี
กองไฟที่ก่อเนื่องในโลหฑี
ชื่ออื่นลาลโลอี
จัดขึ้นโดยชาวปัญจาบ
ประเภทศาสนา - วัฒนธรรม
ความสำคัญเทศกาลกลางฤดูหนาว, เฉลิมฉลองทักษิณายัน
การเฉลิมฉลองก่อกองไฟ, ดนตรีและการร่ายรำ (ภางครา และ Gidda)
ส่วนเกี่ยวข้องมาฆี

โลหฑี หรือ โลหรี (Lohri; คุรมุขี: ਲੋਹੜੀ, ชาหมุขี: لوہڑی, เทวนาครี: लोह्ड़ी) เป็นเทศกาลฤดูหนาวของท้องถิ่นปัญจาบ[1] ที่เป็นที่นิยม มีการเฉลิมฉลองโดยเฉพาะในภูมิภาคปัญจาบ ที่ซึ่งตัวเทศกาลเองมีความสำคัญและความเชื่อมโยงกับภูมิภาคนี้อย่างสำคัญ[2] [3][4] เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองการสิ้นสุดของทักษิณายัน[5][6][7] โลหฑีจึงเป็นเหมือนการเฉลิมฉลองจุดสิ้นสุดของฤดูหนาว การเฉลิมฉลองนั้นจะเริ่มมีขึ้นในคืนก่อนเริ่มต้นมกรสังกรานติ หรือที่รู้จักในชื่อ มาฆี และอยู่ในช่วงสุริยะของปฏิทินสุริยจันทรคติ พิกรรมี ซึ่งโดยทั่วไปมักตรงกับวันตามปฏิทินเกรเกอเรียนวันเดียวกันทุกปี คือ 13 มกราคม[8]

โลหฑีเป็นวันหยุดทางการในรัฐปัญจาบ รัฐหรยาณา และ ราชธานีเดลี ของประเทศอินเดีย[9][10] ที่ซึ่งมีการเฉลิมฉลองทั้งในชาวซิกข์ ฮินดู มุสลิม และคริสต์ โดยทั่วกัน[11] อย่างไรก็ตาม โลหฑีไม่ได้เป็นวันหยุดทางการแคว้นปัญจาบของประเทศปากีสถาน[12] แต่ก็มีการเฉลิมฉลองโดยชาวซิกข์ ฮินดู และมุสลิมบางส่วน[13] [14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kumar, Suresh Sinhj (1998) India's Communities: H-M. Oxford University Press[1]
  2. Jeratha, Aśoka (1998). Dogra Legends of Art & Culture (ภาษาอังกฤษ). Indus Publishing. ISBN 978-81-7387-082-8.
  3. What is Lohri? Why is it celebrated?, Somya Abrol, India Today, (January 13, 2017)
  4. "The Telegraph - Calcutta : Opinion". สืบค้นเมื่อ 12 January 2017.
  5. "The Tribune...Science Tribune". สืบค้นเมื่อ 12 January 2017.
  6. "The Tribune Festival binge: Amarjot Kaur 10 January 2015". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-18. สืบค้นเมื่อ 2021-01-12.
  7. Celebrating with the Robin Hood of the Punjab and all his friends! Nottingham Post 13 01 2014 [2] เก็บถาวร 16 ธันวาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. Dr. H.S. Singha (2005). Sikh Studies. Hemkunt Press. pp. 101–102. ISBN 978-81-7010-245-8.
  9. Punjab Government List of holidays 2019[3]
  10. [4]
  11. Chauhan, Ramesh K. (1995) Punjab and the nationality question in India. Deep and Deep Publications [5]
  12. Public and Optional Holidays, Government of Punjab, Lahore, Pakistan (2017)
  13. Asian News Jan 2013: Lohri celebrated in Punjab.
  14. Dilagīra, Harajindara Siṅgha (1997). The Sikh Reference Book (ภาษาอังกฤษ). Sikh Educational Trust for Sikh University Centre, Denmark. ISBN 978-0-9695964-2-4.