โลซาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลซาร์
ภิกษุทิเบตกำลังร่ายรำฉลองโลซาร์ในอารามดอมธอกในภูมิภาคคัม
ชื่ออื่นปีใหม่ทิเบต
จัดขึ้นโดยชาวทิเบต, ชาวภูฏาน, ชาวลาดาข, ชาวเนปาล, ชาวมอนปา
ประเภททิเบต, พุทธแบบทิเบต, ปีใหม่
ความถี่รายปี
ส่วนเกี่ยวข้องกัลดันนัมโชต, โลซูง, กยัลโปโลซาร์, ทามูโลซาร์, โซนัมโลซาร์, มังฟู ฯลฯ

โลซาร์ (ทิเบต: ལོ་གསར་, ไวลี: lo-gsar, พินอินทิเบต: losar; "ปีใหม่"[1]) หรือ ปีใหม่ทิเบต เป็นเทศกาลในศาสนาพุทธแบบทิเบต[2] มีการเฉลิมฉลองในวันที่ที่แตกต่างกันไปตามธรรมเนียม ในทิเบต, ภูฏาน, เนปาล, อินเดีย[3][4] เทศกาลนี้เป็นเทศกาลปีใหม่เฉลิมฉลองในวันแรกของปฏิทินทิเบตซึ่งเป็นสุริยจันทรคติ โดยทั่วไปตรวกับเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมตามปฏิทินเกรกอเรียน[1] เทศกาลเดียวกันนี้ในเนปาลเรียกว่า โลฉาร์ (Lhochhar) และมีขึ้นราวแปดสัปดาห์ก่อนโลซาร์แบบทิเบต[5]

โลซาร์มีการเฉลิมฉลองอยู่เดิมก่อนการมาถึงของพระพุทธศาสนาในดินแดนทิเบต และมีรากมาจากธรรมเนียมการจุดธูปฤดูหนาวของศาสนาบอน ในรัชสมัยของกษัตริย์ทิบเตองค์ที่เก้า ปูเด คุงยัล (317-398) ว่ากันว่าธรรมเนียมนี้ถูกรวมเข้ากับเทศกาลฉลองการเก็บเกี่ยว กลายมาเป็นเทศกาลโลซาร์ประจำปี[1]

โลซาร์มีการเฉลิมฉลองยาวนาน 15 วัน โดยสามวันแรกมีการเฉลิมฉลองหลัก ๆ อยู่ ในวันแรกของเทศกาลโลซาร์ จะฉลองด้วยเครื่องดื่ม ชังกอล (changkol) ซึ่งทำมาจาก ฉัง (เครื่องดื่มของภูมิภาคหิมาลัย คล้ายเบียร์) ส่วนวันที่สองเรียกว่าวันโลซาร์ของกษัตริย์ (กยัลโปโลซาร์) โดยธรรมเนียมแล้ว เทศกาลโลซาร์จะถูกนำหน้าด้วยการปฏิบัติวัชรกิลายะนานห้าวัน[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 William D. Crump, "Losar" in Encyclopedia of New Year's Holidays Worldwide (McFarland & Co.: 2008), pp. 237-38.
  2. "Buddhism: Losar". BBC. September 8, 2004.
  3. Peter Glen Harle, Thinking with Things: Objects and Identity among Tibetans in the Twin Cities (Ph.D dissertation: Indiana University, 2003), p. 132: "In Tibet, Nepal, Bhutan, India and other areas where Tibetan Buddhism is practiced, the dates for Losar are often calculated locally, and often vary from region.".
  4. William D. Crump, Encyclopedia of New Year's Holidays Worldwide (McFarland & Co.: 2008), pp. 237: ""Different traditions have observed Losar on different dates."
  5. Tibetan Borderlands: PIATS 2003: Proceedings of the International Association of Tibetan Studies, Oxford, 2003, p. 121: "Yet though their Lhochhar is observed about eight weeks earlier than the Tibetan Losar, the festival is clearly borrowed, and their practice of Buddhism comes increasingly in a Tibetan idiom."
  6. Ligeti, Louis (1984). Tibetan and Buddhist Studies: Commemorating the 200th Anniversary of the Birth of Alexander Csoma De Koros. Vol. 2. University of California Press. p. 344. ISBN 9789630535731.