โรคไอกรน
โรคไอกรน | |
---|---|
ชื่ออื่น | Whooping cough, pertussis, 100-day cough |
A young boy coughing due to pertussis. | |
สาขาวิชา | Infectious disease |
อาการ | Runny nose, fever, cough[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | Vomiting, broken ribs, very tired[1][2] |
ระยะดำเนินโรค | ~ 10 weeks[3] |
สาเหตุ | Bordetella pertussis (spread through the air)[4] |
วิธีวินิจฉัย | Nasopharyngeal swab[5] |
การป้องกัน | Pertussis vaccine[6] |
การรักษา | Antibiotics (if started early)[7] |
ความชุก | 16.3 million (2015)[8] |
การเสียชีวิต | 58,700 (2015)[9] |
โรคไอกรน (อังกฤษ: pertussis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อได้ง่ายมากโรคหนึ่ง[10][1] อาการแรกเริ่มมักคล้ายคลึงกับหวัด โดยผู้ป่วยจะมีไข้ น้ำมูกไหล และไอเล็กน้อย จากนั้นจึงมีอาการไอรุนแรงต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และมีไอเสียงสูงหรือหายใจเฮือกขณะจะมีอาการไอ อาการไอในระยะนี้อาจเป็นต่อเนื่องได้ถึง 10 สัปดาห์หรือมากกว่า บางครั้งจึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคไอ 100 วัน"[11] ผู้ป่วยอาจมีอาการไอรุนแรงมากจนอาเจียน ซี่โครงหัก หรืออ่อนเพลียอย่างมากจากการไอได้[1][2] ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีอาจมีอาการไอเพียงเล็กน้อยหรือไม่ไอเลย แต่มีอาการหยุดหายใจชั่วขณะแทน[1] ระยะฟักตัวของโรคนี้มักอยู่ที่ 7-10 วัน ผู้ที่รับวัคซีนแล้วก็อาจป่วยด้วยโรคนี้ได้ แต่อาการอาจรุนแรงน้อยกว่า[1]
โรคคอตีบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis[4] สามารถติดต่อกันได้ผ่านละอองฝอยจากการไอหรือการจามของผู้ป่วย[4][12] ระยะที่สามารถติดต่อได้เริ่มตั้งแต่ระยะที่เริ่มมีอาการไปจนถึงระยะที่ไอต่อเนื่องกันมาแล้ว 3 สัปดาห์[7] ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจะพ้นระยะติดต่อเมื่อเวลาผ่านไป 5 วัน[7] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกหรือคอหอย[5] แล้วนำไปเพาะเชื้อหรือตรวจสารพันธุกรรมด้วยวิธีพีซีอาร์[5]
การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีนโรคคอตีบ[6] แนะนำให้เริ่มฉีดครั้งแรกตั้งแต่อายุ 6-8 สัปดาห์ และควรจะได้ 4 ครั้ง ภายในอายุ 2 ปีแรก[13] ภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบที่เกิดจากการฉีดวัคซีนจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นจึงมีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในเด็กโตและผู้ใหญ่[14] ในผู้สัมผัสโรคที่มีความเสีย่งต่อการป่วยรุนแรงอาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคได้[15] สำหรับผู้ป่วยโรคคอตีบ การให้ยาปฏิชีวนะจะมีประโยชน์ชัดเจนก็ต่อเมื่อได้เริ่มให้ยาภายใน 3 สัปดาห์ นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะได้ประโยชน์เพียงเล็กน้อย[7] สำหรับผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือสตรีตั้งครรภ์ ยังแนะนำให้ได้รับยาปฏิชีวนะหากป่วยมาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 สัปดาห์[7] ยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้ เช่น อีริโทรมัยซิน อะซิโทรมัยซิน คลาริโทรมัยซิน และไทรเมโทพริม/ซัลฟาเมทอกซาโซล[7] การรักษาอื่นที่มีเป้าหมายเพื่อควบคุมอาการไอนอกเหนือไปจากการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นยังไม่มีหลักฐานที่ดีมาสนับสนุนการใช้[16] ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ประมาณ 50% จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และประมาณ 0.5% จะเสียชีวิต[1][2]
มีข้อมูล ค.ศ. 2015 ซึ่งประมาณไว้ว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคคอตีบประมาณ 16.3 ล้านคน[8] ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยพบได้ทุกช่วงอายุ[6][16] จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงจาก 138,000 คนใน ค.ศ. 1990 เหลือ 58,700 คนใน ค.ศ. 2015[9][17] มีบันทึกกล่าวถึงการระบาดของโรคนี้ย้อนกลับไปจนถึงคริสตศตวรรษที่ 16[18] แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคถูกค้นพบเมื่อ ค.ศ. 1906[18] และวัคซีนก็มีใช้ตั้งแต่คริสตทศวรรษ 1940[18]
อาการและอาการแสดง
[แก้]อาการตามแบบฉบับของโรคไอกรนคืออาการไอมากเป็นชุดๆ หายใจเข้าเสียงดัง (วู้ป/whoop) บางครั้งอาจไอมากจนอาเจียนหรือหมดสติได้[19]
สาเหตุ
[แก้]โรคไอกรนเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ติดจากคนสู่คนผ่านการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อซึ่งถูกปล่อยออกมาจากคนป่วยที่มีอาการไอหรือจาม[4]
การวินิจฉัย
[แก้]การวินิจฉัยจากอาการ
[แก้]การประเมินผู้ป่วยในภาพรวมโดยแพทย์เป็นวิธีการวินิจฉัยเบื้องต้นที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด[20]
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
[แก้]การวินิจฉัยด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถทำได้โดยการเพาะเชื้อจากการป้ายสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกในสารเพาะเชื้อ BG, การทำ PCR, การตรวจแอนติบอดีด้วยวิธีฟลูออเรสเซนท์, และการตรวจภูมิคุ้มกันในเลือด[21]
การวินิจฉัยแยกโรค
[แก้]มีโรคที่มีอาการคล้ายกันแต่รุนแรงน้อยกว่า เกิดจากการติดเชื้อ B. parapertussis[22]
การป้องกัน
[แก้]วิธีป้องกันโรคที่สำคัญที่สุดคือการได้รับวัคซีน[23]
วัคซีน
[แก้]วัคซีนป้องกันโรคไอกรนเป็นวัคซีนที่ได้ผลดีในการป้องกันโรค[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Pertussis (Whooping Cough) Signs & Symptoms". May 22, 2014. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Pertussis (Whooping Cough) Complications". cdc.gov. August 28, 2013. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCDC2015Facts
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Pertussis (Whooping Cough) Causes & Transmission". cdc.gov. 4 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Pertussis (Whooping Cough) Specimen Collection". cdc.gov. 28 August 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2015. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Heininger U (February 2010). "Update on pertussis in children". Expert Review of Anti-Infective Therapy. 8 (2): 163–73. doi:10.1586/eri.09.124. PMID 20109046. S2CID 207217558.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 "Pertussis (Whooping Cough) Treatment". cdc.gov. 28 August 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2015. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
- ↑ 8.0 8.1 Vos, Theo; Allen, Christine; Arora, Megha; Barber, Ryan M.; Bhutta, Zulfiqar A.; Brown, Alexandria; Carter, Austin; Casey, Daniel C.; Charlson, Fiona J.; Chen, Alan Z.; Coggeshall, Megan; Cornaby, Leslie; Dandona, Lalit; Dicker, Daniel J.; Dilegge, Tina; Erskine, Holly E.; Ferrari, Alize J.; Fitzmaurice, Christina; Fleming, Tom; Forouzanfar, Mohammad H.; Fullman, Nancy; Gething, Peter W.; Goldberg, Ellen M.; Graetz, Nicholas; Haagsma, Juanita A.; Hay, Simon I.; Johnson, Catherine O.; Kassebaum, Nicholas J.; Kawashima, Toana; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
- ↑ 9.0 9.1 Wang, Haidong; Naghavi, Mohsen; Allen, Christine; Barber, Ryan M.; Bhutta, Zulfiqar A.; Carter, Austin; Casey, Daniel C.; Charlson, Fiona J.; Chen, Alan Zian; Coates, Matthew M.; Coggeshall, Megan; Dandona, Lalit; Dicker, Daniel J.; Erskine, Holly E.; Ferrari, Alize J.; Fitzmaurice, Christina; Foreman, Kyle; Forouzanfar, Mohammad H.; Fraser, Maya S.; Fullman, Nancy; Gething, Peter W.; Goldberg, Ellen M.; Graetz, Nicholas; Haagsma, Juanita A.; Hay, Simon I.; Huynh, Chantal; Johnson, Catherine O.; Kassebaum, Nicholas J.; Kinfu, Yohannes; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
- ↑ Carbonetti NH (June 2007). "Immunomodulation in the pathogenesis of Bordetella pertussis infection and disease". Curr Opin Pharmacol. 7 (3): 272–8. doi:10.1016/j.coph.2006.12.004. PMID 17418639.
- ↑ "Pertussis (Whooping Cough) Fast Facts". cdc.gov. February 13, 2014. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ "Pertussis". WHO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2015. สืบค้นเมื่อ 23 March 2016.
- ↑ "Revised guidance on the choice of pertussis vaccines: July 2014" (PDF). Relevé Épidémiologique Hebdomadaire. 89 (30): 337–40. July 2014. PMID 25072068. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2015.
- ↑ "Pertussis vaccines: WHO position paper". Relevé Épidémiologique Hebdomadaire. 85 (40): 385–400. October 2010. PMID 20939150.
- ↑ "Pertussis (Whooping Cough) Prevention". cdc.gov. 10 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2015. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
- ↑ 16.0 16.1 Wang K, Bettiol S, Thompson MJ, Roberts NW, Perera R, Heneghan CJ, Harnden A (September 2014). "Symptomatic treatment of the cough in whooping cough". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 9 (9): CD003257. doi:10.1002/14651858.CD003257.pub5. PMC 7154224. PMID 25243777.
- ↑ GBD 2013 Mortality Causes of Death Collaborators (January 2015). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990–2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385 (9963): 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442.
{{cite journal}}
:|author1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ 18.0 18.1 18.2 Atkinson W (May 2012). Pertussis Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases (12th ed.). Public Health Foundation. pp. 215–230. ISBN 9780983263135. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2017.
- ↑ Cornia PB, Hersh AL, Lipsky BA, Newman TB, Gonzales R (August 2010). "Does this coughing adolescent or adult patient have pertussis?". JAMA. 304 (8): 890–6. doi:10.1001/jama.2010.1181. PMID 20736473. S2CID 14430946.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อEb2017
- ↑ Pedro-Pons, Agustín (1968). Patología y Clínica Médicas (ภาษาสเปน). Vol. 6 (3rd ed.). Barcelona: Salvat. p. 615. ISBN 84-345-1106-1.
- ↑ Finger H, von Koenig CH (1996). "Bordetella". ใน Baron S, และคณะ (บ.ก.). Bordetella–Clinical Manifestations. In: Barron's Medical Microbiology (4th ed.). Univ of Texas Medical Branch. ISBN 0-9631172-1-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2007.
- ↑ "Pertussis | Whooping Cough | Vaccination | CDC". www.cdc.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2017. สืบค้นเมื่อ 27 May 2017.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCochrane2014