โจโม เคนยัตตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจโม เคนยัตตา
เคนยัตตาในปี พ.ศ. 2509
ประธานาธิบดีเคนยา คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม พ.ศ. 2507 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521
รองประธานาธิบดีจาราโมกี โอกินกา โอดินกา
โจเซฟ มูรุมบี
แดเนียล อารัป โมอี
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในฐานะ พระราชินีแห่งเคนยา
ถัดไปแดเนียล อารัป โมอี
นายกรัฐมนตรีเคนยา คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2506 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2507
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
ถัดไปไรลา โอดินดา (2551)
ประธานแห่งขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2521
ก่อนหน้าเจมส์ กิชูรู
ถัดไปแดเนียล อารัป โมอี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
คาเมา วา มูไก

ป. พ.ศ. 2440
งินดา, บริติชแอฟริกาตะวันออก
เสียชีวิต22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 (81 ปี)
โมมบาซา, จังหวัดโคสท์, ประเทศเคนยา
ที่ไว้ศพไนโรบี, ประเทศเคนยา
เชื้อชาติเคนยา
พรรคการเมืองขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา (KANU)
คู่สมรสเกรซ วาฮู (m. 2462)
เอ็ดนา คาร์เก (2485–2489)
เกรซ วาจินกู (d. 2493)
งินา เคนยัตตา (สมรส 2494)
บุตร
8
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน, โรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน

โจโม เคนยัตตา (อังกฤษ: Jomo Kenyatta) (ป. พ.ศ. 2440 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521) เป็นนักการเมืองชาวเคนยา ดำรงตำแหน่งในฐานะผู้นำคนแรกของเคนยาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2521 ได้รับการยกย่องในฐานะ บิดาแห่งประเทศเคนยา[1]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา[แก้]

เขาเกิดในครอบครัวชาวนาชนเผ่าคิกุยู เมืองเกียมบู บริติชแอฟริกาตะวันออก เขาศึกษาในโรงเรียนของมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในถิ่นที่เขาอยู่ และเส้นทางการเมืองของเขาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาเข้าร่วมกับสมาคมชนเผ่าคิกุยู ใน พ.ศ. 2472 เขาได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาเรื่องที่ดินของชาวคิกุยู ใน พ.ศ. 2473 เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์แห่งทอยเลอร์ตะวันออกที่กรุงมอสโก[2] จากนั้นเขาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน[3] และโรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้ตีพิมพ์วิจัยเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเกี่ยวกับชนเผ่าคิกุยู และเขาได้ทำงานในฟาร์มในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเขาได้ร่วมกับจอร์จ แพตมอร์ เพื่อนของเขาได้รวบรวมชาวแอฟริกันในพื้นที่เพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ

เส้นทางการเมือง[แก้]

เคนยัตตากับไฮน์ริช ลึพเคอ ประธานาธิบดีเยอรมนี ณ ขณะนั้น เมื่อ พ.ศ. 2509

เขากลับมายังประเทศเคนยาเมื่อ พ.ศ. 2489 และได้เป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ใน พ.ศ. 2490 เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานแห่งสหภาพเคนยาแอฟริกัน[4] ซึ่งเขาพยายามรวบรวมชนพื้นเมืองต่างๆ ประกาศเอกราชจากอังกฤษซึ่งเขาได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าต่างๆ ในประเทศเป็นอย่างดี แต่เขากลับถูกต่อต้านจากกลุ่มคนในพื้นที่ที่ผิวขาว ใน พ.ศ. 2495 เขาจึงถูกจำคุกพร้อมกับแกนนำอีก 5 คน ในกลุ่มที่เรียกว่า คาเปนกูเรียซิกซ์ ในคดีกบฎเมาเมา (Mau Mau Uprising)[5] แม้ว่าเขาจะชุมนุมอย่างสันติก็ตาม อย่างไรก็ดี เขายังถูกจำคุกที่โลกิตวงจนได้รับอิสรภาพในปี พ.ศ. 2502[6] และถูกเรเทศไปยังลอดวาร์ จนถึง พ.ศ. 2504[7]

หลังเขาได้รับอิสรภาพ เขาเป็นประธานขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา และเขาได้นำพรรคสู่ชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไปของเคนยาในปี พ.ศ. 2506[8] และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเขาได้ดำเนินนโยบายให้เคยนยาถอนตัวจากเครือจักรภพและเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐเอกราชระบอบสาธารณรัฐและได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเคนยาเมื่อปี พ.ศ. 2507[9] ในระหว่างการเป็นประธานาธิบดี เคนยาเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในสงครามเย็น และต่อต้านสังคมนิยม ในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากในเรื่องการทุจริตทางการเมือง[10]

บั้นปลายชีวิต[แก้]

เขาเริ่มป่วยด้วยโรคหัวใจในปี พ.ศ. 2509[11] และได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 สิริอายุได้ 81 ปี ซึ่งรัฐพิธีศพของเขาถูกจัดขึ้นที่โบสถ์เพรสไบทีเรียนเซนต์แอนดรูว์หลังการถึงแก่อสัญกรรมของเขาเพียงหกวัน โดยเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงร่วมรัฐพิธีศพของเขาด้วย[12] และมีผู้นำจากทวีปแอฟริกามาร่วมพิธีศพของเขา อาทิ อีดี อามิน เคนเนต ควนตา ฮาสติงส์ แบนดา รวมถึงโมรารชี เทสาอี นายกรัฐมนตรีอินเดีย และโมฮัมหมัด เซีย อุล ฮัก ประธานาธิบดีปากีสถาน ก็ร่วมรัฐพิธีศพของเขาเช่นกัน[13] ร่างของเขาถูกฝังในสุสานบริเวณรัฐสภา

สิ่งสืบเนื่อง[แก้]

ชื่อของเขาถูกนำไปตั้งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติโจโมเคนยัตตาเพื่อให้เกียรติแก่เขา และลูกชายของเขาอูฮูรู เคนยัตตาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 4 ของประเทศเคนยา[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. Murray-Brown 1974, p. 315; Arnold 1974, p. 166; Bernardi 1993, p. 168; Cullen 2016, p. 516.
  2. Murray-Brown 1974, p. 167; Berman & Lonsdale 1998, p. 27; Maloba 2018, pp. 69–71.
  3. Murray-Brown 1974, p. 180; Assensoh 1998, p. 46.
  4. Murray-Brown 1974, p. 226; Maloba 2018, p. 113.
  5. Maloba 2018, p. 121.
  6. Murray-Brown 1974, p. 296; Maloba 2018, p. 140.
  7. Murray-Brown 1974, p. 296; Maloba 2018, pp. 140, 143.
  8. Murray-Brown 1974, p. 303; Kyle 1997, p. 49.
  9. Lonsdale 2006, p. 99.
  10. Maloba, W. O. (2017). The Anatomy of Neo-Colonialism in Kenya: British Imperialism and Kenyatta, 1963–1978. African Histories and Modernities (ภาษาอังกฤษ). Palgrave Macmillan. ISBN 978-3-319-50964-8.
  11. Murray-Brown 1974, p. 320; Maloba 2017, p. 238.
  12. Cullen 2016, pp. 524, 526; Maloba 2017, p. 314.
  13. Maloba 2017, p. 316.
  14. Jason Patinkin in Nairobi. "Uhuru Kenyatta's election victory is denounced by Kenya's supreme court 2017". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Jomo Kenyatta