โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
หน้าตา
โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(Greater Mekong subregional-GMS)หรือ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า สปป.ลาว กัมพูชา จีน(ยูนนาน) และเวียดนาม เริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยรัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาเอเชีย ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลัก มีพื้นที่รวมกันประมาณ ๒ ล้าน ๓ แสน ตารางกิโลเมตร หรือประมาณพื้นที่ยุโรปตะวันตก มีประชากรรวมกันประมาณ ๒๕๐ ล้านคน และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1][2]
การศึกษาโครงการ
[แก้]- การศึกษาระยะที่ ๑:กำหนดขอบเขตโครงการแต่ละสาขา และโครงการความร่วมมือที่มีโอกาสและศักยภาพในการพัฒนา แล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖
- การศึกษาระยะที่ ๒ :กำหนดขอบเขตและแผนการดำเนินงาน รวมทั้งข้อเสนอทางเทคนิคที่ใช้ในการพิจารณา และจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ซึ่งแบ่งความร่วมมือเป็น ๗ สาขาใหญ่ ได้แก่ สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาพลังงาน สาขาสื่อสารโทรคมนาคม สาขาท่องเที่ยว สาขาการค้าและการลงทุน สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาขาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- การศึกษาระยะที่ ๓:การจัดทำวิสัยทัศน์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ จนถึงปี 2563(GMS 2020)อยู่ระหว่างการดำเนินการ
วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ
[แก้]- ส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ เพื่อก่อเกิดการจ้างงาน และยกระดับการครองชีพของประชาชนในพื้นที่
- ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน
- ให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก
- เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้(Southern Economic Corridor) จุดเริ่มต้นจากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ไปจรดชายแดนไทย-กัมพูชาที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว รวมระยะทางประมาณ ๒๔๕ กิโลเมตร จากจุดผ่านแดนถาวรคลองลึก-ปอยเปตเข้าสู่เขตแดนกัมพูชา เชื่อมต่อเส้นทางหมายเลข 5 ของกัมพูชาผ่านจังหวัดบันเตียเมียเจย พระตะบอง โพธิสัตว์ กัมปงชะนัง เข้าสู่กรุงพนมเปญ อันเป็นการสิ้นสุดทางหมายเลข 5 รวมระยะทางประมาณ 420 กิโลเมตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-01. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
- ↑ http://isc.ru.ac.th/data/PS0004433.doc[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.asia.tu.ac.th/ieas/Indochina/South_Corridor.ppt