แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี
แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Rodentia |
วงศ์: | Cricetidae |
วงศ์ย่อย: | Cricetinae |
สกุล: | Phodopus |
สปีชีส์: | P. roborovskii |
ชื่อทวินาม | |
Phodopus roborovskii (Satunin, 1903) | |
ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของ P. roborovskii | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี หรือ แฮมสเตอร์ทะเลทราย (อังกฤษ: Roborovski hamster, Desert hamsters; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phodopus roborovskii) สัตว์ฟันแทะขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกแฮมสเตอร์ นิยมเป็นสัตว์เลี้ยง มีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า โรโบ (Robos)
แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี จัดเป็นแฮมสเตอร์แคระชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Phodopus เป็นแฮมสเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก เมื่อโตเต็มที่มีความยาวเพียง 2 นิ้วเท่านั้น มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ขนนุ่มสั้น สีขนออกไปทางสีทอง และสีน้ำตาล โดยจะไล่สีกันไประหว่างสีเข้มจนถึงจางลง เส้นหนวดยาว ตากลมโตสีดำ อาศัยอยู่ในธรรมชาติแถบทะเลทรายหรือที่แห้งแล้งที่จีน, มองโกเลีย, รัสเซีย โดยพบได้ในพื้นที่สูงถึง 1,200 เมตร (3,900 ฟุต)–1,450 เมตร (4,760 ฟุต) แม้จะไม่พบหลักฐานถึงการมีอยู่ของซากดึกดำบรรพ์ก็ตาม.[3][4] อาศัยอยู่โดยใช้การขุดโพรง ข้างในจะมีวัสดุปูพื้นจำพวกเศษหญ้า และยังใช้เป็นที่เก็บสะสมอาหาร
แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี เป็นแฮมสเตอร์ที่เลี้ยงง่าย กินง่าย กินอาหารน้อย นอนหลับพักผ่อนในเวลากลางวัน ตกกลางคืนจะตื่นตัว ปัจจุบันได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างยิ่ง มีหลากหลายสี หลากหลายสายพันธุ์ ทั้ง สีดั้งเดิมตามธรรมชาติ, โรโบรอฟสกีหน้าขาว, โรโบรอฟสกีแพลตตินัม และล่าสุด โรโบรอฟสกีเพิร์ลพายด์ โดยสายพันธุ์นี้ผู้ที่เพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จเป็นนักเลี้ยงและนักขยายพันธุ์ชาวไทย โดยนำสายพันธุ์โรโบรอฟสกีแพลตตินัม ไปผสมพันธุ์กับสายพันธุ์ โรโบรอฟสกีคลาสสิกพายด์ [5]
คลังภาพ
[แก้]-
สายพันธุ์หน้าขาว
-
ตัวเมีย
-
ภาพจากด้านบน
-
วัยอ่อนอายุ 15 วัน
-
ในแสตมป์ของคาซักสถาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Shar, S. & Lkhagvasuren, D. (2008). Phodopus roborovski. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 14 Jule 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern.
- ↑ "Cricetulus bedfordiae Thomas, 1908". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 15 May 2016.
- ↑ Oldfield, Thomas (April 1908). "The Duke of Bedford's Zoological Exploration in Eastern Asia. - XI. On Mammals from the Provinces of Shan-si and Shen-si, Northern China". Proceedings of the Zoological Society of London. 78 (4): 963–983. doi:10.1111/j.1469-7998.1908.00963.x. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
- ↑ Topál, GY. (1973). O.G, Dely (บ.ก.). "Zur Säugetier-Fauna der Mongolei. Ergebnisse der zoologischen Forschungen von Dr. Z. Kaszab in der Mongolei. Nr. 322" [On the mammalian fauna of Mongolia. Results of the zoological research of Dr. Z. Kaszab in Mongolia. # 322] (PDF). Vertebrata hungarica Musei historico-naturalis hungarici (ภาษาเยอรมัน). Népművelési Propaganda Iroda, Budapest. 14: 47–100. ISSN 0506-7839. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
- ↑ หน้า 28 คนรักสัตว์เลี้ยง, 'ชาญชัย' ผู้เพาะพันธุ์หนูแฮมสเตอร์สายพันธุ์โรโบรอฟสกี้เพิร์ลพายด์คนแรก. "วาไรตี้ "สัตว์เลี้ยง" ". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,321: วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Phodopus roborovskii ที่วิกิสปีชีส์