แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
วงศ์: Cricetidae
วงศ์ย่อย: Cricetinae
สกุล: Phodopus
สปีชีส์: P.  roborovskii
ชื่อทวินาม
Phodopus roborovskii
(Satunin, 1903)
ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของ P. roborovskii
ชื่อพ้อง[2]
  • Cricetulus bedfordiae Thomas, 1908

แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี หรือ แฮมสเตอร์ทะเลทราย (อังกฤษ: Roborovski hamster, Desert hamsters; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phodopus roborovskii) สัตว์ฟันแทะขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกแฮมสเตอร์ นิยมเป็นสัตว์เลี้ยง มีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า โรโบ (Robos)

แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี จัดเป็นแฮมสเตอร์แคระชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Phodopus เป็นแฮมสเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก เมื่อโตเต็มที่มีความยาวเพียง 2 นิ้วเท่านั้น มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ขนนุ่มสั้น สีขนออกไปทางสีทอง และสีน้ำตาล โดยจะไล่สีกันไประหว่างสีเข้มจนถึงจางลง เส้นหนวดยาว ตากลมโตสีดำ อาศัยอยู่ในธรรมชาติแถบทะเลทรายหรือที่แห้งแล้งที่จีน, มองโกเลีย, รัสเซีย โดยพบได้ในพื้นที่สูงถึง 1,200 เมตร (3,900 ฟุต)–1,450 เมตร (4,760 ฟุต) แม้จะไม่พบหลักฐานถึงการมีอยู่ของซากดึกดำบรรพ์ก็ตาม.[3][4] อาศัยอยู่โดยใช้การขุดโพรง ข้างในจะมีวัสดุปูพื้นจำพวกเศษหญ้า และยังใช้เป็นที่เก็บสะสมอาหาร

แฮมสเตอร์โรโบรอฟสกี เป็นแฮมสเตอร์ที่เลี้ยงง่าย กินง่าย กินอาหารน้อย นอนหลับพักผ่อนในเวลากลางวัน ตกกลางคืนจะตื่นตัว ปัจจุบันได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างยิ่ง มีหลากหลายสี หลากหลายสายพันธุ์ ทั้ง สีดั้งเดิมตามธรรมชาติ, โรโบรอฟสกีหน้าขาว, โรโบรอฟสกีแพลตตินัม และล่าสุด โรโบรอฟสกีเพิร์ลพายด์ โดยสายพันธุ์นี้ผู้ที่เพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จเป็นนักเลี้ยงและนักขยายพันธุ์ชาวไทย โดยนำสายพันธุ์โรโบรอฟสกีแพลตตินัม ไปผสมพันธุ์กับสายพันธุ์ โรโบรอฟสกีคลาสสิกพายด์ [5]

คลังภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Shar, S. & Lkhagvasuren, D. (2008). Phodopus roborovski. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 14 Jule 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern.
  2. "Cricetulus bedfordiae Thomas, 1908". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 15 May 2016.
  3. Oldfield, Thomas (April 1908). "The Duke of Bedford's Zoological Exploration in Eastern Asia. - XI. On Mammals from the Provinces of Shan-si and Shen-si, Northern China". Proceedings of the Zoological Society of London. 78 (4): 963–983. doi:10.1111/j.1469-7998.1908.00963.x. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
  4. Topál, GY. (1973). O.G, Dely (บ.ก.). "Zur Säugetier-Fauna der Mongolei. Ergebnisse der zoologischen Forschungen von Dr. Z. Kaszab in der Mongolei. Nr. 322" [On the mammalian fauna of Mongolia. Results of the zoological research of Dr. Z. Kaszab in Mongolia. # 322] (PDF). Vertebrata hungarica Musei historico-naturalis hungarici (ภาษาเยอรมัน). Népművelési Propaganda Iroda, Budapest. 14: 47–100. ISSN 0506-7839. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
  5. หน้า 28 คนรักสัตว์เลี้ยง, 'ชาญชัย' ผู้เพาะพันธุ์หนูแฮมสเตอร์สายพันธุ์โรโบรอฟสกี้เพิร์ลพายด์คนแรก. "วาไรตี้ "สัตว์เลี้ยง" ". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,321: วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Phodopus roborovskii ที่วิกิสปีชีส์