ข้ามไปเนื้อหา

แอลพีจีเอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แอลพีจีเอ (อังกฤษ: LPGA; Ladies Professional Golf Association) เป็นองค์กรกอล์ฟอาชีพสำหรับสตรี มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เดย์โทนาบีช, รัฐฟลอริดา มักรู้จักกันในนาม แอลพีจีเอทัวร์ จะมีการจัดการแข่งขันกอล์ฟสำหรับสตรีในแต่ละสัปดาห์ของแต่ละฤดูกาล ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนธันวาคมของปี

ประวัติและการก่อตั้งองค์กร

[แก้]

องค์กรกอล์ฟสตรีหรือแอลพีจีเอนั้นความจริงแล้วมีอยู่ทั่วโลก ซึ่งในแต่ละประเทศนั้นก็จะมีองค์กรแอลพีจีเอของตนเอง ซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป แต่สำหรับองค์กรแอลพีจีเอของสหรัฐอเมริกานั้น ถือเป็นองค์กรที่ใหญ่และมีผู้รู้จักมากที่สุด รวมถึงมีนักกอล์ฟสตรีชั้นนำจากแต่ละประเทศทั่วโลกร่วมเข้าแข่งขันในทัวร์นี้

แอลพีจีเอนั้นก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1950 โดยกลุ่มนักกอล์ฟ 13 คน ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรกีฬาสตรีของสหรัฐอเมริกาที่มีความเก่าแก่ที่สุด โดยมี ไมค์ วาน อดีตผู้บริหารการตลาดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬา รับตำแหน่งเป็นประธานบริหารแอลพีจีเอทัวร์คนปัจจุบัน โดยดำรงตำแหน่งเป็นคนที่ 8 ซึ่งรับตำแหน่งต่อจาก แครอลีน ไบเวนส์ ที่ลาออกเนื่องจากถูกกดดันและประท้วงจากผู้เล่นแอลพีจีเอทัวร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 ในขณะที่ไบเวนส์ลาออกนั้น แอลพีจีเอทัวร์มีรายการแข่งขันเหลือเพียง 14 รายการ เนื่องจากไบเวนส์ไม่สามารถลงนามสัญญาเพื่อการแข่งขันสำคัญหลายๆรายการได้ ทำให้เกิดความไม่พอใจของนักกอล์ฟในแอลพีจีเอทัวร์

นอกจากแอลพีจีเอทัวร์ที่เป็นทัวร์หลักแล้ว องค์กรแอลพีจีเอยังเป็นเจ้าของ แอลพีจีเอฟิวเจอร์ทัวร์ ซึ่งเป็นทัวร์ที่พัฒนานักกอล์ฟเข้าสู่แอลพีจีเอทัวร์ โดยผู้เล่นที่ทำอันดับเงินรางวัลอยู่ในลำดับต้นๆของฟิวเจอร์ทัวร์ในแต่ละปี จะได้รับสิทธิ์ให้เข้าเล่นในแอลพีจีเอทัวร์ในปีถัดไป

นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนควอลิฟายด์ (Qualifying School) โดยนักกอล์ฟที่ผ่านการควอลิฟายด์ ก็จะได้รับสิทธิ์ให้เข้าเล่นในแอลพีจีเอทัวร์เช่นเดียวกัน

เงินรางวัลและการแข่งขัน

[แก้]

ในปี 2010 เงินรางวัลรวมทั้งหมดของแอลพีจีเอทัวร์อยู่ที่ 41.4 ล้านเหรียญ ซึ่งลดลงจากปี 2009 ถึง 6 ล้านเหรียญ ในปี 2010 นั้นมีการแข่งขันอย่างเป็นทางการทั้งหมด 24 รายการ ลดลงจาก 28 รายการในปี 2009 และ 34 รายการในปี 2008 แต่ถึงแม้การแข่งขันนั้นจะลดจำนวนลง ในปี 2010 จำนวนการแข่งขันที่จัดขึ้นนอกสหรัฐอเมริกานั้นยังคงอยู่เช่นเดิม ทั้ง 4 รายการแข่งขันที่หายไปนั้นล้วนเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นในสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น และในปี 2016 จำนวนการแข่งขันได้เพิ่มขึ้นเป็น 33 รายการ และมีเงินรางวัลรวมอยู่ที่ 63 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นเงินรางวัลที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของแอลพีจีเอทัวร์

แอลพีจีเอนานาชาติ

[แก้]

ในยุคแรกของการเริ่มต้น แอลพีจีเอนั้นประกอบไปด้วยผู้เล่นอเมริกันเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่ง แซนดรา โพสท์ นักกอล์ฟจากแคนาดา กลายเป็นนักกอล์ฟต่างชาติคนแรกที่ได้รับสิทธิ์ให้เล่นในแอลพีจีเอทัวร์ในปี 1968 ปัจจุบันผู้เล่นนานาชาติได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในแอลพีจีเอทัวร์เป็นอย่างมาก ครั้งล่าสุดที่นักกอล์ฟอเมริกันทำเงินรางวัลได้สูงสุดคือในปี 2014 โดย สเตซี ลูอิส ซึ่งเป็นนักกอล์ฟอเมริกันที่ทำได้ในรอบ 20 ปี, ชนะการแข่งขันมากที่สุด เมื่อปี 2012 โดย สเตซี ลูอิส เช่นกัน ซึ่งเป็นนักกอล์ฟอเมริกันที่ทำได้ในรอบ 15 ปี และตั้งแต่ปี 2000-2009 มีผู้เล่นนานาชาติชนะการแข่งขันรายการเมเจอร์ทั้งหมด 31 จาก 40 รายการ

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 เห็นได้ชัดที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของนักกอล์ฟจากประเทศเกาหลีใต้ โดยมี เซ ริ พัค เป็นผู้จุดประกายให้กับนักกอล์ฟหญิงชาวเกาหลีใต้ให้เข้าสู่แอลพีจีเอทัวร์ โดยในปี 2009 มีผู้เล่นในแอลพีจีเอทัวร์ที่ไม่ใช่ผู้เล่นอเมริกันถึง 122 คน จาก 27 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจาก 122 คนนั้นเป็นผู้เล่นจากเกาหลีใต้ถึง 47 คน และจากจำนวน 33 รายการแข่งขันในปี 2006 มีเพียง 7 รายการเท่านั้น ที่ผู้ชนะเป็นผู้เล่นอเมริกัน, ในปี 2007 ผู้เล่นอเมริกันได้แชมป์เพิ่มขึ้นเป็น 12 รายการ และเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2000 ที่ผู้เล่นอเมริกันชนะ 2 รายการเมเจอร์, ในปี 2008 ผู้เล่นอเมริกันเริ่มมีการพัฒนามากขึ้น โดยชนะการแข่งขัน 9 จาก 34 รายการ เท่ากับผู้เล่นเกาหลีใต้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นอเมริกันไม่สามารถชนะรายการเมเจอร์ได้เลยในปีนี้, ในปี 2009 ผู้เล่นอเมริกันชนะ 5 จาก 28 รายการ รวมถึงรายการเมเจอร์ 1 รายการ ในขณะที่ผู้เล่นเกาหลีใต้นั้นชนะไป 11 รายการ

การแข่งขันในแอลพีจีเอทัวร์

[แก้]

การแข่งขันในแอลพีจีเอทัวร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2010 มี 2 รายการถูกจัดขึ้นในประเทศเม็กซิโก และอย่างละ 1 รายการในประเทศต่างๆ ได้แก่ สิงคโปร์, แคนาดา, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, มาเลเซีย, เกาหลีใต้, ไทย และ ญี่ปุ่น และยังมีการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการ ที่จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล และ จาเมกา ด้วย, ในปี 2011 รายการที่จาเมกาได้ถูกยกเลิกไป รายการที่อังกฤษถูกย้ายไปที่สก็อตแลนด์ และยังเพิ่มประเทศที่จัดการแข่งขันขึ้นอีก ได้แก่จีนและไต้หวัน และสำหรับการแข่งขันกอล์ฟระหว่างทีมยุโรปกับทีมสหรัฐอเมริกา โซลเฮม คัพ ในปีนี้จะจัดขึ้นที่ประเทศไอร์แลนด์

5 รายการแข่งขันที่จัดขึ้นนอกทวีปอเมริกาเหนือนั้นเป็นความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ได้แก่ รายการเดอะ เอเวียง แชมป์เปี้ยนชิพ และ วีเมนส์ บริติช โอเพ่น จัดร่วมกับ เลดี้ส์ยูโรเปี้ยนทัวร์, รายการ วีเมนส์ ออสเตรเลียน โอเพ่น (จัดร่วมกับ แอลพีจีเอออสเตรเลีย), รายการแอลพีจีเอ ฮานา แบงค์ แชมป์เปี้ยนชิพ (จัดร่วมกับ แอลพีจีเอเกาหลี) และรายการมิซูโน่ คลาสสิก (จัดร่วมกับ แอลพีจีเอญี่ปุ่น) ซึ่งทั้งสองรายการได้จัดขึ้นในทวีปเอเชีย

รายการเมเจอร์ของแอลพีจีเอทัวร์ปัจจุบัน ประกอบด้วย 5 รายการ ได้แก่:

แอลพีจีเอ เพลย์ออฟ

[แก้]

ในปี 2006-2008 แอลพีจีเอทัวร์จะมีรายการแข่งขันรายการสุดท้ายของปี ที่รู้จักกันในชื่อของ เอดีที แชมป์เปี้ยนชิพ ต่อมาในปี 2009 และ 2010 ได้เปลี่ยนเป็นรายการ แอลพีจีเอ ทัวร์ แชมป์เปี้ยนชิพ และในปี 2011 ได้เปลี่ยนเป็นรายการ ซีเอ็มอี กรุ๊ป ไตเติลโฮลเดอร์ ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน จนถึงปัจจุบัน

สำหรับรายการ ซีเอ็มอี กรุ๊ป ไตเติลโฮลเดอร์ นั้นจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2011 ซึ่งจะคัดเอา 3 ผู้เล่นที่มีผลงานดีที่สุดในแต่ละรายการของแอลพีจีเอทัวร์ตลอดทั้งฤดูกาล ผ่านเข้ามาเล่นในการแข่งขัน โดยใช้รูปแบบการคัดเลือกนี้ตั้งแต่ปี 2011-2013, ในปี 2014 เป็นต้นมาจะใช้รูปแบบของการเก็บคะแนนสะสมตลอดทั้งฤดูกาลแทน

สถิติ

[แก้]
ปี จำนวน ประเทศ สหรัฐอเมริกา ต่างประเทศ เงินรางวัล
2017 34 15 17 17 67,650,000
2016 33 14 18 15 63,200,000
2015 31 14 17 14 59,100,000
2014 32 14 17 15 57,550,000
2013 28 14 14 14 48,900,000
2012 27 12 15 12 47,000,000
2011 23 11 13 10 41,500,000
2010 24 10 14 10 41,400,000
2009 28 9 18 10 47,600,000
2008 34 8 24 10 60,300,000
2007 31 8 23 8 54,285,000
2006 33 8 25 8 50,275,000
2005 32 7 25 7 45,100,000
2004 32 6 27 5 42,875,000

รางวัลของแอลพีจีเอทัวร์

[แก้]

ปัจจุบันแอลพีจีเอทัวร์มีการมอบรางวัลด้วยกัน 3 รางวัล ได้แก่

  • The Rolex Player 30 คะแนน 12 คะแนน 9 คะแนน 7 คะแนน 6 คะแนน 5 คะแนน 4 คะแนน 3 คะแนน 2 คะแนน 1 คะแนน
  • The Vare Trophy หรือ รางวัลถ้วยโทรฟี่ มอบให้กับผู้เล่นที่ทำคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดของปี
  • The Louise Suggs Rolex Rookie of the Year Award หรือ รางวัลผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปี มอบให้กับผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีคะแนนสะสมสูงที่สุด

1978 แนนซี โลเปซ นักกอล์ฟชาวอเมริกันผู้เล่นคนเดียวประวัติศาสตร์แอลพีจีเอทัวร์สามารถชนะรางวัลพิเศษ 3 รางวัล ยังเป็นผู้เล่นที่ทำเงินรางวัลได้สูงสุด รวมถึงชนะการรายการแข่งขันมากที่สุดในปีนั้นอีกด้วย

ปี ผู้เล่นยอดเยี่ยม วาร์โทรฟี่ ผู้เล่นหน้าใหม่
2023 สหรัฐ Lilia Vu ไทย อาฒยา ฐิติกุล[1] เกาหลีใต้ Ryu Hae-ran
2022 นิวซีแลนด์ ลิเดีย โค นิวซีแลนด์ ลิเดีย โค ไทย อาฒยา ฐิติกุล[2]
2021 เกาหลีใต้ จิน ยอง โค นิวซีแลนด์ ลิเดีย โค ไทย ปภังกร ธวัชธนกิจ[3]
2020 เกาหลีใต้ เซ ยอง คิม สหรัฐ แดเนี่ยลล์ คัง
2019 เกาหลีใต้ จิน ยอง โค เกาหลีใต้ จิน ยอง โค เกาหลีใต้ Lee Jeong-eun
2018 ไทย เอรียา จุฑานุกาล[4] ไทย เอรียา จุฑานุกาล เกาหลีใต้ จิน ยอง โค[5]
2017 เกาหลีใต้ ซอง ฮยอน ปาร์ค
เกาหลีใต้ โซ ยอน รยู
สหรัฐ เล็กซี ทอมป์สัน เกาหลีใต้ ซอง ฮยอน ปาร์ค[6]
2016 ไทย เอรียา จุฑานุกาล เกาหลีใต้ อิน จี ชอน เกาหลีใต้ อิน จี ชอน
2015 นิวซีแลนด์ ลิเดีย โค เกาหลีใต้ อินบี ปาร์ค เกาหลีใต้ เซ ยอง คิม
2014 สหรัฐ สเตซี ลูอิส สหรัฐ สเตซี ลูอิส นิวซีแลนด์ ลิเดีย โค
2013 เกาหลีใต้ อินบี ปาร์ค สหรัฐ สเตซี ลูอิส ไทย โมรียา จุฑานุกาล
2012 สหรัฐ สเตซี ลูอิส เกาหลีใต้ อินบี ปาร์ค เกาหลีใต้ โซ ยอน รยู
2011 ไต้หวัน เจิ้ง หย่าหนี ไต้หวัน เจิ้ง หย่าหนี เกาหลีใต้ ฮี คยอง ซอ
2010 ไต้หวัน เจิ้ง หย่าหนี เกาหลีใต้ นา ยอน ชเว สเปน อซาฮารา มูนอซ
2009 เม็กซิโก ลอเรนา โอชัว เม็กซิโก ลอเรนา โอชัว เกาหลีใต้ จีไย ชิน
2008 เม็กซิโก ลอเรนา โอชัว เม็กซิโก ลอเรนา โอชัว ไต้หวัน เจิ้ง หย่าหนี
2007 เม็กซิโก ลอเรนา โอชัว เม็กซิโก ลอเรนา โอชัว บราซิล แองเจลา ปาร์ค
2006 เม็กซิโก ลอเรนา โอชัว เม็กซิโก ลอเรนา โอชัว เกาหลีใต้ ซอน ฮวา ลี
2005 สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม สหรัฐ พอลลา ครีมเมอร์
2004 สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม เกาหลีใต้ เกรซ ปาร์ค เกาหลีใต้ ชี ฮยอน อัน
2003 สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม เกาหลีใต้ เซ ริ พัค เม็กซิโก ลอเรนา โอชัว
2002 สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม สหรัฐ เบธ เบาเออร์
2001 สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม เกาหลีใต้ ฮี วอน ฮัน
2000 ออสเตรเลีย แคร์รี เว็บบ์ ออสเตรเลีย แคร์รี เว็บบ์ สหรัฐ โดโรธี เดลาซิน
1999 ออสเตรเลีย แคร์รี เว็บบ์ ออสเตรเลีย แคร์รี เว็บบ์ เกาหลีใต้ มี ฮยอน คิม
1998 สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม เกาหลีใต้ เซ ริ พัค
1997 สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม ออสเตรเลีย แคร์รี เว็บบ์ อังกฤษ ลิซ่า แฮคนีย์
1996 อังกฤษ ลอรา เดวีส์ สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม ออสเตรเลีย แคร์รี เว็บบ์
1995 สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม สหรัฐ แพท เฮิร์สท์
1994 สหรัฐ เบธ แดเนียล สหรัฐ เบธ แดเนียล สวีเดน แอนนิกา โซเรนสตัม
1993 สหรัฐ เบตซี คิง สหรัฐ เบตซี คิง อังกฤษ ซูซาน สตรัดวิค
1992 สหรัฐ ดอตตี เปปเปอร์ สหรัฐ ดอตตี เปปเปอร์ สวีเดน เฮเลน อัลเฟรดส์สัน
1991 สหรัฐ แพท แบรดลีย์ สหรัฐ แพท แบรดลีย์ สหรัฐ แบรนดี เบอร์ตัน
1990 สหรัฐ เบธ แดเนียล สหรัฐ เบธ แดเนียล ญี่ปุ่น ฮิโรมิ โคบายาชิ

ผู้เล่นที่ทำเงินรางวัลสูงสุดในแต่ละปี

[แก้]
ปี ผู้เล่น ประเทศ เงินรางวัล ($) ผู้ชนะ
2023 Lilia Vu  สหรัฐ 3,502,303 4 – Celine Boutier, Lilia Vu
2022 ลิเดีย โค ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 4,364,403 3 – ลิเดีย โค, เจนนิเฟอร์ คุพโช
2021 จิน ยอง โค ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 3,502,161 5 – จิน ยอง โค
2020 จิน ยอง โค ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1,667,925 2 – แดเนี่ยลล์ คัง, เซ ยอง คิม
2019 จิน ยอง โค ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 2,773,894 4 – จิน ยอง โค
2018 เอรียา จุฑานุกาล  ไทย 2,743,949 3 – เอรียา จุฑานุกาล,ปาร์ค ซัง ฮุน
2017 ปาร์ค ซัง ฮุน ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 2,335,883 3 – เฝิงซานซาน,คิม อิน คยอง
2016 เอรียา จุฑานุกาล  ไทย 2,550,928 5 – เอรียา จุฑานุกาล
2015 ลิเดีย โค ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 2,800,802 5 – ลิเดีย โค,อินบี ปาร์ค
2014 สเตซี ลูอิส  สหรัฐ 2,539,039 3 – ลิเดีย โค,สเตซี ลูอิส,อินบี ปาร์ค
2013 อินบี ปาร์ค ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 2,456,619 6 – อินบี ปาร์ค
2012 อินบี ปาร์ค ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 2,287,080 4 – สเตซี ลูอิส
2011 เจิ้ง หย่าหนี ธงของสาธารณรัฐจีน ไต้หวัน 2,921,713 7 – เจิ้ง หย่าหนี
2010 นา ยอน ชเว ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1,871,166 5 – ไอ มิยาซาโตะ
2009 จีไย ชิน ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1,807,334 3 – จีไย ชิน, ลอเรนา โอชัว
2008 ลอเรนา โอชัว ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก 2,754,660 7 – ลอเรนา โอชัว
2007 ลอเรนา โอชัว ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก 4,364,994 8 – ลอเรนา โอชัว
2006 ลอเรนา โอชัว ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก 2,592,872 6 – ลอเรนา โอชัว
2005 แอนนิกา โซเรนสตัม ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 2,588,240 10 – แอนนิกา โซเรนสตัม
2004 แอนนิกา โซเรนสตัม ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 2,544,707 8 – แอนนิกา โซเรนสตัม
2003 แอนนิกา โซเรนสตัม ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 2,029,506 6 – แอนนิกา โซเรนสตัม
2002 แอนนิกา โซเรนสตัม ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 2,863,904 11 – แอนนิกา โซเรนสตัม
2001 แอนนิกา โซเรนสตัม ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 2,105,868 8 – แอนนิกา โซเรนสตัม
2000 แคร์รี เว็บบ์ ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1,876,853 7 – แคร์รี เว็บบ์
1999 แคร์รี เว็บบ์ ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1,591,959 6 – แคร์รี เว็บบ์
1998 แอนนิกา โซเรนสตัม ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 1,092,748 4 – แอนนิกา โซเรนสตัม, เซ ริ พัค
1997 แอนนิกา โซเรนสตัม ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 1,236,789 6 – แอนนิกา โซเรนสตัม
1996 แคร์รี เว็บบ์ ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1,002,000 4 – ลอรา เดวีส์, ดอตตี เปปเปอร์, แคร์รี เว็บบ์
1995 แอนนิกา โซเรนสตัม ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 666,533 3 – แอนนิกา โซเรนสตัม
1994 ลอรา เดวีส์  อังกฤษ 687,201 4 – เบธ แดเนียล
1993 เบตซี คิง  สหรัฐ 595,992 3 – แบรนดี เบอร์ตัน
1992 ดอตตี เปปเปอร์  สหรัฐ 693,335 4 – ดอตตี เปปเปอร์
1991 แพท แบรดลีย์  สหรัฐ 763,118 4 – แพท แบรดลีย์, เม็ก มัลลอน
1990 เบธ แดเนียล  สหรัฐ 863,578 7 – เบธ แดเนียล

ลิงก์

[แก้]
  1. "โปรจีน" อาฒยา คว้ารางวัลกอล์ฟ เกล็นนา คอลเลตต์ วาร์ โทรฟี 2023
  2. "Atthaya Thitikul Wins 2022 Louise Suggs Rolex Rookie Of The Year Award". LPGA. November 10, 2022.
  3. Levins, Keely (25 October 2021). "Patty Tavatanakit clinches Louise Suggs Rolex Rookie of the Year honors". Golf Digest. สืบค้นเมื่อ 25 October 2021.
  4. "Ariya Jutanugarn Earns 2018 Rolex Player of the Year Award". LPGA. October 30, 2018.
  5. "Jin Young Ko Earns 2018 Louise Suggs Rolex Rookie of the Year Award". LPGA. October 23, 2018.
  6. "Sung Hyun Park Clinches 2017 Louise Suggs Rolex Rookie of the Year Honors". LPGA. October 18, 2017.