แอปเปิลวันละผลช่วยให้ห่างไกลจากหมอ
"แอปเปิลวันละผลช่วยให้ห่างไกลจากหมอ" (อังกฤษ: "An apple a day makes the doctor away") เป็นสุภาษิตในภาษาอังกฤษที่ปรากฏในศตวรรษที่ 19 ซึ่งสนับสนุนการบริโภคแอปเปิล และมีความต่อไปอีกว่า "หากผู้ใดรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผู้นั้นจะยังคงมีสุขภาพที่ดีและจะไม่ต้องไปหาหมอบ่อย ๆ"
ต้นกำเนิด
[แก้]สุภาษิตอีกแบบหนึ่งที่ว่า "กินแอปเปิลตอนเข้านอน แล้วท่านจะทำให้หมอไม่ได้ขนมปัง" (อังกฤษ: "Eat an apple on going to bed, and you'll keep the doctor from earning his bread") ได้รับการบันทึกในฐานะคำกล่าวในแพมโบรกเชอร์ในปี ค.ศ. 1866[1][2][3] สุภาษิิตสมัยใหม่ที่ว่า "แอปเปิลวันละผลช่วยให้ห่างไกลจากหมอ" เริ่มใช้ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีตัวอย่างการพิมพ์ในยุคแรกๆ ที่พบตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1887[4][5][6][7]
ภูมิหลังทางวิทยาศาสตร์
[แก้]การศึกษาในปี ค.ศ. 2013 โดยใช้การสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ เปรียบเทียบการกินแอปเปิลกับการรับประทานยาลดคอเลสเตอรอลประจำวันทั่วไป เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคระบบหัวใจหลอดเลือด[8] แบบจำลองคอมพิวเตอร์ประเมินการกินแอปเปิลวันละผลในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปเปรียบเทียบกับการใช้ยากลุ่มสแตตินเพื่อลดคอเลสเตอรอลชนิดไลโพโปรตีหนาแน่นต่ำ โดยสรุปว่าการกินแอปเปิลวันละผล "สามารถเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า" ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายรายปีใกล้เคียงกัน[8]
ผลการศึกษาในปี ค.ศ. 2015 พบว่าผู้ที่รับประทานแอปเปิล "มีแนวโน้มมากกว่าที่จะห่างไกลจากหมอ (และยาตามใบสั่งยา) จากการวิเคราะห์อย่างหยาบ ๆ" การศึกษายังพบว่าผู้ที่รับประทานแอปเปิลหนึ่งผลต่อวันจะใช้ยาตามใบสั่งยาน้อยลง [1]
คุณค่าทางโภชนาการของแอปเปิล
[แก้]แอปเปิลดิบขนาดกลาง (100 กรัม) ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 86 และ คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 14 โดยมีไขมันและโปรตีนปริมาณเล็กน้อยและให้พลังงานอาหาร 52 แคลอรี [9] มีเส้นใยอาหารในปริมาณปานกลาง แต่ก็มีสารอาหารรองในระดับต่ำ[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Davis, Matthew A.; Bynum, Julie P. W.; Sirovich, Brenda E. (1 May 2015). "Association between apple consumption and physician visits". JAMA Internal Medicine. 175 (5): 777–83. doi:10.1001/jamainternmed.2014.5466. PMC 4420713. PMID 25822137.
- ↑ Speake J, บ.ก. (2015). "An apple a day keeps the doctor away". Oxford Dictionary of Proverbs (6th ed.). Oxford University Press. p. 7. ISBN 978-0198734901.
- ↑ Phillips, J. P. (1866). "A Pembrokeshire proverb". Notes & Queries. 127 (s3–IX): 153.
- ↑ Ely, Margaret (24 September 2013). "History behind 'An apple a day'". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 December 2015.
- ↑ "The Pomological Show: Wrexham and Denbighshire Advertiser and Cheshire Shropshire and North Wales Register". George Bayley. 26 November 1887. p. 5. hdl:10107/4592708.
The vote of thanks having been carried unanimously, Mr Chilton responded on behalf of Miss Chilton. He also lamented the fact that large sums of money were sent out of the country for foreign fruit, and hoped that by the example and influence of that how much good would be done. He advocated the increased use of fruit, for he believed in the old saying, "An apple a day keeps the doctor away." (Laughter.) He proposed a vote of thanks to Mr Jones, the secretary, to whose untiring efforts and enthusiasm the success of the show was due. This vote of thanks having been carried, Mr Jones briefly responded, and the proceedings terminated.
- ↑ "Cover". The Country Gentleman. Vol. LXXVIII no. 50. 13 December 1913. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
- ↑ Lambert, Madeline (6 September 1913). "Your Wife as Your Business Partner". The Country Gentleman. Vol. LXXVIII no. 36. p. 37. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
- ↑ 8.0 8.1 Briggs, Adam D. M.; Mizdrak, Anja; Scarborough, Peter (17 December 2013). "A statin a day keeps the doctor away: comparative proverb assessment modelling study". BMJ. 347: f7267. doi:10.1136/bmj.f7267. PMC 3898162. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
- ↑ 9.0 9.1 "Apple, raw, 100 grams". FoodData Central, US Department of Agriculture. 31 December 2018. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.