แอนโทรโปซีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แอนโทรโปซีน (อังกฤษ: Anthropocene) เป็นชื่อที่ใช้เรียกสมัย (Epoch) ทางธรณีวิทยาอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งหมายถึงระยะช่วงเวลาไม่นานมานี้ ที่การดำรงอยู่และพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของโลกอย่างมีนัยสำคัญ ชื่อนี้เคยถูกเสนอเข้าพิจารณาเป็นชื่อหน่วยทางธรณีกาลในที่ประชุมสมาคมธรณีวิทยาแห่งลอนดอนในปี 2008[1] ปัจจุบันยังไม่ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ได้การยอมรับจากนักธรณีวิทยาเป็นจำนวนมาก[2]

ชื่อ แอนโทรโปซีน ได้รับการบัญญัติโดยพอล ครุตเซอร์ นักฟิสิกส์เคมีชาวเนเธอร์แลนด์ ระหว่างการบรรยายทางวิชาการครั้งหนึ่งในปี 2000[3] โดยเทียบเคียงมาจากชื่อ สมัยโฮโลซีน มาจากคำว่า anthropo- (แปลว่า มนุษย์) และ -cene (แปลว่า ใหม่)

สมัยแอนโทรโปซีน ยังไม่ได้รับการบัญญัติวันเริ่มต้นอย่างแน่นอน นักธรณีวิทยาบางส่วนเสนอให้นับตั้งแต่การเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 [1] ในขณะที่บางส่วนเสนอว่าเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่า สามารถนับย้อนไปได้ถึง 14,000 ถึง 15,000 ปี สมัยแอนโทรโปซีนจึงควรนับย้อนไปประมาณหลายพันปีก่อนหน้านี้[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Zalasiewicz, Jan; และคณะ (2008). "Are we now living in the Anthropocene?". GSA Today. 18 (2): 4–8. doi:10.1130/GSAT01802A.1.
  2. Zalasiewicz, J.; และคณะ (2010). "The new world of the Anthropocene". Environmental Science & Technology. 44 (7): 2228–2231. Bibcode:2010EnST...44.2228Z. doi:10.1021/es903118j. hdl:1885/36498. PMID 20184359.
  3. Pearce, Fred (2007). With Speed and Violence: Why Scientists fear tipping points in Climate Change. Boston, Massachusetts: Beacon Press. ISBN 978-0-8070-8576-9. สืบค้นเมื่อ 5 September 2016.
  4. Doughty, C.E.; Wolf, A.; Field, C.B. (2010). "Biophysical feedbacks between the Pleistocene megafauna extinction and climate: The first human-induced global warming?". Geophysical Research Letters. 37 (L15703): L15703. Bibcode:2010GeoRL..3715703D. doi:10.1029/2010GL043985.