แรนดี เจอร์เกนเซน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
นักสืบแห่งกรมตำรวจนครนิวยอร์ก, นักประพันธ์, นักแสดงภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ แรนดี เจอร์เกนเซน | |
---|---|
เกิด | ฮาร์เลม นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก |
อาชีพ | นักสืบ |
ปีปฏิบัติงาน | ค.ศ. 1958–1978 |
องค์การ | กรมตำรวจนครนิวยอร์ก |
มีชื่อเสียงจาก | การสืบสวนคดีฆาตกรรมฟิล คาร์ดิลโล |
ผลงานเด่น | ผู้เขียน "เซอร์เคิลออฟซิกส์" |
คู่สมรส | ลินน์ |
บุตร | เดวอน แรนดี จาร์ร็อด ลินด์ซีย์ |
แรนดี เจอร์เกนเซน (อังกฤษ: Randy Jurgensen) เป็นอดีตนักสืบแห่งกรมตำรวจนครนิวยอร์ก เขาเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะนักสืบชั้นนำในคดีฆาตกรรมสายตรวจ ฟิล คาร์ดิลโล เขาเกิดในปี ค.ศ. 1933 โดยเป็นบุตรของเอลิซาเบธ และแรนโดล์ฟ เจอร์เกนเซน ในฮาร์เลม รัฐนิวยอร์ก เขารับใช้กองทัพสหรัฐในฐานะพลร่ม และอยู่ในยุทธการที่เนินพอร์กช็อปในสงครามเกาหลี เขาได้รับบำเหน็จบรอนซ์สตาร์สามเหรียญ และหัวใจสีม่วงหนึ่งเหรียญ[1] เขาเข้าร่วมกรมตำรวจนครนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1958 ในฐานะตำรวจสายตรวจ และได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นนักสืบอย่างรวดเร็ว เขาทำงานสายลับสืบหาสมาชิกของกองทัพปลดปล่อยคนผิวดำ จนถึงจุดหนึ่ง กองทัพปลดปล่อยคนผิวดำได้วางเงินรางวัลจำนวน 50,000 ดอลลาร์สำหรับค่าหัวของเขา ซึ่งเชื่อว่ายังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึงปี ค.ศ. 1976 เขาเป็นผู้นำการสอบสวนคดีฆาตกรรมของคาร์ดิลโล เขาถูกบังคับให้ออกจากกรมตำรวจนครนิวยอร์ก โดยแก้ฟ้องในความผิดที่ไม่ได้กระทำแต่ต้องโทษต่อข้อหาหลายคดีที่กรมตำรวจนครนิวยอร์กฟ้องร้อง ในขณะที่ยังคงเป็นนักสืบของกรมตำรวจนครนิวยอร์ก เขาเริ่มทำงานในภาพยนตร์ในฐานะที่ปรึกษา เขาเปลี่ยนอาชีพเป็นนักแสดง และผลิตภาพยนตร์ รวมถึงปรากฏในภาพยนตร์มากกว่า 30 เรื่อง
เหตุการณ์มัสยิดฮาร์เลม ค.ศ. 1972
[แก้]ในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1972 ทางพนักงานได้รับโทรศัพท์ 9-1-1 จาก "นักสืบทอมัส" โดยอ้างว่าต้องการความช่วยเหลือที่มัสยิดหมายเลข 7 ของชาติอิสลาม บนถนนตะวันตกสาย 116 ในฮาร์เลม เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบห้าคนขานรับ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปได้อยู่ในกรณีพิพาท ตำรวจบอกว่าถูกเขาเหล่านั้นใช้กำลังและทำร้ายเมื่อพวกเขามาถึง[2] ส่วนอิหม่าม หลุยส์ ฟาเรกาน และผู้นมัสการคนอื่น ๆ กล่าวว่าตำรวจขัดจังหวะพวกเขาด้วยการชักปืนระหว่างการละหมาด และปฏิเสธการร้องขอซ้ำ ๆ เพื่อให้รอก่อน หรืออย่างน้อยก็ให้ปล่อยปืน ซึ่งความเชื่อของพวกเขาคือห้ามมิให้นำเข้าสถานที่สำหรับนมัสการ ในการแถลงข่าววันถัดไป เขาคงจะอ้างว่าเป็นการโจมตีที่ไตร่ตรองไว้ล่วงหน้า และโทรศัพท์ 9-1-1 เป็นเพียงอุบาย[3]
การสอบสวนแรกเริ่ม
[แก้]เจอร์เกนเซนได้รับมอบหมายให้ทำคดีนี้ในปี ค.ศ. 1974 หลังจากที่นักสืบเบซิล "สลีปปี" สเลปวิตซ์ เกษียณ[4] ซึ่งมีอุปสรรคมากมายขวางทางเขา ที่โดดเด่นที่สุดคือเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ไปเยือนสถานที่เกิดเหตุจริง เขาขอให้นักสืบจากเขตอื่นแจ้งให้เขาทราบเมื่อมีชาวมุสลิมในเมืองถูกจับกุม เขาทำสิ่งนี้เพื่อจะได้สัมภาษณ์ผู้ถูกจับกุม ด้วยความหวังว่าอาจมีการเชื่อมโยงกับคนอื่น ๆ ที่อยู่ในมัสยิดในช่วงเวลาของการยิง หลังจากหลายปีของการสัมภาษณ์ที่ไร้ผล เขาก็หยุดพักเมื่อฟอสเตอร์ 2เอ็กซ์ ทอมัส ถูกจับในข้อหาฉ้อโกงบัตรเครดิต ซึ่งทอมัสเป็นคนทำขนมปังที่มัสยิด และปรากฏตัวในวันที่เกิดการฆาตกรรมคาร์ดิลโล ในที่สุดทอมัสได้ให้การในคดีฆาตกรรมลูวิส 17เอ็กซ์ ดูพรี โดยได้รับการตัดสินให้พ้นโทษหลังจากการสอบสวนสองครั้ง
การสอบสวนครั้งที่สอง
[แก้]ในปี ค.ศ. 2006 เจอร์เกนเซนได้รับการตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกของเขา เซอร์เคิลออฟซิกส์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมัสยิดกับการสอบสวนที่ตามมา หลังจากที่หนังสือเล่มนี้ได้รับการเปิดตัว อธิบดีกรมตำรวจนครนิวยอร์ก เรย์ เคลลี ได้ริ่มดำเนินการสอบสวนใหม่[5] เคลลีเป็นนายสิบตำรวจกรมตำรวจนครนิวยอร์กในช่วงเหตุการณ์มัสยิดและรู้จักเจอร์เกนเซน ซึ่งในปี ค.ศ. 2012 กรมตำรวจนครนิวยอร์กได้ประกาศว่าการสอบสวนไม่ได้ให้หลักฐานใหม่
การผลักดันเพื่อเปลี่ยนชื่อถนน
[แก้]เจอร์เกนเซนยังคงกระตือรือร้นที่จะให้มีถนนสายหนึ่งในนครนิวยอร์กตั้งชื่อใหม่ตามสายตรวจคาร์ดิลโล[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Korea GI gets his Purple Heart".
- ↑ Daley, Robert (June 4, 1973). "The Untold Story Behind the Harlem Mosque Shooting". New York. 6 (23): 34–43. ISSN 0028-7369. สืบค้นเมื่อ May 22, 2013.
- ↑ Jurgensen, Randy (2007). Circle of Six: The True Story of New York's Most Notorious Cop Killer and the Cop Who Risked Everything to Catch Him. The Disinformation Company. pp. 56–57. ISBN 9781934708859. สืบค้นเมื่อ May 22, 2013.
- ↑ Grosso, Sonny (1977). Murder at the Harlem Mosque. New York: Crown. ISBN 978-0517529713.
- ↑ "Was a cop killer an FBI informant?".
- ↑ "Push Continues to Rename Harlem Street for Fallen Cop".
- ↑ "Push to Co-Name Street After Slain NYPD Officer Meets with Apprehension".