แรนดี เจอร์เกนเซน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักสืบแห่งกรมตำรวจนครนิวยอร์ก, นักประพันธ์, นักแสดงภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์

แรนดี เจอร์เกนเซน
เกิดฮาร์เลม นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก
อาชีพนักสืบ
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1958–1978
องค์การกรมตำรวจนครนิวยอร์ก
มีชื่อเสียงจากการสืบสวนคดีฆาตกรรมฟิล คาร์ดิลโล
ผลงานเด่นผู้เขียน "เซอร์เคิลออฟซิกส์"
คู่สมรสลินน์
บุตรเดวอน แรนดี จาร์ร็อด ลินด์ซีย์

แรนดี เจอร์เกนเซน (อังกฤษ: Randy Jurgensen) เป็นอดีตนักสืบแห่งกรมตำรวจนครนิวยอร์ก เขาเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะนักสืบชั้นนำในคดีฆาตกรรมสายตรวจ ฟิล คาร์ดิลโล เขาเกิดในปี ค.ศ. 1933 โดยเป็นบุตรของเอลิซาเบธ และแรนโดล์ฟ เจอร์เกนเซน ในฮาร์เลม รัฐนิวยอร์ก เขารับใช้กองทัพสหรัฐในฐานะพลร่ม และอยู่ในยุทธการที่เนินพอร์กช็อปในสงครามเกาหลี เขาได้รับบำเหน็จบรอนซ์สตาร์สามเหรียญ และหัวใจสีม่วงหนึ่งเหรียญ[1] เขาเข้าร่วมกรมตำรวจนครนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1958 ในฐานะตำรวจสายตรวจ และได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นนักสืบอย่างรวดเร็ว เขาทำงานสายลับสืบหาสมาชิกของกองทัพปลดปล่อยคนผิวดำ จนถึงจุดหนึ่ง กองทัพปลดปล่อยคนผิวดำได้วางเงินรางวัลจำนวน 50,000 ดอลลาร์สำหรับค่าหัวของเขา ซึ่งเชื่อว่ายังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึงปี ค.ศ. 1976 เขาเป็นผู้นำการสอบสวนคดีฆาตกรรมของคาร์ดิลโล เขาถูกบังคับให้ออกจากกรมตำรวจนครนิวยอร์ก โดยแก้ฟ้องในความผิดที่ไม่ได้กระทำแต่ต้องโทษต่อข้อหาหลายคดีที่กรมตำรวจนครนิวยอร์กฟ้องร้อง ในขณะที่ยังคงเป็นนักสืบของกรมตำรวจนครนิวยอร์ก เขาเริ่มทำงานในภาพยนตร์ในฐานะที่ปรึกษา เขาเปลี่ยนอาชีพเป็นนักแสดง และผลิตภาพยนตร์ รวมถึงปรากฏในภาพยนตร์มากกว่า 30 เรื่อง

เหตุการณ์มัสยิดฮาร์เลม ค.ศ. 1972[แก้]

อาคารก่ออิฐสองชั้นบนถนนในเมืองที่มีหน้าต่างโค้ง, โดมสีเขียวอยู่ตรงกลาง และหน้าร้านในระดับถนน
มัสยิดหมายเลข 7 ซึ่งปัจจุบันนี้ รู้จักกันในชื่อมัสยิดแมลคัม ชาบาซ

ในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1972 ทางพนักงานได้รับโทรศัพท์ 9-1-1 จาก "นักสืบทอมัส" โดยอ้างว่าต้องการความช่วยเหลือที่มัสยิดหมายเลข 7 ของชาติอิสลาม บนถนนตะวันตกสาย 116 ในฮาร์เลม เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบห้าคนขานรับ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปได้อยู่ในกรณีพิพาท ตำรวจบอกว่าถูกเขาเหล่านั้นใช้กำลังและทำร้ายเมื่อพวกเขามาถึง[2] ส่วนอิหม่าม หลุยส์ ฟาเรกาน และผู้นมัสการคนอื่น ๆ กล่าวว่าตำรวจขัดจังหวะพวกเขาด้วยการชักปืนระหว่างการละหมาด และปฏิเสธการร้องขอซ้ำ ๆ เพื่อให้รอก่อน หรืออย่างน้อยก็ให้ปล่อยปืน ซึ่งความเชื่อของพวกเขาคือห้ามมิให้นำเข้าสถานที่สำหรับนมัสการ ในการแถลงข่าววันถัดไป เขาคงจะอ้างว่าเป็นการโจมตีที่ไตร่ตรองไว้ล่วงหน้า และโทรศัพท์ 9-1-1 เป็นเพียงอุบาย[3]

การสอบสวนแรกเริ่ม[แก้]

เจอร์เกนเซนได้รับมอบหมายให้ทำคดีนี้ในปี ค.ศ. 1974 หลังจากที่นักสืบเบซิล "สลีปปี" สเลปวิตซ์ เกษียณ[4] ซึ่งมีอุปสรรคมากมายขวางทางเขา ที่โดดเด่นที่สุดคือเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ไปเยือนสถานที่เกิดเหตุจริง เขาขอให้นักสืบจากเขตอื่นแจ้งให้เขาทราบเมื่อมีชาวมุสลิมในเมืองถูกจับกุม เขาทำสิ่งนี้เพื่อจะได้สัมภาษณ์ผู้ถูกจับกุม ด้วยความหวังว่าอาจมีการเชื่อมโยงกับคนอื่น ๆ ที่อยู่ในมัสยิดในช่วงเวลาของการยิง หลังจากหลายปีของการสัมภาษณ์ที่ไร้ผล เขาก็หยุดพักเมื่อฟอสเตอร์ 2เอ็กซ์ ทอมัส ถูกจับในข้อหาฉ้อโกงบัตรเครดิต ซึ่งทอมัสเป็นคนทำขนมปังที่มัสยิด และปรากฏตัวในวันที่เกิดการฆาตกรรมคาร์ดิลโล ในที่สุดทอมัสได้ให้การในคดีฆาตกรรมลูวิส 17เอ็กซ์ ดูพรี โดยได้รับการตัดสินให้พ้นโทษหลังจากการสอบสวนสองครั้ง

การสอบสวนครั้งที่สอง[แก้]

ในปี ค.ศ. 2006 เจอร์เกนเซนได้รับการตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกของเขา เซอร์เคิลออฟซิกส์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมัสยิดกับการสอบสวนที่ตามมา หลังจากที่หนังสือเล่มนี้ได้รับการเปิดตัว อธิบดีกรมตำรวจนครนิวยอร์ก เรย์ เคลลี ได้ริ่มดำเนินการสอบสวนใหม่[5] เคลลีเป็นนายสิบตำรวจกรมตำรวจนครนิวยอร์กในช่วงเหตุการณ์มัสยิดและรู้จักเจอร์เกนเซน ซึ่งในปี ค.ศ. 2012 กรมตำรวจนครนิวยอร์กได้ประกาศว่าการสอบสวนไม่ได้ให้หลักฐานใหม่

การผลักดันเพื่อเปลี่ยนชื่อถนน[แก้]

เจอร์เกนเซนยังคงกระตือรือร้นที่จะให้มีถนนสายหนึ่งในนครนิวยอร์กตั้งชื่อใหม่ตามสายตรวจคาร์ดิลโล[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Korea GI gets his Purple Heart".
  2. Daley, Robert (June 4, 1973). "The Untold Story Behind the Harlem Mosque Shooting". New York. 6 (23): 34–43. ISSN 0028-7369. สืบค้นเมื่อ May 22, 2013.
  3. Jurgensen, Randy (2007). Circle of Six: The True Story of New York's Most Notorious Cop Killer and the Cop Who Risked Everything to Catch Him. The Disinformation Company. pp. 56–57. ISBN 9781934708859. สืบค้นเมื่อ May 22, 2013.
  4. Grosso, Sonny (1977). Murder at the Harlem Mosque. New York: Crown. ISBN 978-0517529713.
  5. "Was a cop killer an FBI informant?".
  6. "Push Continues to Rename Harlem Street for Fallen Cop".
  7. "Push to Co-Name Street After Slain NYPD Officer Meets with Apprehension".