แย็ลกาวา
แย็ลกาวา | |
---|---|
เมือง | |
ภาพทางอากาศของเมืองแย็ลกาวา | |
พิกัด: 56°38′54″N 23°42′50″E / 56.64833°N 23.71389°E | |
ประเทศ | ลัตเวีย |
สิทธิเมือง | ค.ศ. 1573 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | Andris Rāviņš[1] (LZS) |
• จำนวนสมาชิกในสภาเมือง | 15 |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 60.56 ตร.กม. (23.38 ตร.ไมล์) |
• พื้นดิน | 57.66 ตร.กม. (22.26 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 2.9 ตร.กม. (1.1 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 13 เมตร (43 ฟุต) |
ประชากร (2024)[3] | |
• ทั้งหมด | 54,701 คน |
• ความหนาแน่น | 900 คน/ตร.กม. (2,300 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก) |
รหัสไปรษณีย์ | LV-300(1–9); LV-3024; LV-3035 |
รหัสโทรศัพท์ | (+371) 630 |
เว็บไซต์ | www |
แย็ลกาวา (ลัตเวีย: Jelgava, ออกเสียง [jælɡava] ( ฟังเสียง); เยอรมัน: Mitau, ออกเสียง: [ˈmiːtaʊ̯] ( ฟังเสียง)) เป็นเมืองในประเทศลัตเวีย ตั้งอยู่ห่างจากกรุงรีกาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 41 กิโลเมตร มีประชากร 55,336 คน ตั้งอยู่บนที่ราบอุดมสมบูรณ์ อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 3.5 เมตร บนฝั่งแม่น้ำลีเยลูเป ผลิตผ้าลินิน น้ำตาลและผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ
เมืองนี้ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1265–1266 โดยกลุ่มอัศวินทิวทอนิก ตกอยู่ใต้การปกครองของรัสเซียใน ค.ศ. 1795 เป็นที่ตั้งกองกำลังของพรรคบอลเชวิกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1919 แต่กองทหารของลัตเวียและลิทัวเนียขับออกจากเมือง ในระหว่าง ค.ศ. 1941–1944 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมันเข้ายึดครองเมืองนี้
ชื่อ
[แก้]ก่อน ค.ศ. 1917 เมืองนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า มีเทา (Mitau) เชื่อว่าคำว่า "แย็ลกาวา" มีที่มาจากศัพท์ภาษาลิโวเนียว่า jālgab แปลว่า "เมืองบนแม่น้ำ"[4] ต้นกำเนิดชื่อเมือง Mitau ในภาษาเยอรมัน ยังไม่เป็นที่กระจ่าง แต่มีผู้เสนอว่ามาจากศัพท์ภาษาลัตเวียว่า mīt หรือ mainīt หมายถึง "แลกเปลี่ยน" หรือ "ค้า" จึงมีความหมายว่า "สถานที่ทำการค้า"
เมืองพี่น้อง
[แก้]แย็ลกาวาเป็นเมืองพี่น้องในเมืองดังนี้:[5]
- ปาร์นู ประเทศเอสโตเนีย (1957)
- เช็วเลย์ ประเทศลิทัวเนีย (1960)
- Vejle ประเทศเดนมาร์ก (1992)
- เบียวิสตอก ประเทศโปแลนด์ (1994)
- Xinying (ไถหนาน) ประเทศไต้หวัน (2000)
- อัลกาโม, ประเทศอิตาลี (2002)
- บารานาวีชือ ประเทศเบลารุส (2003)
- Hällefors ประเทศสวีเดน (2004)
- Nacka ประเทศสวีเดน (2004)
- รุแอย์-มาลแมซง ประเทศฝรั่งเศส (2006)
- มากาดัน ประเทศรัสเซีย (2006)
- อีวานอ-ฟรันกิวสก์ ประเทศยูเครน (2007)
- นอวาโอแดซา ประเทศบราซิล (2007)
- โกโม ประเทศอิตาลี (2016)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jelgava City municipality web page เก็บถาวร 30 กันยายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Reģionu, novadu, pilsētu un pagastu kopējā un sauszemes platība gada sākumā". สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2024.
- ↑ "Iedzīvotāju skaits pēc tautības reģionos, pilsētās, novados, pagastos, apkaimēs un blīvi apdzīvotās teritorijās gada sākumā (pēc administratīvi teritoriālās reformas 2021. gadā)". สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2024.
- ↑ Bilmanis, Alfred (1 November 2008). Latvia as an Independent State. Read Books. ISBN 9781443724449 – โดยทาง Google Books.
- ↑ "Sadraudzības pilsētas". jelgava.lv (ภาษาลัตเวีย). Jelgava. สืบค้นเมื่อ 29 March 2021.