ข้ามไปเนื้อหา

แมลงภู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Xylocopa latipes
แมลงภู่ (Xylocopa latipes)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Hymenoptera
วงศ์: Apidae
สกุล: Xylocopa
สปีชีส์: X.  latipes
ชื่อทวินาม
Xylocopa latipes
(Drury, 1773)
แมลงภู่ เกาะอยู่บนสภาพแวดล้อมในเมืองเขตร้อน
แมลงภู่กับดอกของต้นเอลเดอร์

แมลงภู่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Xylocopa latipes) เป็นสายพันธ์ุผึ้งไม้ซึ่งแพร่หลายในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผึ้งชนิดนี้อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนอบอุ่น และสร้างรังโดยการเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ แมลงภู่มักจะสร้างโพรงยาวลึกในไม้ผุ ต้นไม้ที่โค่นล้ม โทรศัพท์ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กัน แต่ไม่พบว่าสร้างรังอยู่ในต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่[1]

แมลงภู่ถูกบรรยายในทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกโดยนักกีฏวิทยาชาวอังกฤษ Dru Drury ใน พ.ศ. 2316 โดยถูกจัดให้เป็นสมาชิกของกลุ่มผึ้งโดดเดี่ยว (วงศ์ Apidae)

แมลงภู่เป็นผึ้งที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรง และมักอยู่โดดเดี่ยว ที่ไม่ได้อยู่เป็นอาณาจักร มีสีดำ สว่างสดใส มีปีกสะท้อนแสงสีเขียวน้ำเงินโลหะ และจะสะท้อนแสงสีม่วงในแสงแดด แมลงภู่อาจจะเป็นแมลงที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม ''Xylocopa'' เท่าที่เคยรู้จัก และเกือบจะเป็นผึ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แมลงภู่สามารถส่งเสียงดังต่ำเป็นเสียงหึ่ง ซึ่งสามารถได้ยินเป็นระยะทางไกล ในขณะที่มันบินระหว่างดอกไม้หรือกิ่งไม้ ในเขตเมือง ผึ้งเหล่านี้มักจะถูกดึงดูดด้วยดอกไม้บางประเภท และสามารถย้อนกลับมาหลาย ๆ วัน หรือหลาย ๆ รุ่นอีกด้วย

คุณค่าทางวรรณคดี

[แก้]

ในเรื่องรามเกียรติ์ มีการกล่าวถึงยักษ์ไมยราพผู้สะกดทัพของพระราม และนำพระรามไปไว้ที่เมืองบาดาล แต่หนุมานก็ปลอมเป็นใยบัวติดสไบนางพิรากวนเข้าไปในเมือง และหลังจากทราบว่าพระยาไมยราพได้นำดวงใจไปฝากไว้ที่แมลงภู่บนเขาตรีกูฏก็จำแลงตนให้ใหญ่และไปขยี้แมลงภู่ตัวนั้นได้ จนทั้งแมลงภู่ และพระยาไมยราพก็ได้สิ้นใจลงในที่สุด[2]

ประโยชน์

[แก้]

แมลงภู่ใช้ในเชิงการค้าในประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อการผสมเกสรดอกเสาวรส เช่นเดียวกับในประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย ตลอดจนส่วนอื่น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบว่า ดอกเสาวรสบานสัมพันธ์กับช่วงที่แมลงภู่กำลังแพร่หลาย แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนี้วิวัฒนาการมาอย่างสัมพันธ์กัน[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jones, Richard. (2006). Bibliography of Commonwealth Apiculture. ISBN 0850927714. 190.
  2. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 1-4. 2279-2352. ศิลปาบรรณาคาร, สนพ. ISBN 9749528433
  3. Mardan, M., Yatim, Ismail, M. and Raji Khalid, Mohd. (1991). “Nesting Biology and Foraging Activity of Carpenter Bee on Passion Fruit”. Acta Hort. (ISHS) 288: 127-132 [1].