ข้ามไปเนื้อหา

แบรดีไคนิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แบรดีไคนิน (อังกฤษ: bradykinin) คือ เพปไทด์ชนิดหนึ่งที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อเกิดการกระทบกระเทือนหรือเกิดบาดแผล [1] มีผลให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัวและทำให้สารที่ก่อให้เกิดการอักเสบมาคั่งอยู่ที่บริเวณนี้ อีกทั้งยังทำให้ความดันเลือดลดต่ำลงด้วย โดยแบรดีไคนินถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1948 โดย นักสรีรวิทยาและนักเภสัชวิทยาชาวบราซิล

แบรดีไคนิน

โครงสร้าง

[แก้]

แบรดีไคนินประกอบด้วยกรดอะมิโน 9 ตัว มาเรียงกันเป็นสายเพปไทด์ ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนประกอบด้วย Arg - Pro - Pro - Gly - Phe - Ser - Pro - Phe - Arg และมีสูตรเอ็มพิริคัล (empirical formula) คือ C50H73N15O11

การทำงานของแบรดีไคนิน

[แก้]

แบรดีไคนิน มีผลกระตุ้น β2-adrenergic receptor ที่ผนังเยื่อบุหลอดเหลือด (endothelium) ทำให้เพิ่มการสร้าง nitric oxide และ prostacyclin (PGI2) ซึ่งสารทั้งสองมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/alovera.html