แถบปิดแผล
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
แถบปิดแผล คือ ผลิตภัณฑ์ทำแผลสำเร็จรูป สำหรับปฐมพยาบาลบาดแผล มักเป็นแผลขนาดเล็กที่เลือดหยุดไหลแล้ว
แถบปิดแผล ยี่ห้อแรกในโลกคือ แบน-เอด (Band-Aid) ผลิตโดย จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าที่ติดหู นิยมใช้เรียกแทนชื่อผลิตภัณฑ์ ในสหรัฐอเมริกา อินเดีย แคนาดา ออสเตรเลีย [1]
ขณะที่ยี่ห้อแรกในประเทศไทยคือ ปลาสเตอร์ หรือ ปลาสเตอร์ยา (Plaster) ซึ่งกลายเป็นชื่อทางการค้าที่ติดหู นิยมเรียกแทนชื่อผลิตภัณฑ์เช่นกัน รวมถึงในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ มาเลเซีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ (ในประเทศอื่นยังรวมถึงชื่อยี่ห้อที่เรียกใกล้เคียง เช่น sticking plaster หรือ Elastoplast)
ในหลายวัฒนธรรม รูปหรือคำที่เกี่ยวกับแถบปิดแผล ยังเป็นภาษาสัญลักษณ์สื่อความมหายถึง การได้รับบาดเจ็บ หรือการรั่วซึม เช่น "Band-aid solutions were used to fix the leak" ("สารละลายปิดแผลใช้เคลือบแก้ปัญหาการรั่วซึม")
ประวัติ
[แก้]เอิร์ล ดิกสัน (Earle Dickson) ลูกจ้างของ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ประดิษฐ์แถบปิดแผลขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) เพื่อภรรยาของเขาคือ โจเซฟิน ซึ่งมักมีดบาดขณะทำครัว [2]
เดิมที ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เขาประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ภรรยาของเขา ได้ใช้แต่งแผลของเธออย่างสะดวก แม้ขณะที่เขาไปทำงานไม่สามารถอยู่ช่วยทำแผลได้
ต่อมา นายจ้างของเขาได้รู้แนวคิดของเขา จึงให้เขานำไปพัฒนาให้สามารถดำเนินสายการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย เขาจึงประสบความสำเร็จในอาชีพที่ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งท้ายสุดได้เป็นรองประธานบริษัท ก่อนเกษียณเมื่อ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957)
แถบปิดแผลระยะแรก ที่ผลิตด้วยมือ ยังไม่มีชื่อเสียงนัก ต่อมา พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) จอห์นสันแอนด์จอห์นสันบุกเบิก เครื่องจักรผลิตแถบปิดแผลปลอดเชื้อ เครื่องแรก เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้แถบปิดแผลหลายล้านแถบได้จัดจำหน่ายไปทั่วโพ้นทะเล
หลักการทำงาน
[แก้]วัสดุ
[แก้]ความหลากหลาย
[แก้]ตัวอย่าง
[แก้]แถบปิดแผลสำหรับผู้ประกอบอาหาร
[แก้]ปลาสเตอร์ยาสำหรับกล้ามเนื้อ
[แก้]ผิวหนังเทียม
[แก้]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ตัวอย่างเช่น ปรากฏใน [[:en:The Dangerous Book for Boys|]] โดย Conn Iggulden และ Hal Iggulden; ดู ตีพิมพ์โดย USA Today
- ↑ "กำเนิดแถบปิดแผลยี่ห้อ BAND-AID". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-14. สืบค้นเมื่อ 2009-03-27.